วิวัฒนาการของ "การศึกษาคาทอลิก"
ในประวัติศาสตร์โลก
The then-U.S. Office of Education wrote in a 1903 report that the system of Catholic free parochial schools was the most impressive religious fact in the country at that time
บทที่ 12 กฎหมายพระศาสนจักร ปี 1917
กฎหมายอย่างเป็นทางการของพระศาสนจักรคาทอลิกได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการในปี 1917 นี้เอง โดยเริ่มจากการรวบรวมประมวลกฎหมายต่างๆในฉบับที่ 1 ในรัชสมัยพระสันตะปาปาปีอุสที่ 10 ในปี 1904 และสำเร็จในรัชสมัยของพระสันตะปาปาเบเนดิกที่ 15 ในปี 1917 โดยมีผู้ดำเนินงานคือพระคาร์ดินัลกัลปารี (Cardinal Gasparri) แหล่งข้อมูลของประมวลกฎหมายมีดังนี้ จาก คอร์ปุส ยูริส แคนนัลนิซิ (corpus iuris canonici) เอกสารจากสังคายนาเมืองเตรนท์ (the decrees of Trent) ประมวลกฎหมายข้อแนะนำต่างๆ คำประกาศต่างๆ และคำตัดสินจากทางโรมในเรื่องข้อกฎหมายต่างๆ ฯลฯ แหล่งข้อมูลเหล่านี้ได้รับการรวบรวม จัดระบบเป็นหมวดหมู่ เขียนให้เป็นแบบแผนใหม่ ให้เป็นนามธรรมเพื่อประยุกต์กับกรณีอื่นๆได้ จนเป็นหลักการทางกฎหมายได้ในที่สุด
ด้วยสถานการณ์ เหตุการณ์ หรือคำสอนและหลักการเรื่องการศึกษาคาทอลิกที่เราได้กล่าวมาขั้นต้น กฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก ปี 1917 ได้อธิบายถึงหลักการของโรงเรียนคาทอลิก ในบรรพที่ 1372-1383 ด้วยการยืนยันถึงสิทธิของเด็กๆที่จะได้รับการอบรมด้านความเชื่อ และเป็นหน้าที่ของบรรดาพ่อแม่ที่จะดูแลพวกเขาในด้านการศึกษาอบรม ดังที่เราจะได้เห็นในกฎหมายด้านล่างนี้ว่า เด็กๆควรได้รับการเรียนคำสอนตั้งแต่ปฐมวัย เป็นพระสังฆราชท้องถิ่นที่ค่อยสอดส่องดูแลร่วมกับพระสงฆ์ของวัด
บรรพที่ 1374 ได้กล่าวถึงการหลักการของการปกปักษ์รักษาความเชื่อ
“บรรดาเด็กๆคาทอลิกไม่ควรที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนที่ไม่เป็นคาทอลิก เป็นกลางๆ หรือเรียนร่วมกับคนต่างศาสนา หรือโรงเรียนที่อนุญาตให้เด็กต่างศาสนาเข้ามาเรียนร่วมได้ มีพวกผู้ปกครองท้องถิ่น (พระสังฆราช) เป็นผู้ตัดสินใจ ให้เป็นไปตามกฎหมายของสันตะสำนัก ให้เป็นห่วงใยตามสถาณการณ์ของความคิด และจำเป็นต้องปกป้องคุ้มกันอันตรายจากความเชื่อ ว่าโรงเรียนเหล่านั้นยังคงทนฝืนได้หรือไม่”
ในบรรพที่ 1376 ว่ากล่าวถึงสิทธิของพระศาสนจักรในการจัดตั้งโรงเรียนในรู้แบบต่างๆ
ในบรรพที่ 1379 ให้คำแนะนำให้บรรดาพระสังฆราชท้องถิ่นจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กๆคาทอลิก และผู้ปกครองท้องถิ่นต้องใส่ใจต่อการศึกษาคำสอนศาสนาและศีลธรรมในโรงเรียน ท่านมีสิทธิ์ที่จะอนุมัติบรรดาครูและตำหรับตำราในโรงเรียน อีกทั้งพระสังฆราชต้องหมั่นเยี่ยมวัดต่างๆ ของสังฆมณฑลและของนักบวช
ในส่วนบรรพอื่นๆ ได้กล่าวถึงมหาวิทยาลัยคาทอลิก ดีกรีทางพระศาสนจักร และเรื่องบ้านอบรมต่างๆ
อ้างอิง
J. E. Lynch, "History of Canon Law," in New Catholic Encyclopedia, Second Edition, vol. 3 (Detroit: Thomson Gale, 2002), 55.
1917 CIC Can. 1372. Cf. The 1917 Pio-Benedictine Code of Canon Law: In English Translation with Extensive Scholarly Apparatus, ed. Edward N. Peters (San Francisco: Ignatius Press, 2001).
บทที่ 12 กฎหมายพระศาสนจักร ปี 1917
บทที่ 13 สมณลิขิตเรื่อง “ครูผู้ศักดิ์สิทธิ์” (Divini Illius Maagistri 1929)
บทที่ 11 การปกป้องโรงเรียนคาทอลิก ของสภาพระสังฆราชแห่งประเทศอเมริกา
Father M
Written by
บาทหลวง วรวุฒิ สารพันธุ์ C.Ss.R. JCL
Catholic Priest & Canonist
Author & Administrator
Faith4Thai.com
*juris canonici licentiatus
หรือ JCL เป็นปริญญาทางกฏหมายพระศาสนจักร
Email:
FaceBook: Worawut Saraphan
Iine ID: mcssrsp
- บทที่ 01 "พระเยซูเจ้าและอัครสาวก ปฐมครูแห่งคริสตศาสนา"
- บทที่ 02 "พระศาสนจักรแรกเริ่มกับแนวคิดเรื่องการศึกษา"
- บทที่ 03 "ชีวิตในเขตพรตและการฟื้นฟูชีวิตนักบวช"
- บทที่ 04 "โรงเรียนของวัดหลวง (อาสนวิหาร) และธรรมประเพณีของอาราม"
- บทที่ 05 "อัสสมาจารย์นิยม" (Scholasticism)
- บทที่ 06 "ยุครุ่งเรืองแห่งมานุษยนิยม" (The Christian Humanistic Renaissance)
- บทที่ 07 "การตอบโต้ ผู้ปฏิรูปศาสนา" (Counter-Reform)
- บทที่ 08 "คณะธรรมทูตเยสูอิตและคณะนักบวชต่างๆ" (The Jesuit Order and Other Religious Movements)
- บทที่ 09 "กำเนิดยุคเรืองปัญญา" (The Rise of the Enlightenment)
- บทที่ 10 สมณลิขิต "ประมวลการสอนที่ผิดพลาด ค.ศ. 1864" (Syllabus of Errors)
- บทที่ 11 การปกป้องโรงเรียนคาทอลิก ของสภาพระสังฆราชแห่งประเทศอเมริกา
- บทที่ 12 กฎหมายพระศาสนจักร ปี 1917
- บทที่ 13 สมณลิขิตเรื่อง “ครูผู้ศักดิ์สิทธิ์” (Divini Illius Maagistri 1929)
- บทที่ 14 พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 และหลักการศึกษาคาทอลิกของท่าน
- บทที่ 15 ภาพรวมของการศึกษาคาทอลิก จากมุมมองทางประวัติศาสตร์ (The Recollection of Catholic Education)
วิวัฒนาการของ "การศึกษาคาทอลิก"
ในประวัติศาสตร์โลก
บทนำ
“เป็นที่ประจักษ์ในสังคมไทยว่าโรงเรียนคาทอลิกตัวแทนภาพลักษณ์ของงานอภิบาลและการแพร่ธรรมในประเทศไทย ผู้เขียนมีจุดประสงค์ที่จะนำเสนอมุมมองของงานด้านการศึกษาและอบรมคาทอลิก (Catholic education and formation) ที่ไม่ใช่แค่ในโรงเรียนคาทอลิก การศึกษาคาทอลิกมีจุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจจากชีวิตและงานขององค์พระเยซูเจ้าและสืบต่อทางบรรดาอัครสาวกและปิตาจารย์ พันธกิจนี้ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านกระแสธารแห่งกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นยุคแห่งความรุ่งเรือง หรือความท้าทายและความยากลำบาก จวบจนปัจจุบันพระศาสนจักรยังคงเห็นคุณค่าของงานด้านการศึกษาและอบรมคาทอลิก ทั้งนี้เพื่อจะเป็นเครื่องมือที่นำทุกผู้คนสู่หนทางแห่งความรอดพ้นแห่งวิญญาณ”