Skip to main content

วิวัฒนาการของ "การศึกษาคาทอลิก"

ในประวัติศาสตร์โลก

book

บทที่ 13 สมณลิขิตเรื่อง “ครูผู้ศักดิ์สิทธิ์” (Divini Illius Maagistri 1929)

Pope Pius XI

ในช่วงเวลานี้ของประวัติศาสตร์การศึกษาคาทอลิก มีความตึงเครียดระหว่างอำนาจของพระศาสนจักรและของรัฐไม่ใช่เพียงเรื่องเสรีภาพของพระศาสนจักรเท่านั้น แต่รวมไปถึงสิทธิของผู้ปกครองที่จะเลือกโรงเรียนสำหรับบุตรของตนให้เป็นไปตามความเชื่อและมโนธรรมด้านศีลธรรมของครอบครัว ด้วยหลักการนี้ทางภาครัฐก็ควรที่จะสนับสนุนโรงเรียนของพระศาสนจักรด้วยเช่นกัน แต่นโยบายของภาครัฐกลับไม่เป็นเช่นนั้น นับแต่ปี 1880 ที่ได้มีโรงเรียนคาทอลิกเกิดขึ้นอยู่ทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ปลายศตวรรษที่ 19 ทางภาครัฐเริ่มตัดงบประการการสนับสนุนโรงเรียนคาทอลิก เหตุการณ์การตัดงบประมาณโรงเรียนคาทอลิกก็กับกับหลายๆประเทศ เช่นในออสเตเลียแม้จะมีกฎหมายบังคับให้ทุกคนได้เรียนในระดับปฐมศึกษา ได้มีการตัดงบประมาณในช่วงระยะหนึ่ง จนถึงปี 1964 รัฐกลับมาสนับสนุนโรงเรียนคาทอลิกอีกครั้ง ที่นิวซีแลนด์ได้มีการออกพระราชบัญญัติการศึกษาในปี 1877 ให้หยุดการสนับสนุนงบประมาณโรงเรียน แต่ก็กับมาสนับสนุนงบประมาณบางส่วนอีกครั้งในปี 1975 ในอังกฤษและเวลส์ งบประมาณถูกจำกับในศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 แต่กลับได้รับการสนับสนุนอีกครั้งในช่วงปี 1950 เป็นต้นไป พระราชบัญญัติการศึกษาของประเทศสก๊อตแลนด์ในปี 1872 งบประมาณถูกตัด แต่ในปี 1918 โรงเรียนคาทอลิกได้รับการสนับสนุนอีกครั้งหนึ่ง

 สมณลิขิตเรื่อง “ครูผู้ศักดิ์สิทธิ์” (Divini Illius Maagistri 1929) ถือกำเนิดในช่วงเวลาแห่งความตึงเครียดนี้  พระสันตะปาปาปีอุสที่ 9 ได้เขียนสมณลิขิตเรื่อง ดิวินิ อิลิอุส มาจิสทริ หรือ “ครูผู้ศักดิ์สิทธิ์” (Divini Illius Magistri) เพื่อเป็นการรื้อฟื้นจิตารมณ์ของคริสตชนในด้านสังคมและชีวิตสาธารณะ สมณลิขิตครูผู้ศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้มีเจตจำนงต่อต้านการที่รัฐเข้ามาแทรกแซงการดำเนินงานของโรงเรียนคาทอลิกแต่อย่างใด หากแต่เป็นการประการจุดยืนของบรรดาผู้ปกครองและพระศาสนจักรในด้านการศึกษา ในทางเทวศาสตร์และคำสอนทางศาสนา พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 โต้แย้งต่อหลักการแบ่งแยกระหว่างภาครัฐและพระศาสนจักร ซึ่งเป็นค่านิยมสมัยใหม่ในสมัยนั้น ท่านโต้แย้งว่า “การศึกษาทุกภาคส่วน (ของชีวิต) อยู่ใต้การดูแลของพระศาสนจักร และด้วยเหตุนี้ พระศาสนจักรจึงมีตำแหน่งสองประการด้วยกัน คือ หนึ่งทางเหนือธรรมชาติ เป็นพระเจ้าทรงโปรดประทานตำแหน่งนี้ และอีกตำแหน่งคือ ตามธรรมชาติ” คำอธิบายนี้เป็นพื้นฐานให้พระศาสนจักรมีหน้าที่ทำภาระกิจของพระคริสต์ต่อโลกใบนี้ และโดยชอบธรรมทางกฎหมาย “เพื่อนำการศึกษาสู่ทุกๆประเทศ” และพระศาสนจักรมีจุดมุ่งหมายคือการเรียกมนุษย์ทุกผู้คนเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้า เพื่อเขาจะได้มีชีวิตนิรันดร

เหตุผลในขั้นต้นของสมณลิขิตเป็นเรื่องของเทวศาสตร์คำสอน ส่วนในแง่ของปรัชญาและการเมือง พระสันตะปาปาได้ทรงอ้างถึงหลักสิทธิอันเป็นสากล (universal right) ของส่วนบุคคลและของพระศาสนจักร “...นับว่าเป็นความถูกต้องแท้จริง เพราะสิทธิของครอบครัวและของบ้านเมือง รวมถึงสิทธิส่วนบุคคลที่มีเสรีภาพในการศึกษาศาสตร์ต่างๆ... หากทางภาครัฐขัดต่อสิทธินี้แล้ว ไม่เพียงเป็นการต่อต้านการมีอยู่ของพระศาสนจักร แต่เป็นการต่อต้านความเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยเช่นกัน” พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 เปิดกว้างสำหรับใครก็ตามที่มีข้อกังขาต่อหลักการนี้ที่ว่า “บรรดาเด็กๆเป็นของภาครัฐ ไม่ใช่เป็นของบรรดาผู้ปกครองและครอบครัว ด้วยเหตุนี้ภาครัฐจึงมีอำนาจเหนือการศึกษาทั้งหมด” และด้วยเหตุผลนี้ ภาครัฐจึงมีหน้าที่ในการออกกฏหมายใดๆที่จำต้องปกป้องสิทธิอันนี้ พระสันตะปาปากล่าวว่า “นับเป็นความอยุติธรรมที่จะควบรวม ไม่ว่าเป็นด้านการศึกษา วิชาการ การพัฒนาร่างกาย หรือด้านศีลธรรม หรือจะบังคับครอบครัวใดๆ ให้ส่งลูกๆเรียนเฉพาะโรงเรียนของรัฐ โดยเฉพาะโรงเรียนที่สอนสิ่งตรองข้ามกับคริสตศาสนตร์ หรือออกกฎหมายใดๆเพื่อเอื้อประโยชน์แก่การนี้”

หลักการในขั้นต้นจึงเป็นการประกาศเจตจำนงคือสิทธิของพระศาสนจักรและศาสนิกต่อการศึกษาคาทอลิก พระสันตะปาปายังพูดเสริมในเรื่อง “สิ่งแวดลอมที่เอื้อต่อการศึกษา” (educational environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่สิ่งเสริมชีวิตคริสตชน พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ และโดยทางศิลปะต่างๆ เด็กๆที่ได้รับการศึกษาในโรงเรียนหรือสถาบันคาทอลิก พวกเขาจะได้รับฝึกฝนไม่ใช่แค่เรื่องของกิจศรัทธา แต่ในเรื่องของวรรณกรรมและศาสตร์ต่างๆ รวมไปถึงกิจรรมที่ผ่อนคลายทั้งทางกายและใจ หลักการดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นการบูรณาการด้านการศึกษาคาทอลิก

“เพื่อเหตุนี้ การศึกษาคาทอลิกคือการรวบรวมทุกด้านของชีวิตมนุษย์ ทางร่างกายและจิตวิญญาณ ทางความฉลาดและศีลธรรม ส่วนบุคคล ชุมชนและสังคม ไม่ควรที่จะขาดตกบกพร่องในทางด้านใดด้านหนึ่ง แต่เพื่อยกระดับให้ดีขึ้น ทำให้เป็นเรื่องพื้นฐาน และทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ให้เป็นดังเสมือนแบบอย่างและตามคำสอนของพระคริสตเจ้า” (Divini Illius Magistri, § 95.)

สำหรับพระศาสนจักรคาทอลิก เป้าหมายของการศึกษาคือการผลิต “คริสตชนที่แท้จริง” (true Christian) เป็นมนุษย์ที่อยู่ด้วยพระหรรษานเหนือธรรมชาติ (supernatural man) มีความสามารถที่จะคิด ตัดสิน และลงมือกระทำ ด้วยเหตุผลอันชอบธรรม ในแสงสว่างของคำสอนขององค์พระคริสต์

 

อ้างอิง

Stephen J. McKinney, "Catholic Education," in Education in a Catholic Perspective, ed. Stephen J. McKinney (United Kingdom: Ashgate Publishing, 2013), 22-3.

Pius XI, "Divini Illius Magistri, Encyclical on Christian Education, 1929," in At the Heart of the Church: Selected Documents of Catholic Education, ed. Ronald J. Nuzzi and Thomas C. Hunt (United States: Alliance for Catholic Education Press, 2012).

บทที่ 13 สมณลิขิตเรื่อง “ครูผู้ศักดิ์สิทธิ์” (Divini Illius Maagistri 1929)

◀️ บทที่ 14 พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 และหลักการศึกษาคาทอลิกของท่าน

บทที่ 12 กฎหมายพระศาสนจักร ปี 1917 ▶️

Written by 
บาทหลวง วรวุฒิ สารพันธุ์ C.Ss.R. JCL


Catholic Priest & Canonist
Author & Administrator
Faith4Thai.com

*juris canonici licentiatus
หรือ JCL เป็นปริญญาทางกฏหมายพระศาสนจักร

Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
FaceBook: Worawut Saraphan
Iine ID: mcssrsp


book


วิวัฒนาการของ "การศึกษาคาทอลิก"

ในประวัติศาสตร์โลก

บทนำ

“เป็นที่ประจักษ์ในสังคมไทยว่าโรงเรียนคาทอลิกตัวแทนภาพลักษณ์ของงานอภิบาลและการแพร่ธรรมในประเทศไทย ผู้เขียนมีจุดประสงค์ที่จะนำเสนอมุมมองของงานด้านการศึกษาและอบรมคาทอลิก (Catholic education and formation) ที่ไม่ใช่แค่ในโรงเรียนคาทอลิก การศึกษาคาทอลิกมีจุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจจากชีวิตและงานขององค์พระเยซูเจ้าและสืบต่อทางบรรดาอัครสาวกและปิตาจารย์ พันธกิจนี้ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านกระแสธารแห่งกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นยุคแห่งความรุ่งเรือง หรือความท้าทายและความยากลำบาก จวบจนปัจจุบันพระศาสนจักรยังคงเห็นคุณค่าของงานด้านการศึกษาและอบรมคาทอลิก ทั้งนี้เพื่อจะเป็นเครื่องมือที่นำทุกผู้คนสู่หนทางแห่งความรอดพ้นแห่งวิญญาณ”