วิวัฒนาการของ "การศึกษาคาทอลิก"
ในประวัติศาสตร์โลก
กษัตริย์ชาเลอมาน ทรงรับสั่งเรื่องการบูรณะศาสนสถาน และ ด้านการศึกษาศาสนา
บทที่ 04 "โรงเรียนของวัดหลวง (อาสนวิหาร) และธรรมประเพณีของอาราม"
กษัตริย์ชาเลอมาน (Charlemagne, 747-814) เป็นจักรพรรดิองค์แรกของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 องค์พระจักรพรรดินอกจากการดำเนินนโยบายการรวมหัวเมืองต่างๆในทวีปยุโรปให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ท่านเองก็ยังทะนุบำรุงด้านศาสนาและชีวิตฝ่ายจิตของประชาชน จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องฟื้นฟูด้านอักษรศาสตร์และการศึกษาอบรมโดยเฉพาะให้กับบรรดาพระสงฆ์นักบวช ท่านได้เชิญบรรดาอาจารย์ ทั้งด้านการศึกษาและศาสนาไม่ว่าจากอังกฤษ อิตาลี และสเปนมาเพื่อการฟื้นฟูนี้ ให้ทุกๆวัดและอารามมีโรงเรียนประจำ โดยทำให้วัดหลวง (อาสนวิหาร) เป็นศูนย์กลางของความรู้ การศึกษา และวิชาการในแต่ละท้องถิ่น อัลคิน (Alcuin 735-804) นักบวชคณะเบเนดิก ถือได้ว่าผู้สนองพระราชโองการของพระจักรพรรดิ ท่านได้วางการศึกษาอบรมพระสงฆ์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน บรรดาผู้รับการอบรมจะได้เรียนวิชาไวยกรณ์ วาทศาสตร์ และวรรณกรรมคลาสสิกต่างๆ
ดั่งเช่นบูรพจารย์ก่อนหน้านี้ อัลคินเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า การศึกษามีเป้าหมายเพื่อความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ และความเข้าใจในข้อความเชื่อ ท่านพยายามสร้างโครงค่ายความร่วมมือระหว่างกัน โดยมีการแลกเปลี่ยนและประสานงาน และส่งต่อนักเรียนระหว่างโรงเรียนต่างๆในยุโรป (hub of education) ท่านได้ตั้งมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ขึ้นอยู่กับอาสนวิหารของท้องถิ่น เพื่อเตรียมพระสงฆ์และเด็กหนุ่มที่สนใจศึกษาเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง นอกจากพวกเขาจะได้เรียนวิชาการณ์ที่กล่าวมาข้างต้น พวกเขายังได้เรียนตรรกศาสตร์และศาสตร์การวิพากษ์วิธี (logics and dialectic methodology) ด้วยเช่นกัน ซึ่งมีวิธีการดังนี้ เริ่มจากการศึกษาแนวความคิดนั้นๆ (a study of ideas) ศัพท์บัญญัติและการตัดสินใจ (terminology and judgement) เหตุผลทางรูปนิรนัย (syllogistic reasoning) คำนิยาม (definition) และการแสดงออกหรือคำอธิบายนั้นๆ (demonstration)
สรุป...
ก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 11 รูปแบบการจัดการศึกษาแบบโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเช่นนี้ก็เป็นที่แพร่หลายทั่วทั้งยุโรป สถาบันการศึกษาดังกล่าวจึงเป็นศูนย์การของการศึกษาของรัฐและฝ่ายคริสต์ศาสนา และโดยภายใต้การปกครองของพระจักรพรรดิอ๊อตโต (Otto 936-973) รูปแบบการจัดการศึกษาเช่นนี้เป็นมาตรฐานในเยอรมนีโดยความร่วมมือกันระหว่างพระศาสนจักรและฝ่ายบ้านเมือง ส่วนที่อิตาลีสถาบันการศึกษาที่โบโลญ่า (school of Bologna) ถือว่าเป็นศูนย์กลางของการศึกษาด้านกฎหมายและแพทย์ศาสตร์
อ่านและเขียนจาก
Richard E. Sullivan, "Charlemagne," Encyclopædia Britannica Online, accessed Febuary 10, 2016, http://www.britannica.com/biography/Charlemagne/Religious-reform.
John L. Elias, A History of Christian Education: Protestant, Catholic, and Orthodox Perspectives, 1 ed. (United States: Krieger Publishing Company, 2002).
บทที่ 04 "โรงเรียนของวัดหลวง (อาสนวิหาร) และธรรมประเพณีของอาราม"
บทที่ 03 "ชีวิตในเขตพรตและการฟื้นฟูชีวิตนักบวช"
บทที่ 05 "อัสสมาจารย์นิยม" (Scholasticism)
Father M
Written by
บาทหลวง วรวุฒิ สารพันธุ์ C.Ss.R. JCL
Catholic Priest & Canonist
Author & Administrator
Faith4Thai.com
*juris canonici licentiatus
หรือ JCL เป็นปริญญาทางกฏหมายพระศาสนจักร
Email:
FaceBook: Worawut Saraphan
Iine ID: mcssrsp
- บทที่ 01 "พระเยซูเจ้าและอัครสาวก ปฐมครูแห่งคริสตศาสนา"
- บทที่ 02 "พระศาสนจักรแรกเริ่มกับแนวคิดเรื่องการศึกษา"
- บทที่ 03 "ชีวิตในเขตพรตและการฟื้นฟูชีวิตนักบวช"
- บทที่ 04 "โรงเรียนของวัดหลวง (อาสนวิหาร) และธรรมประเพณีของอาราม"
- บทที่ 05 "อัสสมาจารย์นิยม" (Scholasticism)
- บทที่ 06 "ยุครุ่งเรืองแห่งมานุษยนิยม" (The Christian Humanistic Renaissance)
- บทที่ 07 "การตอบโต้ ผู้ปฏิรูปศาสนา" (Counter-Reform)
- บทที่ 08 "คณะธรรมทูตเยสูอิตและคณะนักบวชต่างๆ" (The Jesuit Order and Other Religious Movements)
- บทที่ 09 "กำเนิดยุคเรืองปัญญา" (The Rise of the Enlightenment)
- บทที่ 10 สมณลิขิต "ประมวลการสอนที่ผิดพลาด ค.ศ. 1864" (Syllabus of Errors)
- บทที่ 11 การปกป้องโรงเรียนคาทอลิก ของสภาพระสังฆราชแห่งประเทศอเมริกา
- บทที่ 12 กฎหมายพระศาสนจักร ปี 1917
- บทที่ 13 สมณลิขิตเรื่อง “ครูผู้ศักดิ์สิทธิ์” (Divini Illius Maagistri 1929)
- บทที่ 14 พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 และหลักการศึกษาคาทอลิกของท่าน
- บทที่ 15 ภาพรวมของการศึกษาคาทอลิก จากมุมมองทางประวัติศาสตร์ (The Recollection of Catholic Education)
วิวัฒนาการของ "การศึกษาคาทอลิก"
ในประวัติศาสตร์โลก
บทนำ
“เป็นที่ประจักษ์ในสังคมไทยว่าโรงเรียนคาทอลิกตัวแทนภาพลักษณ์ของงานอภิบาลและการแพร่ธรรมในประเทศไทย ผู้เขียนมีจุดประสงค์ที่จะนำเสนอมุมมองของงานด้านการศึกษาและอบรมคาทอลิก (Catholic education and formation) ที่ไม่ใช่แค่ในโรงเรียนคาทอลิก การศึกษาคาทอลิกมีจุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจจากชีวิตและงานขององค์พระเยซูเจ้าและสืบต่อทางบรรดาอัครสาวกและปิตาจารย์ พันธกิจนี้ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านกระแสธารแห่งกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นยุคแห่งความรุ่งเรือง หรือความท้าทายและความยากลำบาก จวบจนปัจจุบันพระศาสนจักรยังคงเห็นคุณค่าของงานด้านการศึกษาและอบรมคาทอลิก ทั้งนี้เพื่อจะเป็นเครื่องมือที่นำทุกผู้คนสู่หนทางแห่งความรอดพ้นแห่งวิญญาณ”