Skip to main content

การศึกษาคาทอลิก
ตามจิตตารมณ์สังคายนาวาติกันที่ 2 

เพียงไม่ถึงร้อยวันในสันตะภาพของพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ท่านได้ประกาศเจตจำนงค์สองประการด้วยกัน คือ ประการแรก การประชุมสังฆมณฑลแห่งกรุงโรม (Diocesan Synod of Rome) และการประชุมเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของคริสตชน (Ecumenical Council) และประการที่สองซึ่งมีความสำคัญมากคือ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายของพระศาสนจักรคาทอลิก การประชุมนี้มีจุดมุ่งหมายอยู่สามประการคือ

1. เพื่อเป็นการฟื้นฟูชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณของพระศาสนจักรและบรรดาคริสตชน
2. เพื่อเป็นการปรับปรุงพระศาสนจักร (aggiornamento) ในด้านการอภิบาลและพันธกิจต่อโลกสมัยใหม่
3. เพื่อเป็นการเผยแผ่และฟื้นฟูพระศาสนจักรคาทอลิกและกลุ่มคริสตชนอื่นๆ

และบทความในซีรี่ใหม่นี้ จะบอกเล่าเรื่องราวและความหมายของ “การศึกษาคาทอลิก ตามจิตตารมณ์ของสังคายนาวาติกันที่ 2”  ดังนี้...

Headline

ตอนที่ 2 คำถามบางประการในงานอภิบาลด้านโรงเรียน

แม้การจัดตั้งโรงเรียนคาทอลิก เป็นส่วนหนึ่งของการอภิบาล (apostolate) และ การแพร่ธรรม (evangelization) ของพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งอยู่ร่วมกับสังคมมาแต่ช้านาน ก็ยังมีคำถามจากทางภาครัฐหรือสังคมดังนี้...

1. โรงเรียนคาทอลิก บังคับให้คนเข้าสู่ศาสนาคริสต์?

เอกสาร “โรงเรียนคาทอลิก (The Catholic School, 1977) โดยสมณกระทรวงการศึกษาคาทอลิก (Congregation for Catholic Education) ได้ให้คำตอบเรื่อง “งานอภิบาล” (apostolate) และการแพร่ธรรม (evangelization) ในบริบาทของโรงเรียนคาทอลิกว่า เป็นเรื่องเดียวกันและเกี่ยวข้องกันตามวิสัยทัศน์ของพระศาสนจักรท้องถิ่น เอกสาร “โรงเรียนคาทอลิก” ได้เริ่มด้วยการย้ำเตือนเราว่าการอภิบาลด้านโรงเรียนเป็น “พันธกิจแห่งความรอดของพระศาสนจักร” (salvific mission of the Church) การแพร่ธรรมคือการประกาศพระวรสาร การสอนคำสอน และการทำให้คนได้รับศีลล้างบาป (ข้อที่ 5-7) แต่อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้วเราอยู่ในโลกที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรม ในเรื่องเชื้อชาติ ภาษา และศาสนา พระศาสนจักรดำเนินภาระกิจด้านโรงเรียนนี้ตามนโยบายของรัฐด้านการศึกษา คำถามเรื่องงานอภิบาลในโรงเรียนคาทอลิกจึงอาจจะมีความซับซ้อนและมีความละเอียดอ่อน โดยเฉพาะในเรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนาตามมโนธรรมของแต่ละบุคคล ถึงแม้เป็นพันธกิจของโรงเรียนที่จะสร้างวัฒนธรรมและบรรยาการแบบคาทอลิกในโรงเรียน แต่ต้องไม่เป็น “การบังคับในการเข้าสู่ความเชื่อทางศาสนา" (proselytization)  ดังที่บัญญัติไว้ในกฎหมายพระศาสนจักร ข้อ 748 วรรค 1 และ 2 ดังนี้

“วรรค 1  มนุษย์ทุกคนมีพันธะต้องแสวงหาความจริง  ในเรื่องที่เกี่ยวกับพระเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์ และเมื่อพบความจริงแล้ว ก็มีหน้าที่และสิทธิที่จะรับและปฏิบัติตามโดยกฎหมายของพระเจ้า

วรรค 2 ไม่มีใครสามารถบังคับใครให้มานับถือความเชื่อคาทอลิก โดยฝืนมโนธรรมของเขา”

ดังนั้น นอกเหนือที่โรงเรียนคาทอลิกจะเป็นสถานที่แห่งการแพร่ธรรมของพระศาสนจักร แต่ต้องไม่มีการบังคับเข้าสู่ศาสนา ร่วมไปถึงการเคารพสิทธิพื้นฐานของนักเรียนและผู้ปกครองในการนับถือศาสนาใดๆ ที่ไม่ผิดต่อหลักการบ้านเมืองและละเมิดต่อผู้อื่น

ในด้านการเมืองการปกครอง หลักการ “แยกระหว่างพระศาสนจักรและอาณาจักร (Separation between Church and State) จะเป็นหลักการที่หลายๆประเทศพยายามยึดถือและปฏิบัติ หากแต่ เอกสาร “โรงเรียนคาทอลิก” จึงให้แนวทางการอภิบาลในเรื่องนี้ว่า

“การศึกษาที่ครบถ้วนจำเป็นต้องมีมิติทางศาสนาด้วยเช่นกัน เพราะศาสนามีส่วนช่วยการการพัฒนาตนเองของความเป็นบุคคล ซึ่งควรจะวัดผลได้และเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาโดยทั่วไป” (โรงเรียนคาทอลิก ข้อที่ 19)

 

2. โรงเรียนคาทอลิก มีไว้เฉพาะครอบครับคนมีอันจะกิน?

สำหรับข้อนี้ พระศาสนจักรได้ย้ำเรื่องจุดเริ่มต้นของโรงเรียนคาทอลิกคือเพื่อเป็นงานอภิบาลและบริการต่อชุมชน โรงเรียนคาทอลิกจึงเป็นอีกทางเลือกในการศึกษาของชุมชน และของท้องถิ่นนั้นๆ (ข้อ 20-21) ในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่จะรู้จักโรงเรียนคาทอลิกที่มีเชื่อเสียง และบางทีเป็นที่ที่พ่อแม่ผู้ปกครองมีความประสงค์จะส่งลูกๆหลานๆไปเรียน จนอาจจะมีการแข่งขันกันสูงและมีภาพว่าโรงเรียนคาทอลิกมีไว้สำคัญผู้มีอันจะกินในสังคม แต่ยังมีโรงเรียนคาทอลิกและสถาบันการศึกษาที่กระจายตัวไปในที่ต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศไทย และหลายๆโรงเรียนดำเนินงานแบบสงเคาะห์ เช่น เพื่อนักเรียนยากจน ชาติพันธุ์ ผู้พิการ ฯลฯ ซึ่งเป็นพันธกิจของพระศาสนจักรที่ยังไม่เป็นที่รู้จักอีกจำนวนมาก

3. ทำไม่พระศาสนจักรไม่ยกเลิกงานด้านโรงเรียน และมุ่งเน้นแต่การแพร่ธรรม เผื่อจำนวนคาทอลิกจะมีมากกว่านี้?

หากจะพิจารณาโดยคร่าวๆ งานด้านโรงเรียนของพระศาสนจักรเป็นเรื่องของ “งานด้านการศึกษา และ งานด้านสังคม” ซึ่งอาจจะไม่ใช่งานที่จะนำพันธกิจแห่งความรอดฝ่ายวิญญาณโดยตรง (ข้อ 23) เราจะตอบคำถามนี้ในตอนที่ 3 “ทำไมพระศาสนจักรต้องมีโรงเรียนคาทอลิก”

 

อ่านแล้วเขียนจาก...

The Catholic School (1977), by the Congregation for Catholic Education

ตอนที่ 2 คำถามบางประการในงานอภิบาลด้านโรงเรียน

ตอนที่ 1 การศึกษาคาทอลิกและวัฒนธรรม

Written by 
บาทหลวง วรวุฒิ สารพันธุ์ C.Ss.R. JCL


Catholic Priest & Canonist
Author & Administrator
Faith4Thai.com

*juris canonici licentiatus
หรือ JCL เป็นปริญญาทางกฏหมายพระศาสนจักร

Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
FaceBook: Worawut Saraphan
Iine ID: mcssrsp