Skip to main content

Social for Christian


 

ใช้เพื่ออธิฐาน

นอกจากทำงานแล้ว เราใช้โซเชียลเพื่อการพักผ่อน การพักผ่อนที่ดีที่สุดต่อกายและใจคือ “การอธิฐานภาวนา”

 

ใช้เรียนรู้ พระธรรมคำสอน

ยังมีสื่อโซเชียลดีๆ ที่เผยแพร่สิ่งดีๆสำหรับชาวคริสต์ ไม่ว่าจะเป็นบทความ ข้อเขียน คลิปคำสอน จงเจียกเวลาเสพสื่อดีๆเหล่านั้นบ้าง แล้วเราจะประหลาดใจกับ “แรงบันดาลใจ” ที่เราได้รับ จากสื่อแห่งพระพรเหล่านี้

 

แชร์แต่สิ่งดีๆ

หากสื่อที่สร้างความเกลียดชัง มีเนื้อหารุนแรง ลามกอนาจาร เป็นพลังลบ คริสตชนควรปิดกั้นตนจากสื่อโซเชียลพวกนี้ หากจะไลค์หรือแชร์สิ่งใด ให้มั่นใจว่าก่อนว่า ฉันจะแชร์แต่สิ่งที่เป็นพลังบวก ให้กำลังใจ และนำการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณ

 

เพื่อสรรค์สร้าง อาณาจักรสวรรค์

พระเยซูเจ้าทรงอุทิศชีวิต ของพระองค์ เพื่อการประกาศ “อาณาจักรสวรรค์” แล้วเราสานุศิษย์ จะไม่ใช้สื่อโซเชียล เพื่อการประกาศเลยบ้างหรือ?

 

 

เอกสารสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่อง “คำประกาศเรื่องการศึกษาของคริสตชน” (The Declaration of Education – Gravissimum Educationis, 1965)  ถือว่าเป็นเอกสารแรกหลังจากสังคายนาวาติกันที่ 2 ของพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งทำให้เราได้เข้าใจถึงบทบาทและพันธกิจของพระศาสนจักรในด้านการพัฒนาการศึกษา เพื่อนำทุกสิ่งทุกอย่างกลับไปหาองค์พระเยซูคริสต์ ย่อหน้าแรกของเอกสารนี้ พระศาสนจักรได้ประกาศถึง “สิทธิของเด็กและเยาวชนที่เขาควรจะได้รับ ให้พวกเขาได้มุ่งสู่คุณค่าทางศีลธรรม มีมโนธรรมที่ถูกต้อง ยอมรับพวกเขาในความเป็นบุคคล เพื่อที่จะมีความรู้อย่างลึกซึ้งในความรักขององค์พระเจ้า” วิสัยทัศน์ในเรื่องสิทธินี้จึงเกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการนับถือศาสนาของพระศาสนจักร เฉกเช่นพันธกิจของโรงเรียนคาทอลิกมีไว้เพื่อลูกหลานของคริสตชน เอกสาร Gravissimum Educationis จึงเรียกร้องให้บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองและครอบครัวมีส่วนร่วนใน “เป็นตัวแทนด้านการศึกษา” (authors of education) ให้กับบรรดาเด็กๆ และสิทธินี้ควรจะได้รับการปกป้องโดยทางภาครัฐด้วยเช่นกัน การศึกษาคาทอลิกจึงมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างจากการศึกษาโดยทั่วไป ดังที่เขียนไว้ใน Gravissimum Educationis ย่อหน้าที่ 8 ไว้ว่า

“เฉกเช่นกันโรงเรียนโดยทั่วไป โรงเรียนคาทอลิกมุ่งเน้นเป้าหมายทางวัฒนธรรมและการอบรมบ่มเพาะให้แก่เด็กและเยาวชน แต่โรงเรียนยังมีหน้าที่ที่จะสร้างชุมชนที่มีบรรยากาศแห่งจิตตารมณ์พระวรสาร แห่งเสรีภาพและความรักเมตตา ที่จะช่วยบรรดาเด็กๆ ได้เติบโตตามที่เขาได้เป็นสิ่งสร้างใหม่ (new creatures) โดยทางศีลล้างบาป พวกเขาจะสามารพัฒนาบุคลิกภาพของตน และในที่สุด เป็นไปตามครรลองของวัฒนธรรมแห่งมวลมนุษย์ ตามข่าวดีแห่งความรอดพ้น เพื่อความรู้ของพวกเด็กๆ ที่มีต่อโลก ต่อชีวิต และต่อมวลมนุษย์ จะเป็นความรู้ที่ได้รับการส่อแสงจากความเชื่อ”  (Gravissimum Educationis,§ 8.)

“No less than other schools does the Catholic school pursue cultural goals and the human formation of youth. But its proper function is to create for the school community a special atmosphere animated by the Gospel spirit of freedom and charity, to help youth grow according to the new creatures they were made through baptism as they develop their own personalities, and finally to order the whole of human culture to the news of salvation so that the knowledge of the students gradually acquire of the world, life and man is illuminated by faith.” 

หากจะถามว่า สิ่งใดคือ “อัตตาลักษณ์ของโรงเรียนคาทอลิก” เราได้รับคำตอบคือ “บรรยากาศแห่งความเชื่อและวัฒนธรรมแบบคาทอลิก” ดังที่จอห์น ซัลลิแวน (John Sullivan, 2011) ได้ให้ข้อสังเกตุกับเอกสาร Gravissimum Educationis ว่า เอกสารดังกล่าวไม่ได้ความหมายทางปรัชญาหรือความหมายใดๆ ในเรื่องการศึกษา หากแต่ได้เปิดกว้างให้กับพระศาสนจักรท้องถิ่นได้ตีความหมายของงานอภิบาลด้านการศึกษา ตามท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อเป็นวิสัยทัศน์ต่องานอภิบาลโดยเฉพาะกับชุมชนและสถานการณ์ที่แตกต่างกันทั่วโลก จอห์น ซัลลิแวนยังให้ข้อสังเกตว่า “ในความเป็นจริงแล้ว มีการเขียนหลักการศึกษาในเอกสารนี้ แต่ได้ล่าช้าไป ในช่วงที่สังคายนาได้ปิดตัวลงในปี 1965 อาจจะเป็นไปได้ว่า การพัฒนาเรื่องการศึกษาคาทอลิกได้ลดถอยลงในช่วงกลางศตวรรษที่ 18-19 แต่สังคายนาให้ความสำคัญในเรื่องอื่นๆ ที่เป็นพันธกิจของพระศาสนจักรมากกว่า” อย่างไรก็ตาม Gravissimum Educationis ยังให้ความสำคัญทางการศึกษาคาทอลิกตามธรรมประเพณีของพระศาสนจักร เพราะยังกล่าวถึงการศึกษาในขั้นสูงต่างๆ เช่น วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาเพื่อเตรียมตัวผู้ฝึกตน เช่น เป็นพระสงฆ์ นักบวช ฯลฯ Gravissimum Educationis จึงมีวิสัยทัศน์ของการร่วมมือกันทางวิชาการในทุกๆ ระดับชั้น เช่น พระศาสนจักรท้องถิ่น ระดับสังฆมณฑล และระดับนานาชาติ

ส่งท้าย

เอกสารเรื่องการศึกษาคาทอลิก Gravissimum Educationis ถือกำเนิดขึ้นตามจิตตารมณ์ของสังคายนาวาติกันที่ 2 เพื่อเป็นการฟื้นฟูพระศาสนจักรและเพื่องานอภิบาลในโลกยุคสมัยใหม่ แม้วิสัยทัศน์ในเรื่องโรงเรียนคาทอลิก มีไว้เพื่อลูกหลานของคริสตชนเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ในหลายๆประเทศที่ยังเป็นเขตของการแพร่ธรรม จำนวนของคาทอลิกยังมีอยู่น้อยนิด โรงเรียนคาทอลิกเป็นสถานที่ที่คนต่างศาสนาสามารถสัมผัส รับรู้ ถึงจิตตารมณ์และบรรยากาศแห่งความรักและเมตตาของพระเจ้าได้เช่นกัน

 

อ่านแล้วเขียนจาก...

Second Vatican Council. "Gravissium Educationis: Declaration on Christian Education." In At the Heart of the Church: Selected Documents of Catholic Education, edited by Thomas C. Hunt and Ronald J. Nuzzi United States: Alliance for Catholic Education Press, 2012.

John Sullivan, Catholic Education: Distinctive and Inclusive (Dordrecht: Kluwer Academic Publishers, 2001),

R. F. Trisco and J. A. Komochak, "Vatican Council II," in New Catholic Encyclopedia, Second Edition, vol. 14  (Detroit: Thomson Gale, 2002), 407.

The four constitutions of Second Vatican Councils are
(1) Sacrosanctum concilium, Constitution on the Sacred Liturgy, 1963,
(2) Lumen Gentium, Dogmatic Constitution on the Church, 1964,
(3) Dei Verbum, Dogmatic Constitution On Divine Revelation, 1965, and
(4) Gaudium et Spes, Pastoral Constitution On the Church In the Modern World, 1965.

The nine decrees are
(1) Inter Mirifica, Decree On the Means of Social Communication, 1963,
(2) Orientalium Ecclesiarum, Decree On the Catholic Churches of the Eastern Rite,1964,
(3) Unitatis Redintegratio, Decree on Ecumenism, 1964,
(4) Christus Dominus, Decree Concerning the Pastoral Office of Bishops In the Church,
(5) Perfectae Caritatis, Decree On Renewal of Religious Life, 1965,
(6) Optatam Totius, Decree On Priestly Training, 1965,
(7) Apostolicam Actuositatem, Decree On the Apostolate of the Laity, 1965,
(8) Presbyterorum Ordinis, Decree On the Ministry and Life of Priests, 1965, and
(9) Ad Gentes, Decree On the Mission Activity of the Church, 1965.

The three declarations are
(1) Gravissimum Educationis, Declaration on Christian Education, 1965,
(2) Nostra Aetate, Declaration on the Relation of the Church to Non-Christian Religions, 1965, and
(3) Dignitatis Humanae, Declaration on Religious Freedom, 1965.

 

แม้การจัดตั้งโรงเรียนคาทอลิก เป็นส่วนหนึ่งของการอภิบาล (apostolate) และ การแพร่ธรรม (evangelization) ของพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งอยู่ร่วมกับสังคมมาแต่ช้านาน ก็ยังมีคำถามจากทางภาครัฐหรือสังคมดังนี้...

1. โรงเรียนคาทอลิก บังคับให้คนเข้าสู่ศาสนาคริสต์?

เอกสาร “โรงเรียนคาทอลิก (The Catholic School, 1977) โดยสมณกระทรวงการศึกษาคาทอลิก (Congregation for Catholic Education) ได้ให้คำตอบเรื่อง “งานอภิบาล” (apostolate) และการแพร่ธรรม (evangelization) ในบริบาทของโรงเรียนคาทอลิกว่า เป็นเรื่องเดียวกันและเกี่ยวข้องกันตามวิสัยทัศน์ของพระศาสนจักรท้องถิ่น เอกสาร “โรงเรียนคาทอลิก” ได้เริ่มด้วยการย้ำเตือนเราว่าการอภิบาลด้านโรงเรียนเป็น “พันธกิจแห่งความรอดของพระศาสนจักร” (salvific mission of the Church) การแพร่ธรรมคือการประกาศพระวรสาร การสอนคำสอน และการทำให้คนได้รับศีลล้างบาป (ข้อที่ 5-7) แต่อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้วเราอยู่ในโลกที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรม ในเรื่องเชื้อชาติ ภาษา และศาสนา พระศาสนจักรดำเนินภาระกิจด้านโรงเรียนนี้ตามนโยบายของรัฐด้านการศึกษา คำถามเรื่องงานอภิบาลในโรงเรียนคาทอลิกจึงอาจจะมีความซับซ้อนและมีความละเอียดอ่อน โดยเฉพาะในเรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนาตามมโนธรรมของแต่ละบุคคล ถึงแม้เป็นพันธกิจของโรงเรียนที่จะสร้างวัฒนธรรมและบรรยาการแบบคาทอลิกในโรงเรียน แต่ต้องไม่เป็น “การบังคับในการเข้าสู่ความเชื่อทางศาสนา" (proselytization)  ดังที่บัญญัติไว้ในกฎหมายพระศาสนจักร ข้อ 748 วรรค 1 และ 2 ดังนี้

“วรรค 1  มนุษย์ทุกคนมีพันธะต้องแสวงหาความจริง  ในเรื่องที่เกี่ยวกับพระเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์ และเมื่อพบความจริงแล้ว ก็มีหน้าที่และสิทธิที่จะรับและปฏิบัติตามโดยกฎหมายของพระเจ้า

วรรค 2 ไม่มีใครสามารถบังคับใครให้มานับถือความเชื่อคาทอลิก โดยฝืนมโนธรรมของเขา”

ดังนั้น นอกเหนือที่โรงเรียนคาทอลิกจะเป็นสถานที่แห่งการแพร่ธรรมของพระศาสนจักร แต่ต้องไม่มีการบังคับเข้าสู่ศาสนา ร่วมไปถึงการเคารพสิทธิพื้นฐานของนักเรียนและผู้ปกครองในการนับถือศาสนาใดๆ ที่ไม่ผิดต่อหลักการบ้านเมืองและละเมิดต่อผู้อื่น

ในด้านการเมืองการปกครอง หลักการ “แยกระหว่างพระศาสนจักรและอาณาจักร (Separation between Church and State) จะเป็นหลักการที่หลายๆประเทศพยายามยึดถือและปฏิบัติ หากแต่ เอกสาร “โรงเรียนคาทอลิก” จึงให้แนวทางการอภิบาลในเรื่องนี้ว่า

“การศึกษาที่ครบถ้วนจำเป็นต้องมีมิติทางศาสนาด้วยเช่นกัน เพราะศาสนามีส่วนช่วยการการพัฒนาตนเองของความเป็นบุคคล ซึ่งควรจะวัดผลได้และเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาโดยทั่วไป” (โรงเรียนคาทอลิก ข้อที่ 19)

 

2. โรงเรียนคาทอลิก มีไว้เฉพาะครอบครับคนมีอันจะกิน?

สำหรับข้อนี้ พระศาสนจักรได้ย้ำเรื่องจุดเริ่มต้นของโรงเรียนคาทอลิกคือเพื่อเป็นงานอภิบาลและบริการต่อชุมชน โรงเรียนคาทอลิกจึงเป็นอีกทางเลือกในการศึกษาของชุมชน และของท้องถิ่นนั้นๆ (ข้อ 20-21) ในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่จะรู้จักโรงเรียนคาทอลิกที่มีเชื่อเสียง และบางทีเป็นที่ที่พ่อแม่ผู้ปกครองมีความประสงค์จะส่งลูกๆหลานๆไปเรียน จนอาจจะมีการแข่งขันกันสูงและมีภาพว่าโรงเรียนคาทอลิกมีไว้สำคัญผู้มีอันจะกินในสังคม แต่ยังมีโรงเรียนคาทอลิกและสถาบันการศึกษาที่กระจายตัวไปในที่ต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศไทย และหลายๆโรงเรียนดำเนินงานแบบสงเคาะห์ เช่น เพื่อนักเรียนยากจน ชาติพันธุ์ ผู้พิการ ฯลฯ ซึ่งเป็นพันธกิจของพระศาสนจักรที่ยังไม่เป็นที่รู้จักอีกจำนวนมาก

3. ทำไม่พระศาสนจักรไม่ยกเลิกงานด้านโรงเรียน และมุ่งเน้นแต่การแพร่ธรรม เผื่อจำนวนคาทอลิกจะมีมากกว่านี้?

หากจะพิจารณาโดยคร่าวๆ งานด้านโรงเรียนของพระศาสนจักรเป็นเรื่องของ “งานด้านการศึกษา และ งานด้านสังคม” ซึ่งอาจจะไม่ใช่งานที่จะนำพันธกิจแห่งความรอดฝ่ายวิญญาณโดยตรง (ข้อ 23) เราจะตอบคำถามนี้ในตอนที่ 3 “ทำไมพระศาสนจักรต้องมีโรงเรียนคาทอลิก”

 

อ่านแล้วเขียนจาก...

The Catholic School (1977), by the Congregation for Catholic Education

นักบุญอัลฟอนโซ เด ลีโกวรี

พระสงฆ์ผู้ตั้งคณะพระมหาไถ่นักเทศน์ นักประพันธ์ พระสังฆราช นักบุญ นักปราชญ์ของพระศาสนาจักร นักเทวศาสตร์ศีลธรรม องค์อุปถัมภ์ของพระสงฆ์ผู้ฟังแก้บาป ทั้งหมดนี้เป็นเกียรติที่ท่านนักบุญได้รับใน 91 ปีแห่งประวัติศาสตร์ชีวิตของท่าน

ปฐมวัย

    อัลฟอนโซ เด  ลีโกวรี  เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1696 เมืองเนเปิลส์ ประเทศอิตาลี ท่านเป็นพี่ชายคนโตในจำนวนพี่น้อง 8 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 4 คน บิดาของท่านคือ ดอน โจเซฟ ลีโกวรี    ขุนนางผู้เรืองนามแห่งราชนาวี  มารดาคือ มารีอา คาวารีแอรี สตรีใจศรัทธาซึ่งเป็นที่นับถือของคนทั่วไป

    บิดาของท่านออกจะเป็นคนเข้มงวด เพราะท่านได้รับการฝึกอันเข้มงวดทางทะเลตามหลักสูตรวิชาทหารเรือ ท่านมีนิสัยเด็ดขาดและเป็นคนที่ถือความเชื่อฟังเป็นเอก ในขณะเดียวกัน ท่านยังเป็นคาทอลิกที่มีจิตใจร้อนรนทางความเชื่อและทางปฏิบัติ ทั้งมีความศรัทธาอันแรงกล้าต่อพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้าด้วย ดังนั้นท่านจึงเข้มงวดมากแม้กระทั่งในครอบครัวของท่านเอง

    บิดาและมารดาของอัลฟอนโซมีส่วนสำคัญในการขัดเกลานิสัยของอัลฟอนโซอยู่เป็นอันมาก และเนื่องจากอัลฟอนโซเป็นบุตรหัวปีจึงเป็นความหวังของบิดาที่จะเป็นที่เชิดหน้าชูตาของครอบครัว

    ด้านการศึกษาและสังคม   อัลฟอนโซได้รับปริญญาเอกทางกฎหมายพระศาสนจักรและกฎหมายบ้านเมือง แต่เนื่องด้วยสุขภาพของท่านไม่แข็งแรง เป็นโรคหืดเรื้อรัง และสายตาสั้นจึงไม่สามารถเจริญรอยตามบิดาของท่านในการเป็นทหาร  ดังนั้นบิดาของท่านจึงต้องการให้ท่านเป็นนักกฎหมาย และได้จัดหาคู่สมรสในท่าน แต่อัลฟอนโซได้ปฎิเสธทั้งสองสิ่งที่บิดาคาดหวังไว้ หลังจากแพ้ความคดีในศาล อัลฟอนโซเดินออกจากโรงศาลและประกาศว่า “โอ ! โลกเอ๋ย บัดนี้ข้ารู้จักเจ้าแล้ว”

    ภายใต้การแนะนำของคุณพ่อโทมัส ปากาโน คณะโอราตอรี่ คุณพ่อวิญญาณา-รักษ์ของมารดาของอัลฟอนโซ  ซึ่งภายหลัง ได้เป็นคุณพ่อวิญญาณารักษ์ของอัลฟอนโซ  ตลอดเวลา 30 ปี อัลฟอนโซเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะโอราตอรี่ในฐานะผู้สนใจ  ตลอดเวลา 1 ปีหลังจากท่านสำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ท่านได้เตรียมจิตใจของท่านโดยการเยี่ยมคนป่วยที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง และเยี่ยมนักโทษในคุก อัลฟอนโซและบิดาของท่านมักจะไปเข้าเงียบร่วมกันที่อารามวินเซนต์เชียนและคณะเยซูอิตเป็นประจำทุกปี  ครั้งหนึ่งระหว่างการเข้าเงียบประจำปีที่อารามวินเซนต์เชียน ในปี 1722 อัลฟอนโซได้รับประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต ซึ่งในเวลานั้นท่านเป็นนักกฎหมายได้ละทิ้งชีวิตฆารวาสเข้าสู่ชีวิตสงฆ์ในขั้นต้น โดยการปฎิญาณตัวถือโสด

   บิดาของท่านไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง กับการกระทำของอัลฟอนโซ   ทำให้เกิดความตรึงเครียดระหว่างท่านกับบิดา ท่านและบิดาต่างก็ดื้อดึงที่จะไม่ยอมเปลี่ยนใจในสิ่งที่ตนได้มุ่งหวังไว้ ในที่สุดเวลาแห่งความแตกหักก็มาถึงเมื่ออัลฟอนโซประกาศว่าตนตัดสินใจที่จะเป็นนักบวช ท่านจะเข้าเป็นนักบวชคณะโอราตอรี่ แต่บิดาของท่านไม่ยอม อัลฟอนโซก็ยอมที่จะเป็นพระสงฆ์ของสังฆมณฑลและมาประจำอยู่ที่บ้าน หลังจากนั้น 2 ปี เมื่อได้รับศีลโกนแล้วท่านมั่นใจในตัวเองเกี่ยวกับงานแพร่ธรรมภายหลังจากการบวช ทันใดนั้นท่านเบนความสนใจในคณะธรรมทูตอัครสาวก

พระสงฆ์สังฆมณทล

   วันที่ 21 ธันวาคม 1726 ท่านได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ ท่านอาศัยอยู่ที่่บ้านตลอดเวลา 3 ปี หลังจากนั้นท่านไปอยู่ที่วิทยาลัยจีน ซึ่งเป็นสถาบันที่คุณพ่อมัทธิว ริปา ตั้งขึ้น คุณพ่ออัลฟอนโซอาศัยอยู่กับเพื่อนพระสงฆ์หนุ่มชื่อ เจนนาโร ซาร์เนลลี ในเวลานี้เองที่ท่านได้ปรับปรุงวิธีการอภิบาลในรูปแบบใหม่ เรียกว่า “สมาคมวัดน้อย” โดยคุณพ่ออัลฟอนโซ ร่วมกับเพื่อนนักบวชอีก 2-3 คน จัดประชุมฝึกสอนคำสอนแก่ฆราวาส และฆราวาสกลุ่มนี้ก็จะไปทำงานในชุมชนแออัด สอนคำสอนแก่คนจน คนพิการ และคนเร่ร่อนอยู่ตามถนนของเมืองเนเปิลส์

   แม้ว่าการทำงานของสมาคมวัดน้อยจะพบกับความยากลำบากมากมายแต่ท่านก็ทำงานด้วยความระมัดระวังและรอบคอบพิถีพิถัน ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้หน้าที่มิสชันนารีของคณะธรรมทูตอัครสาวกของท่านบกพร่องแต่อย่างใด  บ่อยครั้งท่านจะมีเวลาพักอยู่บ้างเล็กน้อยท่านจะไปพักผ่อนที่เชิงเขาเหนือฝั่งทะเลอมัลฟิ แม้ว่างานในชุมชนแออัดเมืองเนเปิลส์ดูเหมือนจะราบรื่น แต่ท่านต้องรู้สึกเสียใจและตกใจมากเมื่อทราบว่าชาวเขาละทิ้งความเชื่อ ท่านจึงเริ่มสอนคำสอนแก่พวกเขาในวัดเล็กๆชื่อว่า โบสถ์สันตะมารี แห่ง เทือกเขา หลังจากกลับสู่เนเปิลส์ท่านก็จะเป็นห่วงเป็นกังวลถึงวิญญาณที่น่าสงสารเหล่านั้นที่ไม่มีพระสงฆ์ที่คอยดูแล

ผู้ตั้งคณะพระมหาไถ่

   ถึงจุดนี้ผู้หญิงท่านหนึ่งได้เข้ามามีส่วนในชีวิตของท่านคือ ซิสเตอร์มารีอา เซเลส ครอสตาโรซา การพบกันครั้งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม    ่ ซิสเตอร์เซเลสเป็นซิสเตอร์คาร์เมไลท์ที่สกาลา เธอได้รับการประจักษ์จากพระผู้เป็นเจ้าให้ตั้งคณะนักบวชหญิงขึ้น ซึ่งพระวินัย ของคณะเธอได้เขียนจากการไขแสดงและการดลใจจากพระเป็นเจ้า ข่าวการไขแสดงนี้ได้เล่าลือกันปากต่อปากที่เนเปิลส์ว่าเป็นการคิดฝันขึ้นมาเอง ข่าวการประจักษ์ครั้งนี้ท่านฟัลโกยา    ผู้เปรียบเสมือนคุณพ่อวิญญาณารักษ์ของคุณพ่ออัลฟอนโซ และซิสเตอร์เซเลสได้ต่อต้านทันทีโดยถือว่าเป็นการล่อลวงของปีศาจ ดังนั้นจะต้องมีการตรวจสอบถึงปัญหาในอารามโดยทันที

    คุณพ่ออัลฟอนโซ  และซิสเตอร์เซเลสลงความเห็นว่าเป็นแผนงานของพระเป็นเจ้าโดยแท้จริงและยังมีสิ่งที่เขายังไม่รู้ก็ได้ถูกเปิดเผยในอีกหนึ่งปีต่อมา    เมื่อซิสเตอร์เซเลสได้รับการไขแสดงให้ตั้งคณะนักบวชชายขึ้นโดยให้อัลฟอนโซเป็นผู้ตั้งคณะ แต่ท่านก็ไม่รีบร้อนตัดสินใจใดๆ ท่านได้ดำเนินการอย่างรอบคอบถี่ถ้วน คุณพ่ออัลฟอนโซได้สละเวลาตลอดหนึ่งปีในการปรึกษานักเทวศาสตร์ของเมืองเนเปิลส์สุดท้ายจึงได้รับการยอมรับและเชื่อว่าเป็นความจริง และบทบาทการตั้งคณะของคุณพ่ออัลฟอนโซในการตั้งคณะพระมหาไถ่ก็สำเร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 9 พฤษจิกายน 1732  ซึ่งเป็นวันแต่งตั้งคณะอย่างเป็นทางการ

   คุณพ่ออัลฟอนโซ และซิสเตอร์เซเลสได้ผ่านวิกฤตการณ์หลายอย่างที่นำมาซึ่งความปวดร้าวในการตั้งคณะใหม่นี้  ในปี 1747 คณะมีสมาชิก ทั้งหมด 36 คนซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมาก สำหรับพระศาสนจักร พวกเขามีชื่อเสียงมากในการเทศน์ การใกล้ชิดดูแลคนจน  ความเป็นปึกแผ่นสมัครสมานสามัคคีกันในกลุ่ม และความอ่อนโยนมีความเมตตากรุณาในการให้ความช่วยเหลือและอภิบาลสัตบุรุษรวมทั้งความเมตตากรุณาต่อผู้มาแก้บาปทุกคน 15  ปีต่อมาคณะได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมีสมาชิกถึง 150 คน

   ในเดือนเมษายน ปี 1733 ซิสเตอร์เซเลสถูกขับออกจากอารามที่สกาลาสาเหตุจากเธอไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของพระสังฆราชฟัลโกยาเพราะเธอเห็นว่ามันขัดต่อมโนธรรมของเธอที่ว่าเธอจะต้องรับท่านเป็นพระสงฆ์วิญญาณารักษ์ของเธอแต่ผู้เดียว  หลังจากถูกขับออกจากอารามที่สกาลาซิสเตอร์ได้ตั้งอารามภคินีคณะพระมหาไถ่ที่ฟ็อกเจีย และเธอได้ถึงแก่มรณภาพพร้อมกับชื่อเสียงอันสูงส่งในความศักดิ์สิทธิ์และความสุภาพถ่อมตนในปี 1755

   ตลอดเวลาที่คุณพ่ออัลฟอนโซดำรงตำแหน่งอธิการใหญ่ท่านได้เดินทางแพร่ธรรมไปในที่ต่าง ๆ ท่านได้พยายามต่อต้านระบบศีลธรรมที่เข้มงวด ซึ่งบางระบบก็หย่อนยานเกินไป คุณพ่ออัลฟอนโซได้หลีกเลี่ยงทั้งสองระบบนี้ ท่านได้สร้างระบบขึ้นใหม่เรียกว่า“เทวศาสตร์ศีลธรรม” ซึ่งมีชื่อเสียงมาก และเป็นวิธีการที่ดีในการนำมาใช้ในการโปรดศีลอภัยบาป และท่านมีชื่อเสียงมากในการฟังแก้บาป   ท่านได้ปกป้องความเชื่อของคริสตชน ด้วยเทวศาสตร์ศีลธรรมของท่าน และหลังจากท่านได้ถึงแก่มรณภาพท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นนักปราชญ์ของพระศาสนจักรและเป็นองค์อุปถัมภ์ของนักเทวศาสตร์

   ท่านได้เขียนหนังสือไว้มากมายไม่เฉพาะเรื่องเทวศาสตร์ศีลธรรมเท่านั้น งานเขียนของท่านเปรียบได้กับเป็นการเทศน์สอนของบรรดาอัครสาวก เป็นการเขียนแทนคำพูดดังนั้นจึงเข้าใจง่าย งานเขียนของท่านที่มีชื่อเสียงมีจำนวนถึง 111 เล่ม ซึ่งเหมาะสำหรับทุกชนชั้น ทั้งพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช และฆารวาส ตัวอย่างผลงานของท่านเช่น แนวทางแห่งความรอด ความภักดีต่อพระคริสต์เจ้า เตรียมเผชิญความจาย คู่ชีวิต เฝ้าศีลมหาสนิท  สิริมงคลแด่แม่พระ  บทบาทและหน้าที่สงฆ์ในพระศาสนจักร

พระสังฆราชอัลฟอนโซ

    เดือนมีนาคม 1762 พระสันตะปาปา เคลเมนต์ ที่ 13 ได้แต่งตั้งคุณพ่ออัลฟอนโซเป็นพระสังฆราชปกครองสังฆมณฑล เซนต์ อากาทาแห่งก็อธ ตอนแรกท่านพยายามที่จะหลีกเลี่ยงตำแหน่งนี้ โดยยกเหตุผลมากมายขึ้นเสนอต่อสมเด็จพระสันตะปาปา แต่ก็ไร้ผล ที่สุดท่านต้องยอมรับตำแหน่งนี้ ก่อนหน้าที่ท่านจะมาปกครองนั้น สัตบุรุษมีความเชื่อน้อยมาก ท่านจำต้องลงมือแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ท่านได้จัดให้มีการอบรมสัตบุรุษทั่วทั้งสังฆมณฑล ท่านได้ออกไปเยี่ยมวัดต่างๆปรับปรุงระเบียบการสอนและการอบรมในบ้านเณรเสียใหม่ ท่านได้จัดให้มีการรื้อฟื้นชีวิตภายในของพระสงฆ์ในสังฆมณฑลเสียใหม่ จนที่สุดสังฆมณฑลของท่านได้กลายเป็นสังฆมณฑลตัวอย่างของความศักดิ์สิทธิ์แก่สังฆมณฑลอื่น ๆ ในอิตาลี

   แม้ว่าการงานจะได้ผล แต่นับวันสุขภาพของท่านก็แย่ลงจนถึงขั้นเป็นอัมพาต   ท่านได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหลายครั้งแต่พระสันตะปาปาก็ปฏิเสธที่จะไห้ท่านลาออก โดยพระองค์ให้เหตุผลว่า แม้ว่าท่านจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยก็ตาม แต่จากตัวอย่างการเป็นผู้ภาวนาของท่าน ก็เพียงพอแล้วสำหรับการปกครองสังฆมณฑล ที่สุดในปี 1775 พระสันตะปาปา ปิโอ ที่6ได้อนุมัติการลาออกของท่าน

ปีสุดท้ายของชีวิต

    คุณพ่ออัลฟอนโซกลับสู่บ้านที่ปากานี เพื่อเตรียมตัวที่จะสิ้นใจ ดังที่ท่านตั้งใจใว้ว่าจะขอสิ้นใจที่ปากานี  ณ ที่แห่งนี้ ยังมีความลำบากอันใหญ่หลวงที่สุดในชีวิตของท่านรออยู่ ท่านจะประสบความสำเร็จของเหตุการณ์ทั้งหลาย   ที่ได้นำความทุกข์มาสู่ท่านตลอดเวลาหลายปี  พระวินัยของคณะ   ซึ่งพระสันตะปาปา เบเนดิก ที่ 16 ได้ทรงรับรองเมื่อปี 1749 แต่ยังไม่ได้รับการรับรองจากพระมหากษัตริย์ ดังนั้นท่านจึงดำเนินการเพื่อที่จะให้คณะพ้นจากความล่อแหลมของความมั่นคงของคณะ ในปี 1779 ท่านได้มอบหมายให้สมาชิกของคณะ คือคุณพ่อมาโยเน และคุณพ่อซีมิโน ไปเจรจาเพื่อขอการรับรองของศาลหลวง ด้วยอายุ 83 ปีของคุณพ่ออัลฟอนโซ ท่านหูตึงฟังไม่ถนัด สายตาพร่ามัวมาก ไม่สามารถอ่านหรือเขียนหนังสือได้ ท่านให้ความไว้วางใจแก่ผู้แทนของท่านมาก แต่โชคไม่ดีที่พวกเขาได้เปลี่ยนแปลงพระวินัยของคณะมากมายเช่น ยกเลิกข้อปฏิญาณศีลบนความยากจน ความนบนอบ และความบริสุทธิ์เสีย  มีการริดรอนอำนาจของอธิการลงหลายข้อ เอกลักษณ์การมีชีวิตกลุ่มต้องยกเลิก  จะเห็นได้ว่า ทั้งหมดนี้เป็นการทำลายชีวิตของคณะพระมหาไถ่โดยสิ้นเชิง  และโดยอำนาจของพระสังฆราชท้องถิ่นจึงมีคำสั่งให้คณะถือตามพระวินัยใหม่นี้และให้ประชุมสมาชิกของทุกบ้านและอ่านคำสั่งนี้ต่อหน้าที่ประชุม

    คุณพ่ออัลฟอนโซได้รับคำสั่งในเดือนมีนาคม ปี 1780 และโดยคำสั่งนี้ พระสันตะปาปาได้มีกฤษฎีกาแบ่งคณะออกเป็น 2 พวกคือ พวกที่อยู่ในเขตเนเปิลส์ที่ใช้พระวินัยใหม่(ความจริงไม่ใช่พระวินัยแล้ว) และพวกที่อยู่ในเขตการปกครองของพระสันตะปาปาที่ยังคงใช้พระวินัยเดิมอยู่   จากการแยกคณะออกเป็น 2 พวกนี้ คุณพ่ออัลฟอนโซในฐานะผู้เซ็นรับรองพระวินัยใหม่ รวมทั้งผู้ที่อยู่ในเขตเนเปิลส์จึงถูกขับออกจากคณะซึ่งท่านเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นโดยปริยาย

    6 ปีหลังจากการแบ่งแยกของคณะ วันที่ 1 สิงหาคม ปี 1787    คุณพ่ออัลฟอนโซได้ถึงแก่มรณภาพที่ ปากานี ในฐานะผู้ที่อยู่นอกคณะที่ท่านได้ตั้งขึ้นหลังจากมรณภาพของท่านไม่นาน ได้มีการพิจารณาสอบสวนเพื่อที่จะแต่งตั้งท่านเป็นบุญราศีในปี 1807 ปี 1816 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นบุญราศี ปี 1839 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นนักบุญ เดือนมีนาคมปี 1871 พระสันตะปาปา ปีโอ ที่ 9 แต่งตั้งท่านเป็นนักปราชญ์ของพระศาสนจักร และในปี 1950   พระสันตะปาปา ปิโอ ที่12 แต่งตั้งท่านให้เป็นองค์อุปถัมภ์ของนักเทวศาสตร์และพระสงฆ์ผู้ฟังแก้บาป

A Short Biography  by Joseph W. Oppitz, C,Ss.R.

เกี่ยวกับผู้เขียน คุณพ่อโจแซฟ ออพพิทซ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในชีวประวัติและชีวิตฝ่ายจิตของนักบุญอัลฟอนโซ คุณพ่อเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายเล่ม(อนุทินของฉัน อัลฟอนโซ ซึ่งสำนักพิมพ์คณะพระมหาไถ่ได้จัดพิมพ์ไปแล้ว คือหนึ่งในจำนวนนั้น) ปัจจุบันคุณพ่อยังเดินทางไปทั่วโลก เพื่อให้คำบรรยายเกี่ยวกับเรื่องราวของนักบุญอัลฟอนโซ


บทถวายประเทศไทยแด่แม่พระ
(ในโอกาสวันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ องค์อุปถัมภ์ของประเทศไทย)


ข้าแต่พระแม่มารีย์ ผู้ทรงรับเกียรติขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ  พวกลูกชาวไทยต่างชื่นชมยินดีในเกียรติอันสูงส่ง ซึ่งพระเจ้าได้ประทานแด่พระแม่
วันนี้ลูกขอถวายประเทศไทย อันเป็นแผ่นดินถิ่นเกิดของลูก ไว้ในพระหัตถ์ของพระแม่ ขอพระแม่ได้รักษาอิสรภาพและความเป็นไท ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษมาถึงลูกทุกคน ตราบเท่าทุกวันนี้

  • ลูกวอนขอพระแม่ได้โปรดปกป้องคุ้มครองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์  ให้ทรงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงชนชาวไทยตลอดไป

ลูกวอนขอพระแม่ได้โปรดให้ชาวไทยทุกคน รักและหวงแหนความเป็นไทของตน มีความสมานสามัคคีกลมเกลียวกัน ช่วยกันรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรมอันดีงาม ซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าของชาวไทยทุกคน

  • โปรดอำนวยพระพรแก่พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย บรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ และนักบวชชายหญิง ให้ทุกท่านเป็นผู้มีจิตใจเสียสละในการรับใช้ประชากรของพระเจ้า ขอให้เยาวชนคาทอลิกตอบสนองพระกระแสเรียกด้วยใจเสียสละมากยิ่งขึ้น โปรดประทานพระพรแก่กิจการต่าง ๆ ของพระศาสนจักรในด้านการศึกษา ด้านการพัฒนาและสงเคราะห์ เพื่อเป็นสักขีพยานถึงความรักแบบคริสตชนอย่างแท้จริง

ข้าแต่พระแม่มารีย์ผู้ทรงรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ องค์อุปถัมภ์ของประเทศไทย ลูกขอถวายประเทศชาติบ้านเมือง อันเป็นที่รักของลูกแด่พระแม่ ขอพระแม่ปกป้องคุ้มครองประเทศไทย และพี่น้องชาวไทย โดยเฉพาะผู้มีใจรักและศรัทธาเป็นพิเศษต่อพระแม่ด้วยเทอญ อาแมน