คำสอน
"การพิจารณาไตร่ตรอง"
(Catechesis on Discernment)
"การพิจารณาไตร่ตรอง"
(Catechesis on Discernment)
Discernment 12: การตื่นเฝ้า
12. การตื่นเฝ้า
(The Vigilance)
ปาฐกถาโดยพระสันตะปาปาฟรังซิส วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2022
ถอดความโดย คพ. วรวุฒิ สารพันธุ์ C.Ss.R.
อรุณสวัสดิ์ พี่น้องชายหญิงทุกท่าน
ขณะนี้เรากำลังเข้าสู่ช่วงท้ายๆของคำสอนเกี่ยวกับการพิจารณาไตร่ตรอง เราได้เริ่มด้วยแบบอย่างของท่านนักบุญอิกญาซิโอแห่งโลโยลา เราได้ศึกษาปัจจัยต่างๆของการพิจารณาไตร่ตรอง นั่นคือ การภาวนา การรู้จักตนเอง ความปรารถนา และการอ่าน “หนังสือแห่งชีวิต” เราได้พูดถึงเรื่อง ความเปล่าเปลี่ยวใจและความบรรเทา ปัจจัยนี้มีส่วนสำคัญนำเราไปสู่ การยืนยันต่อการตัดสินใจของเรา
มาถึงจุดนี้ พ่อเห็นว่าจำเป็นที่จะเสนอท่าทีที่เป็นแก่นสาน เพื่อให้เราทำการไตร่ตรองได้อย่างอย่างดีเยี่ยมและตัดสินใจได้อย่างไม่พลาดพลั้งไป นั่นคือ ท่าทีของการตื่นเฝ้า พ่อได้สอนลูกๆเรื่อง การพิจารณาไตร่ตรอง ความเปล่าเปลี่ยวใจ และความบรรเทา แล้วท่าทีแห่งการตื่นเฝ้าคืออะไรกัน ผลแห่งการพิจารณาไตร่ตรองก็อาจจะมีความเสี่ยง เป็นดั่งเป็นจุดอ่อนของนักกีฬา นั่นก็คือการแทรกแซงของปีศาจ เพราะมันมีความสามารถผังทลายทุกสิ่งที่เราได้สร้างขึ้นมา ทำให้เรากลับไปจุดเริ่มต้นของการเดินทางฝ่ายจิตหรืออาจจะแย่ไปกว่านั้น เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องตื่นเฝ้าระวัง โดยเฉพาะในสถาณการณ์ปัจจุบัน พ่อเห็นว่าเราควรที่เน้นเรื่องการตื่นเฝ้า เพื่อให้การพิจารณาไตร่ตรองของเราได้ดำเนินต่อและไม่หลงทางไป
เป็นความจริงที่ว่า พระเยซูเจ้าได้เทศน์สอนและตื่นบรรดาสานุศิษย์ให้เฝ้าระวังว่า จงอย่าหลับใหล จงอย่าปล่อยให้ตนคิดว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน คิดว่าทุกสิ่งเป็นไปตามครรลองครองธรรมอยู่แล้ว แต่จงเฝ้าระวังและจงเตรียมพร้อมสำหรับหน้าที่ความรับผิดชอบ
ในตัวอย่างของพระวรสารโดยนักบุญลูกา พระองค์ตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงคาดสะเอวและจุดตะเกียงเตรียมพร้อมไว้ จงเป็นเสมือนผู้รับใช้ที่กำลังคอยนายกลับจากงานมงคลสมรส เมื่อนายมาและเคาะประตู จะได้เปิดรับ ผู้รับใช้เหล่านั้นเป็นสุข ถ้านายกลับมาพบเขากำลังตื่นเฝ้าอยู่ เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า นายจะคาดสะเอวพาผู้รับใช้เหล่านั้นไปนั่งโต๊ะและจะรับใช้เขาด้วย” (ลก. 12,35-37)
จงตื่นเฝ้าเพื่อที่จะปกปักรักษาหัวใจของเรา จงทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในใจเรา
เราคริสตชนมักมีกรอบความคิดเรื่องการตื่นเฝ้าว่าเป็นเรื่องของการรอคอยการเสด็จมาอีกครั้งหนึ่งขององค์พระบุตร แต่การตื่นเฝ้าเป็นทัศนคติของการดูแลควบคุมชีวิต ภายหลังการพิจารณาไตร่ตรองและได้เลือกตัดสินใจเป็นอย่างดีแล้ว การตื่นเฝ้าจะช่วยรักษาความคงเส้นคงวาและช่วยทำให้ชีวิตของเราเกิดดอกออกผล
หากปราศจากการตื่นเฝ้าแล้วเราจะอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญเสีย ความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นไม่ใช่แค่ด้านจิตใจแต่ด้านจิตวิญญาณ นับเป็นหลุมพรางของผีปีศาจ จริงแท้ที่พวกมันเฝ้ารอหาจังหวะอย่างเหมาะสมที่จะแทรกเข้ามาในจิตใจ โดยเฉพาะในคราวที่เรามนุษย์มีความมั่นใจในตนเอง พ่อเห็นว่ามันอัตรายมากๆที่ใครจะกล่าวว่า “ฉันมีความมั่นใจในตัวของฉันเอง ฉันเป็นผู้ชนะ ฉันรู้สึกสบายๆ กับทุกๆสิ่ง...” ปีศาจมันรอท่าทีของเราอย่างนี้แหละ ยามที่เรารู้สึกว่าทุกสิ่งเป็นไปได้ด้วยดี ดำเนินการของมันไปเรื่อยๆ ราวกับเรือที่แล่นไปเพราะมีสายลมช่วยพัดพาไป พระวรสารได้คร่าวอย่างสั้นๆถึงการหวนคืนของจิตชั่วร้าย ถ้าหากบ้านที่เราได้ทำความสะอาดแล้วนั้นกลับว่างเปล่าไม่มีคนอยู่ “มันจึงพูดว่า ‘ข้าจะกลับไปยังบ้านของข้าที่ข้าจากมา’ เมื่อกลับมาถึงมันพบว่าบ้านนั้นว่าง ปัดกวาดตกแต่งไว้เรียบร้อย” (มธ. 12,44) จะมีประโยชน์อะไร ถ้าบ้านได้รับการดูแลเป็นอย่างดีแต่ไม่มีใครอยู่และไม่มีใครคอยเฝ้าระวังปกป้องคุ้มครองบ้านหลังนี้ นี้คือปัญหา เจ้าของไม่ยอมอยู่ที่บ้านเพราะมัวไปสนใจเรื่องอื่นๆ หรือเป็นเพราะเขามัวแต่หลับใหล แม้ใครจะมาจะไปก็ไม่เห็นเขา เพราะเขาไม่ยอมที่จะตื่นเฝ้าและตื่นตัว อาจเป็นเพราะเขามีความมั่นใจมากเกินไป ขาดความสุภาพถ่อมตนที่จะปกปักรักษาหัวใจของตนเอง พ่ออยากเตือนให้พวกเรารู้จักปกปักรักษาบ้านและหัวใจของเรา อย่าหลวงไปกับสิ่งใดหรือออกไปเที่ยวเตร่ เพราะพระวรสารได้ตื่นพวกเราแล้ว
พวกจิตชั่วร้ายมันจะใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้และมันจะหวนกลับมา และมันจะไม่ได้กลับมาแค่ตัวเดียว เพราะพระวรสารบอกเราว่า มันจะกลับมาอีก “เจ็ดตนที่ร้ายกว่ามัน” (มธ. 12,45) เป็นพรรคพวกของผีปีศาจและแก๊งของพวกชอบกระทำผิด เราเองอาจจะแปลกใจว่าสิ่งนี้เป็นไปได้อย่างไร พวกมันเข้ามาได้อย่างไร? ทำไมไม่มีใครสังเกตพวกมัน? ทำไมเจ้าของบ้านไปคิดที่จะขับไล่พวกมันไป? เพราะบ้านนี้สวยสง่าและงดงาม แล้วพวกสมัครพรรคพวกและเพื่อนบ้านหายไปไหนกันหมด? บ้านนี้เป็นบ้านแห่งหัวใจ หรือบางทีเป็นเพราะเจ้าของบ้านหวงแหนบ้านหลังนี้มากจนเกินไป เขาเก็บมันไว้สำหรับตนเองเท่านั้น เขาไม่ได้เชิญเจ้าบ่าวให้มาอยู่กับเขา เขากลัวคนจะมาทำบ้านของเขาให้สกปรก เขาจึงปิดบ้านไม่ตอนรับผู้ใดเลย โดยเฉพาะบรรดาผู้ยากไร้ คนไร้บ้าน ฯลฯ เพราะพวกนี้เป็นพวกที่จะนำความรำคาญแก่เขา พ่อยืนยันได้เลยว่านี้คือความจองหอง เป็นความคิดที่ว่าตนเองเป็นผู้ถูกต้องและไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงเขาได้ เราได้ยินคนพูดอยู่บ่อยๆว่า “ใช่แล้วล่ะ ฉันเคยเป็นคนไม่ดี ฉันได้กลับใจแล้ว และตอนนี้บ้านของฉันเป็นระบบระเบียบ มั่นใจได้ ขอบคุณพระเจ้า...” ถ้าฟังดีๆ เขาเหล่านั้นเชื่อมั่นในตนเองมากกว่าพระหรรษทานของพระเจ้า พวกผีปีศาจมันจะใช้ช่องทางนี้แหละเข้ามาสำรวจในบ้านของเรา และพระเยซูทรงสรุปเรื่องราวไว้ว่า “สภาพสุดท้ายของมนุษย์ผู้นั้นจึงเลวร้ายกว่าเดิม” (มธ. 12,45)
แล้วเจ้าของบ้านจะไม่สังเกตุเห็นพวกมันเลยบ้างหรือ? ไม่เลย เพราะพวกมันมาอย่างเนียนๆ เราไม่ทันเห็นพวกมันหรอก พวกมันจะไม่เคาะประตูบ้านแต่จะเข้ามาอย่างเงียบเชียบ ถ้าเราไม่ปฏิเสธมัน มันก็จะเออออไปเองว่า “ไม่เป็นไร เข้าบ้านมาได้เลย...” แล้วมันก็จะเข้ามาควบคุมหัวใจของเราไว้ จงเฝ้าระวังเจ้าผีน้อยพวกนี้ไว้ให้ดี พวกมันไม่ได้มาอย่างดุดันแต่มาด้วยความสุภาพถ่อมตน เป็นความสุภาพที่จอมปลอม มันสุภาพเพื่อจะได้เข้าออกได้ตามอำเภอใจ จงปกป้องบ้านของเราจากการหลอกลวงนี้จากเจ้าพวกผีน้อย จิตที่ฝักใฝ่ฝ่ายโลกล้วนดำเนินอยู่บนเส้นทางการของล่อลวงของผีปีศาจเช่นนี้
พี่น้องชายหญิงที่รัก การต่อสู้กับผีปีศาจดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ หลายต่อหลายครั้งที่เราพ่ายแพ้มัน ตกอยู่ในการประจญล่อลวง อาจเป็นเพราะพวกเราขาดการตื่นเฝ้าระวัง หรือบางทีเพราะพระเจ้าทรงประทานพระหรรษทานให้พวกเขาอย่างล้นเหลือจนเราไม่รู้จักเก็บรักษาไว้ และเราก็สูญเสียมันไป ปราศจากการตื่นเฝ้าเราจะไม่สามารถปกป้องประตูแห่งหัวใจของเรา เพราะเรามนุษย์มักถูกหลอกได้ง่ายๆ จากคนที่เข้ามาทักทายอย่างสุภาพ พวกผีปีศาจก็กระทำการณ์เช่นนี้ หากเราหวนคิดถึงประสบการณ์ของชีวิตของเราอย่างเพียงพอเราก็จะเห็นการผจญล่อลวงนี้ แม้เราจะพิจารณาไตร่ตรองและได้ตัดสินใจแล้วก็ยังไม่เพียงพอ เราต้องตื่นเฝ้าระวังด้วยเช่นกัน จงปกป้องพระหรรษทานของพระเจ้าที่พระองค์ทรงมอบให้แก่พวกเรา จงพิศให้ดีๆ เพราะเราสามารถกล่าวได้เลยว่า “ยามที่ฉันรู้สึกว่าสับสน ฉันรู้ได้เลยว่านี้คือผลงานของผีปีศาจ มันเป็นการประจญล่อล่วง..” บางทีผีปีศาจปรากฏมาในรูปลักษ์ของทูตรสวรรค์ พวกมันรู้จักการแต่งองค์ทรงเครื่องให้ดูสวยงาม พวกมันดูสุภาพและมอบความมั่นใจให้กับพวกเรา แต่ในท้ายที่สุด ทุกอย่างกลับเลวร้ายกว่าเดิมเสียอีก ด้วยเหตุนี้พวกเราจำเป็นต้องเฝ้าระวังไว้ให้ดีๆ ปกป้องพิทักษ์หัวใจของเราไว้ ถ้าพ่ออยากจะถามพวกลูกๆรวมทั้งตัวของพ่อเอง พ่อก็จะถามว่า “ขณะนี้หัวใจของลูกๆเป็นอย่างไร?” เราอาจจะมีคำตอบหนึ่งหรือสองตามความรู้สึกของเรา ไม่ว่าคำตอบจะเป็นอย่างไรก็ตาม ขอให้ลูกเฝ้าระวังหัวใจของลูกไว้ เพราะนี้คือสัญญาณของความปรีชาฉลาด เป็นความสุภาพถ่อมตน เพื่อที่เราจะไม่ผิดพลั้งไป ความสุภาพคือทางด่วนสำหรับชีวิตคริสตชน พ่อขอขอบคุณ
Discernment 12: การตื่นเฝ้า
Discernment 13: พระวาจา และพระจิตเจ้า
Discernment 11: สิ่งที่เป็นการยืนยันว่า เราได้ตัดสินใจได้อย่างดี
- Discernment 01: ความหมายของ “การพิจารณาไตร่ตรอง”
- Discernment 02: แบบอย่างของนักบุญอิกญาซิโอ แห่งโลโยลา
- Discernment 03: ปัจจัยของการพิจารณาไตร่ตรอง ความคุ้นเคยกับองค์พระเจ้า
- Discernment 04: ปัจจัยของการพิจารณาไตร่ตรอง การรู้จักตัวเอง
- Discernment 05: ปัจจัยของการพิจารณาไตร่ตรอง ความปรารถนา
- Discernment 06: ปัจจัยของการพิจารณาไตร่ตรอง หนังสือแห่งชีวิตของตน
- Discernment 07: หัวข้อของการพิจารณาไตร่ตรอง ความเปล่าเปลี่ยวใจ