Skip to main content

jesus son of man

  เยซู บุตรแห่งมนุษย์

on going

คาลิล ยิบราน ⌈  แปลโดย มักดาเลนา  ⌋

นโลกของเรานี้ มีหนังสือประวัติบุคคล แบบที่คนอื่นเขียนถึง (Biographic) หรือแบบที่เจ้าตัวเขียนขึ้นเอง (Autobiographic) อยู่มากมาย  ทั้งแบบที่เขียนเน้นในรายละเอียด ข้อเท็จจริง หรือแม้กระทั่งที่เขียนโดยแต่งแต้มจินตนาการและความคิดฝันเพื่อเพิ่มสีสันให้แก่ตัวบุคคลนั้น ๆ

พระเยซูก็เป็นบุคคลหนึ่ง ที่ถูกผู้คนกล่าวถึงกันตลอดสองพันปีที่ผ่านมา บางคนเสนอเรื่องราวของพระองค์ในแง่มุมของพระศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ นักเทศน์แห่งคำสอนใหม่ นักปฏิวัติผู้เกรี้ยวกราด ผู้นำของคนทุกข์ยาก อาจารย์ผู้เมตตา  หรือแม้แต่หมอผีผู้ใช้เวทย์มนตร์ นักเล่นกลจอมหลอกลวง เลยไปถึงการเป็นหัวหน้าซาตานจากมุมมองของผู้ที่ไม่ชอบขี้หน้าพระองค์

แต่ทั้งหมดที่ว่ามาก็ใช่ว่าจะบรรยายถึงชีวิตทั้งครบของพระองค์ได้หมดสิ้น

"เยซู บุตรแห่งมนุษย์" ของ คาลิล ยิบราน ที่อยู่ในมือท่านนี้ก็นับเป็นหนังสือชีวประวัติบุคคลอีกเล่มหนึ่งที่หาญกล้าในการเปิดเผยชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ของพระเยซูผู้เป็นที่รักของเราให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

แน่นอนว่า ความพยายามของคาลิล ยิบรานในครั้งนี้ย่อมไม่บรรลุผลเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะตลอดห้วงชีวิตตลอด 33 ปีของชายหนุ่มธรรมดาแต่ทว่ายิ่งใหญ่ผู้นี้ “ยังมีเหตุการณ์อีกมากมายที่เขาได้กระทำ จนหากต้องบันทึกลงไว้หมด ก็คงไม่มีที่ในโลกนี้ พอที่จะบรรจุหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเหล่านั้นไว้ได้” (ดู ยน.21:25)

แต่อย่างน้อย ความพยายามบวกกับความศรัทธาอันแรงกล้าของกวีเอกชาวเลบานอนผู้นี้ก็ได้สร้าง เยซู บุตรแห่งมนุษย์ ขึ้นเป็นงานชิ้นเอกประดับในบรรณพิภพ เพื่อจรรโลงใจและเปิดเผยเบื้องลึกในชีวิตของเยซู-ชายหนุ่มธรรมดาแต่ทว่ายิ่งใหญ่ผู้นี้ ให้กระจ่างชัดขึ้นต่อคนทั้งหลายในโลก.

รักและศรัทธา
สำนักพิมพ์คณะพระมหาไถ่

 

line mass

อ่านต่อ

book

วิวัฒนาการศึกษาคาทอลิก ในประวัติศาสตร์โลก
History of Catholic Education 

โดย บาทหลวง วรวุฒิ สารพันธุ์, C.Ss.R. JCL

บทนำ

เป็นที่ประจักษ์ในสังคมไทยว่าโรงเรียนคาทอลิกตัวแทนภาพลักษณ์ของงานอภิบาลและการแพร่ธรรมในประเทศไทย ผู้เขียนมีจุดประสงค์ที่จะนำเสนอมุมมองของงานด้านการศึกษาและอบรมคาทอลิก (Catholic education and formation) ที่ไม่ใช่แค่ในโรงเรียนคาทอลิก การศึกษาคาทอลิกมีจุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจจากชีวิตและงานขององค์พระเยซูเจ้าและสืบต่อทางบรรดาอัครสาวกและปิตาจารย์ พันธกิจนี้ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านกระแสธารแห่งกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นยุคแห่งความรุ่งเรือง หรือความท้าทายและความยากลำบาก จวบจนปัจจุบันพระศาสนจักรยังคงเห็นคุณค่าของงานด้านการศึกษาและอบรมคาทอลิก ทั้งนี้เพื่อจะเป็นเครื่องมือที่นำทุกผู้คนสู่หนทางแห่งความรอดพ้นแห่งวิญญาณ


book

การศึกษาคาทอลิก ตามจิตตารมณ์สังคายนาวาติกันที่ 2
Catholic Education and Spirit of Second Vatican Council

โดย บาทหลวง วรวุฒิ สารพันธุ์, C.Ss.R. JCL

on going

บทนำ

เพียงไม่ถึงร้อยวันในสันตะภาพของพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ท่านได้ประกาศเจตจำนงค์สองประการด้วยกัน คือ ประการแรก การประชุมสังฆมณฑลแห่งกรุงโรม (Diocesan Synod of Rome) และการประชุมเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของคริสตชน (Ecumenical Council) และประการที่สองซึ่งมีความสำคัญมากคือ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายของพระศาสนจักรคาทอลิก การประชุมนี้มีจุดมุ่งหมายอยู่สามประการคือ

1. เพื่อเป็นการฟื้นฟูชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณของพระศาสนจักรและบรรดาคริสตชน
2. เพื่อเป็นการปรับปรุงพระศาสนจักร (aggiornamento) ในด้านการอภิบาลและพันธกิจต่อโลกสมัยใหม่
3. เพื่อเป็นการเผยแผ่และฟื้นฟูพระศาสนจักรคาทอลิกและกลุ่มคริสตชนอื่นๆ

และบทความในซีรี่ใหม่นี้ จะบอกเล่าเรื่องราวและความหมายของ “การศึกษาคาทอลิก ตามจิตตารมณ์ของสังคายนาวาติกันที่ 2”  ดังนี้...

อ่านต่อ

โดย นักบุญอัลฟอนโซ
แปลโดย ผู้หว่าน

นักบุญอัลฟอนโซ ได้พิมพ์โฆษณาในปี 1768 ขณะท่านมีอายุ 62 ปี หลังจากมีความชำนาญด้านการสั่งสอนมานานกว่า 30 ปี ต้นฉบับเขียนเป็นภาษาอิตาเลียน หนังสือเล่มนี้ได้ทำให้คนกลับใจมากต่อมากแล้ว!

ข้าพเจ้าหวังประโยชน์ของเพื่อนร่วมชาติ ทั้งที่เป็นนักบวชและฆราวาส จึงได้พยายามแปลออกจากต้นฉบับภาษาอิตาเลียน “Apparecchio alla morte” Alba-Roma-Pia societta‘ San Paolo.- โดยเทียบกับภาษาฝรั่งเศส “Pre`paration a` la mort” แปลโดย L.J. Dujardin, Re`demptoriste. Ed. Casterman.

ในการแปลนี้ ข่าพเจ้าพยายามใช้ถ้อยคำง่าย ๆ พูดอย่างกันเอง ตามนำนวนของท่านนักบุญ ถึงกระนั้นต้องขอออกตัวว่า อาจมีทำนองพูดที่แปร่งหูหรือศัพท์นามธรรมมาก อย่างไรได้ ข้าพเจ้าตั้งใจถอดความจากท่านนักบุญ และรักษาความซึ้ง ความสั้นแห่งกระทงความไว้ หนังสือทางธรรมะยิ่งลึกซึ้ง ก็ยิ่งต้องใช้ศัพท์นามธรรมมาก อย่างไรก็ดี ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า หนังสือเล่มนี้ จะทำให้ผู้อ่านเตรียมเผชิญความตายดีขึ้น บำเพญตนเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ข้าพเจ้าขอร้องต่อผู้อ่านอย่างเดียวกับนักบุญอัลฟอนโซ เด ลีโกวลี คือ ให้ภาวนาอุทิศแก่ข้าพเจ้าบ้าง! 

 “ผู้หว่าน
15 พฤษภาคม 1951

 Joseph Khiamsun Nittayo 

   อ่านประวัติ "ผู้หว่าน" (ยวง นิตโย)

อ่านต่อ