Skip to main content

วิวัฒนาการของ "การศึกษาคาทอลิก"

ในประวัติศาสตร์โลก

book

บทที่ 10 สมณลิขิต "ประมวลการสอนที่ผิดพลาด ค.ศ. 1864" (Syllabus of Errors)

ในขณะที่เรากำลังเขาสู่ศตวรรษที่ 19 พระศาสนจักรกลับมีทัศนะเชิงลบต่อยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ พระสันตะปาปาปีอุสที่ 9 ได้ออกสมณลิขิตว่าด้วยเรื่อง  “ประมวลการสอนที่ผิดพลาดไป” ในปี 1864 (Syllabus of Errors) เป็นการยืดหยัดสถานะของพระศาสนจักรเรื่องการศึกษาคาทอลิก เพื่อเป็นการตอบโต้เหล่านักการศึกษาในยุคนี้ โดยการประกาศถึงสิทธิและอภิสิทธ์ของพระศาสนจักรซึ่งธำรงอยู่ในสังคม เฉกเช่นกันที่ดับเบิ้ลยู. เอฟ. โฮแกน (2002) ได้กล่าวไว้ว่า

“โดยการประณามความผิดพลาดนี้ พวกเขาพยายามที่จะขจัดอิทธิพลของพระศาสนจักรออกไปจากวิถีชีวิตของปัจเจกบุคคล ครอบครัว และประเทศชาติ สมณสารณ์ ‘ประมวลการสอนที่ผิดพลาด ปี 1864’ จึงเป็นการเรียกร้องให้มนุษย์รับรู้ถึงธรรมชาติและพันธกิจของพระศาสนจักรต่อโลก โดยการชี้จุดบกพร่องของมนุษย์ที่กำลังตกต่ำ โดยใช้วิถีแห่งเหตุผลเพียงอย่างเดียว ประมวลการสอน (Syllabus) ควรที่จะได้รับใช้ให้มนุษย์ได้ใช้ทั้งเหตุผลอย่างเหมาะสม มีความสอดคล้องกับความเชื่อ และเป็นการเตรียมพระศาสนจักรสู่สังคยานาวาติกันครั้งที่หนึ่ง”

ในหัวข้อ “การศึกษาคาทอลิก” พระสันตะปาปาปีอุสที่ 9 ได้ยืดหยันถึงพันธกิจของพระศาสนจักรด้านโรงเรียน ด้วยประโยคที่ว่า “พระศาสนจักรมีพันธะที่จะใช้ความกระตือรือร้นและความพยายามทั้งหมด แม้จะมีความเจ็บปวดแต่อย่างใด เพื่อให้เด็กได้รับการศึกษาทางด้านศาสนาเท่าที่จำเป็น แต่ต้องตักเตือนผู้มีความเชื่อทุกคนและประกาศให้พวกเขาทราบว่า โรงรียนที่เป็นอริศัตรูต่อพระศาสนจักร ไม่ควรอยู่ในจิตสำนึกของผู้มีความเชื่อได้”

ด้วยเหตุนี้ เป็นพันธกิจของพระศาสนจักรคาทอลิกที่จะแนะนำความเชื่อให้สอดคล้องกับชีวิตของผู้คนที่อยู่ในโลกยุคใหม่นี้ ตลอดเวลาสองศตวรรษที่ผ่านมาก การศึกษาคาทอลิกได้รับการพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องภายใต้ปัจจัยทั้งสามประการคือ หนึ่ง ธรรมประเพณีชาวคริสต์ตามหลักมามนุษยวิทยา (Christian humanist tradition) ที่มีพระคัมภีร์ไบเบิ้ลเป็นรากฐาน พัฒนาโดยบรรดานักบุญในอาราม บรรดาอัสสมจารย์ และนักวิชาการในยุคเรเนซองส์  ประการที่สองคือ การต่อต้านผู้ปฏิรูป (Counter-Reform) พระศาสนจักรได้รับการเรียกร้องให้ดำเนินการปฏิรูปภายใน ไม่ว่าจะเป็นด้านคำสอน ความเชื่อ การแพร่ธรรมและการศึกษา ประการสุดท้าย คือการเข้ามาของยุคใหม่ พระศาสนจักรจำเป็นต้องยืนหยัดตัวตนในยุคสมัยปัจจุบัน โดยเฉพาะการให้เหตุผลซึ่งเป็นที่นิยม รวมไปถึงการก้าวหน้าทางวิทยาการ รวมไปถึงทฤษฎีบทด้านการศึกษาเรียนรู้ของมนุษย์ นับเป็นความท้าทายของพระศาสนจักรคาทอลิกอย่างแท้จริง ตัวอย่างของความท้าทายนี้ พบได้ที่พระศาสนจักรที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เราจะกล่าวถึงในบทต่อไป


อ่านและเขียนจาก

The Syllabus of Errors was an encyclical Quanta Cura in 1864 which addressed all errors condemned by Pius IX. The document’s full name was, a syllabus containing the most important errors of our time which have been condemned by our Holy Father Pius IX in allocutions, at consistories, in encyclicals and other apostolic letters. Cf. W. F. Hogan, "Syllabus of Errors," ibid., vol. 13, 651.

Thomas C. Hunt, "Selected Episcopal and Papal Documents on Catholic Education (1792-1962)," in At the Heart of the Church: Selected Documents of Catholic Education, ed. Ronald J. Nuzzi and Thomas C. Hunt (United States: Alliance for Catholic Education Press, 2011), 16.

Elias, John L. A History of Christian Education: Protestant, Catholic, and Orthodox Perspectives. 1 ed.  United States: Krieger Publishing Company, 2002.

บทที่ 10 สมณลิขิต "ประมวลการสอนที่ผิดพลาด ค.ศ. 1864" (Syllabus of Errors)

◀️ บทที่ 15 ภาพรวมของการศึกษาคาทอลิก จากมุมมองทางประวัติศาสตร์ (The Recollection of Catholic Education)

บทที่ 01 "พระเยซูเจ้าและอัครสาวก ปฐมครูแห่งคริสตศาสนา" ▶️

Written by 
บาทหลวง วรวุฒิ สารพันธุ์ C.Ss.R. JCL


Catholic Priest & Canonist
Author & Administrator
Faith4Thai.com

*juris canonici licentiatus
หรือ JCL เป็นปริญญาทางกฏหมายพระศาสนจักร

Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
FaceBook: Worawut Saraphan
Iine ID: mcssrsp


book


วิวัฒนาการของ "การศึกษาคาทอลิก"

ในประวัติศาสตร์โลก

บทนำ

“เป็นที่ประจักษ์ในสังคมไทยว่าโรงเรียนคาทอลิกตัวแทนภาพลักษณ์ของงานอภิบาลและการแพร่ธรรมในประเทศไทย ผู้เขียนมีจุดประสงค์ที่จะนำเสนอมุมมองของงานด้านการศึกษาและอบรมคาทอลิก (Catholic education and formation) ที่ไม่ใช่แค่ในโรงเรียนคาทอลิก การศึกษาคาทอลิกมีจุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจจากชีวิตและงานขององค์พระเยซูเจ้าและสืบต่อทางบรรดาอัครสาวกและปิตาจารย์ พันธกิจนี้ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านกระแสธารแห่งกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นยุคแห่งความรุ่งเรือง หรือความท้าทายและความยากลำบาก จวบจนปัจจุบันพระศาสนจักรยังคงเห็นคุณค่าของงานด้านการศึกษาและอบรมคาทอลิก ทั้งนี้เพื่อจะเป็นเครื่องมือที่นำทุกผู้คนสู่หนทางแห่งความรอดพ้นแห่งวิญญาณ”