Skip to main content

การศึกษาคาทอลิก
ตามจิตตารมณ์สังคายนาวาติกันที่ 2 

เพียงไม่ถึงร้อยวันในสันตะภาพของพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ท่านได้ประกาศเจตจำนงค์สองประการด้วยกัน คือ ประการแรก การประชุมสังฆมณฑลแห่งกรุงโรม (Diocesan Synod of Rome) และการประชุมเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของคริสตชน (Ecumenical Council) และประการที่สองซึ่งมีความสำคัญมากคือ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายของพระศาสนจักรคาทอลิก การประชุมนี้มีจุดมุ่งหมายอยู่สามประการคือ

1. เพื่อเป็นการฟื้นฟูชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณของพระศาสนจักรและบรรดาคริสตชน
2. เพื่อเป็นการปรับปรุงพระศาสนจักร (aggiornamento) ในด้านการอภิบาลและพันธกิจต่อโลกสมัยใหม่
3. เพื่อเป็นการเผยแผ่และฟื้นฟูพระศาสนจักรคาทอลิกและกลุ่มคริสตชนอื่นๆ

และบทความในซีรี่ใหม่นี้ จะบอกเล่าเรื่องราวและความหมายของ “การศึกษาคาทอลิก ตามจิตตารมณ์ของสังคายนาวาติกันที่ 2”  ดังนี้...

Headline

ตอนที่ 1 การศึกษาคาทอลิกและวัฒนธรรม

เอกสารสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่อง “คำประกาศเรื่องการศึกษาของคริสตชน” (The Declaration of Education – Gravissimum Educationis, 1965)  ถือว่าเป็นเอกสารแรกหลังจากสังคายนาวาติกันที่ 2 ของพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งทำให้เราได้เข้าใจถึงบทบาทและพันธกิจของพระศาสนจักรในด้านการพัฒนาการศึกษา เพื่อนำทุกสิ่งทุกอย่างกลับไปหาองค์พระเยซูคริสต์ ย่อหน้าแรกของเอกสารนี้ พระศาสนจักรได้ประกาศถึง “สิทธิของเด็กและเยาวชนที่เขาควรจะได้รับ ให้พวกเขาได้มุ่งสู่คุณค่าทางศีลธรรม มีมโนธรรมที่ถูกต้อง ยอมรับพวกเขาในความเป็นบุคคล เพื่อที่จะมีความรู้อย่างลึกซึ้งในความรักขององค์พระเจ้า” วิสัยทัศน์ในเรื่องสิทธินี้จึงเกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการนับถือศาสนาของพระศาสนจักร เฉกเช่นพันธกิจของโรงเรียนคาทอลิกมีไว้เพื่อลูกหลานของคริสตชน เอกสาร Gravissimum Educationis จึงเรียกร้องให้บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองและครอบครัวมีส่วนร่วนใน “เป็นตัวแทนด้านการศึกษา” (authors of education) ให้กับบรรดาเด็กๆ และสิทธินี้ควรจะได้รับการปกป้องโดยทางภาครัฐด้วยเช่นกัน การศึกษาคาทอลิกจึงมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างจากการศึกษาโดยทั่วไป ดังที่เขียนไว้ใน Gravissimum Educationis ย่อหน้าที่ 8 ไว้ว่า

“เฉกเช่นกันโรงเรียนโดยทั่วไป โรงเรียนคาทอลิกมุ่งเน้นเป้าหมายทางวัฒนธรรมและการอบรมบ่มเพาะให้แก่เด็กและเยาวชน แต่โรงเรียนยังมีหน้าที่ที่จะสร้างชุมชนที่มีบรรยากาศแห่งจิตตารมณ์พระวรสาร แห่งเสรีภาพและความรักเมตตา ที่จะช่วยบรรดาเด็กๆ ได้เติบโตตามที่เขาได้เป็นสิ่งสร้างใหม่ (new creatures) โดยทางศีลล้างบาป พวกเขาจะสามารพัฒนาบุคลิกภาพของตน และในที่สุด เป็นไปตามครรลองของวัฒนธรรมแห่งมวลมนุษย์ ตามข่าวดีแห่งความรอดพ้น เพื่อความรู้ของพวกเด็กๆ ที่มีต่อโลก ต่อชีวิต และต่อมวลมนุษย์ จะเป็นความรู้ที่ได้รับการส่อแสงจากความเชื่อ”  (Gravissimum Educationis, § 8.)

“No less than other schools does the Catholic school pursue cultural goals and the human formation of youth. But its proper function is to create for the school community a special atmosphere animated by the Gospel spirit of freedom and charity, to help youth grow according to the new creatures they were made through baptism as they develop their own personalities, and finally to order the whole of human culture to the news of salvation so that the knowledge of the students gradually acquire of the world, life and man is illuminated by faith.” 

หากจะถามว่า สิ่งใดคือ “อัตตาลักษณ์ของโรงเรียนคาทอลิก” เราได้รับคำตอบคือ “บรรยากาศแห่งความเชื่อและวัฒนธรรมแบบคาทอลิก” ดังที่จอห์น ซัลลิแวน (John Sullivan, 2011) ได้ให้ข้อสังเกตุกับเอกสาร Gravissimum Educationis ว่า เอกสารดังกล่าวไม่ได้ความหมายทางปรัชญาหรือความหมายใดๆ ในเรื่องการศึกษา หากแต่ได้เปิดกว้างให้กับพระศาสนจักรท้องถิ่นได้ตีความหมายของงานอภิบาลด้านการศึกษา ตามท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อเป็นวิสัยทัศน์ต่องานอภิบาลโดยเฉพาะกับชุมชนและสถานการณ์ที่แตกต่างกันทั่วโลก จอห์น ซัลลิแวนยังให้ข้อสังเกตว่า “ในความเป็นจริงแล้ว มีการเขียนหลักการศึกษาในเอกสารนี้ แต่ได้ล่าช้าไป ในช่วงที่สังคายนาได้ปิดตัวลงในปี 1965 อาจจะเป็นไปได้ว่า การพัฒนาเรื่องการศึกษาคาทอลิกได้ลดถอยลงในช่วงกลางศตวรรษที่ 18-19 แต่สังคายนาให้ความสำคัญในเรื่องอื่นๆ ที่เป็นพันธกิจของพระศาสนจักรมากกว่า” อย่างไรก็ตาม Gravissimum Educationis ยังให้ความสำคัญทางการศึกษาคาทอลิกตามธรรมประเพณีของพระศาสนจักร เพราะยังกล่าวถึงการศึกษาในขั้นสูงต่างๆ เช่น วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาเพื่อเตรียมตัวผู้ฝึกตน เช่น เป็นพระสงฆ์ นักบวช ฯลฯ Gravissimum Educationis จึงมีวิสัยทัศน์ของการร่วมมือกันทางวิชาการในทุกๆ ระดับชั้น เช่น พระศาสนจักรท้องถิ่น ระดับสังฆมณฑล และระดับนานาชาติ

ส่งท้าย

เอกสารเรื่องการศึกษาคาทอลิก Gravissimum Educationis ถือกำเนิดขึ้นตามจิตตารมณ์ของสังคายนาวาติกันที่ 2 เพื่อเป็นการฟื้นฟูพระศาสนจักรและเพื่องานอภิบาลในโลกยุคสมัยใหม่ แม้วิสัยทัศน์ในเรื่องโรงเรียนคาทอลิก มีไว้เพื่อลูกหลานของคริสตชนเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ในหลายๆประเทศที่ยังเป็นเขตของการแพร่ธรรม จำนวนของคาทอลิกยังมีอยู่น้อยนิด โรงเรียนคาทอลิกเป็นสถานที่ที่คนต่างศาสนาสามารถสัมผัส รับรู้ ถึงจิตตารมณ์และบรรยากาศแห่งความรักและเมตตาของพระเจ้าได้เช่นกัน

 

อ่านแล้วเขียนจาก...

Second Vatican Council. "Gravissium Educationis: Declaration on Christian Education." In At the Heart of the Church: Selected Documents of Catholic Education, edited by Thomas C. Hunt and Ronald J. Nuzzi United States: Alliance for Catholic Education Press, 2012.

John Sullivan, Catholic Education: Distinctive and Inclusive (Dordrecht: Kluwer Academic Publishers, 2001),

R. F. Trisco and J. A. Komochak, "Vatican Council II," in New Catholic Encyclopedia, Second Edition, vol. 14  (Detroit: Thomson Gale, 2002), 407.

The four constitutions of Second Vatican Councils are
(1) Sacrosanctum concilium, Constitution on the Sacred Liturgy, 1963,
(2) Lumen Gentium, Dogmatic Constitution on the Church, 1964,
(3) Dei Verbum, Dogmatic Constitution On Divine Revelation, 1965, and
(4) Gaudium et Spes, Pastoral Constitution On the Church In the Modern World, 1965.

The nine decrees are
(1) Inter Mirifica, Decree On the Means of Social Communication, 1963,
(2) Orientalium Ecclesiarum, Decree On the Catholic Churches of the Eastern Rite,1964,
(3) Unitatis Redintegratio, Decree on Ecumenism, 1964,
(4) Christus Dominus, Decree Concerning the Pastoral Office of Bishops In the Church,
(5) Perfectae Caritatis, Decree On Renewal of Religious Life, 1965,
(6) Optatam Totius, Decree On Priestly Training, 1965,
(7) Apostolicam Actuositatem, Decree On the Apostolate of the Laity, 1965,
(8) Presbyterorum Ordinis, Decree On the Ministry and Life of Priests, 1965, and
(9) Ad Gentes, Decree On the Mission Activity of the Church, 1965.

The three declarations are
(1) Gravissimum Educationis, Declaration on Christian Education, 1965,
(2) Nostra Aetate, Declaration on the Relation of the Church to Non-Christian Religions, 1965, and
(3) Dignitatis Humanae, Declaration on Religious Freedom, 1965.

 

ตอนที่ 1 การศึกษาคาทอลิกและวัฒนธรรม

ตอนที่ 2 คำถามบางประการในงานอภิบาลด้านโรงเรียน

Father M

Father M

Written by 
บาทหลวง วรวุฒิ สารพันธุ์ C.Ss.R. JCL


Catholic Priest & Canonist
Author & Administrator
Faith4Thai.com

*juris canonici licentiatus
หรือ JCL เป็นปริญญาทางกฏหมายพระศาสนจักร

Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
FaceBook: Worawut Saraphan
Iine ID: mcssrsp