Skip to main content

คำสอน 
"การพิจารณาไตร่ตรอง"
(Catechesis on Discernment)

Discernment 08: เหตุใดเราถึงเปล่าเปลี่ยวใจ?

บทความ, ชีวิตฝ่ายจิต, Discernment

book

8. เหตุใดเราถึงเปล่าเปลี่ยวใจ?

(Why are we desolate?)

ปาฐกถาโดยพระสันตะปาปาฟรังซิส วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2022

ถอดความโดย คพ. วรวุฒิ สารพันธุ์ C.Ss.R.

วันนี้ เรามาต่อกันกับคำสอนให้หัวข้อการพิจารณาไตร่ตรอง เราพบว่ามันสำคัญที่เราจะอ่านอะไรก็ตามที่ทำให้ภายในของเราหวั่นไหว เพื่อเราจะได้ไม่ต้องรีบตัดสินใจตามอารณ์ความรู้สึกที่มีอยู่ ณ ช่วงนั้น แล้วค่อยมาเสียใจแต่ภายหลัง นั่นแหละ อ่านให้ออกว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่แล้วเราจึงค่อยตัดสินใจ

ด้วยเหตุผลอันนี้ แม้ในจิตใจจะอยู่ในภาวะที่เปล่าเปลี่ยว ราวกลับว่าทุกๆอย่างดูมืดมนและเศร้าหมอง มันกลับเป็นโอกาสที่ทำให้เราได้เติบโต จริงแท้ที่ว่า หากไร้ซึ่งความไม่พอใจใดๆเลย เช่นความเศร้าหมองเล็กๆน้อยๆที่ไม่มากจนเกินไป เราเสี่ยงที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างผิวเผินโดยไม่พยายามติดต่อกับความเป็นอยู่ภายในของเรา 

นับเป็นความสามารถของสุขภาวะทางอารณ์ ที่เราสามารถอยู่กับตัวเองได้อย่างสันโดษ ไม่วิ่งหนีไปจากมัน แม้ความเปล่าเปลี่ยวเป็นเหตุให้เกิด “ความว้าวุ่นฝ่ายวิญญาณ” เพราะในยามเศร้าหมองดูเหมือนว่าวิญญาณของเราจะสั่นครอน แต่จิตกลับตื่นตัว ทำให้เราเฝ้าระวังและมีความถ่อมตน มันปกป้องเราจากความเพ้อฝันที่ล่องลอยเข้ามา ประสบการณ์นี้เป็นเงื่อนไขที่หลีกหนีไม่ได้สำหรับความก้าวหน้าของชีวิต ยิ่งไปกว่านั้น นี้คือการดำเนินชีวิตฝ่ายจิต ความสงบที่ “ปลอดเชื้อ” ดูเหมือนจะสมบูรณ์แบบ ไร้อารณ์ความรู้สึกใดๆประสามนุษย์ กลับทำให้เราดูไม่เป็นคนปกติ โดยเห็นได้จากพฤติกรรมและจากการตัดสินใจ ตราบใดที่เรายังเป็นปุตุชนอยู่ อารณ์ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์ ถ้าเราไม่เข้าใจอารณ์ตนเอง เราไม่สามารถเรียกตัวเองว่าเป็นผู้คนได้ หากเราไม่รู้สึกอ่อนไหว ใจของเราคงจะเย็นชาต่อความทุกข์ระทมของผู้อื่น และไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกในใจตนเองได้เลย สิ่งนี้ไม่ได้ได้เหมารวมถึง “สันติสุขอย่างสมบูรณ์แบบ” เพราะสิ่งนี้ไม่ได้มาจากความเย็นเฉย เช่นว่า “ฉันไม่อยากยุ่งกับมัน ฉันอยู่ห่างๆจะดีกว่า” นี้มันไม่ใช่ชีวิต ราวกับว่า เราอยู่ในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ที่ถูกกั้นตายเพื่อไม่ให้มีเชื้อโรคใดๆเข้าไปได้ หากแต่ในชีวิตของบรรดานักบุญ พวกเขาอนุญาติให้เกิดวุ่นวายใจ ทำให้เป็นสิ่งกระตุ้นในยามหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนวิถีของชีวิต ความสงบภายในที่ไม่ใช่ของจริง มันไม่ดีเลย หาแต่ความวุ่นวายใจกลับเป็นความดีงาม หัวใจที่สั่นไหวเป็นหัวใจที่เสาะแสวงหาหนทางแห่งหัวใจ มีแบบอย่างจากบรรดานักบุญ เช่น เอากุสตินแห่งฮิปโป อีดิธสไตน์ โจเซฟเบเนดิกต์คอตโตเลนโก และชาร์ลเดอโฟคอลด์ เพราะราคาที่ต้องจ่ายสำหรับชีวิตในปัจจุบันคือการตัดสินใจที่สำคัญๆของชีวิต หากแต่เป็นราคาที่ทุกคนเอื้อมถึง การตัดสินใจที่สำคัญๆของชีวิตไม่ใช้การแทงหวย ไม่ใช่เลย มันมีค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายด้วยหัวใจของเราเอง และค่าใช้จ่ายในยามตัดสินใจก็คือความมานะบากบั่นของเรา มันไม่ใช่ของฟรีแต่เป็นราคาที่ทุกคนเอื้อมถึง เราต้องจ่ายเพื่อเป็นตั้วให้เราออกห่างจากความรู้สึกเย็นชาที่มักจะทำให้เราตกต่ำลงไป

แม้ว่าความเปล่าเปลี่ยวจะดูไร้ประโยชน์ ไม่ได้กระทำสิ่งใด และมองได้อย่างเดียวว่าเป็นเพียงเรื่องของอารณ์ แต่มันกลับทำให้เรามีโอกาสเติบโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น สามารถพัฒนาความสัมพันธ์อันสวยงามกับพระเป็นจ้าและกับคนที่เรารัก ไม่ใช่แค่ติดต่อกับเฉพาะเวลาที่ได้รับประโยชน์ หรือแลกเปลี่ยนสิ่งของกัน ลองคิดถึงเด็กๆที่เอาแต่รอคอยของขวัญของพ่อแม่อย่างของเล่นหรือขอตังค์ไปซื้อไอศกรีม ขออนุญาตไปทำสิ่งนู่นนี้ เราติดต่อกับผู้คนไม่ใช่เพราะตัวตนของเขาแต่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน แต่ถึงอย่างไรพ่อแม่ก็เป็นของขวัญที่ประเสริฐสุดที่พระเจ้าประทานให้แก่พวกเรา ยิ่งเราเติบโตขึ้นเรายิ่งเข้าใจสิ่งนี้มากขึ้นด้วยเช่นกัน

บางทีการสวดภาวนาของเราก็เป็นเช่นนี้ เราขอให้พระเจ้าให้ช่วยเราเป็นพิเศษโดยไม่ได้สนใจพระองค์ เราเข้าหาพระเจ้าและได้แต่ขอๆๆ พระวรสารก็เล่าถึงผู้คนต่างๆมากมายที่พยายามเข้ามารุมล้อมพระเยซูเจ้าเพื่อหวังบางสิ่งบางอย่างจากพระองค์ เช่นรับการรักษา ความช่วยเหลือต่างๆ โดยไม่คิดจะอยู่อย่างเรียบง่ายกับพระองค์ ฝูงชนพากันเบียดเสียดพระองค์แต่พระองค์กลับโดดเดี่ยว นักบุญบางท่านหรือศิลปินก็ระลึกถึงข้อนี้ เพราะมันดูแปลกที่จะถามพระองค์ว่า “พระองค์ทรงรู้สึกอย่างไร?” ในทางตรงข้าม นี้เป็นสิ่งสวยงามที่จะนำเราเข้าสู่ความสัมพันธ์ที่แท้จริงและอย่างซื่อตรงต่อความเป็นมนุษย์ของพระองค์ มีส่วนร่วมไปกับความทุกข์แม้กระทั่งความสันโดษ เพราะเป็นพระองค์องค์เองที่ปรารถนาให้เรามีส่วนร่วมในชีวิตของพระองค์อย่างครอบครัน

นับเป็นคุณประโยชน์มากทีเดียวที่เราจะอยู่กับพระองค์ เพียงอยู่กับพระองค์โดยไม่มีจุดประสงค์ซ่อนเร้นอันใด ดังเช่นคนที่เป็นห่วงกัน เราปรารถนาที่จะรับรู้เรื่องราวของกันและกัน เพราะการอยู่ร่วมกันนับเป็นสิ่งที่ดี 

พี่น้องชายหญิงที่รัก เรื่องชีวิตฝ่ายจิตไม่ใช่เป็นเรื่องทางเทคนิค ไม่ใช่โปรแกรมสำหรับ “สุขภาวะภายใน” ที่เราเลือกได้ตามใจของเรา ไม่เลย ชีวิตฝ่ายจิตเป็นความสัมพันธ์กับพระผู้ทรงชีวิต เป็นพระเป็นเจ้าที่ทรงชีวิตอยู่เหนือกว่าเรามากนัก เช่นนี้แล้ว ความเปล่าเปลี่ยวเป็นการตอบรับที่ชัดเจน ต่อสิ่งที่พระเจ้าทรงสัมผัส ในแบบของความคิดและความปรารถนา ความเปล่าเปลี่ยวจึงไม่ใช่แค่เรื่องของอารณ์ เพราะแม้ที่เรารู้สึกมืดมน เราสามารถแสวงหาพระเจ้าในความเปล่าเปลี่ยวนี้ เป็นแผนการที่พระองค์ทรงวางไว้ให้กับเรา เราเองควรจะมีความสุขและรู้สึกเติมเต็ม เหมือนเราเปิดเพลงโปรดของเราอยู่ซ้ำๆวนๆ ในทางกลับกัน ผู้ที่ชอบสวดภาวนาจะมีตระหนักว่าผลของการภาวนานั้นคาดเดาไม่ได้เลย แม้พระวาจานั้นจะตราตรึงอยู่ในใจแต่จะยังไม่เปลี่ยนแปลงหัวใจของเราวันนี้ เช่นประสบการณ์แห่งไม้กางเขนที่เราเคยอ่านและก็ไม่ค่อยใส่ใจอะไร มันคาดเดาอะไรไม่ได้ ยามเราต้องเผชิญทางแห่งกางเขนนี้ ในที่สุดเรากลับได้รับสันติสุขอย่างมากมาย จงอย่ากลัวความเปล่าเปลี่ยวใจ เผชิญกับมัน อย่าลีกเลี่ยงมันไป เพราะความเปล่าเปลี่ยวนี้แหละที่เราพบกับพระหฤทัยของพระเยซู  จงพบปะพระองค์ที่นั่น แล้วเราจะได้รับคำตอบในหัวใจของเราอยู่เสมอ

จงกล้าที่จะเผชิญกับความยากลำบากนี้ ขอลูกอย่าท้อแท้ แต่ให้ผ่านบททดสอบนี้ด้วยความมุ่งมั่น โดยมีพระหรรษทานช่วยเหลือเราอย่างไม่ขาด หากยามใดที่มีเสียงภายใจบอกให้เราหยุดการสวดภาวนา เปิดเผยมันและเข้าใจว่านี้คือเสียงผู้ที่มาประจญล่อลวง อย่าตกอยู่ใต้อิทธิพลของมันไป พึงกระทำตรงข้ามกับที่มันบอกเรา พ่อขอขอบคุณ

 

book

Discernment 08: เหตุใดเราถึงเปล่าเปลี่ยวใจ?

◀️ Discernment 09: ความบรรเทาใจ

Discernment 07: หัวข้อของการพิจารณาไตร่ตรอง ความเปล่าเปลี่ยวใจ ▶️