Skip to main content

ทำไมเราต้องสวดถึงนักบุญ

บทความ, ชีวิตฝ่ายจิต

นับว่าเป็นข้อกังขาและเป็นคำถามหลัก ที่พี่น้องชาวคริสต์ต่างนิกายมักจะโจมตีชาวคาทอลิกว่า

“ไม่มีความจำเป็นที่เราจะสวดภาวนาถึงแม่พระและบรรดานักบุญ เพราะไม่มีประโยชน์ ให้สวดอธิษฐานถึงพระเจ้า พระเยซูคริสต์โดยตรงได้เลย”

แต่สำหรับชาวเราคาทอลิกยึดมั่นในคำสอน “ความเป็นหนึ่งเดียวกันของบรรดานักบุญ” (communion of all saints) หากจะอธิบายง่ายๆ ก็คือ “ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์” เป็นครอบครัวที่เรามีพระเจ้า เป็นพระบิดา มีพระเยซูเป็นพี่ชายและอาจารย์ มีแม่พระเป็นแม่ของชาวคริสตชน และมีพี่ ๆ น้อง ๆ สมาชิกครอบครัวคือบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ หรือ บรรดานักบุญบนสวรรค์นั่นเอง ในครอบครัวของเรา ไม่มีใครที่จะกล่าวว่า “ฉันจะคุยกับพ่อ หรือ แม่ แต่อย่างเดียว ฉันจะไม่คุยกับคนอื่นๆ” ก็อาจจะมีครอบครัวเช่นนี้ แต่เป็นครอบครัวที่แตกแยก หรืออาจจะมีปัญหาภายในครอบครัว แต่ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของบรรดานักบุญนี้ ทุกคนคุยกัน เอื้อเฟื้อกัน และแบ่งปันความรักอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นองค์ “พระจิตเจ้า” เพราะพระเจ้าเป็นความรักนั่นเอง

why pray to the saints

การคุยกันนี้ คือ “การอธิษฐานภาวนา” เราคุยกับนักบุญองค์อุปถัมภ์ของเรา เราคุยกับนักบุญที่เราชื่นชอบและศรัทธา เฉกเช่นกับการภาวนาวอนขอแด่แม่พระ เพราะยิ่งเราสวดภาวนามาเท่าใด กิจศรัทธานี้ก็ยิ่งเพิ่มพูนความรักของเราต่อองค์พระบิดาเจ้าและองค์พระบุตรมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน และที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่เราเป็นผู้อธิษฐานภาวนา แต่เป็นพระจิตเจ้าที่นำเราเข้าสู่การภาวนา ด้วยเหตุนี้ ในยามที่เราอธิษฐานภาวนา ให้เรากระทำตอนให้เป็นเสมือนภาชนะที่ว่างเปล่า วางความทุกข์ร้อนหรือความกังวลใจใดๆ เป็นเครื่องบรรณาการเฉพาะองค์พระผู้เป็นเจ้า แล้วเปิดใจ ให้พระจิตเจ้าเสด็จเข้ามาในจิตใจของเรา เพื่อทูนขอ สรรเสริญ นมัสการ องค์พระผู้เป็นเจ้า และคำภาวนาของเราจะมีความเข้มข้นยิ่งถึง หากเราทูนของพระแม่มารีย์ช่วยทูนขอองค์พระเจ้า พร้อมกับคำวอนขอของนักบุญที่เราศรัทธาเป็นพิเศษ และจะมีหรือที่พระเจ้าจะไม่ทรงสดับฟังของภาวนาของเรา และประทานในสิ่งที่เราวอนขอจากพระองค์

เหตุผล 5 ประการที่ชาวคริสต์ควรสวดภาวนาถึงบรรดานักบุญ

1. บรรดานักบุญเป็นผู้วอนขอแทนชาวเรา

ในคำสอนคริสตชน (CCC) ได้สอนว่า เป็นแผนการของพระเจ้าที่ทรงโปรดให้บรรดานักบุญทำหน้าที่วอนขอแทนชาวเรา ชาวคาทอลิกจึงวอนขอท่านเหล่านั้น เราภาวนาเพื่อโลกใบนี้ รวมไปถึงการวอนขอความต้องการส่วนตัวของเรา (2) (6)

2. ความเป็นหนึ่งเดียวสหพันธ์นักบุญ

นักบุญคือผู้ที่อยู่บนสวรรค์ ในไฟชำระ และคนที่อยู่ในโลกนี้ เราเป็นหนึ่งเดียวกัน (communion of saints) โดยมีแม่พระเป็นราชินี เป็นพระแม่ของสหพันธ์นักบุญ และยิ่งเราภาวนาถึงกันและกันมาเพียงใด เราก็จะยิ่งใกล้ชิดกับมากยิ่งขึ้น (1) (7)

3. “การวอนขอ” นั้นต่างกับการ “กราบนมัสการ”

เราไม่ได้กราบนมัสการบรรดานักบุญและแม่พระ เพราะพวกเขาไม่ใช่พระเจ้า แต่เราอธิษฐานและวอนขอ เพราะพวกเขาเป็นแบบอย่างที่ดีในชีวิต พวกเขาได้ผ่านหนทางแห่งไม้กางเขนพระคริสต์ได้ทรงมอบไว้ ชีวิตของพวกเขาได้รับการชำระล้างแล้วจากบาป ไม่ใช่ด้วยชีวิตที่เพียบพร้อมหรือสมบูรณ์แบบ แต่ด้วยหนทางที่มืดมน ผ่านความทุกข์ การประจญล่อลวง ความทรมานและการกลับใจใช้โทษบาป เราจึงต้องเลียนแบบท่านเหล่านั้น ในวิถีทางแห่งการดำเนินชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณ (4)(9)

4. มีบอกไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล

จดหมายถึงชาวฮีบรู 12:1-4

“พวกเราก็เช่นเดียวกัน เมื่อมี ‘พยานจำนวนมากห้อมล้อมอยู่’ เราจงละทิ้งทุกสิ่งที่ถ่วงอยู่และบาปที่เกาะแน่น เราจงมีมานะวิ่งต่อไปในการแข่งขันซึ่งกำหนดไว้สำหรับเรา จงเพ่งมองไปยังพระเยซูเจ้าผู้ทรงบุกเบิกความเชื่อและทรงทำให้ความเชื่อนั้นสมบูรณ์ พระองค์ทรงยอมสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ไม่ทรงถือว่าเป็นความตายที่น่าอับอาย เพราะทรงคำนึงถึงความยินดีที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้ บัดนี้พระองค์ประทับ ณ เบื้องขวาแห่งพระที่นั่งของพระเจ้าแล้ว ท่านทั้งหลายจงคิดถึงพระองค์ที่ทรงอดทนต่อการคัดค้านเช่นนี้ของคนบาป ท่านจะได้ไม่ท้อถอยหมดกำลังใจ ในการต่อสู้กับบาป ท่านยังมิได้ต้านทานจนถึงกับต้องหลั่งเลือดเลย”

จดหมายถึงชาวฮีบรูได้กล่าวถึงการเดินทางในโลกนี้ เป็นเสมือนการแข่งขัน ที่เราต้องวิ่งมุ่งไปถึงพระราชัยแห่งสวรรค์ โดยมีกองเชียร์จำนวนนานับ ที่คอยให้กำลังใจกับพวกเรา เพราะเขาเหล่านั้น ได้ผ่านหนทางแห่งไม้กางเขนของพระเยซูคริสต์มาแล้ว พวกเขาคือบรรดานักบุญนั่นเอง (3)

5. เป็นคำสอนของพระศาสนจักร

คำสอนของสังคายนาแห่งเมืองเตรนท์ได้ยืนยันว่า การภาวนาแด่บรรดานักบุญนั้นเป็นสิ่งที่ดีและนับว่ามีคุณประโยชน์อย่างมากมายเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า (4) นับเป็นคำสอนที่สำคัญ เป็นแนวทางการปฏิบัติ และเป็นกิจศรัทธาจนมาถึงทุกวันนี้ (5)(8)

วันนี้เราสวดภาวนาแด่องค์พระเจ้า โดยให้พระแม่มารีย์ และบรรดานักบุญช่วยภาวนาให้ชาวเราแล้วบ้างหรือยัง?

 


อ้างอิงจาก

[1] Popular Devotional Practices 6
(https://www.usccb.org/resources/Popular%20Devotional%20Practices%202003-11-12_0.pdf)

[2] Compendium of the CCC 564
(https://www.vatican.va/archive/compendium_ccc/documents/archive_2005_compendium-ccc_en.html#The%20Tradition%20of%20Prayer)

[3] General Audience of 7 April 2021: Catechesis on prayer - 28. Praying in communion with the Saints
(https://www.vatican.va/content/francesco/en/audiences/2021/documents/papa-francesco_20210407_udienza-generale.html)

[4] Catholic Encyclopedia Intercession (Mediation)
(https://www.newadvent.org/cathen/08070a.htm)

[5] Catechism of the Council of Trent The Lord's Prayer - Introduction: On Prayer
(https://archive.org/details/thecatechismofth00donouoft/page/n19/mode/2up?ref=ol&view=theater)

[6] CCC 2683
(http://www.vatican.va/archive/ENG0015/__P9H.HTM)

[7] Compendium of the CCC 195
(https://www.vatican.va/archive/compendium_ccc/documents/archive_2005_compendium-ccc_en.html#I%20Believe%20in%20the%20Holy%20Spirit)

[8] A Catechism of Christian Doctrine (The Baltimore Catechism No. 3) 1202
(https://gutenberg.org/cache/epub/14553/pg14553.html#id01322)

[9] CCC 957
(http://www.vatican.va/archive/ENG0015/__P2B.HTM)

[10] Mediator Dei 168
(https://www.vatican.va/content/pius-xii/en/encyclicals/documents/hf_p-xii_enc_20111947_mediator-dei.html)


 

Father M

Father M

Written by 
บาทหลวง วรวุฒิ สารพันธุ์ C.Ss.R. JCL


Catholic Priest & Canonist
Author & Administrator
Faith4Thai.com

*juris canonici licentiatus
หรือ JCL เป็นปริญญาทางกฏหมายพระศาสนจักร

Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
FaceBook: Worawut Saraphan
Iine ID: mcssrsp


บทความที่เกี่ยวข้อง