คำสอน
"การพิจารณาไตร่ตรอง"
(Catechesis on Discernment)
"การพิจารณาไตร่ตรอง"
(Catechesis on Discernment)
Discernment 11: สิ่งที่เป็นการยืนยันว่า เราได้ตัดสินใจได้อย่างดี
11. สิ่งที่เป็นการยืนยันว่า เราได้ตัดสินใจได้อย่างดี
(The Confirmation of the Good Choice)
ปาฐกถาโดยพระสันตะปาปาฟรังซิส วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2022
ถอดความโดย คพ. วรวุฒิ สารพันธุ์ C.Ss.R.
อรุณสวัสดิ์พี่น้องชายหญิงทุกท่าน
การพิจารณาไตร่ตรองมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการการตัดสินใจของเรา เพราะเราจะสามารถจับสัญญาณได้ว่ายามใดควรจะตัดสินใจ ทุกคราที่ฉันต้องตัดสินใจ ฉันต้องทำการพิจารณาไตร่ตรองว่า อะไรดีหรือไม่ดี? ความรู้สึกของฉันเป็นเช่นไร? ในยามที่ฉันภาวนา...เพราะฉันได้ทำสิ่งนี้แล้วฉันจึงค่อยตัดสินใจ พ่อจึงอยากให้พวกเราใส่ใจและระมัดระวังในขั้นตอนต่างๆที่ได้กล่าวมานี้ เพราะบางทีเราก็ตัดสินใจได้ไม่ดีเอาเสียเลย จะมีสัญญาญที่ไม่ดีห้ามไม่ให้เราลงมือกระทำ และก็มีสัญญาที่ดีด้วยเช่นกันที่บอกเราว่าการตัดสินใจของเรานั้นดีงามแล้ว
ระยะเวลาก็เป็นสิ่งสำคัญ เราต้องใช้ระยะเวลาสักหน่อย เพื่อแยกแยะเสียงของพระเจ้าออกจากเสียงอื่นๆของโลกนี้ พระเจ้าเป็นจ้าวแห่งกาลเวลา มีแต่พระองค์เป็นที่หนึ่งและเป็นองค์ปฐม สิ่งนี้ทำให้พระองค์ทรงแตกต่างจากบรรดาผู้ที่กล่าวอ้างตนว่าเป็นพระเจ้า และสัญญาณประการหนึ่งที่บ่งบอกว่าเป็นจิตของพระเจ้า นั้นคือสันติสุขที่ยั่งยืนนาน ถ้าเราตระหนักได้ว่า การตัดสินใจของเรานี้ก่อให้เกิดความสงบในจิตใจอย่างยืนนาน ก็เป็นสัญญาณที่บอกเราว่าเราอยู่ในวิถีที่ดีงามแล้ว เป็นความสงบที่มีความสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว และมีความกระตือรือร้น ทำให้เราปรารถนาที่จะลุกขึ้นและลงมือกระทำ
ตัวอย่างเช่น ในยามที่ฉันตัดสินใจที่จะอุทิศเวลาเพื่อการสวดภาวนา ฉันรู้สึกได้ถึงการใช้ชีวิตอย่างมีความหมายมากยิ่งขึ้นในทุกๆวัน ฉันมีความสงบในจิตใจมากขึ้น ความวิตกกังวลก็ลดน้อยลง ฉันใส่ใจในรายละเอียดต่อการทำงานและมีความสุขกับมัน คนที่ฉันเคยอยู่ด้วยแล้วลำบากใจ ฉันก็มีความสบายใจมากขึ้น นี่คือสัญญาที่บ่งบอกเราว่าเราตัดสินใจได้ดีงามและเป็นคุณประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของเรา เราเป็นส่วนหนึ่งในการสรรค์สร้างขององค์พระผู้เป็นเจ้า
หลังจากที่เราได้ตัดสินใจทำอะไรแล้ว เราต้องใส่ใจในรายละเอียดของชีวิต ให้เราอ่านสัญญาณแห่งกาลเวลา เพื่อเป็นสิ่งยืนยันของการกระทำและผลของมันในชีวิต อาจจะเป็นสิ่งที่ดีงาม สิ่งนี้พ่อได้สอนแก่พวกเราแล้ว ต่อไปพ่อจะพูดถึงการประยุกต์ใช้ในชีวิต
ประการแรก เราจะทราบได้อย่างไรว่า การตัดสินใจนี้เป็นการตอบสนองความรักของพระเจ้าที่ทรงมีต่อเราทุกคน? อะไรคือสัญญาณที่เกิดขึ้น? คำตอบก็คือ การตัดสินใจของเราต้องไม่เกิดจากความหวาดกลัว กลัวว่าจะถูกประจานหรือการถูกบังคับขู่เข็ญ แต่เกิดจากความกตัญญูต่อสิ่งที่เราได้รับจากพระองค์ สิ่งนี้ได้ทำให้หัวใจของเราสั่นไหว มีจิตใจเอื่อเฟื้อเผื่อแผ่ และตั้งมั่นอยู่ในความสัมผัสกับองค์พระผู้เป็นเจ้า
ประการต่อไปก็คือ สัมผัสรับรู้ที่บอกเราว่า เรามีที่มีทางในชีวิตของเรา และนั่นคือ สันติสุข... “ฉันรู้สึกว่า ฉันมีที่อยู่ที่ควร” “ฉันรู้สึกว่า ชีวิตของฉันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่ยิ่งใหญ่กว่า และฉันก็มีส่วนร่วมกับมัน” ทำให้พ่อคิดถึงจัตุรัสนักบุญเปโตรที่มีจุดบอกตำแหน่งอยู่สองจุด ระหว่างสองจุดนี้เราจะเห็นเสาคอลัมน์ที่สร้างโดยเบอร์นินิเรียงชิดกันโค้งอย่างเป็นระเบียบ เช่นเดียวกัน มนุษย์เราจะพบในสิ่งที่กำลังค้นหาอยู่ได้ ก็ต่อเมื่อเขาหรือเธอมีช่วงเวลาที่ไม่สับสนวุ่นวาย แต่เป็นระเบียบ พวกเขาจะรู้สึกว่ากำลังเติบโต มีการประสานกลมกลืนแม้จะมีเรื่องต่างๆที่ต้องทำ รู้จักลำดับความสำคัญว่าอะไรก่อนและหลัง พวกเขาจะสามารถผ่านปัญหาอุปสรรคอย่างง่ายดาย ยังคงมีกำลังใจที่เข้มแข็งและยังคงเชื่อมั่น นี่แหละ คือสัญญาณที่บ่งบอกเราว่า เราได้ตัดสินใจในสิ่งที่ดีงาม
สัญญาณอีกประการหนึ่งที่ยืนยันว่าเราตัดสินใจได้ดีแล้ว ตัวอย่างเช่น แม้หลังการตัดสินใจ เรากลับรู้สึกเป็นอิสระ เรายินดีที่จะตอบคำถามต่างๆของปัญหาที่เกิดขึ้น แม้กระทั่งหยุดกระทำมัน แม้จะประสบความล้มเหลวแต่การปล่อยวางก็เป็นส่วนหนึ่งของอิสระเสรี ไม่ใช่ว่าพระเจ้าจะทรงทอดทิ้งเราผู้เป็นที่รักของพระองค์ หากแต่พระเจ้ากำลังสั่งสอนเราอยู่ เพราะมีเพียงพระองค์ทรงทราบว่าอะไรดีสำหรับเรามนุษย์ การยึดติดยึดมั่นกลับเป็นศัตรูของคุณงามความดีและทำลายความรัก ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในชุมชนตามที่เราเห็นในข่าว ส่วนใหญ่เกิดจากความหมกหมุ่นในความรัก (ที่ไม่แท้จริง) พวกเขากลัวที่จะสูญเสียมันไป จึงเกิดการบังคับและทำลายชีวิต ประสบการณ์แห่งนรกจึงขึ้น!
ความรักเกิดขึ้นได้จากเสรีภาพเพียงอย่างเดียวเท่านั่น ด้วยเหตุนี้พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ให้มีเสรีภาพ แม้กระทั่งเสรีภาพที่จะปฏิเสธพระองค์เอง จงมอบถวายทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นของล้ำค่าในชีวิตแด่พระองค์ สิ่งนี้นับว่าประเสริฐแท้ เพราะทำให้เรามีชีวิตได้อย่างดีที่สุดแล้วเท่าที่มนุษย์จะพึงมีได้ เป็นชีวิตที่อยู่กับความจริง ชีวิตนี้แหละ เป็นของขวัญที่พระเจ้าทรงมอบให้กับเรา และเพื่อแสดงความกตัญญูต่อของประทานนี้ เราต้องศึกษาเรื่องราวของชีวิตและประวัติศาสตร์ของตนให้ดี เพื่อที่จะรับรู้ว่าทุกสิ่งล้วนอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ เรามีความเคารพต่อพระเจ้า มิใช่มีความหวาดกลัว แต่ด้วยความเคารพ หากเราต้องการรับพระหรรษทานแห่งปรีชาฉลาด สิ่งนี้เป็นเงื่อนไขที่ละเว้นไม่ได้ (อ้างอิง บุตรศิรา 1,1-18) เป็นดั่งเสียงดังคำราม ณ เบื้องพระพักตร์พระองค์ และไม่มีสิ่งใดทำให้สงบเงียบได้เลย หากเป็นความย่ำเกรงที่ขับไล่ความกลัวอื่นใดทั้งหมด และนำพาเราไปสู่พระองค์
นักบุญเปาโลเป็นตัวอย่างของประสบการณ์ที่วิเศษสุดนี้ ท่านได้อธิบายว่า “ข้าพเจ้าทราบว่าต้องพึงพิงสิ่งใด ข้าพเจ้ารู้ว่าต้องยึดติดกับสิ่งใด ในทุกๆสิ่งและทุกๆสถานการณ์ ข้าพเจ้าเรียนรู้ความลับของการเผชิญกับความอิ่มเอิบและความหิวโหย การมีอย่างเหลือเฟือและความขัดสน ข้าพเจ้าสามารถทำทุกสิ่งในพระองค์ผู้ทรงเพิ่มพูนพละกำลังของข้าพเจ้า” (จดหมายถึงชาวฟิลิปปี 4, 12-13) ท่านเป็นผู้มีเสรี เป็นผู้สรรเสริญพระเจ้าในทุกสิ่ง ทั้งในความดีงามและในสิ่งที่ตรงข้าม ขอให้เราสรรเสริญพระองค์ตลอดไป และขอให้เราก้าวต่อไป
แม้เราจะได้รับการยืนยันว่าเราได้ตัดสินใจอย่างดีแล้ว เรายังต้องตระหนักถึงปัจจัยอื่นๆด้วยเช่นกัน เป็นสิ่งที่อยู่เหนือจากการควบคุมของเรา อาทิเช่น เรื่องของสุขภาพ เรื่องของอนาคต สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นกับคนที่เรารัก แผนการณ์ของชีวิต ฯลฯ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความไว้วางใจที่เราฝากไว้กับองค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นจ้าวแห่งสากลจักรวาล พระองค์ทรงรักเราอย่างหาที่สุดมิได้ พระองค์ทรงรู้ดีว่า มนุษย์มีความสามารถในการมีส่วนร่วมกับการสรรค์สร้างของพระเจ้า เป็นการสร้างสรรค์ในสิ่งมหัศจรรย์และเป็นนิรันดร์ ดังที่เราเห็นในชีวิตของบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นวิถีชีวิตที่งดงาม พ่อขอให้เราก้าวไปข้างหน้า จงตัดสินใจเช่นนี้ ด้วยคำอธิฐานภาวนาและทำตามความรู้สึกของหัวใจ จงก้าวไปอย่างช้าๆ พ่อขอให้ลูกๆมีความกล้าหาญ
Discernment 11: สิ่งที่เป็นการยืนยันว่า เราได้ตัดสินใจได้อย่างดี
Discernment 12: การตื่นเฝ้า
Discernment 10: ความบรรเทาใจที่แท้จริง
- Discernment 01: ความหมายของ “การพิจารณาไตร่ตรอง”
- Discernment 02: แบบอย่างของนักบุญอิกญาซิโอ แห่งโลโยลา
- Discernment 03: ปัจจัยของการพิจารณาไตร่ตรอง ความคุ้นเคยกับองค์พระเจ้า
- Discernment 04: ปัจจัยของการพิจารณาไตร่ตรอง การรู้จักตัวเอง
- Discernment 05: ปัจจัยของการพิจารณาไตร่ตรอง ความปรารถนา
- Discernment 06: ปัจจัยของการพิจารณาไตร่ตรอง หนังสือแห่งชีวิตของตน
- Discernment 07: หัวข้อของการพิจารณาไตร่ตรอง ความเปล่าเปลี่ยวใจ