Skip to main content

วิวัฒนาการของ "การศึกษาคาทอลิก"

ในประวัติศาสตร์โลก

Catholic Education - Formation - Evangelization in our World

บทที่ 15 ภาพรวมของการศึกษาคาทอลิก จากมุมมองทางประวัติศาสตร์ (The Recollection of Catholic Education)


มุมมองทางประวัติศาสตร์ของวิวัฒนาการด้านการศึกษาคาทอลิก เป็นเครื่องไม้เครื่องมืออันดีที่จะช่วยเราให้มีความเข้าใจถึงแก่นหรือหลักการ แม้กระทั่งต้นกำเนิดของการศึกษาแบบคาทอลิก รวมไปถึงอัตลักษณ์ ที่นักการศึกษาคาทอลิกกล่าวถึงอย่างมากในยุคสหัสวรรษที่สามแห่งการแพร่ธรรม

หลังจากพระเยซูคริสต์ได้ลาจากบรรดาอัครสาวกแล้ว เป็นลูกศิษย์ลูกหาของพระอาจารย์ที่ช่วยกันก่อร่างสร้างกลุ่มคริสตชนผู้มีความเชื่อ จนกลายเป็นพระศาสนจักรเฉกเช่นทุกวันนี้ เราพบเห็นหน้าที่และพันธกิจของพระศาสนจักรที่จะต้องเผยแผ่พระศาสนา (Evangelization) และหน้าที่สั่งสอน (Pedagogical role) พระองค์ไม่ใช่แค่สั่งสอนพวกเขา แต่พวกเขาเป็นสานุศิษย์ติดตามพระองค์ กิน-อยู่-นอน-แพร่ธรรม ไปพร้อมกับพระอาจารย์ บรรดาศิษย์เองก็เรียกพระเยซูว่า “รับไบ” และพระองค์เป็นเจ้าชีวิตเหนือพวกเขา (rabbonic teacher and master of life) พวกเขาเรียนรู้จากชีวิตของพระองค์ และแม้พระองค์จากไป รูปแบบชีวิตและพันธกิจก็หาได้สูญหายไปจากความทรงจำและชีวิตประจำวันของพวกเขา พวกเขาสัมผัสได้ถึงพันธกิจแห่งความรอด (Salvafic mission) เป็นพระอาจารย์ที่ได้เตรียมพวกเขาสำหรับพันธกิจนี้ พวกเขาออกสู่นานาชาติ เพื่อที่จะส่งต่อข่าวสารแห่งความรอดพ้นนี้ ต่อมาพัฒนาไปเป็นรูปแบบของจารีตพิธีกรรมและศีลธรรม ดังที่เราพบได้ในคำสอนแรกเริ่มของพระศาสนจักร “ดิดาเค” (Didache)

อย่างไรก็ตาม ชีวิตทางศาสนาหาใช่ทุกสิ่งของความเป็นคริสตชน ในหมู่ชุมชนแห่งความเชื่อ (Christian faithful) พวกเขาจำต้องศึกษาเล่าเรียน โดยเฉพาะภาษากรีก ฮีบรู และภาษาโรมัน ประมาณศตวรรษที่ 2 เหล่าคริสตชนได้พัฒนารูปแบบของการศึกษาของพวกเขาเองที่เราเรียนว่า “วิชาคำสอน” (catechumenate) จริงๆแล้วก็คือการสอนศาสนาเพื่อให้คนกลับใจ หรือเป็นการส่งต่อความเชื่อจากรุ่นสู่รุ่น การศึกษาเล่าเรียนถึงมีอยู่สองส่วน (สองขั้ว) ที่พัฒนาควบคู่กัน ขั้วหนึ่งคือการศึกษาด้านภาษา (กรีก-ฮีบรู-โรมัน) ส่วนหนึ่งคือการศึกษาพระคัมภีร์และข้อความเชื่อ (Doctrine) ด้วยเหตุนี้เอง ปิตราจารย์บางท่าน อาทิเช่น บาซิลแห่งเซซาเรีย (Basil of Caesarea) มีความกังวลและเป็นห่วงว่าเหล่าคริสตชนจะเน้นศึกษาข้อเขียนในภาษากรีก มากกว่าความเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า แต่การศึกษาภาษาต่างๆ ก็มีความจำเป็นและเป็นพื้นฐานเพื่อที่เราจะสามารถอ่านพระธรรมคัมภีร์ได้

การก่อเกิดของชีวิตนักบวชผู้ถือพรต (monasticism) ในศตวรรษที่ 5 ก่อคุณประโยชน์ให้การศึกษาของคริสตชนมีระบบแบบแผนมากขึ้น โดยเฉพาะในหมู่นักบวชในรอบรั้วอารามพรตที่มีอยู่ทั่วไป การปฏิรูปชีวิตนักบวชมีขึ้นตามแบบอย่างของ “กฎของนักบุญเบเนดิกค์” (Rule of St. Benedict) การศึกษาและการถือกฎระเบียบและฝึกฝนตน (ascetical life) เป็นมาตรฐานของชีวิตนักพรต สำหรับบรรดานักบวช การศึกษาเป็นเรื่องรอง เพราะสิ่งสำคัญที่สุดของการเป็นหนึ่งเดียวกับองค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งนับเป็นเป้าหมายอันสูงสุดในชีวิตของคริสตชนทุกคน

ในอาราม พวกเขายังศึกษาศาสตร์อื่นๆของโลก รูปแบบการศึกษาของพวกเขาถือเป็นอุดมคติของการศึกษาในสมัยนั้น ที่มีความผสมประสานกลมกลืนระหว่างการศึกษาฝ่ายโลกและทางธรรม สถาบันการศึกษาหลายแห่งในยุโรปพยายามเลียนแบบการจัดการศึกษาแบบพวกเขา ในศตวรรษที่ 11 องค์พระจักพรรคยังมีนโยบายให้บรรดาอาสนวิหารเป็นศูนย์กลางของการศึกษาตามหัวเมืองต่างๆ ของยุโรป เป็นสาธารณะประโยชน์แก่รัฐและพระศาสนจักร การจัดการศึกษาเช่นนี้ได้รับการแพร่หลายหลายร้อยปีจนถึงศตวรรษที่ 15

ราวศตวรรษที่ 13 พันธกิจแห่งการเผยแผ่พระศาสนา (missionary effort) ได้รับการฟื้นฟูโดยบรรดานักบวช อาทิเช่น เหล่าฟรัสซิสกันและดอมินิกัน สังคายานาแห่งลาเตรันครั้งที่ 4 (4th Lateran Council) ก็ได้มีสมณลิขิตให้มีการจัดการศึกษาให้เป็นมาตรฐานโดยเฉพาะในโรงเรียนของอาสนวิหาร แต่ในช่วงศตวรรษที่ 13-15 นี้เป็น กลุ่มมานุษยนิยมในยุคสมัยแห่งการฟื้นฟู (humanistic Renaissance) ได้ท้าทายและวิภาควิจารณ์การจัดการศึกษาแบบดั่งเดิมว่า เราควรจะเน้นในปัจเจกชน (individualism) และสอนให้มนุษย์พัฒนาความสมดุลระหว่าง ทางกาย สติปัญญา ชีวิตฝ่ายจิต และการฝึกฝนตน (balance of physical, intellectual, spiritual, and aesthetic development) พวกเขาพยายามปฏิรูปการศึกษารวมทั่งออกจากพระศาสนจักร (Protestant Reformation) เหตุนี้เอง จึงนำไปสู่การปฏิรูปพระศาสนจักรภายใน หลังจากสังคาฆนาแห่งเมืองเตรนต์ (Council of Trent) มีการแผ่แพร่วิชาหลักคำสอน (the Roman Catechism) และได้รับการแปลบ้างเป็นภาษาท้องถิ่น เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส และโปแลนด์ เราจะเห็นได้ว่าสำหรับพระศาสนจักรคาทอลิกแล้ว ความหมายของการศึกษาคาทอลิกในสมัยนั้นคือการ “เรียนคำสอน” และ “การเตรียมสามเณรเพื่อรับศีลบรรพชา”

เป็นกลุ่มนักบวชคณะเยซูอิตที่อุทิศตนเพื่องานธรรมทูตและงานอภิบาลด้านโรงเรียน (School apostolate) พวกเขาทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย โดยเฉพาะในการระดมทุนและการให้ความช่วยเหลือกันและกัน พวกเขาใช้คู่มือการจัดการศึกษาและระเบียบร่วมกันที่มีชื่อว่า ราชิโอ สตูดิโอรารูม (ratio studiorarum) นับเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่ช่วยให้พวกเขารักษามาตฐานของงานอภิบาลด้านโรงเรียน โดยไม่ละทิ้งจิตรารมณ์แห่งการฝึกฝนด้านชีวิตฝ่ายจิต (Spitirual exercise) ที่นักบุญอิกญาซิโอ ผู้ก่อตั้งคณะได้มอบไว้ ความสำเร็จของพวกเขาเป็นต้นแบบและแรงบรรดาใจให้นักบวชคณะอื่นๆที่อุทิศตนด้านการศึกษา อาทิเช่น คณะอุสุริน คณะออราตอเรียน คณะภารดาแห่งลาซาล ฯลฯ รูปแบบการจัดการศึกษาคาทอลิกจึงมีความเด่นชัดในงานอภิบาลด้านโรงเรียน ซึ่งเป็นพันธกิจต่อบรรดาเด็กๆ และเยาวชน

ในยุคสมัยที่เน้นการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์และปรัชญา เหนือกว่าความเชื่อทางศาสนา ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการจัดการศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นักปรัชญาและนักการศึกษาในยุคเรืองปัญญา (Enlightenment) ต่างพากันปฏิเสธวิถีดั่งเดิมของการจัดการศึกษาแบบคริสต์และการสอนคำสอนในโรงเรียน พวกเขาจะเน้นปรัชญาการศึกษาและหลักจิตวิทยาเพื่อประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กเสียมากกว่า สำหรับนักการศึกษาที่มีแนวทางอนุรักษ์ พวกเขายังเน้นว่า การที่ครูบาอาจารย์และพ่อแม่เด็กจะดูแล สั่งสอน อบรมลูกๆ ในเรื่องชีวิตศาสนาและศีลธรรม ยังมีความจำเป็นเสมอไป อย่างไรก็ได้ บรรดานักการศึกษาชาวคริสต์ก็ได้รับแนวคิดทางด้านปรัชญาการศึกษาและจิตวิทยา พวกเขาคิดต่อยอดและพยายามพัฒนาเพื่อให้การจัดการศึกษาให้เหมาะสมสำหรับโลกในยุคใหม่

ในศตวรรษที่ 19-20 เป็นช่วงของแนวคิดการแบ่งแยกระหว่างพระศาสนจักร และอาณาจักร (separation of Church – State) ให้ความความชัดเจน เพื่อไม่ให้มีความข้องเกี่ยวกัน โดยเฉพาะในเรื่องของอำนาจทางการเมือง ทางอาณาจักรประกาศว่า การจัดการศึกษาสำหรับประชาชนเป็นหน้าที่ของภาครัฐ ไม่ใช่ของทางศาสนา พวกเขาจึงเข้ามาควบคุมและแทรกแซงการจัดการในโรงเรียนและตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งแต่ดั้งเดิมอาจจะเป็นของพระศาสนจักรท้องถิ่น เป็นพระสันตะปาปาปีโอที่ 9 (Pope Pius IX) ที่ออกมาต่อต้านว่า การใช้เหตุผลเพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ไม่ครบถ้วน พระองค์ยังทรงยืนยันถึงงานอภิบาลตามโรงเรียนว่าเป็นพันธกิจที่สำคัญของพระศาสนจักร ขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก็เกิดปัญหาความขัดแย้งในเรื่องนี้ ระหว่างบรรดาพระสังฆราชและภาครัฐ ที่จะเขามาก้าวก่ายงานในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยคาทอลิก เพื่อที่จะปกป้องความเชื่อและศีลธรรมตามครรลองคริสตชน จึงมีแนวทางปฏิบัติที่ว่า บรรดาสัตบุรุษต้องส่งลูกหลานเข้าโรงเรียนคาทอลิกเท่านั้น แต่กลับเป็นว่าโรงเรียนคาทอลิกกลับไม่มีที่เพียงพอสำหรับลูกหลานคาทอลิก ที่บ้างเป็นผู้อพยพจากประเทศไอแลนด์ จึงมีการผ่อนผันในเรื่องนี้โดยพระสังฆราชท้องถิ่น ดังที่เห็นในกฏหมายพระศาสนจักร ฉบับปี 1917 บรรพที่ 1374 ว่า

“ลูกหลานของคาทอลิกควรที่จะไม่อยู่ร่วมกับนักเรียนคนอื่นๆ ที่ไม่เป็นคาทอลิก หรือไปเรียนโรงเรียนอื่นๆ ที่อนุญาตให้เด็กต่างศาสนาเข้ามาเรียนด้วย เป็นพระสังฆราชท้องถิ่น (Local ordinary) ที่จะตัดสินใจ หรือสร้างกฎระเบียบตามสันตะสำนัก เพื่อตอบรับกับสถานการณ์ที่จะเป็นแนวคิด และการป้องกัน การเสียความเชื่อ หรือ ผ่อนผันตามโรงเรียนต่างๆ”

กฎหมายของพระศาสนจักรฉบับปี 1917 จึงเป็นการประกาศสิทธิของพระศาสนจักรที่จะจัดตั้งโรงเรียนเพื่อเป็นหลักประกันถึงการศึกษาคาทอลิกสำหรับลูกหลานของคริสตชนที่อยู่ในชุมชน

สมณลิขิตว่าด้วยการศึกษาที่มีชื่อเสียงในตอนนี้คือ ดิวินี อิลลิอูส มาจิสตรี (Divini Illius Magistri) ในปี 1929 ยืนยันถึงจุดยืนของพระศาสนจักรว่ามีสิทธิในการจัดการศึกษาและตั้งโรงเรียนคาทอลิกเพื่อบรรดาเด็กๆคาทอลิก เพราะนอกจากงานอภิบาลด้านโรงเรียนจะเป็นมรดกตกทอดในพระศาสนจักรแล้ว ยังเป็นพันธกิจที่สำคัญที่จะสำความรอดของวิญญาณไปสู่ปวงชนด้วยเช่นกัน พระศาสนจักรจึงมีคำสอนอย่างเป็นทางการ (magisterium) ในเรื่องการศึกษาคาทอลิกและการจัดตั้งโรงเรียน โดยการประยุกต์หลักมานุษยนิยมและการพัฒนาบุคคลทั้งครบ ดังนี้

“ด้วยเหตุผลชัดเจนแล้วว่า การศึกษาแนวคริสต์ต้องโอบรับหลักการ ชีวิตมนุษย์ ร่างกายและจิตวิญญาณ ความรอบรู้และศีลธรรม ปัจเจกบุคคล ความเป็นท้องถิ่นและสังคม หากได้ขาดตกสิ่งใด เพื่อต้องมีการยกระดับ เป็นระเบียบ และสมบูรณ์ได้ ตามแบบอย่างและคำสอนขององค์พระคริสต์” (Divini Illius Magistri §95)

ในสมัยของพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 พระองค์ท่านได้ทำการประมวลหลักการศึกษาคาทอลิกได้ดังนี้

(1) การศึกษาคาทอลิกเป็นสิทธิของพระศาสนจักรและของพ่อแม่ผู้ปกครองในเรื่องของสิทธิเสรีภาพทางศาสนา

(2) การศึกษาศาสนาเป็นสิ่งจำเป็นในทุกๆโรงเรียน

(3) การพัฒนาทางร่างกายเป็นสิ่งจำเป็น และต้องระมัดระวังความผิดพลาด ที่จะส่งผลต่อการพัฒนาด้านสติปัญญา หลักปรัชญาและวิทยาศาสตร์ต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เฉกเช่นกับ การเสวนาระหว่างความเชื่อและเหตุผล ระหว่างคุณธรรมและมโนธรรม ความรู้สึกได้ถึงความรับผิดชอบและเสรีภาพของมนุษย์ รวมถึง ความรู้สึกเป็นสาธารณะและความมีส่วนร่วมในสังคมของบุคคล

ในกฎหมายพระศาสนจักรฉบับปัจจุบัน (1983) เราจะเห็นหลักการศึกษาคาทอลิกได้ทั้งหมดใน บรรพที่ 795 แต่เราจะไม่สามารถพบนิยาม (Definition) ของการศึกษาคาทอลิกได้ตรงๆ แต่กลับเป็นนิยามของการศึกษาโดยทั่วไป ที่เหล่าคริสต์จะพึงมี

“การศึกษาที่แท้จริงต้องพยายามแสวงหาความครบครับของอบรมบ่มเพาะบุคคล ให้เขาหรือเธอได้พบจุดหมายสุดท้าย (ความรอด) เช่นเดียวกัน ความดีส่วนรวมของสังคม เด็กและเยาวชนต้องได้รับการสนับสนุนให้เติบโตและพัฒนาทางร่างกาย ศีลธรรม และสติปัญญา พรสวรรค์ อย่างสดคล้องกัน เพื่อให้พวกเขามีความรู้สึกถึงความรับผิดชอบ การใช้เสรีภาพอย่างถูกต้อง และเตรียมพวกเขาให้ใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีกระตือรือร้น” 

- กฏหมายพระศาสนจักร บรรพที่ 795 (1983 CIC can. 795) -

หรือนี้จะเป็นความหมายและแก่นแท้ของอัตตาลักษณ์ของการศึกษาคาทอลิก ที่พระศาสนจักรสอนว่า การศึกษาคาทอลิกไม่ใช่แค่อยู่ในโรงเรียนคาทอลิก แต่เป็นการศึกษาและพัฒนามนุษย์ทั้งครบ เพื่อให้มีความรับผิดชอบในสังคม เพื่อประโยชน์ของจิตใจ และเพื่อความรอดของวิญญาณ เป็นเครื่องหมายของพระอาณาจักรของพระเจ้าที่อยู่ในโลกนี้.

 

87
แปลจากส่วนหนึ่งของ ผลงานทางปริญญาทางกฎหมายพระศาสนจักร คาทอลิก

THE CHALLENGES OF SCHOOL APOSTOLATE OF THE THAI CHURCH ACCORDING TO CANON 795
(Master Thesis KATHOLIEKE UNIVERSITEIT LEUVEN, FACULTY OF CANON LAW)

 

Father M

Father M

Written by 
บาทหลวง วรวุฒิ สารพันธุ์ C.Ss.R. JCL


Catholic Priest & Canonist
Author & Administrator
Faith4Thai.com

*juris canonici licentiatus
หรือ JCL เป็นปริญญาทางกฏหมายพระศาสนจักร

Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
FaceBook: Worawut Saraphan
Iine ID: mcssrsp


book


วิวัฒนาการของ "การศึกษาคาทอลิก"

ในประวัติศาสตร์โลก

บทนำ

“เป็นที่ประจักษ์ในสังคมไทยว่าโรงเรียนคาทอลิกตัวแทนภาพลักษณ์ของงานอภิบาลและการแพร่ธรรมในประเทศไทย ผู้เขียนมีจุดประสงค์ที่จะนำเสนอมุมมองของงานด้านการศึกษาและอบรมคาทอลิก (Catholic education and formation) ที่ไม่ใช่แค่ในโรงเรียนคาทอลิก การศึกษาคาทอลิกมีจุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจจากชีวิตและงานขององค์พระเยซูเจ้าและสืบต่อทางบรรดาอัครสาวกและปิตาจารย์ พันธกิจนี้ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านกระแสธารแห่งกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นยุคแห่งความรุ่งเรือง หรือความท้าทายและความยากลำบาก จวบจนปัจจุบันพระศาสนจักรยังคงเห็นคุณค่าของงานด้านการศึกษาและอบรมคาทอลิก ทั้งนี้เพื่อจะเป็นเครื่องมือที่นำทุกผู้คนสู่หนทางแห่งความรอดพ้นแห่งวิญญาณ”