Skip to main content

1. ความตายของผู้ใครธรรมปิดฉาก ความทุกข์ยากทั้งหลาย

      ความตาย เมื่อพิเคราะห์ดูในด้านเบญจประสาท มันทำให้สดุ้ง และให้ตกใจกลัว ถ้าพิเคราห์ดูในด้านความเชื่อ ก็เป็นสิ่งที่เย็นใจ และน่าพึงปรารถนามันปรากฏเป็นสิ่งที่นาหวาดกลัวสำหรับคนบาป แต่มันแสดงตัวน่ารัก และเป็นสิ่งมีค่า สำหรับบรรดานักบุญ นักบุญเบอร์นาร์ด กล่าวว่า “ความตายเป็นสิ่งประเสริฐ เพราะเป็นการจบความทุกข์ยาก เป็นการมีชัยอย่างเด็ดขาด และเป็นประตูนำไปสู่ชีวิต” (1)

      ถูกแล้ว ความตายเป็นการจบความเหน็ดเหนื่อยและความยากลำบาก “คนเราเกิดมาแต่หญิง ดำรงชีพในช่วงเวลาสั้น ๆ และเปี่ยมไปด้วยความทุเรศต่าง ๆ” (โยบ. 14, 1) ชีวิตของเราเป็นดังนี้ มันสั้น มันเต็มไปด้วยความทุเรศความเจ็บไข้ ความวุ่นวายหวาดกลัว และความยากลำบาก คนใจโลกซึ่งปรารถนาอยากมีอายุยืนนาน ท่านเซเนกา กล่าวว่า: เจ้าคนพวกนี้ อยากจะได้อะไรถ้ามิใช่การยืดเวลารับทุกข์ทรทาน? (2) นักบุญเอากุสตินกล่าวว่า “การตำรงชีพต่อไปเป็นอะไร ถ้าไม่ใช่เป็นการทนทุกข์นานออกไปอีก?” (3) เป็นจริงดังนั้นเพราะนักบุญอัมโบรส สอนเราว่า : คนเราได้รับชีวิตในปัจจุบันนี้ไม่ใช่เพื่อพักผ่อน แต่เพื่อออกแรงทำงาน และเมื่อได้ออกแรงทำงานแล้ว จึงจะสมได้ชีวิตชั่วนิรันดร (4) ฉะนั้นจึงถูกต้อง ตามที่ท่านแตร์ตูเลี่ยน    กล่าวว่า: เมื่อพระเป็นเจ้าทรงย่นชีวิตของผู้ใด พระองค์ก็ทรงย่นความทุกข์ทรมานของผู้นั้นเด้วย (5)เป็นอันว่าแม้ความตายจะเป็นอาชญาโทษสำหรับบาป แต่เนื่องจากที่ในชีวิตนี้ มีความยากลำบากมาก เพียง (ตามความเห็นของนักบุญอัมโบรส) แต่ดูเหมือนว่า ความตายเป็นความบรรเทา หาใช่อาชญาโทษไม่ (6) พระเป็นเจ้าตรัสเรียก บุคคลที่ตายในพระหรรษทานของพระองค์ว่า ผู้มีบุญ เพราะเขาเหล่านี้จบการงานของตนและได้ไปพักผ่อน: “เป็นบุญลาภของผู้ตายที่ตายในพระสวามีเจ้า แต่บัดนี้ไปพระจิตเจ้าตรัสว่า เขาจงไปพักผ่อนจากความเหนื่อยยากของเขา” (วว. 14, 13)

      ความทุกข์ทรมานต่าง ๆ ซึ่งเคี่ยวเข็ญคนใจบาป เมื่อเขาจะตาย หาเคี่ยวเข็ญคนใจบุญไม่ “วิญญาณของผู้ใคร่ธรรม อยู่ในพระหัตถ์ของพระเป็นเจ้าความทุกข์ทรมานแห่งความตาย จึงไม่มีกำลังจะแตะต้องท่านได้” (ปชญ. 3, 1) นักบุญไม่กลัวการจากโลก ซึ่งคนใจโลกกลัวนักกลัวหนา นักบุญไม่เสียใจ ที่จะต้องพรากจากสมบัติพัสถานแห่งโลกนี้ เพราะว่าใจของท่านออกหากจากมันอยู่ก่อนแล้วท่านเคยพูดกับตนเองเสมอ ๆ ว่า “พระองค์คือ พระเป็นเจ้าแห่งดวงใจของข้าพเจ้าพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นส่วนมรดกของข้าพเจ้าเสมอไป” (สดด. 72, 26) นักบุญเปาโลได้เขียนจดหมายถึงสานุศิษย์ของท่าน ซึ่งถูกริบทรัพย์เพราะพระคริสต์เจ้าว่า “พวกท่านมีบุญ ที่ได้ยินดี ปล่อยให้เขาริบทรัพย์สมบัติของท่านไป ทั้งนี้โดยที่น่าทราบว่า ท่านมีขุมทรัพย์ที่ดีกว่านั้น และที่คงอยู่เป็นนิตย์” (ฮบ. 10, 34) นักบุญไม่เสียใจ เมื่อจะต้องสละละเกียรติยศท่านมิใช่แต่นิยมชมชอบ แต่ท่านกลับเกลียดมันเสียอีก ถือว่า มันเป็นเพียงควัน เป็นความเปล่า (และมันก็เป็นจริงดังนั้น) สิ่งที่ท่านถือเป็นเกียรติยศ มีอย่างเดียวคือ การที่ตนรักพระ และการที่พระรักตน ท่านไม่เสียใจ เมื่อจะต้องละพ่อแม่ เพราะท่านรักเขา เพราะรักพระเป็นเจ้า เมื่อท่านตายไป ท่านก็ฝากเขาไว้กับพระบิดาเจ้าสวรรค์ผู้ซึ่งทรงรักเขามากกว่าท่านเสียอีก และโอยที่ท่านมั่นใจว่าตนจะเอาตัวรอด ท่านก็คิดว่า ท่านอาจจะช่วยเขาจากสรวงสวรรค์ ดีเสียกว่าเมื่อยังอยู่บนแผ่นดินนี้ สรุปความ คือ สิ่งที่ท่านเคยพูดเสมอ ๆ ขณะมีชีวิตอยู่ในโลกว่า “พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า พระองค์คือสารพัดของข้าพเจ้า” (7) เมื่อคราวจะตาย ท่านก็จะย้ำกล่าวเหมือนกัน และด้วยความชื่นใจ และความเสน่หามากขึ้น

      ผู้ใดตายขณะกำลังรักพระเป็นเจ้า ผู้นั้นไม่วุ่นวายกับความเจ็บปวด ซึ่งย่อมตามความตายมาเป็นของธรรมดา ตรงข้ามเขากับรู้สึกยินดี โดยที่คิดว่าไหน ๆ จะสิ้นชีวิตอยู่แล้ว จะไม่มีเวลาทุกข์ถวายพระเป็นเจ้าต่อไปแล้ว เหลือแต่จะต้องทนความเจ็บปวดเหล่านี้ ด้วยความเสน่หาและด้วยใจราบคาบ ทั้งรู้สึกชื่นชมในการจะถวายชีวิตตอนปลายนั้น ด้วยความเสน่หาและด้วยใจราบคาบ ทั้งรู้สึกชื่นชมในการจะถวายชีวิตของเขา ร่วมกับมหาบูชา ซึ่งครั้งก่อนโน้น พระเยซูคริสต์ได้ทรงถวายแด่พระบิดาเพื่อตัวข้าฉะนั้นเขาจึงจะหลับตาด้วยความสุข พลางกล่าวว่า “ฉันจะหลับในพระเป็นเจ้า ฉันจะพักผ่อนอยู่ในความผาสุก” (สดด. 4, 9) โอ้! ช่างเป็นความสุขกระไรหนอ ที่จะตายโดยปรศจากความห่วงใย และกำลังอบอุ่นอยู่ในอ้อมแขนของพระเยซูคริสต์ พระผู้ซึ่งทรงรักเราจนยอมพลีพระชนม์ชีพและพลีอย่างขื่นขม เพื่อจะให้เราได้ตายอย่างหวานฉ่ำ และยินดี

      ข้อเตือนใจและคำภาวนา

      ข้าแต่พระเยซูที่สุดเสน่หา พระองค์ทรงหวังจะให้ข้าพเจ้าตายอย่างนิ่มนวลจึงได้ทรงพระกรุณายอมสิ้นพระชนม์อย่างทารุณบนเนินกัลป์วาริโอ  ข้าพเจ้าจะได้เห็นพระองค์เมื่อไร?- ครั้งแรกที่จะได้แลเห็นพระองค์ คือ ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระตุลาการ ณ สถานที่ที่ข้าพเจ้าจะสิ้นใจนั้นเอง เมื่อนั้นข้าพเจ้าจะกราบทูลพระองค์ว่าอย่างไร? และพระองค์จะตรัสแก่ข้าพเจ้าอย่างไร? ข้าพเจ้าไม่คอยจนถึงเวลานั้น แล้วค่อยคิดหาคำกราบทูล แต่ขอคิดเตรียมไว้แต่ในบัดนี้ คือเมื่อนั้นข้าพเจ้าจะกราบทูลพระองค์ว่า :

      ข้าแต่พระมหาไถ่ที่สุดเสน่หา พระองค์คือ ผู้ได้ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อข้าพเจ้า! ครั้งก่อนโน้น ข้าพเจ้าได้เคยทำชอกช้ำน้ำพระทัย ได้ทำตนเป็นคนใจดำ และไม่สมจะได้รับอภัยโทษแต่เดชะพระหรรษทานช่วย ข้าพเจ้าได้สำนึกรู้ตัว และในชีวิตต่อมาได้ร้องไห้เป็นทุกข์ถึงบาป และพระองค์ได้ทรงพระกรุณายกบาปให้แล้ว ขอทรงพระมหากรุณาอีกครั้งหนึ่งเถิด โปรดอภัยบาปของข้าพเจ้าผู้กำลังกราบอยู่แทบพระบาท โปรดอภัยบาปทั้งหมดแก่ข้าพเจ้าให้สะอาดหมดจดเถิด พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าไม่สมจะรักพระองค์ เพราะได้ดูหมิ่นความรักของพระองค์ที่ได้ทรงเมตตา ดึงดูดดวงใจของข้าพเจ้าให้เข้ามาหาพระองค์แม้ว่าดวงใจของข้าพเจ้านี้ ไม่ได้รักพระองค์เท่าที่พระองค์ทรงน่ารัก อย่างน้อยมันก็ได้รักพระองค์ยิ่งกว่าอะไร ๆ ทั้งหมด ได้ยอมสละทุกสิ่ง เพื่อให้เป็นที่ชอบพระทัยของพระองค์ พระเจ้าข้า บัดนี้ถึงคราวพระองค์จะตรัส ก็พระองค์จะตรัสแก่ข้าพเจ้าว่าอย่างไร? ข้าพเจ้ามองเห็นว่า สวรรค์ และการได้พบพระองค์ในสวรรค์เป็นสมบัติเกินค่า ที่ข้าพเจ้าควรได้รับ แต่ข้าพเจ้าก็ไม่อาจดำรงชีพห่างเหินจากพระองค์ เป็นต้น ในขณะนี้ที่พระองค์ทรงแสดงให้ข้าพเจ้าแลเห็นพระพักตร์อันน่ารัก และอันงามวิจิตรของพระองค์แล้ว ฉะนั้น ขอโปรดให้ข้าพเจ้าได้ไปสวรรค์เถิด ไม่ใช่เพื่อจะได้ความสุข แต่เพื่อจะได้รักพระองค์มากขึ้น พระเจ้าข้า พระองค์จะทรงให้ข้าพเจ้าไปไฟชำระก่อนนานเท่าไรก็สุดแล้วแต่พระกรุณา เป็นความจริงข้าพเจ้าไม่ปรารถนาไปสู่ถิ่นฐานแห่งความสะอาดหมดจด ไม่ปรารถนาจะให้ตัวข้าพเจ้า ผู้ยังแปดเปื้อนด้วยมลทินเช่นในบัดนี้ เข้าไปร่วมกับบรรดาวิญญาณผู้บริสุทธิ์ ฉะนั้นให้ข้าพเจ้าไปไฟชำระเพื่อล้างตนก่อนเถิด ขออย่างเดียวอย่าให้ข้าพเจ้าต้องพลาดจากพระพักตร์ตลอดนิรัดรเลย ขอให้ในวันหนึ่ง วันที่พระองค์จะทรงพอพระทัย โปรดตรัสเรียกข้าพเจ้าเข้าสู่สวรรค์ สำหรับสรรเสริญพระเมตตากรุณาของพระองค์ทั้งชั่วนิรันดรด้วยเถิด พระเจ้าข้า พระตุลาการที่เคารพรักเจ้าข้า ณ บัดนี้ โปรดยกพระหัตถ์อำนวยพระพร และโปรดตรัสแก่ข้าพเจ้าว่า: เจ้าเป็นของของเรา และเราเป็นของของเจ้า เสมอ ไปแล้ว เจ้ารักเรา และเรารักเจ้าอยู่เป็นนิตย์แล้ว! บัดนี้ถึงเวลาที่ข้าพเจ้าจำจากพระองค์ไปสู่ไฟชำระ ข้าพเจ้ายินดีไป เพราะจะไปที่นั้นก็เพื่อรักพระองค์ พระมหาไถ่ของข้าพเจ้า พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า และสารพัดของข้าพเจ้า ที่จริงข้าพเจ้ายินดีไปแต่โปรดทราบเถิดพระเจ้าข้า ตราบใดข้าพเจ้ายังอย่างจากพระองค์ จะเป็นเครื่องทรมานข้าพเจ้าอย่างแสนสาหัสอยู่ตราบนั้น พระสวามีเจ้าข้า ข้าพเจ้าขอกราบลาพระองค์ไป ไปนับวันเวลาทุก ๆ วินาทีจนกว่าจะได้ยินพระวจนะตรัสเรียกให้ข้าพเจ้ากลับมาหาพระองค์ทรงพระกรุณาด้วย ทรงพระกรุณาต่อวิญญาณ ซึ่งรักพระองค์ด้วยสิ้นสุดกำลังและซึ่งปรารถนาอย่างแรงกล้าจะได้เห็นพระองค์ สำหรับจะได้รักพระองค์ให้มากขึ้นด้วยเถิด พระเจ้าข้า

      พระเยซูเจ้าข้า ข้าพเจ้าหวังว่าในขณะนั้น ข้าพเจ้าจะได้กราบทูลพระองค์เช่นนี้  ในเวลานี้ ขอพระองค์ทรงประทานพระหรรษทานให้ข้าพเจ้าครองชีพให้สมควร ที่จะสามารถกราบทูลพระองค์ได้ อย่างที่ข้าพเจ้าเพิ่งกล่าวมา โปรดประทานความคงเจริญในความดี และความรักต่อพระองค์เถิด พระเจ้าข้า

      พระแม่ก็เช่นกัน โปรดช่วยข้าพเจ้าด้วย โอ้ พระชนนีแห่งพระเป็นเจ้าโปรดช่วยวิงวอนพระเยซู เพื่อข้าพเจ้าด้วยเถิด


     

2. ความตายของผู้ใคร่ธรรมเป็นรางวัลสนองบุญกุศล

      “พระสวามีเจ้าจะทรงเช็ดน้ำตาทั้งหมด จากตาของเรา และความตายจะไม่มีต่อไป” (วว. 21, 4) เป็นอันว่าในเวลาตายพระเป็นเจ้าจะทรงเช็ดน้ำตาแห่งข้าปรนนิบัติทั้งหลายของพระองค์ ที่ท่านเคยหลั่งเมื่ออยู่บนแผ่นดินนี้ ในคราวได้รับความยากลำเค็ญ ความหวาดกลัวภัย และการสู้รบกับนรก-ผู้รักพระเป็นเจ้าจะรู้สึกโล่งใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อจะทราบว่าตนใกล้จะตายแล้ว เพราะเขาจะคิดว่าในไม่ช้า ตนจะพ้นจากภัยที่จะทำเคืองพระทัยของพระเป็นเจ้า ซึ่งมีอยู่มากมายในชีวิตนี้ จะพ้นจากความวุ่นวายมโนธรรมนานาประการ จะพ้นจากการประจญล่อลวงของปีศาจ ชีวิตในปัจจุบันนี้คือ สงครามกับปีศาจ ซึ่งมีการรบติดต่อกันอยู่เรื่อยไป ตราบใดที่คนเรายังอยู่ในชีวิต ก็ยังมีภัยจะเสียวิญญาณ เสียพระเป็นเจ้าไปได้ตราบนั้น นักบุญอัมโบรส จึงกล่าวว่า “บนแผ่นดิน เราย่อมเดินอยู่ในระหว่างบ่วงบาศของศัตรู” (8) ชึ่งต้องการปลิดชีวิตพระหรรษทานของเรา ภัยอันนี้เองเป็นเหตุให้นักบุญเปโตร แห่งอัลคันตารากล่าว เมื่อท่านใกล้าจะตายว่า “ภราดาโปรดถอยออกไป (ท่านพูดกับฤาษีผู้เฝ้าพยาบาล และมาแตะต้องตัวของท่าน) โปรดถอยไป เพราะฉันยังไม่ตาย ฉันยังอาจทำบาป และไปนรกก็ได้” ภัยอันนี้เอง เป็นเหตุให้นักบุญเทเรซา (แห่งอาวิลลา) เบาใจ ทุก ๆ ครั้งเมื่อท่านได้ยินเสียงนาฬิกาตีบอกเวลา เพราะท่านรู้สึกว่า การสู้รบได้ผ่านไปอีกชั่วโมงหนึ่งแล้ว ตามที่ท่านเคยพูดว่า “ทุก ๆ วินาทีในชีวิตนี้ฉันอาจจะทำบาป และเสียพระเป็นเจ้าไปก็ได้” ฉะนั้นนักบุญทั้งหลายจึงต่างรู้สึกปิติยินดี เมื่อท่านใกล้จะตายเพราะต่างคิดว่า : ในไม่ช้าจะจบการสู้รบ จะหมดภัย และท่านจะมีบุญ : จะเสียพระเป็นเจ้าไม่ได้ต่อไป

      ในประวัติของบรรดาปิตาจารย์มีเรื่องเล่าว่า ในแคว้นชีธีอา พระสงฆ์อาวุโสองค์หนึ่ง เมื่อใกล้จะตาย ใคร ๆ ต่างร้องไห้ ท่านกลับหัวเราะ มีผู้ถามว่าเหตุไรท่านจึงหัวเราะ ท่านก็ตอบว่า “แล้วไฉนพวกท่านจึงร้องไห้เล่า? ในเมื่อเห็นข้าพเจ้ากำลังจะได้ไปพักผ่อน” (9) นักบุญคัทเธอรีน แห่งซีเอนา ก็เหมือนกันเมื่อใกล้จะตาย พูดว่า “ขอจงร่วมยินดีด้วยกันกับฉันเถิด เพราะว่าดิฉันกำลังจะละแผ่นดินแห่งความทุกข์ร้อน ไปสู่สถานแห่งสันติสุข” นักบุญชีปรีอาโนกล่าวว่า: คนที่อาศัยอยู่ในเรือนที่ฝากำลังพัง พื้นและหลังคากำลังสั่นทำท่าจะทะลายลงมาแล้ว เขาจะไม่ยินดีออกจากเรือนนั้นดอกหรือ? ก็ในชีวิตนี้ ทุกสิ่งตั้งท่าจะทำลายวิญญาณของเรา โลก นรก ราคตัณหา ประสาทอันทรยศ ทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแต่ชักจูงเราให้ทำบาปให้ไปสู่ความตายชั่วนิรันดร นักบุญเปาโลอุทานว่า “ใครหนอจะช่วยข้าพเจ้าให้แคล้วจากร่างกายแห่งความตายอันนี้?” (รม. 7, 24) โอ้ ! วิญญาณจะรู้สึกตื่นเต้นยินดีเพียงไรหนอ เมื่อจะได้ยินคำว่า “มาเถอะ ภรรยาจงออกจากสถานที่ต้องกินน้ำตา จงออกจากถ้ำสิงโต” ซึ่งตั้งท่าคอยแต่จะขบท่านและทำให้ท่านเสียพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า (กันต์. 4, 8) ฉะนั้น นักบุญเปาโลจึงปรารถนาอยากจะตาย ท่านกล่าวว่า: พระเยซูคริสต์เท่านั้น คือชีวิตของท่านและท่านถือว่าความตายเป็นกำไรอันใหญ่หลวง เพราะว่ามันจะทำให้ท่านได้รับชีวิตอันไม่รู้จบสิ้น (10)

        ต้องถือเป็นพระคุณอันใหญ่หลวงของพระเป็นเจ้า เมื่อพระองค์ทรงยกวิญญาณที่กำลังประกอบอยู่ด้วยพระหรรษทานออกจากแผ่นดินนี้ เพราะว่าวิญญาณเมื่อยังอยู่ในแผ่นดินนี้ ก็อาจจะเปลี่ยนแปลง และอาจจะทำให้สูญเสียมิตรภาพต่อพระได้ ตราบนั้น (11) จริงอยู่ แม้ในชีวิตนี้ ผู้ใดมีชีวิตร่วมสนิทกับพระผู้นั้นย่อมมีความสุข แต่ผู้ที่กำลังเดินทางในมหาสมุทรจะเรียกว่า ปลอดภัยยังไม่ได้ นอกจากเขาจะไปถึงท่าเรือ และพ้นพายุร้ายทั้งหลายแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้นจะเรียกวิญญาณว่ามีความสุขเต็มที่ยังไม่ได้ นอกแต่เมื่อเขาได้ออกจากชีวิตนี้พร้อมกับพระหรรษทานของพระเป็นเจ้าแล้วเท่านั้น นักบุญอัมโบรสกล่าวว่า “จงชมเชยความสุขของคนเดินทะเลก็เฉพาะเมื่อเขาถึงท่าแล้วเถิด” (12) ผู้โดยสารในสมุทร เมื่อได้ผ่านพ้นภยันตรายเป็นอันมาก และเมื่อเรือเกือบจะไปจอดเทียบท่าแล้ว เขาย่อมมีความยินดี ทำนองเดียวกันก็ผู้ใกล้จะได้พบความรอดก็ย่อมมีความยินดียิ่งกว่านั้นอีก

      อีกประการหนึ่ง เมื่อยังอยู่ในชีวิตนี้ จะไม่ทำความผิดแม้ในเรื่องเล็กเรื่องน้อยย่อมไม่ได้ “ผู้ใคร่ธรรมจะผิดพลาดถึงเจ็ดครั้ง” (สภษ. 24, 16) จะยุติความผิดต่อพระเป็นเจ้าก็ต่อเมื่อออกจากชีวิตนี้แล้ว นักบุญอัมโบรสกล่าวว่า “ความตายคืออะไร ถ้ามิใช่เป็นหลุมฝังพยศชั่ว?” (13)เพราะเหตุนี้ผู้รักพระจึงอยากตาย คุณพ่อวินเชนซิโอ การาฟฟาเมื่อใกล้จะตายได้บรรเทาใจท่านเองว่า “จบชีวิตนี้ ก็คือ จบการทำเคืองพระทัย พระเป็นเจ้า” และนักบุญอัมโบรส ยังพูดว่า “จะปรารถนาอยากได้ชีวิตนี้ไปทำไม? ยิ่งอยู่นานก็ยิ่งจะเต็มไปด้วยบาปเท่านั้น” (14) ผู้ใดตายในพระหรรษทาน ผู้นั้นก็เข้าไปสู่ฐานะทำบาปไม่ได้ และทำบาปไม่เป็นอีกแล้ว นักบุญองค์นี้ยังกล่าวอีกว่า “คนที่ตายแล้วทำบาปไม่เป็น” (15) ฉะนั้น พระสวามีเจ้าจึงทรงชมเชยผู้ตายยิ่งกว่าผู้เป็นทั้งหลาย แม้ผู้ที่เป็นนักบุญ (16) คนใจศรัทธาผู้หนึ่ง ได้สั่งเสียไว้ว่า เมื่อเขาจะตายนั้น ขอให้ผู้ที่จะแจ้งเหตุบอกแก่เขาว่าดังนี้ “จงยินดีเถิด เพราะถึงเวลาที่ท่านจะทำผิดต่อพระเป็นเจ้าไม่ได้ต่อไปแล้ว”

          ข้อเตือนใจและคำภาวนา

          “ขอมอบวิญญาณของข้าพเจ้าไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์ ผู้ทรงไถ่ข้าพเจ้า พระสวามี และพระเจ้าแห่งความจริง” (สดด. 30, 6) อา! พระมหาไถ่ผู้ทรงพระทัยอ่อนโยน ปานนี้ข้าพเจ้าจะเป็นอย่างไรถ้าข้าพเจ้าตายไป ขณะอยู่ห่างเหินจากพระองค์? แน่นอน คงอยู่ในนรกแล้วและจะรักพระองค์ไม่ได้อีกต่อไปขอขอบพระคุณ ที่มิได้ทรงทอดทิ้งข้าพเจ้า ทั้งได้ทรงประทานพระหรรษทานเป็นอันมาก เพื่อเอาชนะดวงใจของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นทุกข์ถึงบาป และรักพระองค์ยิ่งกว่าสิ่งใด ๆ โปรดทรงพระกรุณาให้ข้าพเจ้าซาบซึ้งในความผิดที่ได้ดูหมิ่นพระองค์ และยิ่งทียิ่งซาบซึ้งในความรักของพระองค์ ซึ่งทำให้พระองค์ทรงเมตตากรุณาต่อข้าพเจ้า อย่างหาขอบเขตมิได้ ข้าพเจ้ารักพระองค์ และปรารถนาจะตายเร็ว ๆ ถ้าพระองค์ทรงพอพระทัยดังนี้ ทั้งนี้เพื่อจะได้พ้นจากภัยที่จะสูญเสียพระหรรษทานของพระองค์ และเพื่อจะได้รักพระองค์ให้มากขึ้นตลอดนิรันดรข้าแต่พระเยซูที่สุดเสน่หา ในชีวิตของข้าพเจ้าต่อไปนี้ ขอทรงประทานกำลังให้ข้าพเจ้าสามารถทำอะไรเพื่อพระองค์บ้าง ก่อนที่จะตายเถิด พระเจ้าข้า โปรดให้ข้าพเจ้ามีกำลังเข้มแข็งในการต่อสู้กับการประจญล่อลวง กับตัณหาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตัณหาที่ในกาลก่อน เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าทำเคืองพระทัยโปรดให้ข้าพเจ้ารู้จักเพียรทนเมื่อป่วยไข้ และเมื่อถูกผู้อื่นหมิ่นประมาท ณ ที่นี้เพื่อเป็นการแสดงความรักของข้าพเจ้าต่อพระองค์ ข้าพเจ้ายินดียกโทษแก่ทุก ๆ คนที่ได้ทำผิดต่อข้าพเจ้าไม่ว่าสถานใด ขอพระองค์โปรดประทานพระหรรษทานแก่เขา ตามความปรารถนาของเขาเถิด พระเจ้าข้า สำหรับข้าพเจ้าขอโปรดประทานให้ข้าพเจ้าพยายามหลีกเลี่ยงบาป แม้บาปเบาซึ่งข้าพเจ้าไม่สู้ได้เอาใจใส่พระเจ้าข้า พระมหาไถ่ข้า โปรดช่วยด้วย ข้าพเจ้าหวังจะได้ดั่งขอทุกประการ ทั้งนี้ด้วยเดชะพระบารมีของพระองค์

      ข้าแต่พระแม่มารีอา สรณะที่พึ่งของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าวางใจในคำภาวนาของท่านทุกประการ


 

3. ความตายของผู้ใคร่ธรรม คือ ประตูสวรรค์

       นักบุญเบอร์นาร์ด กล่าวว่า “ความตายมิใช่แต่เป็นเพียงการจบความทุกข์ยาก แต่ยังเป็นประตูชีวิตอีกด้วย” (17) ผู้ใดอยากจะเข้าไปเห็นพระเป็นเจ้าก็จำเป็นจะต้องผ่านทางประตูนี้ (8) นักบุญ ฮีเอโรนีโม วิงวอนต่อความตายว่า “เจ้าความตายน้องรัก ถ้าเจ้าไม่เปิดประตูให้ข้า ข้าก็จะเข้าไปพบพระพักตร์พระสวามีเจ้าไม่ได้” (19) นักบุญการ์โร บอร์โรเมโอ มองดูภาพความตายที่บ้านของท่านเขาวาดเป็นโครงกระดูก มือถือเคียว ท่านไม่ชอบใจ จึงเรียกนายช่างมา แล้วสั่งให้ลบเคียวออก ให้วาดกุญแจทองแทน ที่ท่านทำดังนี้ก็เพื่อเตือนใจตนเอง ให้ปรารถนาจะตายอยู่เสมอ เพราะว่า ความตายเป็นผู้เปิดประตูสวรรค์ ให้เราแลเห็นพระเป็นเจ้านั่นเอง

      นักบุญยวง คริสซอสโตม กล่าวว่า “หากบุรุษผู้ผนึ่งซึ่งเดี๋ยวนี้ อาศัยอยู่ในคอกสัตว์ทราบว่า พระราชาทรงเตรียมห้องสำหรับเขาไว้ในพระราชวังเขาผู้นั้นอยากจะออกจากคอกสัตว์ ไปอยู่พระราชวังเพียงไรหนอ?” ก็ในชีวิตนี้วิญญาณของเราอยู่ในร่างกายคล้ายกับอยู่ในคุก ก่อนจะได้ไปอยู่ในพระราชวังแห่งวิมานสวรรค์ ในวันหนึ่งนั่นเอง ฉะนั้นดาวิดจึงทูลวิงวอนว่า “ขอโปรดนำวิญญาณของข้าพเจ้าออกจากที่คุมขัง เพื่อจะได้สรรเสริญพระองค์” (สดด. 141, 8) นักบุญผู้เฒ่า ซีเมออน ครั้นเมื่อได้อุ้มพระเยซูกุมารแล้ว ไม่รู้จะวิงวอนขอพระคุณอะไร จึงได้ขอความตายเพื่อจะได้พ้นจากคุกแห่งชีวิตปัจจุบันนี้ว่า “บัดนี้ โปรดปล่อยทาสของพระองค์ไปเถิด พระเจ้าข้า” (ลก. 2, 29) ณ ที่นี้นักบุญอัมโบรส บอกให้สังเกตคำว่า “โปรดปล่อยข้าพเจ้า” คล้ายกับว่าท่านกำลังถูกคุมขังอยู่ (20) นักบุญเปาโลก็เหมือนกัน ใคร่จะได้รับพระคุณอันนี้ จึงได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาจะแตกสลาย และไปอยู่กับพระคริสต์” (ฟป. 1, 23)

      มหาดเล็กผู้ถวายเครื่องดื่มของพระเจ้าฟาโร ได้มีความยินดีตื่นเต้นเพียงไร เมื่อทราบจากยอแซฟว่า ในไม่ช้าตนจะได้ออกจากคุก และจะได้เข้ารับตำแหน่งเดิม? ก็วิญญาณที่รักพระเป็นเจ้า จะไม่รู้สึกชื่นชมบ้างหรือเมื่อรู้สึกว่าในไม่ช้าตนจะรอดพ้นจากคุกแห่งแผ่นดินนี้ แล้วจะได้ชมเชยพระพักตร์ของพระเป็นเจ้า! “ขณะที่เราอยู่ในร่างกาย เราก็อยู่ห่างจากพระเป็นเจ้า คล้ายกับอยู่ในดินแดนต่างด้าว อยู่นอกปิตุภูมิของเรา” (2 คร. 5, 6) ดังนั้นนักบุญบรูโนจึงกล่าวว่า “ความตายของเรา ไม่ควรเรียกว่าความตาย ควรเรียกว่าการเริ่มชีวิต” (21) เพราะเหตุนี้เอง จึงมีการเรียกความตายของบรรดานักบุญว่า “วันเกิด” นั่นเองทั้งนี้เพราะว่า อาศัยความตายดังกล่าว ท่านจึงเกิดอยู่ในชีวิตอันบรมสุขไม่รู้สิ้นสุดนักบุญอาธานาซีโอ กล้าวว่า “สำหรับผู้ใคร่ธรรมไม่มีความตาย มีแต่การย้ายสถานที่” (22) สำหรับผู้ใคร่ธรรม ความตายมิใช่อะไรอื่น เป็นการข้ามไปสู่ชีวิตชั่วนิรันดรเท่านั้น นักบุญเอากุสติน อุทานว่า “ความตายเอ๋ย เจ้าน่ารักจริง ใครหนอจะไม่อยากได้เจ้า? เจ้าคือการจบความยากลำบาก การสิ้นความเหน็ดเหนื่อยและการเริ่มพักผ่อนตลอดนิรันดร” (23) ฉะนั้นท่านจึงวิงวอนด้วยใจเร่าร้อนว่า “โปรดเถิด พระสวามีเจ้าข้า โปรดให้ข้าพเจ้าตาย เพื่อจะได้แลเห็นพระองค์” (24)

      นักบุญชีปรีอาโน กล่าวว่า “คนบาปนั่นแหละ ต้องกลัวความตาย เพราะหลังจากความตายในขณะนี้ เขาจะต้องข้ามไปสู่ความตายชั่วนิรันดร” (25) แต่มันไม่เป็นดังนั้นสำหรับผู้ประกอบด้วยพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า เพราะหลังจากความตายเขาก็หวังจะข้ามไปสู่ชีวิต ในประวัติของนักบุญยวงผู้มีสมญาว่า “ผู้ใจบุญสุนทาน” มีเรื่องเล่าว่าเศรษฐีผู้หนึ่ง ได้นำลูกชายคนเดียวของตนมาฝากไว้กับนักบุญ บุรุษผู้นั้นชอบทำบุญทำทานมาก เพื่อขอพระเป็นเจ้าโปรดให้ลูกชายของเขาอายุยืนนาน แต่ต่อมาไม่ช้าลูกตายไปเขาก็เสียใจบ่นพิรี้พิไร พระเป็นเจ้าจึงทรงใช้เทวทูตมาแจ้งแก่เขาว่า: “ท่านได้ขอเราให้ลูกชายของท่านอายุยืนนานมิใช่หรือ? ก็จงทราบเถิดบัดนี้เขากำลังเสวยชีวิตตลอดนิรันดรในสวรรค์แล้ว”

      นี้แหละ คือ พระหรรษทาน ที่พระเยซูคริสต์ทรงนำมาประทานให้แก่เราดังที่พระองค์ได้ทรงสัญญา โดยทางประกาศกโฮเซยาไว้ว่า “ความตายเจ้าเอ๋ยเราจะเป็นความตายของเจ้า” (ฮซย. 13, 44) พรเยซูคริสต์ได้ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อเราพระองค์จึงได้ทรงทำให้ความตายของเรากลายเป็นชีวิต เมื่อท่านมาร์ตีร์ ปีโอนีโอถูกนำไปยังที่ประหาร ขณเดินทาง พวกที่นำท่านไปถามท่านว่า: อะไรกัน! ทำไมท่านจึงเดินไปสู่ความตายด้วยหน้าชื่นตาบานดังนี้เล่า? นักบุญตอบว่า “พวกท่านเข้าใจผิด ข้าพเจ้าไม่ได้เดินไปสู่ความตายหรอก เดินไปสู่ชีวิตต่างหาก” (26) และเมื่อหนุ่มนักบุญซิมฟอรีอาโน จะถูกประหารเป็นมาร์ตีร์มารดาของท่านก็เตือนใจลูกว่า “ลูกเอ๋ย เขาไม่ปลิดชีวิตของลูกหรอก เขาเปลี่ยนให้ดีขึ้นต่างหาก” (27)

        ข้อเตือนใจและคำภาวนา

        ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าแห่งวิญญาณของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสื่อมเสียพระเกียรติ โดยหันหลังให้พระองค์ในชีวิตที่ล่วงมาแล้ว แต่พระบุตรได้ทรงเทิดทูลพระเกียรติของพระองค์ โดยทรงพลีพระชนม์ชีพบนไม้กางเขน ด้วยเดชะพระหรรษทานที่พระบุตรสุดสวาทได้ทรงก่อให้เกิดแด่พระองค์นั้น ขอทรงพระกรุณาอภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด พระเจ้าข้า ข้าแต่องค์คุณงามความดีล้นพ้น ข้าพเจ้าเสียใจที่ได้ทำเคืองพระทัย ขอสัญญาว่า แต่บัดนี้ไปจะไม่รักสิ่งใด นอกจากพระองค์ข้าพเจ้าไว้ใจว่า พระองค์จะทรงช่วยให้ข้าพเจ้าเอาตัวรอด ณ บัดนี้ หากข้าพเจ้ามีอะไรดีบ้าง ก็ล้วนเป็นพระคุณของพระองค์ ข้าพเจ้าขอน้อมรับว่า ได้มาจากพระองค์ทั้งสิ้น “ข้าพเจ้าเป็นอยู่ดังที่เป็นในบัดนี้ ก็โดยพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า” (1 คร. 15, 10) แม้ในเวลาที่ล่วงแล้ว ข้าพเจ้าได้กระทำเสื่อมเสียพระเกียรติแต่ข้าพเจ้าก็หวังจะถวายพระเกียรติแด่พระองค์ทั้งชั่วนิรันดร ด้วยการสรรเสริญพระเมตตากรุณาของพระองค์ พระเจ้าข้า ข้าพเจ้ามีความปรารถนาจะรักพระองค์และเป็นพระองค์เอง ที่ได้ทรงดลบันดาลให้เป็นดังนี้ โอ้องค์ความรักของข้าพเจ้าขอทรงพระกรุณาโปรดช่วยข้าพเจ้าต่อ ๆ ไป ดังที่พระองค์ทรงช่วยแล้วเถิดข้าพเจ้าหวังว่า แต่นี้เป็นตไป ข้าพเจ้าเป็นของของพระองค์แล้ว และเป็นของพระองค์ ข้าพเจ้ารอสละความสนุกเพลิดเพลินทั้งหลายของโลก ข้าพเจ้าไม่สามารถจะหาความยินดีอะไร ให้ยิ่งไปกว่าการทำชอบพระทัยของพระองค์พระสวามีของข้าพเจ้าพระผู้น่ารักอย่างยิ่ง และผู้ทรงรักข้าพเจ้าถึงปานฉะนี้! ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าวิงวอนขอแต่ความรัก ข้าพเจ้าขอความรักขอความรัก พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าตั้งใจขอความรักจากพระองค์ ขอความรักเสมอ ๆ จนกว่าจะตายในความรัก และบรรลุถึงวิมานแห่งความรัก ณ ที่นั้น แม้จะไม่วิงวอนขอต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าก็จะเปี่ยมเต็มด้วยความรัก และจะไม่หยุดรักพระองค์ตลอดทั้งชั่วนิรันดร ทั้งจะรักพระองค์ด้วยสุดกำลังความสามารถด้วย พระเจ้าข้า

      ข้าแต่พระแม่มารีย์ ท่านคือผู้รักพระเป็นเจ้าอย่างยิ่ง ทั้งปรารถนาจะให้คนทั้งหลายรักพระองค์ด้วย ขอโปรดให้ข้าพเจ้ารักพระองค์มาก ๆ ในชีวิตนี้เพื่อจะได้รักพระองค์ ตลอดนิรันดร

(1) Pretiosa tampuam finis laborum, victoreae consummation, vitae janua (Trans.Malac.).
(2) Tampuam vita petitur supplicii mora (Ep. 101.).
(3) Quid est diu vinere, nisi diu torpueri?
(4) Haec vuta homini non ad quietem data est, sed ad laborem. (Serm. 45).
(5) Longum Deus adimit tormentum, cum vitam concedit brevem.
(6) Ut mors remedium videatur esse, non poenam.
(7) Deus meus et omnia.
(8) Inter Laqueos ambulamuss.
(9) Ex labore ad requiem vado, et vos ploratis?
(10) Mihi vivere Christus, est, et mori lucrum (Phil. 1, 21).
(11) Raptus est ne militia mutaret intellectum ejus. (Sap. 4, 7).
(12) Lauda navigantis felicitatem, sed cum pervenit ad portum.
(13) Quid est mors, nisi sepulture vitiorum? (De bono mort. c. 4).
(14) Quid vitam istam desideramus, in qua quanto diutius quis fuerit, tanto majori sarcina peccatorum?
(15) Mortuus nescit peccare.-
(16) Laudavi magis mortuos, quam viventes (Eccl. 4, 2).
(17) Finis laborum, vitae janua.
(18) Ecce porta Domini, justi intrabunt in eam (Ps. 117, 20).
(19) Aperi mihi, soror mea.
(20) Quasi necessitate tenetur dimitti petit.
(21) Mors dicenda non est, sed vitae principium.
(22) Non est justis mors, sed translation.
(23) O mors desiderailis, malorum finis, laboris clausula, quietis prince pium.
(24) Eia moriar, Domine, ut videam.
(25) Mori timeat, qui ad secundam mortem de hac morte transibit.
(26) Erratis, non ad mortem, sed ad vitam contendo (Ab Euseb. lib. 2 c. 14).
(27) Nate, tibi vita non eripitur, sed mutatur in melius.

  ในสังคมสมัยพระเยซู เงินทองเป็นสิ่งสําคัญที่สองรองจากเกียรติยศชื่อเสียง มีผู้กล่าวว่าคนในตะวันออกกลางตั้งแต่โบราณมาถึงปัจจุบันถือว่าชื่อเสียงเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุด และหลายคนพร้อมที่จะสละชีวิตตนเอง  แต่ไม่ยอมสละชื่อเสียง

1.เกรียติยศและชื่อเสียง

          โครงสร้างทางสังคมยึดเอาเกียรติยศชื่อเสียงเป็นเกณฑ์ ไม่ว่าจะพูดหรือทําอะไร จะต้องเอาฐานะหรือตําแหน่งของผู้เกี่ยวข้องเข้ามาพิจารณาด้วย การถูกด่าว่าหรือลบหลู่ดูหมิ่น ถ้ามาจากผู้ใหญ่ ก็เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ถ้ามาจากคนระดับเดียวกัน ก็เป็นสิ่งที่ทําให้อับอายขายหน้าจนแทบจะทนไม่ได้ แต่ถ้ามาจากคนระดับตํ่ากว่าตน ก็จะกลายเป็นเรื่องถึงโลกแตก คนทั่วไปต้องการให้เกียรติยศชื่อเสียงของตนเป็นที่ยอมรับนับถืออยู่เสมอ

          ฐานะและเกียรติขึ้นอยู่กับตระกูล ความรํ่ารวย อํานาจหน้าที่ การศึกษาและคุณธรรม และต้องแสดงออกมาในการแต่งกาย ในการใช้สรรพนาม ในการคบค้าสมาคม ในการเชิญแขกกินเลี้ยง ในการเลือกที่นั่งเมื่อมีงานเลี้ยง หรือเมื่อเข้าไปสวดในศาลาธรรม

          ฐานะและเกียรติเป็นส่วนหนึ่งของศาสนา และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสังคมด้วย แม้พวกยิวที่เคร่งศาสนาที่สุดเช่นชุมชนกุมรัน ก็ยังถือฐานะและขั้นซึ่งมีผลในการให้สิทธิพิเศษต่างๆ และแต่ละคนจะได้รับเกียรติมากน้อยสุดแล้วแต่ฐานะของตน

2. ทัศนคติของพระเยซู

          พระเยซูต่อต้านระบบเช่นนี้ พระเยซูคิดว่ามันเป็นรากฐานอย่างหนึ่งของความชั่วร้ายในโลก และอยากเห็นอาณาจักรที่ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องฐานะและเกียรติยศ "เป็นบุญของท่านเมื่อคนเกลียดท่าน ขับไล่ท่าน ด่าว่าและกล่าวหาว่าท่านเป็นอาชญากร..."(ลก.๖,๒๒) "วิบัติจะเกิดแก่ท่านเมื่อโลกชมเชยสรรเสริญท่าน..." (ลก.๖,๒๖)

          พระเยซูวิจารณ์พฤติกรรมของพวกฟาริสีและพวกคัมภีราจารย์ มากกว่าวิจารณ์คําสอนของพวกเขา (มธ.๒๓,๑-๓) เพราะพวกนี้สนใจแต่จะให้คนอื่นเคารพยกย่องให้เกียรติ "ไม่ว่าพวกนี้จะทําอะไรก็มุ่งแต่จะให้คนอื่นสนใจ...ชอบเลือกนั่งที่มีเกียรติในงานเลี้ยง และเลือกแถวหน้าในศาลาธรรม ชอบให้คนคารวะในสถานที่สาธารณะและชอบให้คนอื่นเรียกตนว่าอาจารย์" (มธ.๒๓,๕-๗; มก.๑๒,๓๘-๔๐; ลก.๑๑,๔๓;๑๔,๗-๑๑)

          การปฏิบัติศาสนกิจและการทําบุญให้ทานก็เช่นเดียวกัน พวกนี้ทําเพื่อจะได้รับคําชมเชย (มธ.๖,๑-๖;๖,๑๖-๑๘) พระเยซูถือว่านี่ไม่ใช่คุณธรรมแต่เป็นการหลอกลวง  พระเยซูเปรียบพวกฟาริสีและคัมภีราจารย์ว่าเป็นเหมือนที่ฝังศพทาสีขาว ภายนอกก็ดูดีแต่ภายในมีซากศพ (มธ.๒๓, ๒๗-๒๘) พวกเขาถือพระบัญญัติเพียงภายนอก เจตนาที่แท้จริงคือหวังให้คนสรรเสริญ (ลก.๑๘,๙-๑๔)

          คนหลอกลวงเช่นนี้ได้รับรางวัลแล้ว  นั่นคือได้รับคํายกย่องและชื่อเสียง และพวกนี้จะไม่ได้เข้าสู่อาณาจักรพระเจ้า (มธ.๕,๒๐)  คือจะเข้าร่วมขบวนการกับพระเยซูไม่ได้ ใครก็ตามที่สนใจแต่เกียรติและความยิ่งใหญ่  ก็ถือค่านิยมต่างไปจากที่พระเยซูตั้งไว้

3. ผู้ที่จะเป็นใหญ่ในอาณาจักรพระเจ้า

          "พวกสาวกเข้ามาหาพระเยซูและถามว่า ใครจะเป็นใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพระเจ้า? พระเยซูเรียกเด็กคนหนึ่งเข้ามายืนอยู่ต่อหน้าทุกคนแล้วพูดว่า เราขอประกาศว่า ถ้าพวกท่านไม่เปลี่ยนเป็นเหมือนเด็กๆ  พวกท่านจะเข้าอาณาจักรพระเจ้าไม่ได้ ใครที่ทําตัวเป็นเหมือนเด็กเล็ก ๆ เช่นนี้จะเป็นใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพระเจ้า" (มธ.๑๘,๑-๔)

          เด็กคนนั้นเปรียบเหมือนความตํ่าต้อย ซึ่งตรงข้ามกับความยิ่งใหญ่ ความมีฐานะและเกียรติยศ เด็กๆในสมัยนั้น ไม่มีฐานะและไม่มีความหมายอะไรเลย แต่สําหรับพระเยซู  เด็ก ๆ ก็เป็นคนเหมือนกันและมีความสําคัญด้วย เพราะเหตุนี้เมื่อพวกสาวกไล่เด็กๆให้ถอยไป พระเยซูจึงไม่พอใจ และเรียกให้เข้ามาใกล้แล้วโอบกอดพร้อมกับอวยพรให้โดยวางมือบนหัวเด็กๆด้วย "อาณาจักรพระเจ้าเป็นของคนที่เป็นเหมือนเด็กๆเช่นนี้" (มก. ๑๐,๑๔) เมื่อพูดถึงเด็กในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความไร้เดียงสาหรือความไม่รู้จักรับผิดชอบตามประสาเด็ก แต่เด็กในที่นี้เป็นสัญญลักษณ์ของคนชั้นตํ่าสุดในสังคม คนจน คนถูกกดขี่ ขอทาน โสเภณี คนเก็บภาษี

          พระเยซูไม่ต้องการให้คนตํ่าต้อยเหล่านี้ต้องถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม "ระวังอย่าดูหมิ่นคนตํ่าต้อยเหล่านี้" (มธ.๑๘,๑๐) พระเยซูเข้าใจดีว่าคนพวกนี้ต้องรู้สึกอายและมีปมด้อยมากขนาดไหน และเนื่องจากพระเยซูสงสาร  พวกนี้มาก จึงถือว่าพวกเขามีความสําคัญอย่างยิ่ง พระเยซูปลอบใจพวกเขาว่า "ไม่ต้องกลัว ฝูงแกะน้อยๆเอ๋ย พระเจ้า พระบิดาของเจ้า พอใจที่จะยกอาณาจักรให้พวกเจ้า" (ลก.๑๒,๓๒) พระเยซูคิดว่าคนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เกิดจากสตรี นั่นคือยอห์นแบปติสต์ ยังไม่ยิ่งใหญ่เท่าคนตํ่าต้อยที่สุดในอาณาจักรพระเจ้า (มธ.๑๑,๑๑) นั่นคือพระเยซูถือว่าแม้แต่เกียรติยศและความเคารพนับถือที่ยอห์นได้รับก็ไม่มีค่าอะไรเลย

          พระเยซูถึงกับเอาเด็กทารกมาเปรียบกับนักปราชญ์ (มธ.๑๑,๒๕) ฝ่ายหนึ่งมีพวกคัมภีราจารย์ซี่งมีเกียรติยศชื่อเสียงเป็นอย่างมากเพราะได้รับการศึกษาและมีความรอบรู้มาก มีแต่คนนับหน้าถือตา อีกฝ่ายหนึ่งมีเด็กทารก ซึ่งสําหรับพระเยซู เด็กทารกเป็นภาพพจน์ของคนโง่และไร้การศึกษา ผลปรากฏว่า เด็กทารก นั่นคือคนตํ่าต้อยไร้การศึกษา ได้รับการเปิดเผยและเข้าใจความจริงเกี่ยวกับอาณาจักรพระเจ้า ส่วนบรรดาผู้รอบรู้กลับไม่เข้าใจ และเพราะเหตุนี้แหละที่พระเยซูขอบคุณพระเจ้า

4. ผู้มีสิทธิ์เข้าอาณาจักรพระเจ้า

          นี่ไม่ได้หมายความว่าเฉพาะคนในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ที่จะเข้าอาณาจักรพระเจ้าได้ แต่ทุกคนมีสิทธิ หากว่าเขาพร้อมที่จะเปลี่ยนตัวเองให้เป็นเหมือนคนตํ่าต้อย หรือทําตัวเหมือนเด็ก ๆ (มธ.๑๘,๓-๔) "เขาจะต้องทําตัวเป็นคนสุดท้าย และเป็นผู้รับใช้ผู้อื่น" (มก.๙,๓๕) หมายความว่าเขาจะต้องเลิกพะวงถึงฐานะและเกียรติยศชื่อเสียง เช่นเดียวกับที่เขาต้องตัดใจจากทรัพย์สินเงินทอง

          ความรักของพระเยซูไม่ใช่เจาะจงและจํากัดอยู่กับพวกคนจนและคนถูกกดขี่เท่านั้น หลักการของพระเยซูคือสิ่งที่สําคัญที่สุดคือ ความเป็นคน ไม่ใช่เกียรติยศชื่อเสียง คนจนและคนถูกกดขี่ไม่มีอะไรจะมาสนับสนุน มีแต่ความเป็นคนและความทุกข์ทรมาน พระเยซูสนใจและห่วงไยชนชั้นกลางและชั้นสูงด้วย ไม่ใช่เพราะพวกเขาเป็นบุคคลสําคัญหรืออะไรอื่น แต่เป็นเพราะว่าพวกเขาก็มีความเป็นคนเหมือนกัน พระเยซูอยากให้พวกเขาทิ้งค่านิยมที่ผิด ทิ้งความรํ่ารวยและเกียรติ เหลือไว้แต่ความเป็นคนอย่างแท้จริง  พระเยซูอยากให้ทั้งค่านิยมของโลก ที่บูชาเกียรติยศชื่อเสียง และให้ทุกคนรับค่านิยมของ "พระเจ้า" ที่นับถือความเป็นคนของมนุษย์ทุกคน

5. ทัศนคติต่อสตรี   

          อีกสิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นชัดว่าพระเยซูให้คุณค่ากับความเป็นคน คือทัศนคติที่พระเยซูมีต่อสตรี ในสังคมสมัยนั้นการเกิดมาเป็นผู้หญิงเป็นข้อเสียเปรียบ บางคนถึงกับถือว่าพระเจ้าไม่ได้ฟังคําภาวนาของพ่อแม่ จึงได้ลูกสาว ผู้หญิง และเด็กไม่มีความหมาย   ผู้หญิงจะเป็นศิษย์ของพวกคัมภีราจารย์ หรือของพวกไหนๆ ก็ไม่ได้ บทบาทของสตรีมีเพียงแต่เพศและเลี้ยงลูกเท่านั้น

          พระเยซูไม่ถือเช่นนั้น พระเยซูไม่เห็นด้วยกับคนสมัยนั้นและไม่เห็นด้วยกับศิษย์รุ่นต่อๆมาเกือบทั้งหมด และไม่เห็นด้วยกับศิษย์รุ่นปัจจุบันนี้หลายคน พระเยซูตีคุณค่าผู้หญิงเท่ากับผู้ชายทุกประการ ถือว่ามีเกียรติและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน พระเยซูเป็นห่วงแม่ม่ายบ้านนาอิม แม่ยายของเปโตร หญิงที่ตกโลหิต และหญิงชาวคานาอัน เหมือนกับที่เป็นห่วงคนอื่นๆที่ต้องการความช่วยเหลือ ผู้หญิงหลายคนเป็นเพื่อนและเป็นผู้ติดตามพระเยซู (มก.๑๕,๔๐-๔๑; ลก.๗,๓๖-๕๐; ๘,๒-๓; ยน.๑๑,๕; ๒๐,๑๑-๑๘) ผู้หญิงเป็นแม่และเป็นพี่น้องของพระเยซู (มก.๓,๓๔-๓๕) พระเยซูถือว่ามารีย์ ชาวเบธานีได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุด โดยมานั่งฟังแทบเท้าพระเยซู แทนที่จะปล่อยให้พวกผู้ชายเท่านั้นที่ฟังแล้วตัวเองเข้าครัว (ลก.๑๐,๓๘-๔๒) พระเยซูไม่มีความกลัวหรือลําบากใจที่ต้องพูดคุยติดต่อกับหญิงโสเภณี (ลก.๗,๓๖-๕๐; มธ.๑๑,๑๙; ๒๑,๓๑-๓๒)หรือหญิงที่มีประวัติเสีย (ยน.๔, ๗-๒๗; ๘,๑๐-๑๑) คนก็คือคน และนี่คือสิ่งที่สําคัญที่สุด

          คําพูดของพระเยซูที่ว่า "ใครที่ถ่อมตนจะได้รับการยกย่อง" ไม่ใช่เป็นคําสัญญาว่าคนที่ไม่มีเกียรติ หรือที่สละเกียรติในเวลานี้ จะได้รับเกียรติยศชื่อเสียงในอนาคต แต่มันเป็นคําสัญญาว่าเขาจะไม่ถูกเหยียดหยามว่าตํ่าต้อย แต่จะเป็นที่ยอมรับในฐานะมนุษย์เต็มขั้น คนจนไม่ได้รับคําสัญญาว่าจะได้รํ่ารวย แต่จะได้มีอยู่มีกินอย่างไม่ขาดแคลน ฉันใดก็ฉันนั้น คนไร้เกียรติไม่ได้รับคําสัญญาว่าจะมีเกียรติยศชื่อเสียง แต่จะได้มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคนเท่าเทียมกับทุกคน เพื่อจะให้บรรลุถึงขั้นนี้จําเป็นจะต้องจัดโครงสร้างในสังคมใหม่อย่างถอนรากถอนโคน

          อาณาจักรพระเจ้าจะเป็นสังคมที่ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ไม่มีการใช้ฐานะหรือเกียรติยศชื่อเสียงมาเป็นกฎเกณฑ์เงื่อนไข ไม่มีผู้ยิ่งใหญ่และผู้ตํ่าต้อย ทุกคนจะได้รับความรักและเคารพนับถือ เพราะว่าทุกคนเป็นคนเหมือนกัน ไม่ใช่เพราะเป็นคนมีการศึกษา เพราะความรํ่ารวย ตระกูล อํานาจหรือเพราะอะไรอื่น  หลายคนคงจะคิดไม่ออกว่าสภาพชีวิตในสังคมแบบนี้จะเป็นอย่างไร แต่สําหรับผู้ตํ่าต้อยที่ไม่เคยมีสิทธิหรือฐานะเหมือนกับคนอื่น และสําหรับผู้ที่ไม่ผูกพันกับเกียรติยศชื่อเสียง จะเข้าใจได้ไม่ยากว่า ชีวิตในสังคมเช่นนี้จะนําความพึงพอใจและความสุขมาให้ ใครก็ตามที่ไม่สามารถทําตัวเสมอเท่ากับคนขอทาน คนรับใช้  อดีตโสเภณี คนจน ผู้หญิงและเด็ก และใครก็ตามที่ไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่ได้อยู่เหนือใครสักคน  ก็จะไม่สามารถอยู่ได้อย่างสบายใจในอาณาจักรพระเจ้า  พวกเขาคงอยากจะแยกตัวอยู่นอกอาณาจักรนี้

คำถาม

1. พระเยซูมีทัศนคติเรื่อง “เกียรติยศชื่อเสียง” อย่างไร ?
2.ใครจะเป็นประชากรในอาณาจักรพระเจ้าได้ ?
3. พระเยซูมีท่าทีต่อสตรีอย่างไร?

1. ผู้ใคร่ธรรมปราศจากความหวาดกลัว

            “บรรดาวิญญาณของผู้ใคร่ธรรมอยู่ในพระหัตถ์ของพระเป็นเจ้า” ก็เมื่อพระเป็นเจ้าทรงเป็นผู้กำวิญญาณของผู้ใคร่ธรรมไว้ในพระหัตถ์ดังนี้แล้ว ใครหนอจะมาแย่งชิงออกจากพระหัตถ์ของพระองค์ได้? จริงอยู่นรกจะคอยมาเฝ้าประจญรุกรานแม้ผู้ใจศรัทธา เมื่อท่านใกล้จะตาย แต่พระเป็นเจ้าก็จะไม่ทรงหยุดพิทักษ์รักษาท่านเหมือนกัน นักบุญอัมโบร์ กล่าวว่า “เมื่อมีภัยอันตรายมาก พระองค์ก็ทรงประทานความช่วยเหลือทวีมากขึ้น แก่ข้าบริการที่สัตย์ซื่อต่อพระองค์” (1) กษัตริย์ดาลิด ก็ได้ทรงยืนยันเรื่องนี้เหมือนกันว่า “พระสวามีเจ้า... ทรงช่วยเหลือในเวลาที่เหมาะสม” (สดด. 9, 10) คราวเมื่อคนใช้ของ เอลีเซโอ แลเห็นพวกศัตรูมาล้อมเมือง เขาก็ตกใจ แต่ท่านนักบุญเตือนสติว่า “อย่ากลัว ฝ่ายเรามีมากกว่าฝ่ายเขา” (2 พกษ 6, 16) แล้วท่านก็ชี้ให้เขามองดูกองทัพนิกรเทวดา ซึ่งพระเป็นเจ้าทรงใช้มาช่วยป้องกัน

            แน่นอน ปีศาจมาประจญล่อลวง แต่อารักขเทวดาก็จะมาต้านทาน เป็นกำลังช่วยเหลือผู้ใกล้จะตายเหมือนกัน บรรดานักบุญองค์อุปถัมภ์ก็จะมา นักบุญมีคาแอล ซึ่งพระเป็นเจ้าทรงมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยป้องกัน ข้าบริพารที่ซื่อสัตย์ของพระองค์ในการสู้รบครั้งสุดท้ายก็จะมา พระมารดาของพระเป็นเจ้าก็จะเสด็จมากำจัดศัตรู ด้วยทรงเอาเสื้อของพระนางคลุมตัวข้าบริการผู้ภักดีไว้และเฉพาะอย่างยิ่ง พระเยซูคริสต์เองก็จะเสด็จมาคุ้มครองป้องกันภัยแก่ลูกชุมพาผู้ปราศจากมลทิน หรือผู้ได้เป็นทุกข์กลับใจแล้วซึ่งพระองค์ได้ทรงพลีพระชนม์ชีพเพื่อความรอดของเขา: พระองค์จะทรงโปรดให้เขามีความวางใจ และพละกำลังเท่าที่ต้องาการสำหรับรณรงค์ครั้งสุดท้ายนั้น เขาจึงจะร้องประกาศด้วยใจกล้าหาญว่า “พระสวามีเจ้าเสด็จมาช่วยฉันแล้ว” (สดด. 29, 11) “พระสวามีเจ้าทรงเป็นความสว่าง และเป็นความรอดของฉัน ฉันจะต้องกลัวใคร?” (สดด 26, 1) ท่านโอรีเชแนสกล่าวว่า “พระเป็นเจ้าทรงเอาใจใส่เรื่องความรอดของเรามากกว่าปีศาจเกลียดเรามากนัก” (2) นักบุญเปาโลกล่าวว่า “พระเป็นเจ้าทรงซื่อสัตย์ พระองค์จะไม่ทรงปล่อยให้ท่านถูกประจญ เกินกำลังของท่านไปได้” (1 คร. 10, 13) อาจมีผู้ค้านว่า: มีคนใจศรัทธาจำนานมากที่เมื่อจะตายรู้สึกสะดุ้งกลัวในเรื่องความรอดของตน ขอตอบว่า: จริง, แต่มีตัวอย่างน้อยที่บุคคลผู้ได้บำเพ็ญชีพอย่างศรัทธา แล้วเมื่อคราวจะตาย รู้สึกตกใจกลัวมาก ท่านวินแชนซีโอ ชาวโบแวส ออกความเห็นว่า “ที่พระเป็นเจ้าทรงปล่อยให้บางคนรู้สึกเช่นนั้นก็เพื่อจะให้เขาชำระมลทินบางประการให้หมดสิ้นในคราวที่จะตายนั้น” (3) นอกนั้นในประวัติของข้าบริการของพระเป็นเจ้าแทบทุกท่าน เราพบเห็นว่า ท่านตายด้วยอาการสงบและยิ้ม มนุษย์ทุกคน เมื่อคราวจะตาย ย่อมกลัวการพิพากษาของพระเป็นธรรมดา แต่สำหรับคนบาปจากความกลัว เจาถลำลงไปสู่ความเสียใจ สำหรับนักบุญ จากความกลัว ท่านก้าวไปสู่ความไว้ใจ นักบุญ อันโตนีโน เล่าว่า : เมื่อนักบุญ เบอร์นาร์ด ป่วย ท่านรู้สึกกลัวและถูกประจญให้เสียใจ แต่แล้ว เมื่อท่านระลึกถึงพระบารมีของพระเยซูคริสต์ท่านก็กำจัดความกลัวได้สิ้นเชิง และกล่าวว่า “บาดแผลของพระองค์คือ บุญกุศลของข้าพเจ้า” (4) นักบุญ ฮีลารีโอก็กลัวเหมือนกัน แต่แล้ว ท่านก็พูดด้วยหน้าชื่นตาบานว่า “ออกไปเถอะ วิญญาณข้าพเจ้า เกือบเจ็ดสิบปีแล้วเจ้าได้ปรนนิบัติพระคริสต์เจ้า เจ้ายังจะกลัวตายอีกหรือ?” (5) ท่านประสงค์จะพูดว่า: วิญญาณข้าเจ้าเอ๋ย เจ้ากลัวอะไร? เจ้าได้ปรนนิบัติพระเป็นเจ้าผู้ทรงซื่อสัตย์ พระองค์จะไม่ทรงทอดทิ้งบุคคลที่ได้ปรนนิบัติพระองค์โดยซื่อสัตย์สุจริตในชีวิตนี้ มีผู้ถามคุณพ่อ ยอแซฟ สกามักกาคณะเยสุอิต ก่อนท่านจะถึงแก่มรณภาพว่า: ในการตายนี้ ท่านมีความหวังหรือไม่?-ท่านตอบว่า “อะไรกัน! ฉันนับถือพระมะหะหมัดหรือนี่? ทำไมในบัดนี้ ฉันจะต้องสงสัยในพระทัยดีของพระเป็นเจ้าว่า พระองค์จะทรงปรารถนาให้ฉันเอาตัวรอดหรือไม่?”

            หากว่า เมื่อใหล้จะตาย เราจะถูกรบกวนให้คิดถึงความผิดที่ได้ทำต่อพระเป็นเจ้าแต่หนหลังนั้น จงตระหนักเถิดว่า พระเป็นเจ้าได้ทรงยีนยันว่า พระองค์จะทรงลืมบาปของคนที่เป็นทุกข์กลับใจ “หากคนอธรรมทำการใช้โทษ เราจะลืมบาปทั้งสิ้นที่เขาได้กระทำ” (อสค. 14 21-22) บางคนจะถามว่า “จะรู้แน่อย่างไรว่าพระเป็นเจ้าได้ทรงยกบาปแก่ฉันแล้ว?” ปัญหานี้ นักบุญบาซิลก็ได้ถาม (6) และท่านก็ตอบว่า “ก็เมื่อพูดได้ว่า ฉันเกลียดบาป ฉันสาปแช่งบาป” (7) ฉะนั้นผู้ใดเกลียดบาป ผู้นั้นก็แน่ใจได้ว่า พระเป็นเจ้าทรงยกบาปให้แก่ตนแล้ว เหตุว่า ดวงใจของมนุษย์จะอยู่เฉย ๆ โดยไม่รักอะไรสักอย่างไม่ได้ จึงจะรักสัตว์โลก หรือรักพระเป็นเจ้า ไม่อย่างใด ก็อย่างหนึ่ง ก็ถ้าไม่รักสัตว์โลก ก็เป็นอันว่า รักพระเป็นเจ้า และใครเล่า เป็นผู้ที่รักพระเป็นเจ้า? “ผู้ที่ประพฤติตามพระบัญญัติของพระเองค์ (ยน. 14, 21) เป็นอันว่า ผู้ใดตายขณะกำลังประพฤติตามพระบัญญัติของพระเป็นเจ้า ผู้นั้นก็ตาย ขณะกำลังรักพระองค์ และผู้ใดรักพระเป็นเจ้า ผู้นั้นก็ปราศจากความกลัว (8)

              ข้อเตือนใจและคำภาวนา

            อา! พระเยซู้เจ้าข้า เมื่อไรหนอ จะถึงวันที่ข้าพเจ้ากราบทูลพระองค์ได้ว่า: พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะเสียพระองค์ไม่ได้ต่อไปแล้ว? เมื่อไรหนอ ข้าพเจ้าจะได้แลห็นพระองค์ “อย่างหน้าต่อหน้า” และจะได้รักพระองค์ด้วยสิ้นสุดความสามารถอย่างแน่วแน่ตลอดทั้งชั่วนิรันดร อา! องค์คุณงามความดีที่ล้นพ้นเจ้าข้า พระองค์คือความรักแต่อันเดียวของข้าพเจ้า ตราบใดที่ข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่ ก็ยังอยู่ในภัยจะทำผิดต่อพระองค์ และจะเสียพระหรรษทานของพระองค์ได้อยู่ตราบนั้น ก่อนนี้ในช่วงเวลาหนึ่ง ข้าพเจ้ามิได้รักพระองค์ ทั้งได้ดูหมื่นความรักของพระองค์ แต่บัดนี้ข้าพเจ้าเป็นทุกข์ด้วยสิ้นสุดวิญญาณ และหวังว่า พระองค์ได้ทรงอภัยบาปแก่ข้าพเจ้าแล้ว ขณะนี้ ข้าพเจ้ารักพระองค์ด้วยสุดดวงใจ และปรารถนาจะรักพระองค์ จะทำแต่ที่ชอบพระทัย และทั้งนี้ด้วยสุดความสามารถ พระเจ้าข้า อย่างไรก็ดี ข้าพเจ้ายังอยู่ในภัยจะไม่รักพระองค์จะหันหลังให้พระองค์ได้อีก อา! พระเยซูเจ้าข้า พระองค์คือชีวิตของข้าพเจ้าขุมทรัพย์ของข้าพเจ้า ขออย่างทรงปล่อยให้เป็นเช่นนั้นเลย! หากทรงเห็นว่าข้าพเจ้าจะประสบเคราะห์กรรมดังนั้นอีก โปรดให้ข้าพเจ้าตายเสียในวืนาทีนี้เถิดตายอย่างลำบากเท่าไร ๆ ก็สุดแต่พระองค์จะทรงเห็นควร ข้าพเจ้าขอน้อมรับและวิงวอนขอด้วย พระเจ้าข้า ข้าแต่พระบิดาผู้สถิตสถาพรตลอดนิรันดร ด้วยเดชะความรักของระองค์ต่อพระเยซูคริตโต โปรดอย่าปล่อยให้ข้าพเจ้าต้องประสบความพินาศอันยิ่งใหญ่นั้นเลย! ขอให้ลงโทษข้าพเจ้าตามแต่ชอบพระทัยเถิดขอเพียงให้ข้าพเจ้าพ้นเสียจากพระอาชญาโทษอันนั้น คือการเสียพระหรรษทานและการปราศจากความรักต่อพระองค์เท่านั้น พระเจ้าข้า พระเยซูเจ้าข้า โปรดมอบข้าพเจ้าไว้กับพระบิดาของพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า

            ข้าแต่พระแม่มารีอา โปรดมอบตัวข้าพเจ้าไว้กับพระบุตรของท่านโปรดทูลวิงวอนเพื่อให้ข้าพเจ้าได้เจริญชีวิตอยู่ในมิตรภาพของพระองค์ และในความรักของพระองค์ด้วยเถิด นอกนั้นพระองค์จะทรงทำอย่างไรต่อข้าพเจ้าก็สุดแล้วแต่จะทรงโปรดเถิด


2. ผู้ใคร่ธรรมเปี่ยมด้วยความบรรเทา

            “บรรดาวิญญาณของผู้ใคร่ธรรมอยู่ในพระหัตถ์ของพระเป็นเจ้า และความทุกข์ทรมานแห่งความตายจะไม่อาจพ้อพานท่านได้ ท่านปรากฏต่อตาคนโฉดเขลาว่าตายเสียแล้ว...แต่ที่แท้ ท่านเจริญอยู่ในสันติสุข” (ปชญ 3, 1-3) ตาของคนโฉดเขลา มองเห็นเหมือนว่าข้าบริการของพระเป็นเจ้า ตายไปอย่างโศกสลดและตายไปด้วยจำใจ อย่างเช่นคนใจโลกตา แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่พระเป็นเจ้าทรงรู้จักบรรเทาใจบุตรของพระองค์ในขณะที่เขาจะตาย และแม้ในท่ามกลางความปวดร้าวของความตาย พระองค์ทรงโปรดให้เขารู้สึกปลาบปลื้มยินดี ราวกับว่ากำลังลิ้มรสสวรรค์ ซึ่งจะทรงประทานให้ในไม่ช้านั้นก่อนแล้วคนที่ตายในบาป แม้เมื่อยังนอนป่วย เขาก็เริ่มรู้สึกถึงความทุกข์ทรมานในนรกรู้สึกกลัดกลุ้มวุ่นวาย หวาดกลัว และเสียใจ ฉันใด ตรงกันข้าม บรรดานักบุญเพราะท่านแสดงความรักต่อพระเป็นเจ้าขณะนั้นบ่อยกว่าคราวปกติ เพราะท่านปรารถนาและหวังจะได้พระเป็นเจ้าในไม่ช้า ดังนั้นเมื่อก่อนจะตาย ท่านก็เริ่มรู้สึกถึงความสุข อันจะได้รับอย่างเต็มที่ในสวรรค์ ณ เวลานั้นก่อนแล้ว ฉันนั้น ความตายสำหรับนักบุญ หาใช่เป็นอาชญาโทษไม่ แต่เป็นบำเหน็จรางวัลต่งหาก “เมื่อพระองค์จะทรงโปรดให้คนที่รักของพระองค์หลับ นั่นแหละคือ ชิ้นมรดกของพระองค์” (สดด. 126, 2-3) ความตายสำหรับผู้ที่รักพระเป็นเจ้าไม่ใช่ความตายแต่เป็นการหลับ เพราะเหตุที่เขาผู้นั้นอาจจะพูดได้ว่า “ฉันจะหลับ และจะพักผ่อนในสันติสุขของพระสวามีเจ้า” (สดด.4, 9)

            คุณพ่อ ซูอาแรส ได้มรณะอย่างสงบ เมื่อกำลังจะสิ้นใจ ท่านกล่าวว่า “ฉันมิได้เคยนึกฝึกเลยว่า ความตายจะอ่อนหวานเช่นนี้” (9) พระคาร์ดินัล โบโรนีโอ เมื่อแพทย์เตือนว่า ไม่ควารคิดถึงความตายให้มากนัก ท่านก็ตอบว่า “คุณหมอคิดว่าฉันกลัวความตายกระมัง? ฉันไม่กลัวมันหรอก ฉันรักมัน” โซนเดอร์ส เล่าว่า: พระคาร์ดินัล พีเชอร์ (*) (พระสังฆราชแห่งโรเวสเตอร์) ก่อนจะไปสู่ที่ประหารเพราะความเชื่อ ท่านให้คนใช้เอาเสื้อนอกตัวดีที่สุดมาให้ท่านใส่ บอกว่าท่านกำลังไปงานวิวาหะมงคล แต่พอแลเห็นที่ประหาร ท่านก็โยนไม้เท้าทิ้ง พูดว่า “ท่านเจ้าเอ๋ย เดินไปเองเถิด เร็ว ๆ เข้า เราอยู่ใกล้สวรรค์แล้ว” (10)เมื่อก่อนจะมรณะ ท่านสวด “เต เดอุม” สมนาคุณพระเป็นเจ้าที่ได้ทรงโปรดให้ท่านตายเป็นมาร์ตีร์เพื่อความเชื่อ; แล้วท่านได้วางศีรษะรับคมขวานด้วยอาการร่าเริงนักบุญฟรังซีส อัสซีซี เมื่อจะสิ้นใจได้ร้องเพลงและชวนเพื่อนให้ขับร้องด้วยภราดา เอวีอาส จึงว่า “คุณพ่อเมื่อจะตายอยู่แล้วต้องร้องไห้ ไม่ใช่ร้องเพลง” แต่ท่านนักบุญกลับตอบว่า “สำหรับพ่อ จะทำอย่างอื่นไม่ได้นอกจากขับร้อง ในเมื่อพ่อแลเห็นว่า ในไม่ช้าพ่อจะได้ไปพบพระพักตร์ของพระเป็นเจ้า” ภคินี เทเรซีอานา เมื่อใกล้จะตาย ขณะที่ยังเป็นสาวอยู่เพื่อนภคินีต่างพากันมาร้องไห้รอบข้างเธอจึงว่า “เป็นอะไรหรือ? ร้องไห้ทำไม? ฉันจะไปหาพระเยซูคริสต์ผู้ที่ฉันรักหากพวกเธอรักฉัน โปรดร่วมใจยินดีกับฉันเถิด” (11)

            ท่านเฮนรีกรันเล่าว่า นายพรานผู้หนึ่ง ไปพบบุรุษผู้หนึ่งอยู่คนเดียวในป่า เป็นโรคเรื้อนมีแผลทั้งตัว ขณะนั้นกำลังจะตายอยู่แล้ว แต่ก็ร้องเพลง เขาจึงถามว่า “ไฉนท่านเป็นอย่างนี้แล้ว ยังร้องเพลงได้?” ฤษีผู้นั้นก็ตอบว่า “พี่ร่างกายของฉันนี้เท่านั้นที่เป็นกำแพงกั้นฉันกับพระเป็นเจ้า ก็บัดนี้ ฉันเห็นว่ามันกำลังหลุดออกทีละชิ้นๆ คุกแทบจะพังอยู่แล้ว ไม่ช้าฉันจะได้แลเห็นพระเป็นเจ้าฉันจึงรู้สึกดีใจ และขับร้อง” ความปรารถนาใคร่จะเห็นพระเป็นเจ้านี้เอง ทำให้นักบุญ อิกญาซีโอ มาร์ตีร์ ถึงกับพูดว่า “หากสัตว์ร้ายไม่มาปลิดชีวิตของฉัน ฉันเองจะยั่วให้มันมาขบกินฉัน” (12)นักบุญ คัทเธอรีน แห่งซีเอนาทนไม่ไหวเมื่อเห็นบางคนกล่าวว่า ความตายเป็นเคราะห์กรรม เธอจึงกล่าวว่า “ความตายที่รักเจ้าเอ๋ย เขาช่างมองดูเจ้า ในแง่ร้ายเสียนี่กระไร! ทำไมหนอ เจ้าจึงไม่มาหาข้า ผู้เรียกร้องหาเจ้าทุกคืนวัน” (13) นักบุญเทเรซา ก็อยากตายเสียเหลือเกินท่านถึงกับถือว่า การไม่ตายคือความตาย เพราะคิดเช่นนี้ ท่านจึงนิพนธ์เพลงที่มีชื่อเสียงบทหนึ่งว่า “ฉันตาย เพราะฉันไม่ตาย!” ความตายสำหรับนักบุญเป็นดังนี้แหละ!

             ข้อเตือนใจและคำภาวนา

           อา! องค์คุณงามความดีที่ล้นพ้น พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าเอ๋ย ในกาลก่อนข้าพเจ้ามิได้รักพระองค์ แต่บัดนี้ข้าพเจ้าหันมาหาพระองค์แล้ว ข้าพเจ้าขอสละสัตว์โลกทั้งสิ้น และเลือกรักพระองค์ พระสวามีที่น่ารักอย่างยิ่งแต่ผู้เดียว โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่า พระองค์ทรงประสงค์สิ่งใด ข้าพเจ้าจะกระทำสิ่งนั้นชีวิตที่ข้าพเจ้ายังเหลืออยู่นี้ ข้าพเจ้าขอพลีเพื่อทำตามน้ำพระทัย โปรดประทานพละกำลังให้ข้าพเจ้ารักพระองค์ ทดแทนความอกตัญญูซึ่งข้าพเจ้าได้แสดงต่อพระองค์จนกระทั่งบัดนี้เถิด ข้าพเจ้าควรจะถูกเผาอยู่ในนรกแต่หลายปีมาแล้ว แต่พระองค์ได้ทรงไล่ตาม จนในที่สุดพระองค์จึงได้ทรงดึงข้าพเจ้าให้เข้ามาหาพระองค์ได้ บัดนี้ขอให้ข้าพเจ้าถูกเผาด้วยความรักต่อพระองค์เถิด พระเจ้าข้า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงพระทัยดีหาขอบเขตมิได้ ข้าพเจ้ารักพระองค์ พระองค์ทรงประสงค์ให้ข้าพเจ้ารักพระองค์ผู้เดียว ก็สมควรนักหนาแล้ว เพราะว่ามีใครอีกเล่าที่ได้รักข้าพเจ้าเท่าเสมอพระองค์ พระองค์ผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้ที่น่ารักข้าพเจ้าจึงขอรักเฉพาะพระองค์ผู้เดียว ข้าพเจ้าตั้งใจจะทำทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่สามารถ เพื่อให้เป็นที่ชอบพระทัย พระเจ้าข้า พระองค์จะทรงทำอย่างไรต่อข้าพเจ้าก็สุดแล้วแต่จะทรงโปรดเถิด การที่ข้าพเจ้ารักพระองค์และพระองค์ทรงรักข้าพเจ้า เท่านี้ก็อิ่มใจข้าพเจ้าหนักหนาแล้ว พระเจ้าข้า

            ข้าแต่พระนางมารีอา ช่วยข้าพเจ้าด้วย โปรดวิงวอนพระเยซูเพื่อข้าพเจ้าด้วยเถิด


 

3. ผู้ใคร่ธรรมได้ลิ้มรสสวรรค์ก่อนตาย

            นักบุญ ชีปรีอาโน กล่าวว่า “ผู้ที่หวังว่า เมื่อตายแล้ว จะได้รับมงกุฎเป็นพระราชาในสวรรค์ ผู้นั้นจะกลัวความตายได้อย่างไร?” (14) จะกลัวความตายไปไย เมื่อรู้ว่าได้ตายและอยู่ในพระหรรษทานแล้ว ร่างกายของตนจะกลายเป็นสิ่งไม่รู้ตาย? (15)  ทั้งนี้เป็นไปตามที่ท่านอัครสาวกได้กล่าวว่า “ผู้ใดรักพระเป็นเจ้าและปรารถนาจะแลเห็นพระองค์ ผู้นั้นย่อมถือว่า ชีวิตเป็นของขื่นขม และความตายกลับเป็นของชื่นชม” (16) นักบุญโทมัส แห่ง วิลลานอวา “หากความตายพบใครกำลังหลับอยู่ มันก็ย่องมาเหมือนขโมย แย่งชิงฆ่าฟัน แล้วก็โยนเขาทิ้งในขุมนรกแต่ถ้ามันพบใครกำลังตื่นเฝ้า มันก็เข้ามาโค้งคำนับ คล้ายกับเทวทูต และแจ้ ให้ทราบว่า: พระสวามีเจ้ากำลังทรงคอยเขาในงานวิวาหะมงคล มาเถอะมา ฉันจะนำท่านไปยังสถานอันบรมสุข ซึ่งท่านปรารถนา” (17)

            โอ้! ช่างน่าปลื้มใจกระไรหนอ! เมื่อเตรียมพร้อมอยู่ในพระหรรษทาน กำลังคอยความตาย กำลังหวังจะได้แลเห็นพระเยซูคริสต์ในไม่ช้า และจะได้ยินพระองค์ตรัสว่า “คนใช้ที่ดีและสัตย์ซื่อ เจ้าได้สัตย์ซื่อในเรื่องเล็กน้อย เราจะตั้งเจ้าให้มีอำนาจในเรื่องใหญ่โต จงเข้ามาสู่ความยินดีแห่งพระสวามีเจ้าของเจ้าเถิด” (มธ. 25, 21) โอ! เมื่อนั้นเขาจะรู้สึกดีใจสักเท่าไร ในการที่ได้ทำการใช้โทษบาปสวดมนต์ภาวนา ตัดใจออกห่างจากทรัพย์สมบัติของแผ่นดิน และทำทุกสิ่งเพื่อพระเป็นเจ้า! เมื่อนั้นแหละ บุคคลที่ได้รักพระเป็นเจ้าจะได้ชิมผลแห่งการงานอันศักดิ์สิทธิ์ของตน (18) เพราะเหตุนี้เอง คุณพ่อ ฮิปโปลีโต ดูรัสโซ เยซูอิต เมื่อเพื่อนนักบวชของท่านองค์หนึ่งตายไป ทั้งประกอบด้วยสำคัญว่าได้เอาตัวรอดท่านไม่ได้ร้องไห้ แต่กลับยินดีเสียอีก นักบุญ ยวง คริสซอสโตม กล่าวว่า “ช่างเป็นการโง่บัดซบเหลือเกิน เมื่อเชื่อว่ามีสวรรค์ชั่วนิรันดรแล้ว และยังเป็นทุกข์ถึงคนที่ไปสวรรค์อีก! (19) เขาจะรู้สึกชื่นใจเป็นพิเศษอย่างไรหนอ เมื่อจะระลึกถึงการที่เขาได้บำเพ็ญกิจปฏิบัติต่าง ๆ ต่อพระมารดาของพระเป็นเจ้า ระลึกถึงการสวดลูกประคำ การไปเฝ้า การอดอาหารในวันเสาร์ และการเข้าเป็นสมาชิกสายจำพวกของพระแม่เจ้า! เขาจะทูลเรียกพระนางว่า “Virgo Fidelis” (พรหมจาริณีผู้สัตย์ซื่อ) เพราะพระนางทรงสัตย์ซื่อจริง ๆ ในการบรรเทาใจข้าบริการที่สัตย์ซื่อของพระนาง ในคราวเมื่อเขาใกล้จะตายนั้น บุรุษผู้มีใจภักดีต่อพระนางพรหมจาริณีผู้หนึ่ง เมื่อใกล้จะตาย พูดกับ คุณพ่อ บีแนตตี ว่า “คุณพ่อครับคุณพ่อคงไม่อาจเชื่อว่า ผู้ที่ได้มีความภักดีต่อพระแม่เจ้า รู้สึกมีความอิ่มเอิบใจเพียงไร ขณะเมื่อจะตาย! โอ้! หากคุณพ่อจะมองเห็นความยิดีของผม เพราะได้ปรนนิบัติพระแม่เจ้าได้แล้ว! ผมไม่รู้ว่าจะอธิบายให้คุณพ่อเข้าใจอย่างไรถูก! (19 ซ้ำ) จะรู้สึกตื่นเต้นยินดีเพียงไรหนอ ผู้ที่ได้รักพระเยซูคริสต์ได้ไปเฝ้าและได้รับพระองค์ในศีลมหาสนิทบ่อยๆ เมื่อเขาจะได้แลเห็นพระองค์โปรดเสด็จมาในห้องของเขา โดยศีลเสบียง เพื่อจะได้ทรงเป็นเพื่อนทางนำเขาไปสู่ชีวิตหน้า! ต้องนับว่าเป็นผู้มีบุญจริง ๆ ผู้ที่ขณะนั้น อาจพูดได้อย่างนักบุญฟีลิป เนรี ว่า “นี่แน่ะ องค์ความรักของข้าพเจ้า นี่แน่ะ องค์ความรักของข้าพเจ้า โปรดเอาความรักของข้าพเจ้ามาให้แก่ข้าพเจ้าเถิด”!

            บางท่านจะถามว่า “ใครจะไปรู้ ตัวฉันนี้จะมึโชคอย่างไร? ใครจะไปรู้ในที่สุด ฉันจะตายร้ายหรือเปล่า?” ข้าพเจ้าขอถามท่านผู้พูดดังนี้ว่า “อะไรทำให้คนเราตายร้าย? บาปอย่างเดียวเท่านั้นมิใช่หรือ? ฉะนั้นชาวเราจึงต้องกลัวแต่บาปอย่างเดียว ไม่ใช่จะต้องกลัวความตาย” นักบุญอัมโบรส กล่าวว่า “แน่ละ ไม่ใช่ความตายที่ให้ความตายที่ให้ความขมขื่น แต่บาปต่างหาก เพราะฉะนั้นอย่าไปกลัวความตายแต่ต้องกลัวชีวิต” (20) ท่านต้องการจะไม่กลัวตายใช่ไหม? ก็จงครองชีพให้ดีเถิด “ผู้ที่เกรงกลัวพระสวามีเจ้า (ในขณะนั้น) บั้นปลายเขาจะรู้สึกสบาย และจะได้รับพระพรในวันตาย” (บสร. 1, 13)

            คุณพ่อ ลากอลมบีแอร์ ถือเป็นการแน่ตามหลักศีลธรรม ว่าเป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้รักษาความสัตย์ซื่อต่อพระเป็นเจ้าในชีวิตนี้จะตายร้าย นักบุญเอากุสตินก็พูดเช่นนี้ไว้ก่อนแล้วเหมือนกันว่า “ผู้ที่ได้ดำรงชีพอย่างดีจะตายร้ายไม่ได้” (21) ผู้ใดเตรียมตัวเผชิญความตาย ผู้นั้นจะไม่กลัวความตายไม่ว่าชนิดใด แม้ความตายปัจจุบันไม่ทันรู้ตัว (22) เพราะเหตุที่เราจะไปพบพระพักตร์ของพระเป็นเจ้าได้ก็โดยต้องผ่านความตาย ฉะนั้นนักบุญยวงคริสซอสโตม จึงเตือนว่า : สิ่งที่เราจำเป็นจะต้องคืนแด่พระเป็นเจ้า ชาวเราจงนำมาถวายเป็นบูชาแด่พระองค์เถิด (23) ขอให้ตระหนักไว้ว่า : ผู้ใดถวายความตายของตนแด่พระเป็นเจ้า ผู้นั้นกระทำกิจแสดงความรักต่อพระองค์ชั้นยอดเยี่ยม เท่าที่เขาสามารถจะกระทำได้ เพราะว่าเมื่อเขามีน้ำใจดี ยอมตายตามความพอใจของพระในเวลาและตามอย่างที่พระทรงพอพระทัย เขาก็บูชาตนเองเหมือนบรรดามาร์ตีร์ ผู้ใดรักพระผู้นั้นจะต้องปรารถนาและใฝ่ฝันหาความตาย เพราะว่าความตายนั้นจะทำให้เขาไปร่วมสนิทกับพระเป็นเจ้าตลอดทั้งชั่วนิรันดร และทำให้เขาพ้นจากภัยจะเสียพระองค์ต่อไปผู้ที่ไม่ปรารถนาจะไปเห็นพระเป็นเจ้าโดยเร็ว และไม่ปรารถนาจะพ้นภัยที่จะเสียพระองค์ได้นั้น แสดงว่าเขารักพระเป็นเจ้าน้อย ในระหว่างที่ชาวเรายังมีชีวิตอยู่ก็จงรักพระเป็นเจ้าด้วยสุดความสามารถของเราเถิด ชีวิตของเรานี้ เราต้องใช้เพื่อสิ่งเดียวเท่านั้น คือ เพื่อเพิ่มความรักต่อพระเป็นเจ้าให้มากขึ้น ๆ ด้วยว่าเมื่อตายเรามีความรักต่อพระองค์เท่าใด ก็จะคงมีความรักต่อพระองค์เท่านั้นตลอดทั้งชั่วนิรันดรในสวรรค์นั้นแล

         ข้อเตือนใจและคำภาวนา

            พระเยซูเจ้าข้า โปรดล่ามข้าพเจ้าไว้กับพระองค์ จนข้าพเจ้าจะปลีกตัวจากพระองค์ไปไหนไม่ได้เถิด พระเจ้าข้า ขอโปรดให้ข้าพเจ้าเป็นเจ้าของของพระองค์จนหมดสิ้น ก่อนจะถึงแก่ความตายเถิด เพื่อว่า เมื่อข้าพเจ้าจะประสบพระองค์ในคราวแรกพบนั้น พระองค์จะได้ทรงอยู่ในพระอาการสงบ ครั้งก่อนโน้นแม้ข้าพเจ้าได้ถอยหนี พระองค์ก็ยังได้ทรงตามหา บัดนี้ ข้าพเจ้าเข้ามาหาพระองค์แล้ว ขออย่าทรงผลักไสขับไล่ข้าพเจ้าเลย พระเจ้าข้า โปรดทรงพระกรุณายกโทษที่ข้าพเจ้าได้กระทำเคืองพระทัย แต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าตกลงใจจะปรนนิบัติและรักพระองค์ พระองค์ได้ทรงมีพระคุณต่อข้าพเจ้าเป็นล้นพ้น ถึงกับได้ทรงพลีพระโลหิตและพระชนม์ชีพเพราะทรงรักข้าพเจ้า! พระเยซูเจ้าข้า ข้าพเจ้าใคร่จะถวายตัวเองเป็นบูชาแด่พระองค์ ดุจเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงถวายบูชาพระองค์เองเพื่อข้าพเจ้า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าแห่งวิญญาณของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าปรารถนาจะรักพระองค์มาก ๆ ในชีวิตนี้ เพื่อจะได้รักพระองค์มาก ๆ ในชีวิตหน้า ข้าแต่พระบิดา ขอทรงดึงดูดดวงใจของข้าพเจ้าทั้งหมดเข้ามาหาพระองค์ โปรดเฉือนมันให้ขาดจากความรักข้าวของของแผ่นดิน โปรดแทงมันเผามันให้ลุกโชติช่วงด้วยความรักอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ โปรดสดับฟังคำภาวนาของข้าพเจ้าโดยเห็นแก่พระบารมีแห่งพระเยซูคริสต์ด้วยเถิด ขอประทานความคงเจริญในความดี และพระหรรษทานอันข้าพเจ้าเคยวิงวอนเสมอ ๆ นั้นเถิด พระเจ้าข้า

            ข้าแต่พระแม่มารีย์ โปรดเสนอวิงวอนให้ข้าพเจ้าได้รับพระหรรษทานที่จะเจริญชีวิตในความดีจากพระบุตรของท่านเสมอเถิด

(1) Ibi plus auxilii, ubi plus periculi; quia Deus adiutot in opportunitatibus. (De Jos. C. 5).

(2) Maior illi cura est, ut nos ad salutem pertrahat, quam diabolo, ut nos ad damnationem impellit. (Hom.

      20 in lib. Num.).

(3) Justi quandoque dure moriendo purgantur in hoc mundo.

(4) Vulnera tua, merita mea.-

(5) Egredere, anima mea, quid times? Septuaginta prope annis servisti Christo, et mortem times?

(6) Quomodo certo persuasus esse quis potest, quod Deus ei peccata dimi serit?-

(7) Nimirum si dicat iniquitatem odio habui, et abominatus sum. (In Reg. inter. 12).

(8) Charitas foras mittit timorem (Jh. 4, 18).

(9) Non putabam tam dulce esse mori.

(*) พระการ์ดินัล ฟิเชอร์ ถูกสาถาปนาเป็นนักบุญสมัยพระสันตะปาปาปิโอที่ 11

(10) Ite, pedes, parum a paradise distamus.

(11) Dising, Parol, 1, par. 6.

(12) Ego vim faciam, ut devorer.

(13) Vita cap. 7.

(14) Non vereamur occidi, quos constat quando occidimur coronari.

(15) Oportet mortale hoc induere immortalitatem. (1 Cor. 15, 53,).

(16) Patienter vivit, delectabiliter moritur.

(17) Te Dominus ad nuptias vocat, veni, ducam te quo desideras.

(18) Dicite justo, quoniam bene, quoniam fructum adinventionum suarum comedet (Is 3, 10).

(19) Fateri coelum. et eos qui hinc eo commearunt luctu prosequi? (Jo. chrys. ad Viduam)).

(19b) Chefd’ oeuvre D. p. 3, ch’12

(20) Liquet acerbitatem non mortis esse, sed culpae, non ad mortem metus referendus, sed ad vitam (De

        bono mort. cap. 8).

(21) Non potest, male mori qui bene vixerit.

(22) Justus autem si morte praeoccupatus fuerit in refrigerio erit.

(23) Offeramus Deo quod tenemur reddere.

การรวมตัวเป็นกลุ่มและแยกตัวออกจากกลุ่มอื่น ๆ  เป็นความจริงพื้นฐานอย่างหนึ่งในสังคมชาวยิว ครอบครัว ตระกูล เผ่า หรือชาติ เป็นรูปแบบต่างๆ ของการรวมตัว  ซึ่งในบางครั้งแสดงตัวออกมาในตัวบุคคลหนึ่ง เช่น กษัตริย์ หรือบรรพบุรุษต้นตระกูล

1. การแบ่งกลุ่ม

          ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งระหว่างอาณาจักรพระเจ้ากับอาณาจักรมาร ก็คือทัศนคติเกี่ยวกับการแยกกลุ่ม

          นอกจากเกียรติยศชื่อเสียงและความรํ่ารวยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สังคมสมัยพระเยซูถือกันมากคือการรวมตัวเป็นกลุ่ม ชาวยิวตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบันแสดงออกถึงความภักดีต่อกลุ่มอย่างแจ้งชัด จะมีการร่วมมือและช่วยเหลือกันอย่างเหนียวแน่น เป็นต้นในยามคับขัน ในสมัยของพระเยซูมีการเน้นหนักที่ความเป็นยิวหรือผู้ถือศาสนายิว(Judaism) ซึ่งตั้งตัวเป็นปรปักษ์กับผู้ที่นับถือศาสนาอื่น(Gentiles) นอกนั้นยังเน้นหนักที่ความภักดีต่อกลุ่มย่อยภายในชาติอีกด้วย

          กลุ่มพื้นฐานก็คือครอบครัวและเครือญาติ ความสัมพันธ์ทางสายเลือดและทางการสมรสถือเป็นสิ่งที่สําคัญมาก ทุกคนในเครือญาตินับถือกันเป็นพ่อแม่พี่น้อง ถ้าสมาชิกคนหนึ่งได้รับทุกข์ สมาชิกอื่นๆ ทุกคนก็เจ็บไปด้วย  สมาชิกในครอบครัวคนหนึ่งสามารถพูดกับคนนอกครอบครัวได้ว่า "สิ่งที่ท่านทําต่อพี่น้องแม้ที่ตํ่าต้อยที่สุดของเรา ก็เท่ากับทําต่อเราเอง" หรืออาจจะพูดได้ว่า "ถ้าท่านต้อนรับญาติคนหนึ่งของเรา ก็เท่ากับว่าท่านได้ต้อนรับเรา" สมาชิกในครอบครัวสามารถพูดกับสมาชิกอีกคนหนึ่งได้ว่า "ใครต้อนรับท่านก็คือต้อนรับเราเอง และใครที่ไม่ยอมรับนับถือท่านก็คือไม่ยอมรับนับถือเรา" ที่จริงแล้ว คําพูดเหล่านี้ไม่ต้องพูดก็ได้ เพราะถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่รู้ๆ กันอยู่แล้ว

          ด้วยหลักการนี้ ถ้าญาติคนหนึ่งถูกสบประมาทหรือถูกฆาตกรรม สมาชิกอื่นๆในครอบครัวถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องแก้แค้นแทน การแก้แค้นหรือสงครามระหว่างตระกูลยังมีอยู่ในสมัยพระเยซู แม้ว่าความรุนแรงจะลดลงไปบ้างแล้ว หลักที่ว่า "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" ยังใช้กันอยู่ (มธ. ๕,๓๙) ในสมัยเรา ปัญหานี้ดูจะเป็นเรื่องห่างไกลจากเรา ทั้งนี้ก็เพราะปัจจุบันเราอยู่กันแบบตัวใครตัวมันเสียเป็นส่วนมาก นอกนั้น ในสมัยพระเยซูยังมีการรวมตัวเป็นกลุ่มเพื่อนฝูง กลุ่มอาชีพ กลุ่มสังคม กลุ่มของคนที่ถือตัวว่าเป็นชนชั้นเลือกสรรพิเศษ เช่นกลุ่มฟาริสี กลุ่มเอสซีน ฯลฯ สมัยนั้นไม่มีคําว่าตัวใครตัวมัน

          แม้สมัยเราจะอยู่แบบตัวใครตัวมัน และมีความภักดีต่อกลุ่มในระดับต่างๆน้อยกว่าสมัยก่อนมาก แต่กระนั้นก็ดี  เราก็ยังมีการสังกัดกลุ่ม และมีอคติระหว่างกลุ่มอยู่เหมือนกัน  มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่คน แล้วแต่วัฒนธรรม หลายต่อหลายคนในโลกปัจจุบันยังรังเกียจสีผิว ดูถูกชนชาติอื่น แบ่งพวกตามภาษาและวัฒนธรรม ถือชั้นวรรณะ แยกกลุ่มตามวัย (พวกคนแก่,พวกวัยรุ่น..)  สังกัดพรรคการเมือง หรือลัทธิทางศาสนา  ในบางกรณี ความรักและภักดีต่อกลุ่มของตน ก็ยังคงเหนียวแน่นไม่แพ้สมัยก่อน อคติและความขัดแย้งก็ยังคงรุนแรงไม่แพ้สมัยก่อนเช่นกัน

2. อาณาจักรพระเจ้าต่างกับอาณาจักรมาร

          สําหรับพระเยซู อาณาจักรมารต่างกับอาณาจักรพระเจ้าตรงที่ว่า อาณาจักรมารตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความภักดีต่อกลุ่ม แบบจํากัดวงปิดตัวเองและเป็นปฏิปักษ์ต่อกลุ่มอื่นๆ ส่วนอาณาจักรพระเจ้าตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความภักดีต่อมนุษยชาติ แบบอ้าแขนต้อนรับทุกคน "ท่านได้ยินคํากล่าวว่าจงรักเพื่อนพี่น้องและจงเกลียดศัตรู แต่เราขอบอกว่า จงรักศัตรูของท่าน" (มธ.๕,๔๓-๔๔)

          ในม้วนคัมภีร์ของชุมชนกุมรัน (พวกเอสซีน) และในวรรณกรรมคู่เคียงพระคัมภีร์ที่ชื่อว่า "ยูบีลี" มีคําสั่งอย่างชัดแจ้งว่าให้เกลียดศัตรู แม้ในพระคัมภีร์ตอนพันธสัญญาเดิม ไม่มีคําสั่งอย่างชัดแจ้ง แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันอยู่แล้วว่า จงรักเพื่อนพี่น้อง หมายความว่าไม่รวมถึงศัตรู เพื่อนพี่น้องไม่ใช่เพื่อนมนุษย์โดยทั่วไปแต่หมายถึงญาติโยมหรือสมาชิกในกลุ่มของตน "เจ้าต้องไม่ด่าว่าคนเชื้อชาติเดียวกันกับเจ้า...เจ้าต้องไม่เกลียดชังพี่น้องของเจ้า...เจ้าต้องไม่แก้แค้นกับลูกหลานชนชาติของเจ้า เจ้าต้องรักเพื่อนบ้านของเจ้าเหมือนรักตัวเอง" (เลวี.๑๙,๑๖-๑๘) นี่คือความภักดีต่อกลุ่ม หรือความเป็นหนึ่งเดียวกันภายในกลุ่ม เฉพาะคนในครอบครัว คนในตระกูล หรือคนในชาติเท่านั้นที่ชาวยิวถือว่าเปรียบเหมือนตัวเองได้

          พระเยซูขยายวงพี่น้องเพื่อนบ้านให้กว้างออกไปครอบคลุมถึงศัตรูด้วย คําว่า"จงรักศัตรู" เป็นวิธีเรียกความสนใจของทุกคนให้เห็นอุดมการณ์ของพระเยซู  ที่อยากให้มนุษย์ทุกคนเข้ามารวมเป็นกลุ่มเดียวไม่มีการ จํากัดวง  ศัตรูกลายเป็นญาติมิตร คนนอกกลายเป็นคนใน  พระเยซูอธิบายเพิ่มเติมอย่างไม่ลังเลใจว่า "จงทําดีให้แก่คนที่เกลียดท่าน อวยพรคนที่สาบแช่งท่าน ภาวนาสําหรับผู้ที่ทําร้ายท่าน" (ลก.๖,๒๗-๒๘)

          ความเป็นหนึ่งเดียวภายในกลุ่ม(หรือรักคนที่รักเรา) ไม่ใช่คุณธรรมอะไร พวกโจรรวมตัวเป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกันในกลุ่มมากกว่าใครอื่น  สิ่งที่พระเยซูเรียกร้องคือความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติ ซึ่งไม่ปิดตัวเองอยู่ในกลุ่มเล็กๆ ไม่ใจแคบ แต่รักทุกคนโดยไม่หวังตอบแทน รักแม้แต่คนที่เกลียดเรา  ความเป็นหนึ่งเดียวกันของกลุ่มคริสตชนที่เปาโลพูดถึง (๑ เทส.๓,๑๒) ไม่ใช่เป็นการแยกกลุ่ม แต่เป็นชีวิตแห่งความเป็นพี่น้องกัน คริสตชนเปิดใจรักมนุษย์ทุกคนและแสดงออกมาโดยรักคริสตชนผู้อยู่รอบข้าง แต่ไม่มีการแยกตัวเองออกจากผู้ที่ไม่เป็นคริสตชน

3. ความรักต่อคนในครอบครัว

          ความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติต้องมาเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะมีความเป็นหนึ่งในกลุ่มย่อยลงไป ความรักต่อมนุษยชาติมาก่อนความรักอื่นใด  "ใครที่อยากตามเรามา แต่ไม่เกลียดพ่อแม่ ภรรยา ลูก พี่น้อง  ชายหญิง และแม้แต่ชีวิตของตัวเอง จะเป็นศิษย์ของเราไม่ได้"(ลก.๑๔,๒๖)  ผู้อธิบายพระคัมภีร์มักจะชี้แจงว่า เนื่องจากภาษาฮีบรูและอาราไมอิคที่ใช้ในสมัยนั้นมีคําไม่มาก  คําว่า "เกลียด" จึงนํามาใช้หมายถึงอะไรอื่นที่ไม่ใช่ "รัก" ตั้งแต่เกลียดลงมาถึงรู้สึกเฉย ๆ ในกรณีนี้เกลียดหมายถึงตัดใจจากพ่อแม่พี่น้อง การอธิบายเช่นนี้มีส่วนถูก แต่ไม่ตรงกับความคิดของพระเยซูทั้งหมด

          ถ้ารักหมายความว่า เป็นหนึ่งเดียวกัน เกลียดก็ต้องหมายความว่า ไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน   พระเยซูต้องการให้  ความเป็นหนึ่งเดียวกันในครอบครัว ถูกแทนที่ด้วยความเป็นหนึ่งเดียวกันในมนุษยชาติ แต่นี่ก็ไม่ได้หมายความว่าตัดพ่อแม่พี่น้องออก พ่อแม่พี่น้องก็ต้องเข้ามาอยู่ในครอบครัวมนุษยชาติด้วยเพราะเป็นคนเหมือนกัน และนี่ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องรักพ่อแม่พี่น้องน้อยลงไป ต้องรักเหมือนเดิม แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือเหตุผลหรือรากฐานแห่งความรัก เราต้องรักเขา ไม่ใช่เพราะว่าบังเอิญเป็นญาติพี่น้องกัน แต่เรารักเขาเพราะเขามีศักดิ์ศรีเป็นมนุษย์  เราต้องรักเขาด้วยความรักเดียวกันที่เราใช้รักเพื่อนมนุษย์ทุกคน  เป็นความรักที่เปิดกว้างไม่  จํากัดวง ผลที่ตามมาก็คือเรารักญาติพี่น้องมากกว่าเดิมเสียด้วยซํ้า เพราะเรารักด้วยความรักที่ลึกซึ้งกว่า

          ตอนต่างๆในพระวรสารที่พูดถึงครอบครัวก็ยืนยันถึงการตีความแบบนี้ พวกสาวก "จากบ้าน ภรรยา พี่น้อง พ่อแม่หรือลูก เพื่อเห็นแก่อาณาจักรพระเจ้า" (ลก.๑๘,๒๙)  พวกสาวกไม่ปล่อยให้ความผูกพันภายในครอบครัว มาขัดขวางความผูกพันแบบใหม่ในอาณาจักรพระเจ้า (ลก.๙, ๕๙-๖๒) การเปลี่ยนจากความสัมพันธ์แบบญาติพี่น้องมาเป็นความสัมพันธ์แบบบุคคลต่อบุคคล อาจทําให้บางครอบครัวต้องแตกแยก "ท่านคิดว่าเรานําสันติมาให้โลกหรือ? เปล่าเลย เรานําความแตกแยกมาให้ต่างหาก ตั้งแต่นี้ไป บ้านที่มี ๕ คนจะแบ่งออกเป็น ๓ ต่อ ๒ และ ๒ ต่อ ๓ พ่อจะแยกจากลูกชาย และลูกชายจะแยกจากพ่อ แม่จะแยกจากลูกสาว และลูกสาวจะแยกจากแม่ แม่ผัวจะแยกจากลูกสะใภ้ และลูกสะใภ้จะแยกจากแม่ผัว" (ลก.๑๒,๕๑-๕๓; เทียบกับ มธ.๑๐,๓๔-๓๖) ตอนหลังของข้อความนี้ยกมาจากหนังสือประกาศกมีคาห์ ตอนที่ท่านรําพันถึงความแตกแยกที่เกิดขึ้นในครอบครัวต่างๆนั้น ถือว่าเป็นบาปอย่างหนึ่งของชาติอิสราเอลในสมัยนั้น (มีคาห์ ๗,๖) การรวมตัวอย่างเหนียวแน่นในครอบครัวถือว่าเป็นคุณธรรม แต่พระเยซูเปลี่ยนค่านิยมใหม่ นั่นคือความเป็นหนึ่งเดียวกันในมนุษยชาติต้องอยู่เหนือความเป็นหนึ่งเดียวกันในครอบครัว

4. ความสัมพันธ์ของพระเยซูกับครอบครัว

          ความสัมพันธ์ของพระเยซูกับแม่และญาติพี่น้องของตน ตามที่เราพบในพระวรสาร  มีลักษณะตึงเครียด พวกญาติพี่น้องคิดว่าพระเยซูเสียสติ และในฐานะที่เป็นพี่น้องกัน ก็พยายามยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ(มก.๓, ๒๑) แม่ของพระเยซูอาจรวมอยู่ด้วยในโอกาสนั้น แต่ในอีกครั้งหนึ่งแม่ของพระเยซูไปกับญาติพี่น้องอื่นๆ เพื่อไปรับพระเยซูในขณะที่พระเยซูนั่งอยู่กับฝูงชน (มก.๓,๓๑-๓๒) บางทีในตอนนั้นแม่ของพระเยซูไม่เข้าใจว่าพระเยซูกําลังทําอะไรอยู่ เช่นเดียวกับที่ไม่เข้าใจตอนพระเยซูค้างอยู่ในวิหารเมื่ออายุ ๑๒ ปี (ลก.๓,๔๑-๕๐)

          พระเยซูไม่ต้องการให้คนเข้าใจว่าความรักที่พระเยซูมีต่อแม่และญาติพี่น้อง เป็นความรักอันเนื่องมาจากสายเลือด หรือมาจากความเป็นหนึ่งเดียวกันที่จํากัดอยู่ภายในครอบครัว "หญิงคนหนึ่งในฝูงชนพูดว่า หญิงที่ให้กําเนิดท่านและให้นมเลี้ยงท่าน เป็นคนที่มีบุญมาก แต่พระเยซูตอบว่า คนที่ฟังพระวาจาของพระเจ้าและปฏิบัติตาม เป็นคนที่มีบุญมากกว่านั้น"(ลก.๑๑,๒๗-๒๘) ความรักระหว่างพระเยซูกับแม่ต้องเนื่องมาจากแผนการของพระเจ้า (นั่นคือความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติ)

          พระเยซูทิ้งความผูกพันภายในครอบครัวของตน เพื่อทําให้ทุกคนที่อยู่รอบข้างเข้ามาเป็นพี่ เป็นน้อง เป็นแม่ของตน (มก.๓,๓๑-๓๕) และถ้าใครต้อนรับคนใดคนหนึ่งในพวกนี้ ก็เท่ากับต้อนรับพระเยซูเอง (มธ.๑๐, ๔๐) และใครทําอะไรต่อคนที่ตํ่าต้อยที่สุดในพวกนี้ ก็เหมือนกับทําต่อพระเยซูเองเช่นกัน (มธ.๒๕,๔๐-๔๕)

5. ข้อสงสัยในพระเยซู

          มีคนตั้งคําถามว่า ความเป็นหนึ่งเดียวในมนุษยชาติที่พระเยซูพูดถึงนี้ ครอบคลุมถึงทุกคนทั่วหน้าจริง ๆ หรือไม่? พระเยซูสอนให้รักศัตรูแล้วตัวเองรักศัตรูจริงๆ หรือเปล่า? นักเขียนชาวยิว (สมัยปัจจุบัน) ชื่อมอนเตฟิโอเร คิดว่าพระเยซูไม่ปฏิบัติสิ่งที่ตัวเองสอน เพราะว่าพระเยซูไม่รักศัตรูนั่นคือ พวกฟาริสีและคัมภีราจารย์ พระเยซูเข้าข้างพวกคนจนและคนถูกกดขี่ แล้วตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อชนชั้นสูงและชั้นกลาง ซึ่งรวมทั้งพวกฟาริสี และคัมภีราจารย์ด้วย นี่หรือคือความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติ ?

          เราอาจตอบข้อสงสัยนี้โดยชี้แจงว่า ผู้เรียบเรียงพระวรสารอาจจะได้ใช้ถ้อยคํารุนแรงเกินกว่าที่พระเยซูได้พูดจริง ทั้งนี้เนื่องจากมีความตึงเครียดมากระหว่างคริสตชนรุ่นแรกกับพวกฟาริสี คําตอบนี้มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ยังไม่ได้ตอบคําถามที่ว่าพระเยซูรักพวกฟาริสีหรือไม่?

          คําว่า "รัก" เป็นคําเดียวกับคําว่า "เป็นหนึ่งเดียวกัน" ความโกรธและความไม่พอใจ ไม่ขัดกับความรักตรงข้าม ถ้าใครคนหนึ่งสนใจและเป็นห่วงถึงคนอื่นในฐานะที่เป็นคนเหมือนกัน คนคนนี้จะไม่สามารถทนนิ่งดูดายในขณะที่มีบางคนกําลังทรมานตัวเองและทรมานผู้อื่น คนคนนี้คงจะต้องโกรธและไม่พอใจและพยายาม  ทําอะไรบางอย่างเพื่อช่วยแก้ปัญหานั้น พระเยซูก็โกรธ และบางครั้งก็โกรธมากด้วย เมื่อเห็นว่ามีบางคนทําร้ายตัวเองและพยายามทําร้ายผู้อื่นด้วย เมื่อเห็นว่าพวกเขาไม่ยอมฟังและไม่ยอมเลิกการกระทําดังกล่าวและยังคงความหน้าซื่อใจคดต่อไป พระเยซูโกรธ ทั้งนี้เพราะหวังดีต่อพวกคนเหล่านี้และหวังดีต่อเพื่อนมนุษย์ทุกคน  สิ่งที่พิสูจน์ได้ดีที่สุดว่าพระเยซูรักเพื่อนมนุษย์ทุกคน ก็คือความโกรธและความไม่พอใจที่แสดง ออกมาอย่างชัดเจน ต่อคนที่ทําลายความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น และทําลายความเป็นมนุษย์ของตนเองด้วย

          ถ้าพระเยซูปฏิเสธไม่ยอมพูด ไม่ยอมถกเถียง ไม่ยอมกินเลี้ยงกับพวกฟาริสี นั่นจึงจะหมายความว่าพระเยซูไม่รักพวกฟาริสีและตัดพวกเขาออกจากวงสัมพันธ์ แต่เราเห็นว่าในพระวรสารมีพูดถึงอยู่เป็นประจําว่าพระเยซูติดต่อกับพวกฟาริสี และพยายามชักจูงให้เลิกพฤติกรรมเดิมเสีย แต่ส่วนมากไม่สําเร็จ และในที่สุดเป็นพวกฟาริสีที่ตัดพระเยซูออก ไม่ใช่ตรงกันข้าม

          เราปฏิเสธไม่ได้ว่าพระเยซูเข้าข้างคนจนและคนบาปเป็นพิเศษ  สําหรับพระเยซู ความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติไม่ใช่เป็นอุดมการณ์ลอยๆที่ไม่มีตัวตน "การรักมนุษยชาติ" อาจจะแปลว่า "ไม่รักใครเลย" ก็ได้ ในหนังสือเล่มนี้เราจําเป็นต้องใช้คําที่แสดงความคิดรวม เช่น มนุษยชาติ มนุษย์ทุกคน ความเป็นคน ฯลฯ เพื่อแสดงถึงความรักความเป็นหนึ่งเดียวกันที่ไม่มีการจํากัดวง แต่พระเยซูไม่เคยใช้ศัพท์เหล่านี้เลย พระเยซูยินดีต้อนรับทุกคนที่พบเห็น ไม่รังเกียจใคร ไม่ตัดใครออก และรักทุกคนโดยไม่คํานึงถึงตระกูล เชื้อชาติ ชั้นวรรณะ การศึกษา ชีวิตส่วนตัว หรืออะไรอื่นทั้งสิ้น และด้วยการรักทีละคนทีละคนที่พบเห็นนี่แหละ ที่พระเยซูร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันกับมนุษยชาติทั้งมวล

          การเข้าร่วมวงกับคนจนและคนถูกกดขี่ อาจกลายเป็นการจํากัดวงในอีกรูปแบบหนึ่งก็ได้ หากว่าเป็นการปิดตัวไม่ยอมรับคนประเภทอื่นๆ  แต่พระเยซูไม่เคยปิดตัวเองอยู่เฉพาะในกลุ่มคนจนและคนบาปเลย

          มีข้อแย้งอยู่อีกประการหนึ่ง พระเยซูทําภาระกิจต่างๆในเขตอิสราเอลเท่านั้น และบอกให้พวกสาวกทําเช่นเดียวกัน "จงอย่าเข้าไปในเขตของชนต่างศาสนา (ชนชาติอื่นที่ไม่ใช่ยิว) และอย่าเข้าไปในแคว้นสะมาเรีย แต่จงไปหาแกะพลัดฝูงแห่งชาติอิสราเอล" (มธ.๑๐,๕-๖) นอกนั้นในเรื่องของหญิงชาวคานาอัน พระเยซูลังเลใจที่จะช่วยหญิงคนนั้น ซึ่งหมายถึงการทํางานออกนอกเขตอิสราเอล พระเยซูบอกหญิงนั้นว่า "เราถูกส่งมาหาแกะพลัดฝูงแห่งอิสราเอลเท่านั้น" (มธ.๑๕,๒๔) และคําพูดต่อมายิ่งทําให้เราแปลกใจมากขึ้นอีก "มันไม่ถูกที่จะเอาอาหารของลูกไปให้สุนัขกิน" คือเอาอาหารของอิสราเอลไปให้ชนต่างชาติ (มธ.๑๕,๒๖=มก.๗,๒๗) ในที่สุดพระเยซูก็ได้ช่วยหญิงชาวคานาอันคนนั้น ดังที่ได้ช่วยนายร้อยชาวโรมัน แต่ทําไมจึงต้องทําให้ลําบากกว่ากรณีคนน่าสงสารชาวยิว ทําไมต้องให้มีพวกผู้หลักผู้ใหญ่ชาวยิวมาช่วยขอให้นายร้อยชาวโรมัน(ลก.๗,๓-๕) ?

          แต่ในอีกด้านหนึ่ง พระเยซูวาดภาพอาณาจักรที่รวบรวมคนทุกชาติทุกศาสนาจากเหนือ ใต้ ตะวันออกและตะวันตกให้เข้ามาร่วมงานเลี้ยงกับอับราฮัม อิสอัคและยากอบ ในขณะที่ชาวยิวจํานวนมากจะไม่ยอมเข้าร่วมงาน (มธ.๘,๑๑-๑๒; ลก.๑๓,๒๘-๒๙; ๑๔,๑๕-๒๔)  ชาวนินะเวห์และราชินีแห่งทิศใต้จะทําให้ ชาวยิวต้องอับอาย (มธ.๑๒,๔๑-๔๒)

          ทัศนคติที่พระเยซูมีต่อชนต่างชาติต่างศาสนาดูจะสับสนอยู่มาก และนักพระคัมภีร์ก็เคยถกเถียงปัญหานี้มาเป็นเวลานาน จนกระทั่งนักพระคัมภีร์ที่มีชื่อเสียง(เชื้อสายยิว) ชื่อโยอากิม เยเรไมอัส ได้ศึกษาความคิดและความเชื่อถือของชนชาติยิวในสมัยพระเยซูจนสรุปได้ว่า  ชาวยิวเชื่อว่า ในอนาคต หลังจากที่อาณาจักรต่างๆ พินาศหมดแล้ว โลกจะมีพระเจ้าเที่ยงแท้เข้าปกครอง โดยจะรวมมนุษย์ทุกชาติทุกศาสนาเข้ามาด้วย  ประกาศกสมัยก่อนเคยพูดถึงกษัตริย์ต่างศาสนาทั้งหลายที่จะเดินทางจาริกไปวิหารกรุงเยรูซาเลมเพื่อนมัสการ พระเจ้าผู้ปกครองโลกแต่พระองค์เดียว โลกถูกปกครองโดยจักรวรรดิ์ต่างๆ จักรวรรดิ์ปัจจุบัน (ในขณะนั้น) คือจักรวรรดิ์โรมัน จะถูกแทนที่โดยจักรวรรดิ์อิสราเอล(ยิว) นั่นคือจักรวรรดิ์ของพระเจ้า เมื่อมีความเชื่อเช่นนี้ชาวยิวทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกฟาริสีและคัมภีราจารย์ ต่างก็พยายามเผยแพร่ศาสนาและความเชื่อของตน และเรื่องราวของพระเยซูก็เริ่มขึ้นพอดีกับช่วงเวลาแห่งความพยายามเผยแพร่นี้เอง

          พระเยซูแสดงความไม่พอใจกับความพยายามเผยแพร่ศาสนาของพวกฟาริสีและคัมภีราจารย์ "วิบัติแก่พวกเจ้าคัมภีราจารย์และฟาริสี หน้าซื่อใจคด พวกเจ้าไปทั้งทางนํ้าและทางบกเพื่อเสาะแสวงหาคนกลับใจมาเป็นศิษย์ เมื่อได้มาแล้วก็ทําให้ชั่วกว่าเจ้าถึงสองเท่า" (มธ.๒๓,๑๕) พระเยซูเห็นว่ามันเป็นเหมือนคนตาบอดจูงคนตาบอด ซึ่งจะตกหลุมทั้งคู่ (มธ. ๑๕,๑๔) พระเยซูคิดว่าชาวยิวต้องเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดี ก่อนที่จะไปชักจูงคนอื่นให้เปลี่ยนแปลงด้วย และสิ่งนี้แหละที่พระเยซูพยายามจะทํา คือเปลี่ยนแปลงสังคมชาวยิวให้ดีก่อน และพระเยซูบอกให้สาวกมุ่งเน้นที่ชาติยิวเท่านั้น เพราะเวลามีน้อย (ความพินาศอันใหญ่หลวงกําลังจะมาถึง) และเพราะว่าชาติยิวได้รับการเตรียมตัวมาก่อนเป็นเวลานานในพันธสัญญาเดิม พระเยซูเชื่อว่าเป็นแผนการของพระเจ้าที่จะให้ชาติยิวกลับใจ ก่อนที่จะนําความอยู่รอดและความเป็นหนึ่งเดียวกันมาสู่มนุษยชาติ

          การมุ่งทําภาระกิจของพระเยซูในชาติยิว จึงเป็นเรื่องของขั้นตอนหรือยุทธวิธี ไม่ใช่การแยกพวกหรือการจํากัดวง คงจะต้องใช้เวลานานมากในการที่จะอธิบายเรื่องอาณาจักรพระเจ้าให้ชนชาติอื่นฟังก่อน พร้อมกับทําให้พวกเขามีความเชื่อมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงโลกนี้   ฉะนั้น เนื่องจากเวลามีจํากัด มันจึงไม่ถูกที่จะเอาอาหารที่ควรจะเลี้ยงชาติยิวก่อน ไปให้แก่ชาติอื่นซึ่งยังไม่พร้อมที่จะกินอาหารนั้น เพราะเหตุนี้พระเยซูจึงรู้สึกแปลกใจมากที่เห็นความเชื่ออันยิ่งใหญ่ของหญิงชาวคานาอัน (มธ.๑๕,๒๘) และแปลกใจที่เห็นนายร้อยชาวโรมันมีความเชื่อมากกว่าที่เคยพบเห็นในชาติยิว (มธ.๘,๑๐) พระเยซูไม่ได้คาดคิดมาก่อน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คนที่จะพร้อมแบบนี้ก็คงจะมีไม่กี่คน ขั้นตอนที่ถูกต้องสําหรับเวลานั้นก็คงจะต้องเริ่มจากชาติยิว พื่อเห็นแก่ผลประโยชน์ของชาติยิวและของมวลมนุษยชาติในเวลาเดียวกัน  แม้ว่าในที่สุดแล้ว ชาวยิวไม่ได้ตอบสนองมากเท่าที่พระเยซูคาดหวังไว้

6. สรุป

          จําเป็นต้องยํ้าอีกครั้งหนึ่งว่า รากฐานแห่งความรักหรือความเป็นหนึ่งเดียวกันในระหว่างมนุษย์ก็คือ ความเมตตาสงสาร (compassion) ซึ่งเป็นความรู้สึกที่สร้างความปั่นป่วนอยู่ภายในส่วนลึกของคนเมื่อเห็นเพื่อนมนุษย์ตกทุกข์ได้ยาก  นิทานเปรียบเทียบเรื่องชาวสะมาเรีย ผู้ใจดี เป็นคําตอบสําหรับคําถามที่ว่า  "เพื่อนมนุษย์คือใคร ?" (ลก.๑๐,๒๙-๓๗) คําตอบไม่ใช่ "ทุกคน" แม้ว่าที่จริงต้องเป็นเช่นนั้น แต่คําตอบที่พระเยซูให้คือ นิทานซึ่งนําเราไปสู่ความรู้สึกสะเทือนใจ และรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับคนน่าสงสารคนนั้นที่ถูกโจรทําร้าย เรารู้สึกผิดหวังเมื่อเห็นคนที่น่าจะช่วยได้ กลับไม่ยอมช่วยอะไรเลย เราสึกโล่งอกเมื่อเห็นชาวสะมาเรียมีความเมตตา

สงสาร ยอมฝ่าฝืนระเบียบสังคม (ที่แยกพวกยิวกับพวกสะมาเรีย) เพื่อยื่นมือเข้ามาช่วย

          ถ้าเรายอมปล่อยอารมณ์ให้อ่อนไหวไปตามนิทานเรื่องนี้ และปล่อยให้ความรู้สึกลึกๆนี้จูงเราไป เราคงจะไม่ต้องถามใครหรอกว่า "เพื่อนมนุษย์คือใคร ?" หรือ "ความรักหมายความว่าอะไร ?" เราคงจะไปทําเช่นเดียวกันกับชาวสะมาเรียคนนั้น ไม่ว่าจะมีอะไรมากีดขวางก็ตาม ความสงสารเดียวกันนี้ได้ทําให้พระเยซูสะเทือนใจ และผลักดันให้พระเยซูออกทําภาระกิจ  ความสงสารเดียวกันนี้จะสอนเราว่า ความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติหมายความว่าอะไร   นี่แหละคืออาณาจักรพระเจ้า

คำถาม

1. พระเยซูมีทัศนคติในการแบ่งกลุ่มอย่างไร ?
2. เราจะรักคนในครอบครัวด้วยท่าทีอย่างไร ?
3. พระเยซูมีปัญหากับครอบครัวหรือ ?
4. พระเยซูลำเอียง รักชาวยิวด้วยกันมากกว่าคนต่างชาติหรือไม่ ?

1. จงลงมือทันที

            ใคร ๆ ก็ยอมรับว่า จะต้องตาย จะต้องตายครั้งเดียว ทั้งไม่มีอะไรสำคัญกว่าความตาย เพราะว่า การจะได้สุขหรือได้ทุกข์ตลอดนิรันดร ย่อมสุดแล้วแต่เวลาจะตายนี้ อนึ่ง ใคร ๆ ก็ทราบแล้วว่า เราจะตายดีหรือตายร้าย ก็สุดแล้วแต่การบำเพ็ญชีพดีหรือไม่ดี เมื่อต่างก็ทราบอยู่แล้วดังนี้ แต่เหตุไฉนคริสตังจำนวนมากจึงครองชีพเหมือนเขาไม่มีวันจะตาย หรือเหมือนการตายดี หรือตายร้ายเป็นสิ่งไม่สู้สลักสำคัญเท่าไรนัก? ที่เป็นดังนี้ก็เพราะว่า เขาไม่คิดถึงความตายนั่นเอง “ในกิจการทั้งหลาย จงคิดถึงวาระสุดท้ายของเจ้าเถิด และเจ้าจะไม่ทำบาปเป็นอันขาด” (บสร. 7, 40)

            ขอให้จดจำใส่ใจว่า เวลาจะตาย เป็นเวลาไม่เหมาะสำหรับจัดบัญชีงบดุลย์เพื่อความแน่ใจแก่ภาระกิจอันสำคัญใหญ่หลวง เรื่องความรอดตลอดนิรันดรของคนเรา คนฉลาดฝ่ายโลก เมื่อคิดจะหากำไร คิดจะเอาตำแหน่งหน้าที่คิดจะแต่งงานกับคนที่ตนต้องการ เขาย่อมใช้วิธีการทุกอย่าง และให้ในเวลาอันควร เขาไม่ชักช้าในการหาหยูกยาที่จำเป็นสำหรับสุขภาพฝ่ายร่างกายของเขาคนที่จะต้องทำการดวลดาบ จะต้องเข้าแข่งขัน แต่ชักช้า รอจนถึงเวลาก่อนแล้วค่อยฝึกหัดเตรียมตัว ท่านเห็นว่าเป็นคนอย่างไร? นายทหารที่คอยให้ศัตรูมาล้อมตนก่อนแล้วค่อยเตรียมเสบียงและอาวุธ เป็นคนเสียสติมิใช่หรือ? ต้นหนคนที่คอยให้เกิดพายุเสียก่อน แล้วคอยเตรียมสมอและเชือก เป็นคนบ้ามิใช่หรือ? คริสตังที่คอยให้ถึงเวลาจะตาย แล้วค่อยเตรียมจัดระเบียบมโนธรรม ก็กระทำอย่างเดียวกับคนที่กล่าวมานี่เอง!

            “คราวความตายจะกระโจนใส่เขา ราวกับพายุ...เมื่อนั้น เขาจะร้องหาเรา แต่เราจะไม่ฟังเสียง...เขาจะได้รับผลสนองตามความประพฤติของเขา” (สภษ. 1, 27) เวลาจะตาย เป็นคราววาตภัย เป็นเวลาวุ่นวาย เมื่อนั้นคนบาป จะร้องขอให้พระเป็นเจ้าช่วย แต่ที่เขาร้องขอนั้น ก็เพราะกลัวนรกซึ่งเขาเห็นมันอยู่ใกล้ตัวแล้ว ฉะนั้น จึงไม่เป็นการกลับใจที่จริงใจ พระเป็นเจ้าจึงไม่ทรงฟังคำวิงวอนของเขา มันสมแล้วที่เขาจะได้ชิมผลแห่งความประพฤติชั่วของตน “คนเราหว่านอะไร ก็จะเก็บเกี่ยวผลอันนั้น” (กท. 6, 8) เหตุใดจึงเป็นดังนั้น? ก็เพราะว่าการได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ในเวลาจะตายเท่านั้นยังไม่พอ ยังต้องตายพร้อมกับเกลียดชังบาป และพร้อมกับรักพระเป็นเจ้ายิ่งกว่าอะไรทั้งหมด้วย ก็คนที่ได้รับความสนุกอันต้องห้ามมาจนถึงบัดนี้ เขาจะเกลียดมันได้อย่างไร? คนที่ได้รักสัตว์โลกยิ่งกว่าพระเป็นเจ้ามาจนถึงบัดนี้ จะหันมารักพระเป็นเจ้ายิ่งกว่าอะไรทั้งหมดได้อย่างไร?

            พวกพรหมจาริณี ที่อยากจะเตรียมตะเกียงเมื่อเจ้าบ่าวมาถึงแล้ว พระสวามีเจ้าตรัสเรียกว่า เป็นคนโง่ ใคร ๆ ก็กลัวความตายปัจจุบัน เพราะไม่มีเวลาจะจัดบัญชี ใคร ๆ ก็เห็นพ้องว่า บรรดานักบุญเป็นคนฉลาดแท้ เพราะท่านได้เตรียมตัวไว้เผชิญความตายก่อนแล้ว แต่ขณะนี้พวกเราทำอะไรอยู่เล่า? เราต้องการเสี่ยงโชคสำหรับการเตรียมตัวให้ตายดี คอยจนถึงเวลาความตายจะกระชั้นเข้ามาแล้ว กระนั้นหรือ? สิ่งไดที่เราใคร่จะได้กระทำในเวลาจะตายนั้นก็จงเร่งกระทำเสี่ยในเวลานี้เถิด โอ้! เมื่อนั้น เราจะรู้สึกเสียใจเพียงไร เมื่อคิดถึงเวลาที่ได้เสียไปเปล่า และเป็นต้น เวลาที่ได้สิ้นเปลืองไปในการทำชั่ว! เวลาที่พระเป็นเจ้าได้ทรงประทานเพื่อให้สร้างบุญกุศล แต่เวลานั้นล่วงไปแล้ว และไม่มีวันจะกลับมาอีก เมื่อนั้นเราจะรู้สึกเศร้าใจเพียงไร เมื่อจะได้ยินว่าหมดเวลาเป็นทุกข์กลับใจแล้ว หมดเวลาไปแก้บาปรับศีล หมดเวลาไปฟังเทศน์ ไปเฝ้าศีลมหาสนิทในวัด หมดเวลาสวดภาวนาแล้ว: อะไรแล้วก็แล้วไป (1) เมื่อเวลาจะตายเราจะต้องการสมองที่แจ่มใส และเวลาอันสงบกว่าที่จะหาได้ ทั้งนี้เพื่อแก้บาปให้สมควร จะได้แก้ไขความยุ่งยากอันกำลังถ่วงมโนธรรม สำหรับให้มโนธรรมสงบราบคาบ “แต่จะไม่มีเวลาต่อไปแล้ว” (วว.10, 6)

            ข้อเตือนใจและคำภาวนา

           อา! พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า หากข้าพเจ้าจะได้ตายในคืนนั้น ๆ ดังที่พระองค์ทรงทราบ ปานนี้ข้าพเจ้าจะอยู่ที่ไหนเสียแล้ว? ขอขอบพระคุณที่ได้ทรงรอข้าพเจ้า ขอขอบพระคุณ ที่ได้ทรงประทานช่วงเวลาทั้งหมดอันข้าพเจ้าควรจะต้องไปอยู่ในนรก ทั้งนี้นับแต่ได้ทำเคืองพระทัยเป็นครั้งแรกแล้ว! โอ้องค์เจ้าพระคุณ โปรดส่องสว่างให้ข้าพเจ้ามองเป็นความผิดอันอุกฉกรรจ์ เพราะได้จงใจเสียพระหรรษทาน ซึ่งพระองค์ได้จัดหาให้ข้าพเจ้า โดยการพลีพระองค์เองบนไม้กางเขน พระเยซูเจ้าข้า ทรงพระกรุณาอภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าเป็นทุกข์ด้วยสิ้นสุดใจ เป็นทุกข์เพราะได้ทำเคืองพระทัยอันดีหาของเขตมิได้ยิ่งกว่าภยันตรายใด ๆ แล้ว ข้าพเจ้าหวังว่า พระองค์ทรงอภัยโทษให้แล้ว พระเจ้าข้า พระมหาไถ่เจ้าข้า ทรงพระกรุณาช่วยข้าพเจ้า ขออย่าทรงปล่อยให้ข้าพเจ้าเสียพระองค์ไปอีกเลย พระเจ้าข้า โอ้ พระสวามีเจ้า เมื่อข้าพเจ้าได้รับความสว่างและพระหรรษทานของพระองค์มากมายดังนี้แล้ว และยังจะกลับไปทำเคืองพระทัยอีก ข้าพเจ้าก็สมจะไปสู่นรกเป็นแม่นมั่นแล้วมิใช่หรือ? โอ! โปรดเห็นแก่พระโลหิตซึ่งพระองค์ได้ทรงหลั่งออก เพราะทรงรักข้าพเจ้า ขออย่าทรงปล่อยให้เป็นเช่นนั้นเลย พระเจ้าข้า ขอประทานให้ข้าพเจ้าตั้งมั่นอยู่ในความดี และความรักต่อพระองค์เสมอ องค์คุณงามความดีที่ล้นพ้นเจ้าข้า ข้าพเจ้ารักพระองค์ และไม่ยอมหยุดรักพระองค์จวบจนวันตาย ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าโปรดเห็นแก่ความรักของพระองค์ต่อพระเยซูคริสต์ และทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าด้วยเถิด พระเจ้าข้า

            ข้าแต่พระแม่มารีอา สรณะที่วางใจของข้าพเจ้า กรุณาข้าพเจ้าด้วยโปรดฝากฝังข้าพเจ้าไว้กับพระเป็นเจ้า การฝากฝังของท่านสำเร็จผลเสมอ ทั้งนี้เพราะพระเป็นเจ้าทรงโปรดปรานท่านอย่างยิ่ง


2. จงใช้วิธีการจริงจัง

            พี่น้องที่รัก เร็วเข้าเถอะ เพราะเป็นการแน่ว่า ท่านจะต้องตาย จงกราบลงแทบพระบาทของพระเยซูผู้ถูกตรึงบนไม้กางเขน จงฉลองพระคุณที่ได้ทรงโปรดให้ท่านมีเวลาจะจัดมโนธรรมของท่านให้เรียบร้อย แล้วให้ตั้งใจตรวจดูความยุ่งเหยิงต่าง ๆ ในชีวิตที่ได้ล่วงมาแล้ว เฉพาะอย่างยิ่งในตอนวัยหนุ่มวัยสาว จงมองดูรายการพระบัญญัติของพระเป็นเจ้า จงพิจารณาดูหน้าที่ต่าง ๆ ของท่าน ดูสมาคมที่ท่านคบค้า ให้บันทึกความผิดต่าง ๆ ของท่านเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วให้ไปแก้บาปต่าง ๆ ของท่านตลอดทั้งชีวิต หากท่านยังไม่ได้แล้ โอ! การแก้บาป (แก้บาปมูล) มีประโยชน์มาก ในการจัดระเบียบชีวิตของเราคริสตัง! จงคิดว่ามันเป็นบัญชีสำหรับนิรันดรภาพ ฉะนั้น ต้องเอาใจใส่ดังว่าท่านกำลังให้การเฉพาะพระบัลลังก์แห่งพระเยซูคริสต์พระตุลาการเถิด จงชำระล้างความรู้สึกอันไม่ดี ความพยาบาทมาดร้ายทั้งหลายออกจากดวงใจ จงกำจัดความหนักใจทั้งสิ้น ในเรื่องทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ในเรื่องการทำลายชื่อเสียงของท่าน และในการเป็นที่สะดุดแก่ผู้อื่น จงตั้งใจจะหลีกเลี่ยงท่าทางเหล่านั้นที่จะทำให้ท่านเสียพระเป็นเจ้าไปได้ ขอจงคิดเถิดว่า การทำอย่างนี้ถ้าท่านเห็นว่าลำบากในเวลานี้ ในเวลาเมื่อจะตาย ท่านจะเห็นว่า หมดความสามารถจะทำเอาทีเดียว

            แต่ที่สำคัญกว่าอีก คือ ท่านจงตั้งใจที่จะใช้วิธีการสำหรับสงวนรักษาพระหรรษทานของพระเป็นเจ้าให้ได้ วิธีการนั้น คือ การฟังมิสซาทุก ๆ วันการรำพึงเรื่องวาระสุดท้าย การแก้บาปรับศีลอย่างน้อยทุกแปดวัน การเฝ้าศีลมหาสนิท และการเฝ้าพระแม่เจ้าทุกวัน การเข้าจำพวก การอ่านหนังสือศรัทธาการพิจารณามโนธรรมทุก ๆ ค่ำ มีความภักดีเป็นพิเศษต่อพระนางมารีอา ด้วยอดอาหารทุกวันเสาร์ ถวายเป็นเกียรติแด่พระนาง จงตั้งใจฝากตนได้กับพระเป็นเจ้าบ่อย ๆ ให้ร้องขอและออกพระนามเยซู และมารีอา บ่อย ๆ เป็นต้น เมื่อถูกประจญล่อลวง นี่แหละ เป็นวิธีการ ที่จะช่วยให้ท่านได้ตายดี และให้ท่านประสบความรอดตลอดนีรันดร

            หากท่านปฏิบัติดังกล่าว ก็เป็นเครื่องหมายว่า ท่านถูกเลือกสรรไว้สำหรับสวรรค์แล้ว ส่วนเรื่องชีวิตที่ล่วงไปแล้วนั้น จงไว้วางใจในพระโลหิตของพระเยซูคริสต์เถิด เนื่องจากในบัดนี้พระองค์ทรงประทานความสว่างแก่ท่านนั้น ก็เพราะว่าพระองค์ทรงใคร่จะให้ท่านรอดนั่นเอง นอกนั้น จงวางใจในการเสนอวิงวอนของพระแม่มารีอา ผู้ได้ทรงเสนอขอความสว่าที่ท่านได้รับอยู่บัดนี้เถิด วิญญาณที่ประพฤติดั่งนี้พร้อมทั้งวางใจในพระเยซู ย่อมได้รับความช่วยเหลือและพละกำลังจากพระเป็นเจ้าเป็นอันมาก ท่านผู้อ่านที่รักจงมอบตัวท่านไว้กับพระเป็นเจ้า ผู้ทรงเรียกหาท่าน และให้ท่านเริ่มลิ้มรสสันติสุข ซึ่งปานนี้ท่านยังไม่เคยรับ และก็เป็นความผิดของท่านเอง วิญญาณของชาวเราจะสามารถรู้สึกถึงความสุขใจอันใด ให้ยิ่งไปกว่านี้ได้ เมื่อจะเข้านอนตอนค่ำ ท่านอาจพูดว่า: ถ้าความตายมาหาฉันในคืนนี้ฉันก็หวังว่า จะตายในพระหรรษทาน ของพระเป็นเจ้า? วิญญาณจะรู้สึกอุ่นใจเป็นที่สุด เมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้อง เมื่อรู้สึกแผ่นดินไหว และตนกำลังคอยความตาย ด้วยใจนอบน้อม หากพระเป็นทรงต้องการให้ตนตายขณะนั้น

              ข้อเตือนใจและคำภาวนา

           อา! พระสวามีเจ้าข้า ขอสมนาพระคุณเป็นล้นพ้น ที่พระองค์ได้ทรงประทานความสว่างแก่ข้าพเจ้า! กี่ครั้งกี่หนมาแล้ว ข้าพเจ้าได้ละทิ้งพระองค์ ได้หันหลังให้พระองค์ แต่พระองค์มิได้ทรงทอดทิ้งข้าพเจ้า หากได้ทรงทอดทิ้งปานนี้ข้าพเจ้าคงตาบอดมืด อย่างที่แต่ก่อนเคยชอบดังนั้น ป่านนี้ข้าพเจ้าคงจะดื้อกระด้างอยู่ในบาป คงไม่มีใจจะละทิ้งมัน และไม่มีจิตใจที่จะรักพระองค์ต่อไปแล้วพระเจ้าข้า

            แต่บัดนี้ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจมาก เพราะได้ทำขัดเคืองพระทัย ข้าพเจ้าปรารถนาจริง ๆ ที่จะดำรงอยู่ในพระหรรษทานของพระองค์ ข้าพเจ้าเกลียดชังความสนุกสนานอันอัปรีย์ ซึ่งเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าเสียมิตรภาพของพระองค์ ก็ความรู้สึกทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็พระหรรษทานของพระองค์ทั้งสิ้น จึงทำให้ข้าพเจ้าวางใจว่า พระองค์ประสงค์จะอภัยบาปแก่ข้าพเจ้า และประสงค์จะช่วยข้าพเจ้าให้รอด แม้เมื่อข้าพเจ้าได้กระทำบาปเป็นจำนวนมากมาย พระองค์ก็มิได้ทรงทอดทิ้ง ยังทรงประสงค์ให้ข้าพเจ้าเอาตัวรอด ข้าพเจ้าจึงขอมอบตัวข้าพเจ้าทั้งหมดแด่พระองค์ ข้าพเจ้าเสียใจมากที่ได้ทำชอกช้ำน้ำพระทัย และตั้งใจจะยอมตายสักพันครั้ง ดีกว่าจะเสียพระหรรษทานของพระองค์สืบไป พระเจ้าข้า องค์คุณงามความดีที่ล้นพ้น เจ้าข้า ข้าพเจ้ารักพระองค์ ข้าแต่พระเยซู ผู้ได้ทรงพลีชีพเพื่อข้าพเจ้า ข้าพเจ้ารักพระองค์ และมั่นใจในพระโลหิตของพระองค์ว่า พระองค์จะไม่ทรงปล่อยให้ข้าพเจ้าต้องพรากจากพระองค์อีกเป็นอันขาด พระเยซูเจ้าข้าเป็นความสัตย์จริงที่ข้าพเจ้าจะไม่ยอมเสียพระองค์ไปอีก ข้าพเจ้าพอใจรักพระองค์ตลอดนิรันดร! ขอโปรดคุ้มครองข้าพเจ้าด้วยเถิด โปรดให้ข้าพเจ้ารักพระองค์ยิ่ง ๆ ขึ้นโปรดเห็นแก่พระบารมีของพระองค์เอง และโปรดให้สัมฤทธิ์ผลตามที่ข้าพเจ้าวิงวอนมานี้เถิด พระเจ้าข้า

            ข้าแต่พระแม่มารีอา ที่วางไง้ใจของข้าพเจ้า ช่วยวิงวอนพระเยซูเพื่อข้าพเจ้าด้วยเถิด


3. จงตัดใจจากโลก

            คนเราปรารถนาจะดำรงอยู่ในฐานะใด ขณะตาย เราก็จะต้องดำรงชีพอยู่ในฐานะนั้น ตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ “เป็นบุญลาภของผู้ที่ตายในพระสวามีเจ้า” (วว. 14: 13) นักบุญอัมโบรส กล่าวว่า: ผู้ที่ตายดี คือ ผู้ที่ได้ตายจากโลกก่อนแล้วหมายความว่า ผู้ที่ได้ปลีกตนจากทรัพย์สมบัติ ซึ่งเขาจำเป็นจะต้องพรากจากมันเมื่อเวลาจะตาย ฉะนั้น นับแต่เวลานี้ทีเดียว ชาวเราต้องยอมพรากตนออกห่างจากข้าวของ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง  สมบัติพัสถานทุกชนิดในโลกนี้ หากขณะมีชีวิตอยู่เราไม่ยอมทำดังนี้ เมื่อจะตาย เราก็จำใจจะต้องทำเหมือนกัน และขณะนั้นจะต้องทำด้วยความเสียใจเป็นอันมาก ทั้งยังเป็นภัยแก่ความรอดของเราอีกด้วย เรื่องนี้นักบุญเอากูสติน สอนว่า : อยากจะตายอย่างราบคาบหรือ? ควรจะจัดเรื่องทรัพย์สมบัติฝ่ายโลกนี้ไว้ ตั้งแต่เมื่อยังสบายดีอยู่ หากท่านมีทรัพย์จะมอบให้เป็นมรดก ก่จงจัดแจงเสียให้เรียบร้อยแต่บัดนี้เถิด ทั้งนี้ เพื่อว่า เมื่อถึงคราวจะตายท่านจะได้เอาใจใส่ถึง เฉพาะเรื่องการร่วมชิดสนิทกับพระเป็นเจ้า ขณะนั้นจะได้พูดถึงเฉพาะเรื่องพระเป็นเจ้า เรื่องสวรรค์อย่างเดียว เวลาช่วงสุดท้ายนั้น ประเสริฐมาก ไม่ควรจะเสียไปในการคิดถึงข้าวของฝ่ายแผ่นดิน เวลาจะตาย เป็นเว่ลาจะจบมงกุฎของผู้ต้องเลือกสรร เพราะว่า ขณะนั้น หากเรายอมรับความเจ็บไข้ และความตายด้วยอ่อนน้อม และด้วยความรักภักดีต่อพระเป็นเจ้า เราก็อาจจะสร้างบุญกุศลมากกว่าคราวใดๆ ก็ได้

            แต่เมื่อจะตาย เราจะมีวามรู้สึกดังกล่าวมาหาได้ไม่ หากว่า เมื่อสบายดีอยู่ เรามิได้ฝึกฝนไว้ ฉะนั้น ผู้มีใจศรัทธาบางท่าน จึงได้รับผลประโยชน์มากเพราะทุก ๆ เดือน หลังจากได้แก้บาปและรับศีลมหาสนิทแล้ว เขาทำการรื้อฟื้นแสดงเจตจำนงยินยอมตายตามประสาคริสตัง โดยรำพึงคิดเหมือนว่าตัวเขากำลังใกล้จะตาย จวน ๆ จะออกจากชีวิตนี้แล้ว (ในหนังสือหรับเฝ้าศีลมหาสนิทของข้าพเจ้า มีคำแสดงเจตจำนงยอมตายดังนี้ เป็นบทสั้น ๆ อ่านจบในชั่วครู่) (*)

            กิจปฏิบัติที่กล่าวนี้ หากเราไม่กระทำขณะสบายดี ก็ยากมากที่จะกระทำเมื่อจะตาย ข้าบริการของพระเจ้าผู้หนึ่ง คือ ภคินี กาทารีนา แห่งนักบุญอัมแบร์โต คณะนักบุญเทเรซา (การ์แมลไม่สวมรองเท้า) เมื่อใกล้จะตาย ได้ถอนใจใหญ่พูดว่า “พี่น้อง ที่ดิฉันถอนใจใหญ่นี้ ไม่ใช่เพราะดิฉันกลัวตาย ดิฉันคอยมันมาแต่ยี่สิบห้าปีแล้ว แต่ดิฉันถอนใจใหญ่ ก็เพราะคนเป็นจำนานมาก ลุ่มหลงดำรงชีพอยู่ในบาป และจำเป็นจะต้องเข้าดีกับพระเป็นเจ้าเมื่อเวลาจะตาย และก็ในเวลานี้ ตัวดิฉันเอง จะออกพระนามเยซูก็แทบจะไม่ไหว?”

            พี่น้องที่รัก ขอให้พิจารณาดูว่า ในขณะนี้ ใจของท่านจดจ่ออยู่กับอะไรในโลกนี้บ้าง กับคน ๆ นั้น เกียรติยศอันนั้น กับเรือนหลังนั้น กับเงินทองเหล่านั้นกับเพื่อนฝูงคนนั้น ๆ กับเครื่องเล่นการเล่นอันนั้น แล้วให้คิดเถิด: ท่านจะไม่อยู่เรื่อยไปหรอก ท่านจะต้องละทิ้งสิ่งเหล่านี้สักวันหนึ่งและบางทีในเวลาใกล้ ๆ นี้เอง ไฉนท่านจึงชอบเอาใจไปหมกมุ่นอยู่กับมัน เป็นการเสี่ยงตนเองในภัยจะตายอย่างกระวนกระวายเล่า? จงยกทุกสิ่งถวายแด่พระเป็นเจ้าเสียแต่เดี๋ยวนี้เถิดจงสรรพพร้อมจะยอมเสียทุกสิ่ง เมื่อพระองค์จะทรงพอพระทัย ถ้าท่านปรารถนาจะตายด้วยความนอบน้อม ก็จงนอบน้อมตั้งแต่บัดนี้ ยอมรับภัยพิบัติทุกชนิด อันอาจจะเป็นมาแก่ท่าน และจงพรากตนเองจากความรักต่อแผ่นดิน นักบุญฮีเอโรนีโมสอนว่า “จงคิดว่าท่านกำลังจะตาย และท่านจะประมาททุกสิ่งได้อย่างง่ายดาย” (2)

            ในขณะนี้ ถ้าท่านยังมิได้เลือกทางดำเนินชีพ ก็ขอให้ท่านเลือกเอาทางที่ท่านขณะเมื่อจะตายอยากจะเลือกเอาเถิด และจงเลือกเอาทางชนิดที่จะทำให้ท่านหลับตาตายด้วยความชื่นใจมากกว่าหมดเถิด แต่หากท่านได้เลือกทางดำเนินชีพไปแล้ว ก็จงบำเพ็ญตน อย่างที่ท่านใคร่จะได้บำเพ็ญในขณะเมื่อจะตายเถิด ท่านพึงปฏิบัติดังว่านี้ทุกวัน ประหนึ่งเป็นวันสุดท่ายในชีวิตของท่าน กิจการทุกกิจการเป็นกิจการสุดท้ายของท่าน เวลาสวด เวลาแก้บาปรับศีล ให้คิดว่าเป็นการสวดการแก้บาปและการรับศีลครั้งสุดท้าย ท่านจงคำนึงเหมือนว่า ท่านกำลังจะตายอยู่แล้วทุก ๆ เวลา กำลังนอนเหยียดอยู่บนที่นอน กำลังได้ยินเขาสวดว่า “จงออกจากโลกนี้เถิด” (3) โอ! การคิดถึงความตายเช่นนี้ ย่อมช่วยให้เราบำเพ็ญตนเป็นคนดี และช่วยให้เราตัดใจออกห่างจากโลกได้ดีเพียงไรหนอ! “เป็นบุญของคนใช้ผู้นั้น ซึ่งเมื่อนายกลับมา จะพบเขากำลังเตรียมพร้อม” (มธ. 24, 46) ผู้ใดคอยความตายอยู่ทุกเมื่อ แม้ผู้นั้นจะตายปัจจุบันเขาก็จะตายดีอยู่นั่นเอง

              ข้อเตือนใจและคำภาวนา

           คริสตังทุกคน พอทราบว่าตนกำลังจะสิ้นใจอยู่แล้ว ต้องสรรพพร้อมจะทูลว่า: ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้ามีเวลาเหลืออีกไม่กี่ชั่วโมงแล้ว เวลาที่เหลืออยู่นี้ ข้าพเจ้าใคร่จะใช้รักพระองค์ เท่าที่จะรักได้ เพื่อจะได้รักพระองค์ให้มากในชีวิตหน้า ข้าพเจ้าแทบไม่มีอะไรเหลือจะถวายพระองค์แล้ว จึงขอถวายความเจ็บปวด และขอมอบชีวิตของข้าพเจ้าร่วมกับมหาบูชา ซึ่งพระเยซูคริสต์ได้ทรงพลีพระองค์บนไม้กางเขนเพื่อข้าพเจ้า พระสวามีเจ้าข้า โทษที่ข้าพเจ้ากำลังรับอยู่นี้เมื่อเปรียบกับความผิดของข้าพเจ้าแล้ว มันเบามากทีเดียว ถึงกระนั้น ข้าพเจ้าขอน้อมรับ เพื่อแสดงความรักต่อพระองค์ ข้าพเจ้ายินดีรับโทษานุโทษทุกประการที่พระองค์ทรงประสงค์จะให้แก่ข้าพเจ้า ทั้งในชีวิตนี้และชีวิตหน้า ขอแต่ให้ข้าพเจ้ารักพระองค์เสมอไปอย่างเดียวเท่านั้น โปรดลงพระอาชญาแก่ข้าพเจ้าตามแต่จะชอบพระทัยเถิด ขออย่างเดียวอย่าให้ข้าพเจ้าปราศจากความรักของพระองค์เท่านั้น ข้าพเจ้าทราบว่า ตนไม่สมจะรักพระองค์ เพราะว่าได้ประมาทความรักของพระองค์แล้วหลายครั้งหลายคราว แต่พระองค์ไม่ทรงรู้จักผลักไสวิญญาณที่เป็นทุกข์กลับใจ พระเจ้าข้า โอ้! องค์เจ้าพระคุณ ข้าพเจ้าตรอมใจที่ได้กระทำขัดเคืองพระทัย ข้าพเจ้ารักพระองค์ด้วยสิ้นสุดดวงใจ และวางใจในพระองค์ทุกประการพระมหาไถ่เจ้าข้า พระมรณธรรมของพระองค์เป็นสรณะที่พึ่งของข้าพเจ้าขอมอบวิญญาณของข้าพเจ้าไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์ พระหัตถ์อันเป็นแผลเพราะถูกตะปูแทงไช (สดด. 30, 6) พระเยซูเจ้าข้า พระองค์ได้ทรงหลั่งพระโลหิตเพื่อช่วยให้ข้าพเจ้ารอดแล้ว ขออย่าทรงปล่อยให้ข้าพเจ้าต้องพรากจากพระองค์เลยพระเจ้าข้า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ผู้สถิตสถาพรตลอดนิรันดร ข้าพเจ้ารักพระองค์และหวังจะได้รักพระองค์เป็นนิตย์อัตราพระเจ้าข้า

            พระนางมารีอา พระแม่ที่รักเจ้าข้า กรุณาช่วยข้าพเจ้าในเวลาอันสำคัญยิ่งยวดนั้นด้วยเจ้าข้า ขอมอบดวงจิตของข้าพเจ้าไว้กับท่านตั้งแต่บัดนี้: โปรดทูลวิงวอนพระปิยบุตรของท่าน เพื่อทรงพระเมตตาต่อข้าพเจ้าด้วยเถิด ขอฝากฝังตัวข้าพเจ้าไว้กับท่าน โปรดช่วยข้าพเจ้าให้พ้นนรกด้วยเถิด เจ้าข้า

(1) Jam non poteris amplius vilicare.

*    บทแสดงเจตจำนงยินยอมตาย จะให้ไว้ตอนปลายหนังสือเล่มนี้.

(2) Facile contemnit omnia, qui simper se cogitate moriturum.

(3) Proficiscere de hoc mundo.

  ความแตกต่างระหว่างอาณาจักรพระเจ้ากับอาณาจักรของมาร อีกประการหนึ่งคือค่านิยมเกี่ยวกับอํานาจ สังคมกับอํานาจเป็นของคู่กัน   สังคมต้องมีโครงสร้าง และโครงสร้างจะอยู่ได้ก็ต้องมีอํานาจอะไรบางอย่าง   อำนาจและโครงสร้างทางอํานาจ (ใครบังคับบัญชาใคร ใครตัดสินใจให้ใคร) ก็คือสิ่งที่เราเรียกในปัจจุบันนี้ว่า การเมือง

1. อำนาจ

          ในสมัยพระเยซู การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับการได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ความหมายแรกของอํานาจก็คือการเป็นกษัตริย์ในภาษาพระคัมภีร์อํานาจ ของกษัตริย์ และอาณาจักรของกษัตริย์ เป็นคําเดียวกัน ฉะนั้นบางกรณีต้องพูดถึงอาณาจักร บางกรณีต้องพูดถึงอํานาจปกครอง แต่โดยทั่วไป เราต้องหมายถึงทั้งอํานาจและอาณาจักรควบคู่กันไป

          จนถึงเวลานี้ เราพูดถึงอาณาจักรพระเจ้าในแง่ที่เป็นสังคมหรือแผ่นดินโลกในอนาคต แต่เราต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่า อาณาจักรพระเจ้ามาถึง ก็หมายความว่า อํานาจทางการเมืองของพระเจ้ามาถึงด้วย พระเยซูประกาศว่าอํานาจทางการเมืองในอนาคตจะอยู่ในมือของคนจนและคนตํ่าต้อย "เป็นบุญของคนจน เพราะว่าอาณาจักรพระเจ้าเป็นของท่าน"(ลก. ๖,๒๐) "ฝูงแกะน้อยๆเอ๋ย ไม่ต้องกลัว พระบิดาพอใจที่จะมอบอาณาจักรให้แก่พวกเจ้า" (ลก.๑๒,๓๒)

          ทุกอย่างดูเหมือนจะกลับตาลปัตร "พระเจ้าจะปลดผู้มีอํานาจออกจากบัลลังก์และยกผู้ตํ่าต้อยให้สูงขึ้น คนอดหยากจะอิ่มหนําด้วยของดีๆ และคนรวยจะต้องกลับไปมือเปล่า" (ลก.๑,๕๒-๕๓) "เป็นบุญของคนจน... วิบัติแก่เจ้าผู้รํ่ารวย" (ลก.๖,๒๐-๒๔) "ใครที่ยกตนเองขึ้น จะถูกกดให้ตํ่าลง และใครที่ถ่อมตนลง จะถูกยกให้สูงขึ้น" (ลก.๑๔,๑๑) นี่ไม่ใช่หมายความว่า ในโครงสร้างอํานาจของอาณาจักรพระเจ้า ผู้กดขี่กับผู้ถูกกดขี่จะเปลี่ยนที่กัน แล้วการกดขี่ก็จะดําเนินต่อไปเหมือนเดิม แต่ความหมายที่แท้จริงคือ ในอาณาจักรพระเจ้าความหมายของอํานาจจะกลับตาลปัตร ไม่เป็นเหมือนอํานาจในอาณาจักรของมาร

          ในอาณาจักรมาร อํานาจคือการกดขี่ข่มเหง หาผลประโยชน์และเอารัดเอาเปรียบ แต่ในอาณาจักรพระเจ้า อํานาจคือการรับใช้

          อาณาจักรและชาติต่าง ๆ ในโลกปัจจุบัน ถูกปกครองด้วยอํานาจที่กดขี่และใช้กําลัง ในอาณาจักรพระเจ้า อํานาจจะแสดงออกมาในการรับใช้ซึ่งกันและกัน "ท่านก็รู้ดีว่า ผู้ปกครองในชาติต่างๆ (ที่ไม่มีพระเจ้า) ต่างก็วางตัวเป็นนาย และผู้มีอํานาจก็ใช้อํานาจเหนือผู้อื่น แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นในระหว่างพวกท่าน  ใครที่อยากเป็นใหญ่ต้องรับใช้พวกท่าน และใครที่อยากเป็นคนสําคัญ ต้องเป็นทาสของทุกคน เหตุว่าบุตรแห่งมนุษย์(พระเยซู)ไม่ได้มาให้คนเขารับใช้ แต่มาเพื่อรับใช้ทุกคน และมอบชีวิตเป็นค่าไถ่ของคนเป็นจำนวนมาก" (มก.๑๐,๔๒-๔๕;มก.๙,๓๕) ความแตกต่างระหว่าง การกดขี่เอาเปรียบกับการรับใช้ เห็นได้ชัดเจนอย่างไม่มีข้อสงสัย อํานาจในสังคมใหม่เป็นอํานาจที่ไม่เห็นแก่ตัว และพร้อมที่จะสละได้แม้แต่ชีวิตของตน

          เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อพระเยซูพูดถึงการใช้อํานาจกดขี่ข่มเหงในชาติต่างๆ พระเยซูคงจะคิดถึงจักรพรรดิ์ซีซาร์ และผู้ว่าราชการพอนทิอัส ปิลาตแห่งอาณาจักรโรมันเป็นพิเศษ แต่พระเยซูก็คงจะตระหนักดีว่า พวกยิวเองก็ปกครองกันด้วยการกดขี่ข่มเหงเหมือนกัน แม้ในทฤษฎีมันไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น พระเยซูเรียกกษัตริย์ เฮรอด (เชื้อชาติยิวผสมเอโดม) ว่า "สุนัขจิ้งจอก" เพราะปกครองอย่างโหดเหี้ยม และผู้นําชาวยิวเกือบทั้งหมด คือพวกหัวหน้าคณะสงฆ์ ผู้หลักผู้ใหญ่ พวกคัมภีราจารย์และพวกฟาริสี ก็เป็นผู้นําที่ใช้อํานาจกดขี่ข่มเหง คนเหล่านี้แม้จะไม่มีอํานาจแบบกษัตริย์ แต่ก็ใช้อํานาจอันเนื่องมาจากกฎบัญญติในพระธรรมคัมภีร์เพื่อกดขี่ประชาชน

2. ทัศนคติของพระเยซูต่อกฎบัญญัติ      

          กฎหมายสําหรับชาวยิว คือกฎระเบียบต่างๆที่จารึกไว้ในพระคัมภีร์ และที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาทางวาจาของพวกคัมภีราจารย์ กฎระเบียบที่ถ่ายทอดทางวาจานี้ พวกฟาริสีและอีกหลายพวกถือว่ามีนํ้าหนักบังคับเหมือนกับกฎบัญญัติที่จารึกไว้ในพระคัมภีร์ และเรียกกันว่า"โตราห์" ซึ่งแปลว่าคําสั่งของพระเจ้า กฎบัญญัติเหล่านี้เป็นกําหนดกฎเกณฑ์หยุมหยิมเกี่ยวกับชีวิตทุกลมหายใจของชาวยิว

          พระเยซูไม่ได้ต่อต้านกฎบัญญัติ แต่ต่อต้านวิธีที่คนเอากฎบัญญัติมาใช้ และต่อต้านทัศนคติของคนส่วนมากที่มีต่อกฎบัญญัติ พวกฟาริสีและคัมภีราจารย์ ทํากฎบัญญัติให้กลายเป็นแอกหรือภาระหนัก ทั้งๆที่กฎบัญญัติต้องเป็นสิ่งที่ช่วยคน  "พวกเขาเอาแอกหนักผูกไว้บนบ่าของคนอื่น แต่ตัวเองกลับไม่ยอมออกแรงแม้เพียงยกนิ้วมือ" (มธ.๒๓,๔) "วันสับบาโต (วันพระ)มีไว้เพื่อคน ไม่ใช่คนมีไว้เพื่อวันสับบาโต" (มก.๒,๒๗) พวกคัมภีราจารย์ทําให้กฎเกี่ยวกับวันพระ รวมทั้งกฎอื่นๆ ด้วย กลายเป็นภาระหนักจนบางครั้งคนทนรับไม่ไหว พวกเขาใช้กฎเพื่อกดขี่คน แทนที่จะใช้เพื่อช่วยคน

          พวกคัมภีราจารย์เข้าใจว่ากฎหมายต้องเป็นเหมือนแอก เป็นเครื่องมือสําหรับ "ใช้โทษบาป" เป็นมาตรการเพื่อปราบปราม แต่สําหรับพระเยซู กฎหมายต้องเป็นประโยชน์สําหรับมนุษย์ ต้องรับใช้ความต้องการและความดีที่แท้จริงของมนุษย์ นี่เป็นทัศนคติต่อกฎหมายที่แตกต่างกัน เมื่อเห็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายต่างกัน ก็มีวิธีเอากฎหมายมาใช้ไม่เหมือนกันด้วย  ทัศนคติของพวกคัมภีราจารย์ นําไปสู่ปัญหาการตีความหยุมหยิม เถรตรง บ้ากฎหมาย หน้าซื่อใจคดและนําไปสู่ความทุกข์ทรมาน ทัศนคติของพระเยซูนําไปสู่การผ่อนปรนเมื่อการถือกฎหมายใดไม่ได้เป็นประโยชน์อะไร และนําไปสู่ความเคร่งครัดเมื่อการถือกฎหมายนั้นจะนําความดีที่แท้จริงมาสู่มนุษย์ กฎหมายมีไว้เพื่อคน ไม่ใช่คนมีไว้เพื่อเป็นทาสของกฎหมาย

          ตัวอย่างเช่น กฎวันสับบาโตมีไว้เพื่อปลดปล่อยคนให้หลุดพ้นจากภาระการงานเพื่อจะได้พักผ่อน มันไม่ได้มีไว้เพื่อห้ามคนทําความดี ห้ามคนช่วยผู้เจ็บป่วยให้หาย หรือห้ามช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ (มก.๓,๔; มธ.๑๒, ๑๑-๑๒; ลก.๑๓,๑๕-๑๖) มันไม่ได้มีไว้เพื่อห้ามคนกินอาหารเมื่อหิว (มก. ๒, ๒๓-๒๖) พระเยซูไม่ต้องการถกเถียงเกี่ยวกับรายละเอียดปลีกย่อยและการตีความกฎบัญญัติ พระเยซูไม่ต้องการถือแนวผ่อนปรนตามแบบที่แพร่หลายในแคว้นกาลิลีหรือตามแบบพวกยิวในต่างแดน พระเยซูไม่ปฏิเสธกฎบัญญัติที่ถ่ายทอดทางวาจา แต่พระเยซูต่อต้านการใช้กฎบัญญัติหรือการตีความกฎบัญญัติอย่างที่ว่ามันขัดกับประโยชน์  และความดีที่แท้จริงของคน

          พระเยซูไม่ได้คิดตั้งตัวเป็นผู้ออกกฎหมาย ไม่ได้คิดล้มล้างกฎหมายในพระคัมภีร์เพื่อไม่ให้มีกฎหมายอีกต่อไป หรือเพื่อออกกฎหมายใหม่ (มธ.๕,๑๗-๑๘) อีกทั้งไม่ได้คิดต่อเติมหรือตัดทอน พระเยซูอยากเห็นกฎหมายถูกนํามาใช้ตามความประสงค์ของพระเจ้า อยากเห็นกฎหมายบรรลุเป้าหมายที่แท้จริง อยากเห็นทุกคนถือตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งได้แก่การรับใช้ ความเมตตาและความรัก พระเจ้าไม่ต้องการเครื่องบูชา แต่ต้องการความเมตตากรุณา (มธ.๙,๑๓; ๑๒,๗; มก.๑๒,๓๓)

          การหมกมุ่นตีความกฎหมายหยุมหยิม ทําลายเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมาย ความสนใจในสิ่งปลีกย่อยมักจะทําให้มองไม่เห็นสิ่งที่ใหญ่กว่าและสําคัญกว่า สิ่งสําคัญในเรื่องกฎหมายก็คือ"ความยุติธรรม ความเมตตา และเจตนาบริสุทธิ์" (มธ.๒๓,๒๓) การถือกฎจุกจิกเกี่ยวกับความสะอาดของร่างกายและอาหาร ทําให้มองข้ามความสำคัญของเจตนาดีหรือชั่วในพฤติกรรมของคน กฎเกี่ยวกับการถวายบูชากลายเป็นทางเลี่ยงไม่ต้องถือหน้าที่ต่อบิดามารดา (มก.๗,๑-๑๓) พวกคัมภีราจารย์ลืมจุดหมายของบทบัญญัติต่างๆ หรือเจตนาที่จะลืม และผลที่ตามมาก็คือพวกเขาทําให้กฎบัญญัติกลายเป็นอํานาจมืดที่กดขี่ข่มเหงประชาชน

3. การถือบัญญัติเคร่งครัด

          ในสมัยพระเยซู ผู้นําและปัญญาชนทําตัวเป็นทาสของกฎบัญญัติ การทําตัวเช่นนี้ทําให้พวกเขามีเกียรติมากขึ้นในสังคม และในเวลาเดียวกันมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยมากขึ้นด้วย คนเรามักจะกลัวความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นคนอิสระ การปล่อยให้คนอื่นตัดสินใจให้เราจะง่ายกว่า การถือกฎบัญญัติตามตัวอักษรก็สบายกว่า เพราะไม่ต้องคิดเองให้ลําบาก หลายคนพอใจที่จะเป็นทาส

          เมื่อคนทําตัวเป็นทาสของกฎบัญญัติแล้ว ก็อยากเห็นคนอื่นเป็นทาสเหมือนกันด้วย จึงไม่ยอมปล่อยให้ใครมีอิสระ และพยายามบีบบังคับให้ทุกคนถือกฎระเบียบต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด จนกลายเป็นแอกหนัก(มธ. ๒๓,๔; ๒๓,๑๕) และคนที่ต้องรับกรรมมากที่สุดในกรณีเช่นนี้ก็คือ คนจนและคนที่น่าสงสารอยู่แล้วทั้งหลาย

          พระเยซูต้องการช่วยให้ทุกคน หลุดพ้นจากการเป็นทาสของกฎบัญญัติทุกชนิด พระเยซูไม่ได้ลบล้างหรือ เปลี่ยนแปลงกฎบัญญัติ แต่พระเยซูวางกฎบัญญัติในที่ที่เหมาะสมกว่า กฎบัญญัติต้องรับใช้คน ไม่ใช่เป็นนายเหนือคน (มก.๒,๒๗-๒๘) ดังนั้นคนเราต้องมีความรับผิดชอบและมีหน้าที่ควบคุมดูแลกฎบัญญัติ ซึ่งเป็นผู้รับใช้ของเรา เพื่อว่ากฎบัญญัติจะได้ทําหน้าที่รับใช้มนุษย์ สนองความต้องการและทําประโยชน์ให้แก่มนุษย์อย่างแท้จริง นี่ไม่ใช่ความหละหลวม ไม่ใช่ความมักง่าย ไม่ใช่การตามใจชอบ พระเยซูสอนให้ใช้กฎบัญญัติด้วยวิจารณญาณเพื่อให้กฎบัญญัติบรรลุจุดหมาย

          ดังนั้นในโครงสร้างทางการเมืองของอาณาจักรพระเจ้าพลังอํานาจ และกฎบัญญัติ จึงมีบทบาทที่จะรับใช้และทําประโยชน์ให้มนุษย์เท่านั้น แม้ว่าบทบาทหน้าที่ดังกล่าวอาจจะจําเป็นต้องจัดวางเป็นรูปร่าง มีผู้ปกครอง มีเจ้าหน้าที่ มีกฎระเบียบฯลฯ เพื่อให้ทําหน้าที่ได้ผลและจริงจัง แต่บทบาทที่จะรับใช้ต้องชัดเจนอยู่ตลอดเวลา และการกดขี่ทุกรูปแบบต้องหมดสิ้นไป  "เราขอบอกท่านว่า ถ้าความชอบธรรม(การถือกฎบัญญัติ)ของท่าน ไม่ดีไปกว่าของพวกคัมภีราจารย์และฟาริสีแล้ว ท่านจะเป็นสมาชิกอาณาจักรพระเจ้าไม่ได้" (มธ.๕,๒๐)

 

คำถาม

1. อำนาจในอาณาจักรพระเจ้าเป็นอย่างไร ?
2. พระเยซูมีทัศนคติเกี่ยวกับกฎบัญญัติอย่างไร ?
3. ทำไมบางคนชอบเป็นทาสของกฎบัญญัติ ?

1. เวลาเป็นเงินเป็นทอง

            พระจิตเจ้าตรัสว่า: ลูกเอ๋ย จงระวังรักษาเวลาเถิด เวลาเป็นสิ่งมีค่าเป็นของประทานอันใหญ่ยิ่งที่พระเป็นเจ้าอาจจะประทานให้แก่มนุษย์ผู้ดำรงอยู่ในโลกนี้ แม้คนนอกพระศาสนา ก็รู้จักคุณค่าของเวลา เช่น ท่านเซเนกา กล่าวว่า “ไม่มีอะไร มีค่าเท่าเวลา” (1) แต่บรรดานักบุญตีราคาค่าของเวลาดีกว่านี้อีกนักบุญแบร์นาร์ดีโนแห่งซีเอนา กล่าวว่า “เวลานาทีหนึ่ง มีค่าเท่ากับพระเป็นเจ้าเพราะว่า ในทุก ๆ นาที มนุษย์อาจใช้รับพระหรรษทาน และสิริมงคลตลอดนิรันดรได้ ด้วยการเป็นทุกข์ถึงบาป หรือด้วยการรักพระเป็นเจ้า” (2)

            เวลาเป็นทรัพย์ที่มีอยู่เฉพาะในชีวิตนี้ แต่ไม่มีในชีวิตหน้า ไม่มีในนรกไม่มีในสวรรค์ ในนรก นักโทษจะคร่ำครวญว่า “โอ้! หากเรามีเวลาอีกล่ะ!” เขาจะยอมเสียทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่จะได้เวลาสักหนึ่งชั่วโมง จะได้แก้ไขความเสียใจ แต่สมมุติว่า ชาวสวรรค์จะเสียใจได้ ท่านคงจะครำครวญ เพราะเมื่ออยู่ในโลกได้เสียเวลา อันอาจจะทำให้ท่านได้รับสิริมงคลยิ่งขึ้น และท่านคงจะเสียดายที่จะหาเวลานั้นต่อไปไม่ได้แล้ว ภคินีคณะนักบุญเบเนดิกโตผู้หนึ่ง หลังแต่ตายไปแล้ว ได้ประจักษ์มาหาบุคคลหนึ่ง กอบด้วยรูปงามรุ่งโรจน์ และกล่าวว่า: ดิฉันมีความสุขอิ่มใจเต็มที่อยู่แล้ว แต่หากดิฉันอาจจะปรารถนาอะไรได้อีก ดิฉันก็ใคร่จะกลับมาอยู่ในโลก สำหรับทนความยากลำบาก เพื่อจะได้รับสิริมงคลยิ่งขึ้นแล้วเธอเสริมว่า: ดิฉันยินดีจะทนความเจ็บไข้ ที่ทำให้ดิฉันตายคราวที่แล้ว ดังนี้เรื่อยไปจนถึงวันพิพากษา เพื่อจะได้รับสิริมงคลเท่า ๆ กับบุญกุศลของการสวดวันทามารีอาบทเดียวเท่านั้น

            พี่น้อง แล้วท่านหละ ท่านได้ใช้เวลาในการทำอะไร? เหตุไร สิ่งที่ท่านทำได้ในวันนี้ ท่านกลับผลัดไว้พรุ่งนี้เสียเรื่อย? จงคิดเถิดว่าเวลาที่ล่วงไปแล้วมันไม่เป็นของของท่านอีกต่อไป เวลาข้างหน้า ก็ไม่อยู่ในกำมือของท่าน ท่านมีแต่เวลาปัจจุบัน เพื่อจะสร้างความดี นักบุญแบร์นาร์โด เตือนว่า “คนอาภัพเอ๋ยทำไม เจ้าบังอาจหวังในเวลาข้างหน้า เหมือนว่า พระเป็นเจ้าทรงมอบเวลาไว้ในอุ้งมือของเจ้า กระนั้นหรือ” (3)ส่วนนีกบุญเอากุสติน กำชับว่า “อะไรกัน ทำไมเจ้าจึงสัญญากับตนเองว่า จะมีวันพรุ่งนี้ ในเมื่อเจ้าจะมีชีวิตต่อไปอีกหนึ่งชั่วโมงหรือไม่เจ้าก็ไม่รู้” (4) ฉะนั้น นักบุญเทเรซาจึงลงความเห็นว่า “หากในวันนี้เจ้าไม่พร้อมจะตาย ก็ให้กลัวไว้เถอะว่าเจ้าจะตายร้าย”

            ข้อเตือนใจและคำภาวนา

           ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ขอขอบพระคุณที่ได้ทรงโปรดให้ข้าพเจ้า มีเวลาจะแก้ไขความยุ่งเหยิงในชีวิตที่ล่วงแล้ว หากข้าพเจ้าจะต้องตายในขณะนี้ สิ่งที่จะทำให้ข้าพเจ้าเสียใจมาก ก็คือ การคิดถึงเวลาที่ได้เสียไป อา! พระสวามีเจ้าข้าพระองค์ได้ทรงประทานเวลา เพื่อให้ข้าพเจ้าใช้รักพระองค์ แต่ข้าพเจ้ากลับนำมาใช้ทำชอกช้ำน้ำพระทัย! สมควรแล้วที่พระองค์จะทรงขับไล่ข้าพเจ้าไปสู่นรกตั้งแต่วินาทีแรกที่ข้าพเจ้าหันหลังให้พระองค์ แต่พระองค์ได้ทรงเมตตาเรียกร้องข้าพเจ้าให้กลับใจ และได้ทรงอภัยบาปให้ข้าพเจ้า! ข้าพเจ้าได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ทำเคืองพระทัยอีกต่อไป แต่แล้วกี่ครั้งกี่หน ข้าพเจ้าได้กลับมาดูหมิ่นพระองค์อีก พระองค์ก็ได้ทรงอภัยบาปให้อีก ขอถวายพระพรแด่ความเมตตากรุณาของพระองค์ตลอดชั่วนิรันดร! หากความเมตตากรุณาของพระองค์มีขอบเขตแล้วที่ไหนจะทนข้าพเจ้าได้จนถึงเพียงนี้? ก็ใครเล่าได้เพียรทนข้าพเจ้าเท่าเสมอพระองค์? ข้าพเจ้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ทำขัดเคืองพระทัยพระองค์ พระเป็นเจ้าผู้ทรงพระทัยดีต่อข้าพเจ้าถึงปานนี้ ข้าแต่พระมหาไถ่ที่สุดเสน่หา ความเยรทนของพระองค์อย่างเดียวเท่านั้น ก็น่าจะเร่งเร้าให้ข้าพเจ้ารักพระองค์แล้ว โปรดเถิดขออย่าทรงปล่อยให้ข้าพเจ้าเนรคุณต่อความรักของพระองค์สืบไป โปรดตัดใจข้าพเจ้าออกหากจากสิ่งสารพัด โปรดดึงดูดข้าพเจ้าให้หันมารักพระองค์ผู้เดียวไม่เอาแล้ว! ข้าพเจ้าจะไม่ยอมเสียเวลาที่พระองค์ทรงประทานให้เพื่อแก้ไขความชั่วแต่หนหลัง แต่ตั้งใจจะใช้เวลานั้นทั้งหมด เพื่อปรนนิบัติและเพื่อรักพระองค์โปรดประทานพละกำลังและความคงเจริญในความดีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด องค์คุณงามความดีที่ล้นพ้นเจ้าข้า ข้าพเจ้ารักพระองค์และหวังจะรักพระองค์ตลอดนิรันดร พระเจ้าข้า

            ข้าแต่พระแม่มารีอา ขอขอบคุณพระแม่ ที่ข้าพเจ้ามีเวลาในบัดนี้ ก็เพราะท่านช่วยเสนอวิงวอนให้นั่นเอง โปรดช่วยข้าพเจ้า ณ บัดนี้ด้วยเถิด ให้ข้าพเจ้าใช้เวลาทั้งหมดเพื่อรักพระบุตรของทาน และพระมหาไถ่ของข้าพเจ้า และเพื่อรักท่านเองด้วยเถิด โอ้! พระบรมราชินีและพระแม่เจ้าของข้าพเจ้า


2. ความรับผิดชอบในการเสียเวลา

            นักบุญเบอร์นาร์ด กล่าวว่า “ไม่มีอะไรประเสริฐกว่าเวลา แต่ก็ไม่มีอะไรที่คนชาวโลกถือว่าเลวกว่าเวลา และประมาทยิ่งกว่าเวลา” (5) ท่านเสริมต่อไปว่า “วันที่จะทำให้ตนรอด ได้ล่วงไปแล้ว แต่ก็ไม่มีใครคิดใคร่ครวญดูว่าวัน ๆ นั้น สำหรับเขามันหมดไปแล้วและจะไม่กลับมาอีก” (6) ดูนักกีฬาคนนั้นซิ เขาเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ทั้งวันทั้งคืน ถ้าจะถามเขาว่า ทำอะไรกันนั่น? เขาจะตอบว่า “พวกเราฆ่าเวลา” ดูนักเที่ยวคนดน้นซี เขายืนอยู่กลางถนนเป็นชั่วโมง ๆ เหม่อดูผู้สัญจรไปมา คุยเรื่องเหลวไหล หรือไร้สาระ ถ้าจะถามเขาว่า: กำลังทำอะไร? เขาจะตอบว่า ฆ่าเวลาไปอย่างนั้นเอง!” อนิจจาคนตามืดบอด มาเสียเวลาเช่นนี้ เวลามันไม่กลับมาอีกหรอกนะ!

            โอ้! เวลาเอ๋ยเวลา! เจ้าเป็นที่หมิ่นประมาท แต่เมื่อถึงคราวตายชาวโลกจะปรารถนาอยากได้เจ้า ยิ่งกว่าอะไรอื่นทั้งหมด ขณะนั้นเขาอยากจะได้เวลาสักหนึ่งปี หนึ่งเดือน หนึ่งวัน แต่จะไม่ได้ เขาจะได้ยินแต่คำว่า “หมดเวลาเสียแล้ว” (วว. 10, 6) เมื่อนั้น เขาจะยอมเสียเท่าไรเสียไป ขอแต่ให้ต่อเวลาอีกสักหนึ่งสัปดาห์ หนึ่งวัน เพื่อจะได้จัดมโนธรรมของข้าพเจ้าให้เข้าระเบียบ! นักบุญเลาเรนซีโอยูสตีนีอาโน กล่าวว่า “เขาจะยอมเสียสมบัติพัสถานของเขาทั้งหมดทีเดียวเพื่อจะได้เวลาอย่างน้อยสักชั่วโมง” (7) แต่ชั่วโมงน้อย ๆ ของเขาจะไม่มีพระสงฆ์ผู้มาช่วยเหลือ จะร้องบากเขาว่า: เร็วเข้า! ออกจากโลกไปเถิด หมดเวลาเสียแล้ว (8)

            ฉะนั้น บรรดา ประกาศกจึงเตือนให้เราระลึกถึงพระเป็นเจ้า และให้เราดำรงอยู่ในพระหรรษทานของพระองค์ก่อนที่จะหมดแสงสว่าง (9) คนเดินทางที่มารู้ตัวว่าหลงทางก็เพราะเวลาค่ำ เมื่อไม่มีเวลาจะแก้มือเสียแล้ว เขาจะรู้สึกเจ็บใจเพียงไร? ก็ผู้ที่อยู่ในโลกเป็นเวลาหลายปี แต่มิได้ใช้เวลาเพื่อพระเป็นเจ้าเมื่อคราวจะตายจะรู้สึกเจ็บใจดังนั้นแหละ “ตกกลางคืน ไม่มีใครทำงานได้” (ยน. 9, 4) ความตายจะเป็นเวลากลางคืนสำหรับเขา เมื่อนั้น เขาจะทำอะไรไม่ได้ต่อไป “พระองค์ได้ทรงยกเอาเวลามาตั้งเป็นข้อค้านแก่ข้าพเจ้า”        (เธรน. 1, 15) เมื่อนั้นมโนธรรมจะปลุกให้เขาหวนระลึกถึงเวลาที่เขาได้มี และได้ใช้เพื่อทำความพินาศแก่วิญญาณของตน ให้หวนระลึกถึงคำตักเตือนและพระหรรษทานที่พระเป็นเจ้าได้ทรงประทานให้ เพื่อบำเพ็ญตนเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ แต่เขามิได้สมัครใจใช้ให้เป็นประโยชน์ และแล้วเขาจะเห็นว่า ตนหมดทางจะสร้างความดีเสียแล้วเขาจึงจะคร่ำครวญว่า “ฉันนี้บ้าเสียจริง ๆ โอ้! เวลาที่ได้เสียเปล่าไป โอ้! ชีวิตที่ได้เสียเปล่าไป โอ้! ปีที่ได้เสียเปล่าไป ฉันอาจจะให้ทำตนให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ได้แต่ฉันมิได้กระทำ แต่บัดนี้ ก็หมดเวลาจะกระทำเสียแล้ว!” การร้องคร่ำครวญและการทอดถอนใจเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์อันใดเล่า ในเมื่อละครจวนจะลาโรงตะเกียงจวนจะดับ คนป่วยกำลังประชิดกับวินาทีสุดท้าย อันมีนิรันดรภาพเป็นหางพ่วงตามมา!

         ข้อเตือนใจและคำภาวนา

            พระเยซูเจ้าข้า พระองค์ได้ทรงใช้ตลอดทั้งพระชนม์ชีพ เพื่อช่วยให้ข้าพเจ้ารอด ตลอดทั้งพระชนมายุ ไม่มีเวลาสักวินาทีเดียวเลย ที่พระองค์มิได้ทรงถวายแด่พระบิดา เพื่อขอให้ข้าพเจ้าพ้นโทษานุโทษ และให้ข้าพเจ้าได้ความรอดตลอดนิรันดร ส่วนข้าพเจ้าเล่า ได้อยู่ในโลกหลายปีแล้ว จนถึงบัดนี้ ได้ใช้เวลากี่ปีเพื่อพระองค์? อนิจจา! เท่าที่ข้าพเจ้าระลึกได้ มันล้วนแต่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในมโนธรรมของข้าพเจ้า ความชั่วมีมาก ความดีมีน้อยเหลือเกิน มิหนำซ้ำ ยังปนเจือไปด้วยความบกพร่อง ความเฉื่อยชา ความเห็นแก่ตัว การวักแวก อา! พระหาไถ่เจ้าข้า ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ข้าพเจ้ามิได้ระลึกถึง พระกรณียกิจที่พระองค์ได้ทรงกระทำเพื่อข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ลืมพระองค์ แต่พระองค์มิได้ทรงลืมข้าพเจ้า พระองค์ได้เสด็จตามหาข้าพเจ้า แม้เมื่อข้าพเจ้ากำลังถอยหนี ทั้งได้ทรงเรียกร้องให้ข้าพเจ้ามารักพระองค์ ก็หลายครั้งหลายคราวแล้ว พระเยซูเจ้าข้าบัดนี้ ข้าพเจ้าไม่ยอมต่อสู้กับพระองค์ต่อไปแล้ว อะไรกัน! ข้าพเจ้าใคร่จะคอยให้พระองค์ทรงละทิ้งข้าพเจ้าอย่างเด็ดขาดทีเดียวหรือนี่? องค์คุณงามความดีที่ล้นพ้นเจ้าข้า ข้าพเจ้าเสียใจในการพรากจากพระองค์เพราะได้ทำบาป ข้าพเจ้ารักพระองค์ พระผู้ทรงพระทัยดีปราศจากขอบเขต และผู้ที่น่ารักอย่างปราศจากขอบเขตพระเจ้าข้า โปรดเถิด โปรดอย่าปล่อยให้ข้าพเจ้าเสียเวลาที่ทรงพระกรุณาประทานให้อยู่นี้! ข้าแต่พระมหาไถ่ที่สุดเสน่หา โปรดให้ข้าพเจ้าระลึกถึงความรักของพระองค์ที่ทรงมีต่อข้าพเจ้า และความทุกข์ยากของพระองค์เพื่อข้าพเจ้า และให้ข้าพเจ้าจำใส่ใจไว้เสมอเถิด พระเจ้าข้า โปรดให้ข้าพเจ้าลืมทุกสิ่ง เพื่อคิคแต่จะรักจะทำความพอใจแด่พระองค์อย่างเดียวเท่านั้น ตลอดชีวิตที่ข้าพเจ้ายังมีอยู่นี้ พระเยซูเจ้าข้า ข้าพเจ้ารักพระองค์ องค์ความรักของข้าพเจ้า สารพัดของข้าพเจ้า ขอสัญญาต่อพระองค์ว่า ข้าพเจ้าจะไม่ลืมแสดงความรักต่อพระองค์บ่อย ๆ โปรดประทานพระหรรษทานให้ข้าพเจ้าคงเจริญในความดีเถิด ข้าพเจ้าไง้ใจจะได้ทุกสิ่งดังวิงวอนขอนี้ ด้วยเดชะพระบารมีแห่งพระโลหิตของพระองค์ พระเจ้าข้า

            พระนางมารีอา พระแม่ที่รักเจ้าข้า ข้าพเจ้าวางใจในคำเสนอวิงวอนของท่าน


3. พึงใช้เวลาอย่างไร?

            ชาวเราต้อง “เดินตามพระสวามีเจ้า ในขณะที่มีชีวิตอยู่ และมีแสงสว่าง” (ยน. 12, 35) เหตุว่า เมื่อตายแสงสว่างก็หมดไป เวลาตายหาใช่เป็นเวลาสำหรับจะเตรียมตัว แต่เป็นเวลาที่ต้องเสรียมพร้อมอยู่แล้ว (10) เมื่อตายแล้วจะทำอะไรไม่ได้ต่อไป อะไรแล้ว ก็แล้ว โอ้! ถ้าใครทราบว่าในไม่ช้าตนจะต้องสู้คดีอันเป็นเรื่องถึงแก่ชีวิต และเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนทั้งหมด เขาคงจะรีบร้อน เร่งไปหาทนายความชั้นที่หนึ่ง และพยายามหาทางอธิบายให้อัยการเข้าใจเรื่องราวมิใช่หรือ? แล้วเรามัวทำอะไรอยู่เล่า? เราก็รู้แน่อยู่แล้วว่าในไม่ช้า (และจะเป็นเวลาใด ก็ได้) เราจะต้องสู้คดี คดีอันมีสาระสำคัญยิ่งเกี่ยวกับความรอดตลอดนิรันดรและเรายังมาเสียเวลาอยู่อีกหรือ?

            บางคนจะบอกว่า: ฉันยังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ เอาไว้คราวหลัง ค่อยคิดถวายตัวแด่พระเป็นเจ้าเถอะ ขอตอบว่า: ท่านจงตระหนักไว้เถิดว่า พระสวามีเจ้าได้ทรงแช่งต้นมะเดื่อซึ่งไม่ทรงพบผล แม้ในขณะที่ พระวรสารหมายเหตุไว้ว่าไม่ใช่เป็นฤดูต้นมะเดื่อผลิตผล (มก. 11, 13) ทั้งนี้เพราะพระเยซูคริสต์ทรงใคร่จะสอนเราว่า: มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด ๆ แม้ยังเป็นหนุ่มเป็นสาว ก็จำต้องมีผลคือทำความดีไว้เสมอมิฉะนั้นจะถูกสาปแช่ง และจะไม่มีผลสืบไปในภายหน้าพระมหาไถ่ได้ทรงแช่งต้นมะเดื่อว่า “ไม่มีใครจะได้กินผลจากเจ้าต่อไป” พระองค์ก็จะทรงสาปแล่ง บุคคลที่พระองค์ทรงตักเตือนแต่ไม่ยอมเชื่อฟังเช่นเดียวนี้เหมือนกันแปลกแท้ ๆ เวลาทั้งชั่วชีวิตของเรา ปีศาจถือว่าสั้น มันจึงไม่ละโอกาสที่จะมาประจญเราทุกเมื่อ “ปีศาจลงมาหาท่าน มันโกรธมาก เพราะมันรู้ว่ามีเวลาน้อย” (วว. 12, 12) ดูเถอะ! มันไม่เสียเวลา ในการจะทำให้เราพินาศ ส่วนเราจะมาเสียเวลาในการช่วยให้ตนรอดอยู่หรือ?

                แต่บางคนจะพูดว่า: ฉันไม่เห็นได้ทำอะไรชั่ว?-แล้วกัน การเสียเวลาในการเล่น การสนทนาอันไร้สาระ ซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่วิญญาณสักนิด ไม่ใช่เป็นการชั่วดอกหรือ? พระเป็นเจ้าได้ทรงประทานเวลาแก่ท่าน เพื่อจะให้ท่านใช้เปลืองไปเปล่า ๆ อย่างนั้นหรือ?-หามิได้ เหตุว่าพระจิตเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “วันเวลาเป็นของดี เจ้าอย่าเสียไปเลย และของประทานอันดีแม้ชิ้นเล็กชิ้นน้อย เจ้าอย่าเสียไปเปล่าเลย” (บสร. 14, 14) พวกกรรมกรที่นักบุญมัทธิวกล่าวถึง เขาก็มิได้ทำชั่วอะไร มีแต่เสียเวลาเท่านั้น แต่ก็ถูกเจ้าของสวนองุ่นตำหนิว่า “ทำไมพวกท่านอยู่เปล่าทั้งวัน?” (มธ. 20, 6) ณ วันพิพากษาพระเยซูคริสต์จะทรงไต่สวนเรา ด้วยคำพูดทำคำที่ไร้ประโยชน์ เวลาทั้งหมดที่เรามิได้ใช้เพื่อพระเป็นเจ้า ก็ต้องนับว่าเป็นเวลาที่เสียไปเปล่าทั้งนั้น (1)ฉะนั้นพระสวมีเจ้าจึงทรงเตือนว่า “สิ่งใด ๆ ที่เจ้าทำได้ ก็จงเร่งทำเสีย เพราะว่า ในแดนความตาย ซึ่งเจ้ากำบังรุดหน้าไปสู่นั้นจะทำงาน จะคิด จะดำริ จะหาความรู้ไม่ได้แล้ว” (ปญจ. 9, 10) ท่านอธิการิณียออันนา แห่งพระเตรีเอกภาพภคินี แห่งพระตรีเอกภาพภคินีคณะนักบุญเทเรซา เคยพูดว่า ในประวัติของบรรดานักบุญ ไม่มีคำว่า “วันหลัง” แต่คำกว่า “วันหลังนี้ มีอยู่เฉพาะในประวัตของพวกคนบาป” ซึ่งมักพูดเสมอว่า “คอยอีกหน่อยน่ะ” แล้วเขาก็ถึงแก่ความตายพร้อมกับคำว่า “คอยอีกหน่อยน่ะ” “เวลานี้เป็นเวลาเหมาะ” (2 คร. 6, 2) “วัน ๆ นี้ หากท่านได้ยินพระสุรเสียงของพระองค์แล้ว อย่าทำใจกระด้างกระเดื่องไปเลย” (สดด. 94, 8) พระเป็นเจ้าทรงเชื้อเชิญท่าน ให้ทำการดีในวันนี้ ก็จงทำในวันนี้เถิด เหตุว่าอาจเป็นไปได้ ในวันพรุ่งนี้ ท่านจะไม่มีเวลาเสียแล้ว หรือ พระเป็นเจ้าจะไม่ทรงเชื้อเชิญท่านแล้ว

            หากในครั้งก่อน ท่านมีกรรม ได้ใช้เวลาทำเคืองพระทัยของพระเป็นเจ้าท่านจงพยายามแก้ไขความผิด ในชีวิตช่วงที่ยังเหลืออยู่เถิด จงทำอย่างกษัตริย์เอ เซกีอาส ทูลพระเป็นเจ้าว่า “ข้าพเจ้าจะคิดบททวนชีวิตทั้งชีวิตของข้าพเจ้าเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ ด้วยความตรมตรอมใจ” (อสย. 38, 15) ที่พระเป็นเจ้าทรงต่อชีวิตให้ท่าน ก็เพื่อให้ท่านทำการแก้ไขเวลาที่เสียไปนั่นเอง “ท่านต้องไถ่เวลานั้นคืนมา เพราะว่า เวลาที่ล่วงไปแล้วนั้น มันไม่ดี” (อฟ. 5, 16) ณ ที่นี้นักบุญอัลแซมโม อธิบายว่า “เวลาที่ได้เสียไป จะไถ่คืนมาได้ก็ด้วยกระทำสิ่งที่ได้ละเลย” (12) นักบุญฮีเอโรนีโมพูดถึงนักบุญเปาโล ท่านกล่าวว่า “ถ้าพูดตามลำดับนักบุญเปาโลเป็นอัครสาวกองค์สุดท้าย แต่ถ้าพูดตามส่วนบุญกุศล ท่านคืออัครสาวกองค์ที่ต้น ทั้งนี้เพราะการงานจำนานมากที่ท่านได้กระทำ หลังแต่ได้รับพระกระแสเรียกแล้ว” (13) เอาเถิด! แม้จะไม่มีเหตุผลอย่างอื่น ขอเพียงให้ชาวเราคิดว่า เวลาทุกๆ วินาทีอาจจะเพิ่มความสุขตลอดนิรันดรแก่ชาวเราได้ สมมุติว่า ท่านเดินรอบที่ดินได้เท่าไรในวันหนึ่ง ท่านก็จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น หรือท่านนับเงินได้เท่าไรในวันหนึ่ง ท่านก็จะได้เงินเท่านั้น ก็ท่านจะเร่งวิ่ง เร่งนับเงินเพียงไรเล่า? ความจริง ท่านก็อาจหาได้ขุมทรัพย์ตลอดนิรันดรในทุกๆ วินาทีแล้วเหตุใด ท่านจึงเสียเวลาเปล่า ๆ เล่า? สิ่งที่ท่านทำได้ในวันนี้ จงอย่าพูดว่าพรุ่งนี้ค่อยทำก็ได้ เหตูว่า วันนี้มันจะหมดไปสำหรับท่าน แล้วจะไม่กลับมาอีกนักบุญฟรันซีส บอร์ซีอา ขณะกำลังสนทนา เมื่อใครพูดถึงเรื่องโลก ท่านก็ยกใจของท่านขึ้นหาพระเป็นเจ้า แสดงความรู้สึกต่าง ๆ ของท่านต่อพระองค์ ต่อมาเมื่อเขาถามความเห็นของท่าน ท่านก็ไม่รู้จะตอบอย่างไร เพราะเรื่องเช่นนี้เอง วันหนึ่งท่านถูกตำหนิ แต่ท่านก็ตอบว่า “ข้าพเจ้ายินดีให้เขาถือว่า เป็นคนโง่ ดีกว่าจะเสียเวลา” (14)

          ข้อเตือนใจและคำภาวนา

            ไม่เป็นอันขาด พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าจะไม่ยอมเสียเวลาที่พระองค์ทรงประทานให้อีกแล้ว ขณะนี้ ควรที่ข้าพเจ้าจะต้องร้องไห้อยู่ในนรก เพราะการเสียเวลานั้นขอขอบพระคุณที่ได้ทรงไว้ชีวิตข้าพเจ้า ต่อไปนี้ข้าพเจ้าใคร่จะใช้เวลาเฉพาะเพื่อพระองค์ หากขณะนี้ข้าพเจ้าอยู่ในนรก ข้าพเจ้าก็มีแต่จะร้องไห้ เช่น คนเสียใจ และก็เปล่าประโยชน์ทั้งสิ้น แต่ ณ บัดนี้ ข้าพเจ้าขอร้องไห้ เพราะได้ทำเคืองพระทัย และโดยอาศัยการร้องไห้นี้ ข้าพเจ้ามั่นใจว่า พระองค์จะทรงพระกรุณายกโทษบาปให้ด้วยว่า ท่านบรรดาประกาศกได้ยืนยันรับรองแก่ข้าพเจ้าว่า “เจ้าร้องไห้ในวลานี้ แล้วเจ้าจะไม่ร้องไห้อีกเลย พระผู้ทรงพระกรุณาจะทรงกรุณาต่อเจ้า” (15)โอ้! หากข้าพเจ้าอยู่ในนรก ก็จะรักพระองค์ไม่ได้ต่อไปแล้ว แต่ ณ บัดนี้ ข้าพเจ้ารักพระองค์ และหวังจะได้รักพระองค์เป็นนิจอัตรา หากข้าพเจ้าอยู่ในนรก ก็จะขอพระหรรษทานไม่ได้แล้ว แต่บัดนี้ ข้าพเจ้าได้ยินพระสุรเสียงของพระองค์ว่า “จงขอเถิด แล้วเจ้าจะได้รับ” (16) โอ! ข้าพเจ้ายังมีเวลาขอพระคุณจากพระองค์ ข้าพเจ้าจึงวิงวอนขอพระหรรษทาน 2 ประการคือ ความคงเจริญในพระหรรษทาน และความรักต่อพระองค์ นอกนั้นพระองค์จะทรงทำอย่างไรต่อข้าพเจ้า ก็สุดแล้วแต่จะทรงโปรดเถิด พระเจ้าข้า พระเยซูเจ้าข้า ในชีวิตที่ข้าพเจ้ายังมีเหลืออยู่นี้ทุกขณะ ขอโปรดให้ข้าพเจ้าเฝ้าฝากฝังตนไว้แด่พระองค์โดยกราบทูลว่า: “พระสวามีเจ้าข้า โปรดช่วยข้าพเจ้าด้วย ทรงพระเมตตาต่อข้าพเจ้าด้วย พระเจ้าข้า อย่าทรงปล่อยให้ข้าพเจ้าทำเคืองพระทัยอีกเลย พระเจ้าข้า โปรดให้ข้าพเจ้ารักพระองค์เถิด พระเจ้าข้า”

            โอ้! พระนางมารีผู้ศักดิ์สิทธิ์บริสุทธิ์ พระแม่ของข้าพเจ้าโปรดเสนอขอพระหรรษทาน ให้ข้าพเจ้าฝากตัวไว้กับพระเป็นเจ้า และให้ข้าพเจ้าเฝ้าวิงวอนขอความคงเจริญในความดี และขอความรักอันศักดิ์สิทธิ์ต่อพระองค์เสมอ ๆ เถิด

(1) Nullum temporis pretium.

(2) Modico tempore potest homo lucrari gratiam et gloriam. Tempus tantum valet,quantum Deus, quipped

      in tempore bene consumpto comparator Deus. (S. Bern. Sen. fer. 4 post. Dom. I Quadr. c. 4).

(3) Quid de futuro, miser praesumis, tamquam Pater tempora im tua posuerit potestate? (De cont. mundi

      (c. 16).

(4) Diem tenes, qui horam non tenes?

(5) Nihil pretiosius tempore, sed nihil vilus aestimatur. (De cont. mundi c. 16).

(6) Transeunt dies salutis,et nemo recogitat sibi perire diem, et numquam rediturum.

(7) Erogaret opes, honores, delicias pro una horula. (De vita sol. c. 10).

(8) Proficiscere, anima Christiana, de hoc mundo.

(9) Memento Creatoris tui, antequam tenebrescat sol et lumen (Eccl. 12, 1-2).

(10) Estote parati (Lc. 12, 40).

(11) Omne tempus, quo de Deo non cogitasti, cogita te perdidisse. (s. Bern. Cell. c. 8)

(12) Tempus redimes, si quae facere neglexisti, facies.

(13) Paulus novissimus in ordine, primus in meritis, quia plus omnibus laboravit.

(14) Malo rudis vocari, quam temporis jacturam pati.

(15) Plorans nequaquam plorabis, miserans miserabitur tui. (Is. 30, 19).

(16) Petite, et accipietis. (Jh. 16, 24).

โรงเรียนคาทอลิกเป็นการแพร่ธรรมของพระศาสนจักร เป็นหัวข้อที่ได้รับการถกเถียงกันมาโดยเฉพาะในระหว่างสภาพระสังฆราชแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา โดยหลักการแบ่งแยกระหว่างรัฐกับพระศาสนจักรอย่างชัดเจน ตามหลักกาลปกครองรัฐ พระศาสนจักรที่อเมริกาทำงานอยู่ในบรรยกาศของการต่อต้านพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดทางรัฐฝั่งประเทศยุโรป แต่พระศาสนจักรที่อเมริกายังคงทำงานกับผู้อพยพชาวไอริชและชนกลุ่มน้อยต่างๆ ในศตวรรษที่ 19 นี้การสร้างโรงเรียนคาทอลิกจึงมีความจำเป็นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการอภิบาลและแพร่ธรรมต่อศัทธาชน

เราจึงทำความเข้าใจได้ไม่ยากว่า ในช่วงศตวรรษที่ 19-20 นี้พระศาสนจักรที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีความจำเป็นที่จะต้องปกป้องความเชื่อและคำสอนทางศีลธรรมสำหรับศาสนิกชน ในปี ค.ศ. 1829 มีการตั้งสังฆมณฑลบัลติมอล ให้เป็นสังฆมณฑลหลัก (metropolitan) และสภาพระสังฆราชได้ถูกตั้งขึ้นใหม่ บรรดาผู้ปกครองพระศาสนจักรจึงต้องใส่ใจต่อวิกฤตกาลการต่อต้านศาสนา โดยเน้นเรื่องการศึกษาคาทอลิกให้เป็นรูปธรรมว่า “จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่เราต้องตั้งโรงเรียนคาทอลิกขึ้นมา เพื่อเราจะได้สอนบรรดายุวชนหลักการความเชื่อและศีลธรรม” ในช่วงนี้เองได้มีการจัดพิมพ์หนังสือต่างๆอย่างมากมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคาทอลิก

ทางพระสังฆราชผู้ปกครองศาสนจักรยังเน้นย้ำถึงหน้าที่ของบรรดาผู้ปกครองให้ปกปักษ์รักษาความเชื่อและศีลธรรมคาทอลิก และนโยบายนี้ก็เป็นที่ขุ่นเคืองต่อชาวคริสต์คนอื่นๆที่ไม่ใช่คาทอลิกเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ในปี 1844 สภาพระสังฆราชได้ออกประกาศให้ใช้พระคัมภีร์เวอร์ชั่นคาทอลิกตามโรงเรียนต่างๆ ในฟิลาเดเฟีย จนทำให้การการประท้วงใหญ่และความรุนแรงประทุขึ้น ปัจจัยอย่างหนึ่งคือเรื่องของผู้อพยพชาวไอริชที่ทะลักเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างมากในขณะนั้น เพื่อพวกเขาได้เข้าไปเรียนในโรงเรียนคาทอลิก ทำให้คนอื่นๆมองว่าโรงเรียนคาทอลิกไม่เป็นแบบชาวอเมริกันแท้ๆ เป็นโรงเรียนที่ทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างอเมริกันชน ในการประชุมสมัชชาพระสังฆราชแห่งบัลติมอลครั้งที่ 1 ในปี 1852 ได้ย้ำเตือนหน้าที่ของผู้พ่อแม่เด็กว่า พวกเขาเป็น “ผู้แทนของพระเจ้า” ที่จะคอยดูแลสอดส่องความเชื่อและศีลธรรมของลูกๆ ของตน เพื่อพวกเขาจะได้ไม่หลงผิดไป ตามคำสอนของทฤษฎีผิดๆ กลายเป็นคนไม่มีศาสนา บรรดาพระสังฆราชยังคงออกเอกสารอื่นๆอีกเพื่อย้ำเตือนและประการจุดยืนของพระศาสนจักรในเรื่องนี้ว่า ควรหลีกเลี่ยงที่จะส่งบรรดาเด็กๆไปเรียนโรงเรียนอื่นๆที่ไม่ใช่คาทอลิก และให้พวกเขาคอยสนับสนุนโรงเรียนคาทอลิกให้มากยิ่งๆขึ้น

ในระหว่างสมัชชาของสภาพระสังฆราชแห่งบัลติมอลครั้งที่ 3 ในปี 1884 พระศาสนจักรตกอยู่ท่ามกลางกระแสแรงกดดันที่กล่าวหาว่าโรงเรียนคาทอลิกไม่เป็นไปตาม “โรงเรียนแห่งชาติ” และ “ไม่เป็นแบบอเมริกัน” ทางสมาชิกสภาสหรัฐได้มีความพยายามที่จะตัดงบประมาณโรงเรียนคาทอลิก โดยเฉพาะโรงเรียนของวัด (parish school) และโรงเรียนเอกชนต่างๆ ในปี 1883 พระอัครสังฆราชแห่งบัลติมอล เจมส์ กิบบอน ท่านได้ตอบโต้โดยอ้างถึงอนาคตของชาวคาทอลิกในประเทศสหรัฐอเมริกาว่า “พระศาสนจักรที่อเมริกจะดีหรือล้มได้ ก็เพราะโรงเรียนคาทอลิกนี้” ท่านยังได้กล่าวถึงเหตุและผลการตั้งโรงเรียนคาทอลิกว่า “เพื่อความดีของส่วนรวม” (common good) และเพื่อความดีงามของประเทศชาติ โรงเรียนของรัฐหลายๆโรงมีความบกพร่องและบางทีมีระบบการเรียนการสอนที่ชั่วร้าย นำพาซึ่งปัญหาสังคมและอาชญากรรมในอนาคต

ยิ่งไปกว่านั้น บรรดาผู้ปกครองของพระศาสนจักรคาทอลิกยังให้วิสัยทรรศน์ถึง “การศึกษาที่แท้จริง” (true education) ว่ามีสิ่งค้ำจุนอยู่ 3 ประการคือ “บ้าน วัด และโรงเรียน” ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดที่ว่า โรงเรียนต้องเน้นทางโลกแต่อย่างเดียว (secular school) และตัดขาดมิติทางศาสนา เพราะโรงเรียนไม่ใช่แค่ธุรกิจทำงาน หากแต่ต้องรักษาความจริงและศีลธรรมให้กับผู้คน สอนศาสนาให้กับบรรดายุวชน ดังนั้นพระศาสนจักรต้องตั้งโรงเรียนคาทอลิกขึ้นเพื่อการนี้ แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่ว่าครอบครัวคาทอลิกทุกครอบครัวจะสามารถส่งบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนคาทอลิกได้ ทางสภาพระสังฆราชถึงได้ออกคำแถลงการณ์เพื่อผ่อนผันดังนี้

  “บรรดาผู้ปกครองคาทอลิกมีข้อผู้มัดที่จะต้องส่งบุตรของตนไปเรียนในโรงเรียนของวัด ยกเว้นว่า บุตรของท่านได้รับการศึกษาทางศาสนาอย่างเพียงพอ เขาได้เรียน (คำสอน) ที่โรงเรียนคาทอลิกหรือเรียนที่บ้านก็ดี หรือถ้ามีเหตุผลอย่างเพียงพอ เขาต้องได้รับการอนุมัติจากพระสังฆราช เพื่อปกป้องและคุ้มกันความเชื่อ เขาจึงสามารถไปเรียนที่โรงเรียนอื่นๆได้ เป็นพระสังฆราชที่จะอนุมัติได้ว่าโรงเรียนใดเป็นโรงเรียนคาทอลิก”

แม้การประกาศอย่างประณีประนอมนี้ จะช่วยแก้ไขปัญญาเรื่องครอบครัวคาทอลิกที่ไม่สามารถส่งบุตรหลานไปเรียนที่โรงเรียนคาทอลิกได้ แต่สภาพระสังฆราชก็คงดำเนินการเคลื่อนไหวตอบโต้ข้อกำหนดต่างๆทางภาครัฐ ตัวอย่างเช่น มีการออกกฎหมายเบนเน็ทต์ (Brennet Law) ที่วิสคอนซิลในปี 1899 โดยมีข้อบังคับสองประการคือ หนึ่ง ให้ใช้แค่ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนในโรงเรียนต่างๆ สอง บังคับให้ทุกคนเรียนในโรงเรียนที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ พระศาสนจักรท้องถิ่นถึงรณรงค์ต่อต้านกฎหมายฉบับนี้ว่า “ไม่มีความจำเป็น เป็นปฎิปักษ์ และไร้ซึ่งความยุติธรรม” เป็นการจำกัดสิทธิของบรรดาผู้ปกครองชาวคาทอลิก พวกเขายังประกาศอีกว่า “ทางเราไม่เคยได้รับเงินอุดหนุนจากภาครัฐแต่อย่างใด ทำไมต้องมาบังคับพวกเรา”

ที่พระศาสนจักรประเทศไอแลนด์ก็มีเหตุการณ์ที่คล้ายๆกับสหรัฐอเมริกา พวกเขาขอร้องทางภาครัฐให้ช่วยให้เงินสนับสนุนงานด้านโรงเรียนของพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน แต่สภาพระสังฆราชแห่งไอแลนด์ก็ไม่ได้ประนามโรงเรียนอื่นๆที่ไม่ใช่โรงเรียนคาทอลิกแต่อย่างใด ซึ่งทางพระศาสนจักรอเมริกาก็ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ แต่ทางพระศาสนจักรไอแลนด์ก็ตอบโต้ว่า ทางฝั่งโน้นเป็น “อเมริกัน คัลเจอแคมฟ์” (American Kulturkampf) ในปัญหาเกี่ยวกับโรงเรียนคาทอลิก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ พวกเขาดันทุลังสร้างปัญหาเอง

เพื่อไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้นทางโรมก็เริ่มมีการเคลื่อนไหว ในปี 1826 พระสันตะปาปาลีโอที่ 13 ได้ส่งตัวแทนของท่าน คือพระอัครสังฆราชฟรังเซสโก ซาโตลลี (Archbishop Francesco Satolli) มาพบกับบรรดาพระสังฆราชที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อหวังที่จะคลี่คลายความตรึงเครียดที่เกิดขึ้น โดยให้วิสัยทัศน์ว่า พระศาสนจักรควรที่จะดำเนินงานด้านโรงเรียนและพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้น บรรดาผู้ปกครองควรได้รับการสนับสนุนให้ส่งลูกหลานไปเรียนที่โรงเรียนคาทอลิก แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็สามารถไปเรียนโรงเรียนอื่นๆได้ หากความเชื่อและศีลธรรมของพวกเขาไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด พระศสนจักรก็ควรใส่ใจพวกเด็กๆเหล่านั้นเช่นเดียวกับเด็กๆที่เรียนในโรงเรียนคาทอลิกของทางวัด

ดูเหมือนว่าผู้แทนทางโรมจะมีท่าทีประณีประนอมในเรื่องนี้ แต่ลึกๆแล้ว พระสันตะปาปาลีโอที่ 13 เล็งเห็นปัญหาว่าโรงเรียนคาทอลิกยังไม่เพียงพอต่อเด็กในครอบครัวคาทอลิกทุกคน จึงมีความเป็นไปได้ที่ต้องแยกแยะระหว่าง “การศึกษาสาธารณะ” และ “การศึกษาแบบคาทอลิก” สำหรับโรงเรียนคาทอลิกแล้ว ”มีพันธกิจนำพาความรอดของพระศาสนจักร” (salutary direction of the Church) ส่วนที่ตรงข้ามกับความรอดคือ บ่อเกิดของความชั่วร้ายในโลกนี้ ด้วยเหตุนี้บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องใส่ใจต่อเด็กๆว่าพวกเขาได้รับการฝึกฤทธิ์กุศลได้อย่างไรในการศึกษา แม้ทางรัฐและพระศาสนจักรจะแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน คำสอนของพระศาสนจักรยังเป็นสิ่งสำคัญยิ่งไปกว่าการเรียนการสอนศาสตร์อื่นๆ ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติ ในสมณลิขิตในปี 1890 พระสันตะปาปาลีโอที่ 13 ได้ย้ำถึงการศึกษาทุกอย่างให้อยู่ใต้ร่มเงาของคำสอนของพระศาสนาจักรโดยละม่อม

อ้างอิง

Hunt, Thomas C. "Selected Episcopal and Papal Documents on Catholic Education (1792-1962)." In At the Heart of the Church: Selected Documents of Catholic Education, edited by Ronald J. Nuzzi and Thomas C. Hunt United States: Alliance for Catholic Education Press, 2011.

G., Neil, and McCluskey. Catholic Education in America.  New York: Teacher College Press, 1964.

 

พระเยซูประกาศว่ายุคใหม่มาถึงแล้ว อาณาจักรพระเจ้าใกล้เข้ามาแล้ว (มก.๑,๑๕) ยุคใหม่ดังกล่าวนี้ต่างกับยุคของยอห์นแบปติสต์ แม้ว่าช่วงเวลาที่พระเยซูสอนกับช่วงเวลาที่ยอห์นสอนจะคาบกับอยู่บ้างก็ตาม มาร์โกและลูกาผู้เขียนพระวรสาร พยายามที่จะแยกให้เห็นชัด มาร์โกเขียนว่าพระเยซูไปแคว้นกาลิลีและเริ่มเทศน์สอน "หลังจากที่ยอห์นถูกจับแล้ว" (มก.๑,๑๔) สําหรับลูกา เนื่องจากลูกาถือว่าการรับพิธีล้างจากยอห์นเป็นจุดเริ่มงานของพระเยซู ลูกาจึงเล่าเรื่องเกี่ยวกับยอห์นให้หมดก่อน คือเล่าถึงการเทศน์สอนของยอห์น จนถึงยอห์นถูกจับขังคุก แล้วจึงพูดถึงพรเยซูไปรับพิธีล้างจากยอห์น (ลก.๓,๑๙-๒๒)

1. ยุคใหม่

           ความแตกต่างระหว่างยุคของยอห์น กับยุคของพระเยซู แสดงออกมาได้ชัดเจนมากในเรื่องเปรียบเทียบที่ว่า   "คนสมัยนี้เป็นเหมือนเด็กที่ร้องเล่นกันในลานสาธารณะว่า เราเป่าขลุ่ย เจ้าก็ไม่เต้นรํา เราร้องเพลงครํ่าครวญ เจ้าก็ไม่ร้องไห้ เมื่อยอห์นแบปติสต์มาถึง ยอห์นไม่กินปัง ไม่ดื่มเหล้าองุ่น ท่านก็ว่าผีสิง ครั้นเมื่อบุตรแห่งมนุษย์มาถึง  ทั้งกินทั้งดื่ม  ท่านก็ว่า นั่นอย่างไรเล่า  นักกินนักดื่ม เพื่อนของคนเก็บภาษีและคนบาป"(ลก.๗,๓๑-๓๕=มธ.๑๑,๑๖-๑๙) อารมณ์ของยอห์นเปรียบเหมือนเพลงครํ่าครวญในงานศพ  ส่วนอารมณ์ ของพระเยซูเปรียบเหมือนเพลงเต้นรําในงานสมรส พฤติกรรมเด่นของยอห์นคือการอดอาหาร แต่พฤติกรรมเด่นของพระเยซูคือการฉลอง แต่ทั้งสองบทบาทก็ไม่ขัดกัน เพราะสถานการณ์เป็นคนละยุคกัน

            การกลับใจในยุคของยอห์น หมายถึงการอดอาหารทรมานตัว  แต่การกลับใจในยุคของพระเยซู หมายถึงการตอบรับคําเชิญไปงานฉลอง (ลก.๑๔,๑๕-๑๗) หรือการพบขุมทรัพย์หรือไข่มุกลํ้าค่าซึ่งคนที่พบยินดีขายทุกอย่างที่มีเพื่อซื้อสิ่งประเสริฐนั้นไว้ (มธ.๑๓,๔๔-๔๖) ในยุคของยอห์น การอภัยเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นใน  อนาคตถ้ารับพิธีล้าง ในยุคของพระเยซู การอภัยบาปเป็นเรื่องปัจจุบัน และพิธีล้างในแม่นํ้าจอร์แดนไม่ใช่สิ่งจําเป็นอีกต่อไป

            เหล้าองุ่นใหม่จะเอาไปใส่ถุงหนังเก่าไม่ได้ หรือผ้าใหม่จะตัดไปปะผ้าเก่าไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ยุคของพระ  เยซูเป็นยุคใหม่ที่จะเอาไปเข้ากับแนวปฏิบัติเดิมไม่ได้ ยุคของยอห์นผ่านพ้นไปแล้ว

            ยุคของยอห์นแบปติสต์ กับยุคของพระเยซูต่างกันมาก ทั้งนี้เพราะแต่ละยุคถูกกําหนดโดยเหตุการณ์อนาคตที่แตกต่างกัน   เหตุการณ์เด่นที่มีอิทธิพลต่อยุคของยอห์นคือ "พระเจ้าปกครองและชําระความ" (judgement) ซึ่งยอห์นให้ความสําคัญมาก   ส่วนเหตุการณ์เด่นที่มีอิทธิพลต่อยุคของพระเยซูคือ "ความรอดพ้นที่พระเจ้านํามาให้" (salvation)   ยอห์นใช้เรื่องภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น มาเป็นหลักในการเทศน์สอน แต่พระเยซูใช้เรื่อง  อาณาจักรพระเจ้ามาเป็นหลัก ยอห์นเป็นประกาศกแห่งความหายนะ แต่พระเยซูเป็นประกาศกแห่งข่าวดี

            เหตุการณ์หรือสัญญาณหลายอย่าง  ( พระเยซูเรียกว่า "สัญญาณแห่งกาลเวลา" )  ทําให้พระเยซูมั่นใจว่า อาณาจักรพระเจ้ากําลังจะมาถึงแล้ว   สัญญาณนั้นก็คือ ความสําเร็จในการทํางานกับคนจนและคนถูกกดขี่ "ถ้าข้าพเจ้าสามารถขับไล่มารอาศัยอํานาจของพระเจ้า ก็จงรู้ไว้เถิดว่า อาณาจักรพระเจ้ามาถึงพวกท่านแล้ว" (ลก.๑๑,๒๐)

            ฤทธิ์อํานาจของพระเจ้าแสดงผลออกมาทางพระเยซูและทางพวกสาวก และทําให้กิจกรรมแห่งการปลดปล่อยที่กําลังทําอยู่นั้น ช่วยคนมากมายให้หลุดพ้นความทุกข์ทรมาน พระเยซูมั่นใจว่านี่แหละคือเจตนาของพระเจ้า พลังแห่งความเชื่อกําลังทําสิ่งที่ถือกันว่าเป็นไปไม่ได้ กองทัพของพระเจ้ากําลังมีชัยชนะเหนือกองทัพมาร ชัยชนะเด็ดขาดอยู่แค่เอื้อมแล้ว   อาณาจักรพระเจ้ากําลังตามมาติด ๆ  และกําลังจะนําหน้าแล้ว     อันที่จริงอาณาจักรพระเจ้ามาถึงพร้อมกับกิจกรรมแห่งการปลดปล่อยของพระเยซูนั่นเอง อาณาจักรในอนาคตมี    อิทธิพลต่อสถาณการณ์ปัจจุบัน อนาคตกับปัจจุบันแยกกันไม่ออก

            พวกฟาริสีต้องการให้พระเยซูแสดงสัญญาณจากท้องฟ้า เพื่อยืนยันว่าคําพูดและกิจกรรมของพระเยซูมาจากพระเจ้าจริง   พระเยซูปฏิเสธคําเรียกร้องนั้น แต่ชี้ให้ดูสัญญาณบนแผ่นดินแทน  (มธ.๑๖,๑-๔; ลก.๑๒,๕๔-๕๖) เมื่อยอห์นส่งลูกศิษย์ไปถามพระเยซู พระเยซูตอบว่า "กลับไปบอกยอห์นเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านได้ยินและได้เห็น นั่นคือ คนตาบอดกลับมองเห็น คนง่อยกลับเดินได้ คนโรคเรื้อนกลับสะอาดบริสุทธิ์ และคนหูหนวกกลับได้ยิน..." (มธ.๑๑,๔-๕) นี่แหละสัญญาณ

2. พระเจ้าได้เปลี่ยนไป

            ความดีกําลังมีชัยเหนือความชั่ว พระเจ้าเปลี่ยนแผนการ พระเจ้าไม่คิดจะลงโทษประชากรของพระองค์อีกต่อไป พระเจ้าต้องการช่วยประชากรให้รอดพ้น กิจกรรมและคําพูดทั้งหลายของพระเยซูต่างก็ชี้บอกว่าพระเจ้าได้เปลี่ยนไปแล้ว และเห็นได้ชัดจากสัญญาณแห่งกาลเวลานี้แหละ

            มีหลายคนที่พูดว่าพระเยซูได้เปลี่ยนภาพพจน์ของพระเจ้าเสียใหม่ พระเจ้าของพระเยซู ต่างไปจากพระเจ้าในพระคัมภีร์ภาคแรก ต่างไปจากพระเจ้าของพวกฟาริสี และอาจพูดได้ด้วยว่า ต่างไปจากพระเจ้าที่คริสตศาสนิกชนทั่วไปนับถือ  ภาพพจน์ใหม่ของพระเจ้า เป็นรากฐานแห่งความคิดและการกระทําของพระเยซู

            การพูดเช่นนั้นเป็นความจริง เพียงแต่ว่าพระเยซูไม่ได้คิดว่าตนเองได้เปลี่ยนภาพพจน์ของพระเจ้า แต่คิดว่า พระเจ้าได้เปลี่ยนไป พระเจ้าของอับราฮัม ของอิสซัค ของยากอบ กําลังทําสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทํามาก่อน พระเจ้าเกิดมีความสงสารต่อชาติยิว หรือ "แกะพลัดฝูงแห่งอิสราเอล" และท่าทีใหม่ของพระเจ้าแสดงออกมาในนิทานเปรียบเทียบเรื่องแกะพลัดฝูง เรื่องเหรียญที่หายไป และในเรื่องลูกล้างผลาญ (ลก.๑๕,๑-๓๒) พระเยซูเล่านิทานเปรียบเทียบเหล่านี้เพื่อทําให้คนเห็นสัญญาณแห่งกาลเวลา และเพื่อให้คนเข้าใจว่าพระเจ้าได้เปลี่ยนไปแล้ว พระองค์มีความสงสารและต้องการทําให้มีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้น

            เรื่องที่เด่นชัดที่สุดก็คือเรื่องลูกล้างผลาญ (ซึ่งบางทีก็ตั้งชื่อกันว่า เรื่องบิดาผู้ใจดี) ตอนแรกของนิทานบรรยายเน้นถึงความบาปของลูกชายคนเล็ก และเน้นถึงความเสียหายที่เขาได้ก่อให้เกิดขึ้นต่อพ่อของตน จุดสุดยอดของเรื่องคือตอนที่ลูกชายกลับบ้าน สิ่งที่น่าแปลกคือผู้เป็นพ่อไม่ได้ไล่ลูกดังที่ลูกคาดว่าพ่อจะทํา ผู้เป็นพ่อไม่ได้เรียกร้องให้ลูกชดใช้ความเสียหายโดยให้ทํางานเป็นลูกจ้างดังที่ลูกเตรียมใจพร้อมที่จะทําอยู่แล้ว และผู้ฟังนิทานก็คงจะหวังเช่นนั้น ผู้เป็นพ่อไม่ลงโทษลูกเลยแม้แต่น้อย ผู้เป็นพ่อไม่ได้เรียกร้องให้ลูกกล่าวคําขอโทษ และพ่อเองก็ไม่ได้กล่าวคํายกโทษ เพราะไม่ถือว่ามีโทษอะไร สิ่งเดียวที่ผู้เป็นพ่อทําคือชื่นชมยินดี และสั่งให้จัดงานเลี้ยงฉลอง ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น ? ก็เพราะว่าผู้เป็นบิดารู้สึกเสทือนใจเพราะความรักและสงสาร การได้ลูกกลับมาบ้านอย่างปลอดภัยมีความสําคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด

            ปฏิกิริยาของลูกชายคนโตในนิทานสะท้อนถึงความรู้สึกโกรธแค้นของผู้ฟัง นั่นคือพวกฟาริสีและคัมภีราจารย์พวกเขาเชื่อว่าพระเจ้าจะไม่ทําเช่นผู้เป็นพ่อในนิทานเรื่องนี้เด็ดขาด

            แต่พระเยซูเชื่อมั่นว่า ไม่ว่าเดิมพระเจ้าจะเป็นอย่างไร มาบัดนี้พระเจ้ามีความรักและห่วงไยคนบาป พระเจ้าทําดีต่อผู้ที่เกลียดชังพระองค์ พระเจ้าอวยพรผู้ที่สาบแช่งพระองค์ "พระเจ้าเมตตาคนอกตัญญูและคนชั่ว" (ลก.๖,๒๗-๓๖) เพราะเหตุนี้ คนป่วยจึงได้รับการรักษาให้หาย คนบาปจึงได้รับการอภัยด้วยใจกว้างขวางและปราศจากเงื่อนไขใดๆ

3. พระเจ้ากลายเป็นพ่อ

            พระเจ้าสนใจมนุษย์และความต้องการของมนุษย์เป็นอย่างมาก พระเจ้าลงมาจากบัลลังก์เพื่อมาอยู่ใกล้ๆกับมนุษย์ และมนุษย์ก็สามารถเรียกพระเจ้าว่า "พ่อ" ("อับบา" ในภาษายิว) พระเยซูเรียกพระเจ้าว่าว่า "อับบา" และสอนให้คนอื่นๆเรียกเช่นเดียวกัน (ลก.๑๑,๒) ก่อนหน้านั้นไม่เคยมีใครกล้าทําเช่นนี้เลย  คําว่า "อับบา" เป็นคําที่ใช้เรียกพ่อ และเป็นคําที่แสดงความรู้สึกรัก สนิทสนม เป็นกันเอง และใช้เฉพาะในวงญาติใกล้ชิดเท่านั้น ความสัมพันธ์กับพระเจ้าในลักษณะนี้ ต่างจากวิธีปฏิบัติที่ทํากันอยู่อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะโดยทั่วไปมีธรรมเนียมที่กําหนดให้มนุษย์นับถือพระด้วยความกลัวและยําเกรง กําหนดให้พระเจ้าอยู่ห่างออกไปเนื่องจากความศักดิ์สิทธิ์และความน่าเคารพ

            ความสําเร็จในการรักษาโรคและช่วยปลดปล่อยคนถูกกดขี่มีทุกข์ ทําให้พระเยซูมั่นใจว่า พระเจ้าสงสารมนุษย์ที่ต้องทนทุกข์ทรมาน และพระเจ้าต้องการเข้ามาร่วมทุกข์ร่วมสุขในฐานะที่เป็นพ่อ และใช้ฤทธิ์อํานาจ  ของพระองค์เพื่อรับใช้มนุษย์

            เมื่อพวกฟาริสีไม่ยอมเชื่อ และเรียกร้องให้พระเยซูยืนยันด้วยสัญญาณบนท้องฟ้า พระเยซูกลับชี้ให้ดูอีกสัญญาณหนึ่ง นั่นคือประกาศกโยนาห์ นักพระคัมภีร์ปัจจุบันอธิบายว่า มัตธิวและลูกาไม่รู้ว่าพระเยซูหมายความว่าอะไร ต่างคนจึงต่างตีความเอาเอง มัตธิวอธิบายว่า เนื่องจากเรื่องของโยนาห์เล่าไว้ว่าโยนาห์อยู่ในท้องปลาวาฬสามวันสามคืน พระเยซูหมายความว่า "การกลับเป็นขึ้นมาในวันที่สาม" จะเป็นสัญญาณยืนยัน (มธ.๑๒,๔๐; ๑๖,๑-๔) ส่วนลูกาอธิบายว่า "โยนาห์เป็นสัญญาณสําหรับชาวเมืองนินะเวห์ฉันใด บุตรแห่งมนุษย์ (พระเยซู) ก็จะเป็นสัญญาณสําหรับคนในยุคนี้ฉันนั้น" (ลก.๑๑,๓๐) นักพระคัมภีร์เข้าใจว่า พระเยซูเอ่ยถึงโยนาห์ก็เพราะต้องการชี้ให้เห็นพฤติกรรมของโยนาห์เอง โยนาห์โกรธเมื่อเห็นว่าพระเจ้าเปลี่ยนใจ ยกเลิกการลงโทษชาวเมืองนินะเวห์ด้วยภัยพิบัติดังที่ได้ขู่เอาไว้ โยนาห์พูดว่า "ข้าพเจ้ารู้ว่าพระองค์เป็นพระเจ้าแห่งความอ่อนหวานและความเมตตา โกรธยาก สงสารง่าย..." แต่โยนาห์ (เช่นเดียวกับพวกฟาริสี) ไม่อยากเห็นพระเจ้าเมตตาสงสารคนบาป พระเจ้าพูดกับโยนาห์ว่า "ที่เจ้าโกรธนั้น ถูกต้องแล้วหรือ?...เราไม่ควรจะเมตตาสงสารชาวเมืองนินะเวห์ดอกหรือ?...คนเหล่านี้เป็นชาวบ้านธรรมดาที่ไม่รู้เสียด้วยซํ้าไปว่าข้างไหนมือซ้ายข้างไหนมือขวา..." (ดูโยนาห์ บทที่ ๓-๔)

            นี่แหละจะเป็นสัญญาณชี้ให้พวกฟาริสีเห็น สัญญาณก็คือ พระเจ้ากําลังเมตตาสงสารชาวบ้าน พระเจ้าได้เปลียนไป และเพราะเหตุนี้ ยุคเก่าก็ผ่านพ้นไป  ยุคใหม่เป็นยุคของคนจนและคนถูกกดขี่

            ถ้าเราพยายามอ่านสัญญาณแห่งกาลเวลาในปัจจุบัน เราจะเห็นว่ายุคของเราไม่ต่างไปจากยุคของพระเยซูเท่าไรนัก เราอาจจะกําลังพ้นจากยุคของยอห์นแบปติสต์ (ยุคที่เสี่ยงต่อความพินาศของมนุษยชาติ) และกําลังย่างเข้าสู่ยุคแห่งการปลดปล่อย  ยุคแห่งอาณาจักรพระเจ้า

            อย่างไรก็ตาม เราต้องพยายามศึกษาความคิดของพระเยซูเพิ่มเติมว่า อาณาจักรพระเจ้ากับภัยพิบัติเกี่ยวข้องกันอย่างไร

คำถาม
1. ท่านเข้าใจยุคเก่ายุคใหม่ในเนื้อเรื่องอย่างไร ?
2. พระเจ้าได้เปลี่ยนไปอย่างไร ?
3. ท่านรู้สึกอย่างไรเมื่อพูดว่า “พระเจ้ากลายเป็นพ่อ”

1. ธุรกิจอันสำคัญ 

       แน่นอน การเอาตัวรอดตลอดนิรันดรเป็นธุรกิจอันสำคัญกว่าอะไรอื่นหมดแต่ก็เป็นสิ่งที่คริสชนละเลยมากกว่าหมด คนเราเมื่อมุ่งหวังจะบรรลุถึงตำแหน่งหน้าที่อันนี้ จะเอาชนะคดีความอันนี้ จะเอาชนะคดีความอันนั้น จะแต่งงานกับคนที่ตนรารถนาย่อมใช้ความพยายามไม่ละลด และไม่ยอมเสียเวลา ดูซี! เขาปรึกษาหารือครั้งแล้วครั้งเล่า ใช้ความระมัดระวังอย่างละเอียดสุขุม ไม่เป็นอันกินอันนอนเลยทีเดียว! แต่สำหรับเรื่องความรอดตลอดนิรันดร  เขาทำอะไรบ้าง? เขาดำรงชีพอย่างไร?-เขาไม่ได้ทำอะไรเลยหรือที่ถูกเขาทำทุกสิ่ง เพื่อความพินาศของความรอดเสียด้วยซ้ำ คริสตังส่วนมากบำเพ็ญชีพคล้ายกับว่าความตาย การพิพากษา นรก สวรรค์ นิรันดรภาพ ไม่ใช่เป็นข้อความเชื่อ แต่เป็นนิยายที่พวกพระสงฆ์ประดิษฐ์ขึ้นหลอกลวง ถ้าเขาแพ้คดี ถ้าพืชผลเสียหาย เขาช่างเป็นทุกข์เป็นร้อน พยายามหาทางแก้ไข! ถ้าม้าหรือหมาของเขาหายเขาพยายามตามหามันให้จงได้ แต่ไฉนเมื่อเสียพระหรรษทาน เขาจึงนอนตาหลับ คุยสนุก และหัวเราะเล่นได้หนอ ! แปลกแท้ ๆ ! คนเรา เมื่อถูกคนอื่นตำหนิว่าเป็นคนสะเพร่าในกิจการฝ่ายโลก ย่อมรู้สึกละอาย แต่ไฉนคนจำนวนมากไม่รู้สึกละอายบ้าง เมื่อตนละเลยในธุระเรื่องนิรันดรภาพ ซึ่งมีความสำคัญกว่าอะไรอื่นทั้งหมด! เขายอมรับว่า บรรดานักบุญเป็นคนฉลาด เพราะเอาใจใส่เรื่องความรอดของตน ส่วนตัวเขาเล่า เอาใจใส่ต่อสิ่งทุกสิ่งของโลก แต่ไม่เอาใจใส่ต่อวิญญาณของตนเองเสียเลย พี่น้อง นักบุญเปาโลกล่าวเตือนท่านว่า: “พี่น้อง ขอเตือนให้ท่านเอาใจใส่ต่อเฉพาะธุรกิจอันยิ่งใหญ่ของท่านเถิด ธุรกิจอันนั้น คือการทำให้ตนรอด อันนี้แหละเป็นธุรกิจอันสำคัญของท่าน” (1) เราทุกคนจงตระหนักแก่ใจเถิดว่า การเอาตัวรอดตลอดนิรันดรของเรานั้นเป็นธุระอันสำคัญกว่าหมด เป็นธุรกิจเฉพาะอันเดียว และเป็นธุรกิจอันหมดทางแก้ไขหากพลาดท่าเสียที

        ความรอดเป็นธุรกิจอันสำคัญกว่าหมด แน่นอน เพราะว่า ความรอดมีผลสำคัญยิ่งยวด เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิญญาณ ซึ่งถ้าเสียไป ก็เสียหมดทุกสิ่งนักบุญยวงคริสตซอสโตม กำชับว่า “ชาวเราต้องถือว่า วิญญาณมีค่ามากกว่าทรัพย์สมบัติอะไร ๆ ทั้งหมด ของโลกนี้” (2) ความข้อนี้ จะเข้าใจซาบซึ้งได้ง่ายเมื่อมองดูการที่พระเป็นเจ้าได้ทรงมอบพระบุตรของพระองค์ให้ต้องตาย ก็เพื่อความรอดของวิญญาณเรา (3) และการที่พระวจนาตถ์ผู้สถิตสถาพรตลอดนิรันดรได้ทรงยินยอมไถ่วิญญาณของเราด้วยพระโลหิตของพระองค์ท่านเอง (4)ดังนั้นพระสงฆ์ใจนักบุญผู้หนึ่ง จึงกล้ากล่าวว่า “ดูเหมือนว่า มนุษย์เรามีค่าเท่ากับพระเป็นเจ้า” (5) เพราะฉะนั้น พระเยซูคริสต์จึงได้ตรัสว่า “มนุษย์จะเอาอะไรมาแลกกับวิญญาณของตน” (มธ. 16, 26) เมื่อวิญญาณของเรามีค่าถึงเพียงนี้แล้วหากเสียไปเราจะเอาทรัพย์อะไรในโลกนี้มาแลกคืนเล่า?

        ถูกต้องแท้ที่นักบุญฟิลิป เนรี เรียกคนที่ไม่เอาใจใส่ต่อความรอดวิญญาณของตนว่าคนบ้า! สมมุติว่า ในโลกเรานี้มีมนุษย์อยู่สองจำพวก พวกหนึ่งรู้ตายอีกพวกหนึ่งไม่รู้ตาย หากพวกที่รู้ตาย มามองเห็นพวกไม่รู้ตาย เอาใจใส่แต่ข้าวของของโลก หาแต่ยศฐาบรรดาศักดิ์ ทรัพย์สมบัติ และความสนุกสุขสบายของโลกแน่นอนละเขาจะว่า: พวกท่านช่างโง่เสียจริงๆ! พวกท่านอาจจะหาทรัพย์อันดำรงอยู่ชั่วนิรันดรได้ แต่ไพร่มัวแต่คิดถึงของสารเลว ของอนิจจัง และเพราะเหตุที่ท่านแสวงหาของพรรค์นี้ ก็เท่ากับท่านลงโทษตัวเองให้ต้องถูกพระอาชญาตลอดนิรันดรในชีวิตหน้า ที่ถูกนั้น ควรปล่อยไว้ให้พวกเรา ซึ่งเป็นคนอาภัพเท่านั้น ใฝ่ใจหาของแผ่นดิน เพราะพวกเราตายแล้ว ทุกสิ่งก็จบสิ้น! แต่! ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เรามนุษย์ทุคน ต่างไม่รู้ตายเหมือนกันหมด แล้วเหตุใดหนอ จึงมีคนจำนวนมาก ยอมเสียวิญญาณ เพราะความสนุกอันสารเลวของโลกนี้! ท่านซาลวีอารโนกล่าวว่า “ทำไม! พวกคริสตังผู้เชื่อว่า มีการพิพากษา นรก นิรันดรภาพ และเหตุไฉนเขาจึงครองชีพ ในทำนองไม่กลัวการพิพากษา นรก นิรันดรภาพได้หนอ?” (6)

          ข้อเตือนใจและคำภาวนา

       อา! พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า พระองค์ได้ทรงโปรดประทานเวลาแก่ข้าพเจ้าเป็นหลายปี เพื่อจะให้ข้าพเจ้าทำตัวให้รอดตลอดนิรันดร ก็ข้าพเจ้าได้ใช้เวลานั้นเพื่อทำอะไรเล่า? พระมหาไถ่เจ้าข้า พระองค์ได้ทรงไถ่วิญญาณของข้าพเจ้าด้วยพระโลหิตของพระองค์เอง แล้วได้ทรงมอบให้ข้าพเจ้าเอาใจใส่ทำให้รอด ส่วนข้าพเจ้านี้กลับตั้งหน้าตั้งตาทำให้พินาศไป โดยการกระทำบาปต่อพระองค์ ผู้ทรงรักข้าพเจ้าถึงปานนี้! พระสวามีเจ้าข้า ข้าพเจ้าเป็นทุกข์ เสียใจโปรดอภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วย พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าตั้งใจว่า แต่บัดนี้เป็นต้นไปจะยอมเสียสละทุกสิ่ง แม้ชีวิตของข้าพเจ้าเอง ดีกว่าจะเสียมิตรภาพของพระองค์ องค์คุณงามความดีที่ล้นพ้น พระองค์ทรงน่ารักหาที่สุดมิได้ ข้าพเจ้ารักพระองค์ยิ่งกว่าสิ่งใด ๆ และตั้งใจแม่นมั่นจะรักพระองค์เสมอ พระเยซูเจ้าข้า โปรดอย่าให้ความตั้งใจของข้าพเจ้าในคราวนี้เหมือนกับคราวก่อย ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นการทรยศทุกครั้ง โปรดให้ข้าพเจ้าตายเสียเถิด ดีกว่าจะกลับมาทำชอกช้ำน้ำพระทัยดีกว่าจะเลิกรักพระองค์ พระเจ้าข้า

        ข้าแต่พระแม่มารีอา สรณะที่วางไว้ใจของข้าพเจ้า โปรดช่วยให้ข้าพเจ้ารอด โดยเสนอให้ข้าพเจ้าคงเจริญในความดีเถิด


2. ธุรกิจเฉพาะอันเดียว

        ธุรกิจเรื่องความรอดตลอดนิรันดร มิใช่แต่เป็นธุรกิจอันสำคัญยิ่งยวดเท่านั้น แต่ยังเป็นธุรกิจเฉพาะอันเดียว ซึ่งชาวเราต้องทำให้ได้ในชีวิตนี้ (7) นักบุญเบอร์นาร์ด บ่นถึงความไร้เหตุผลของคริสตังบางคน ที่เรียกความบ้าของพวกเด็ก ๆ ว่า ความบ้าแต่เรียก การงานฝ่ายโลกของเขาว่าธุรกิจ (8) ก็ความบ้าของผู้ใหญ่เป็นความบ้าที่ยิ่งใหญ่กว่าอีก! พระเยซูตรัสสอนว่า “จะประโยชน์อะไรแก่มนุษย์ มาตรแม้นเขาจะได้เป็นเจ้าของทั้งโลกจักรวาล หากมาเสียวิญญาณไป?” (มธ. 16, 26) พี่น้องที่รัก ถ้าท่านรอด มันไม่สลักสำคัญ ที่ในโลกนี้ท่านได้เคยเป็นคนยากจน คนอาภัพ เป็นที่หมิ่นประมาทของผู้อื่นดอก เพราะว่าเมื่อท่านรอดแล้ว ท่านก็จะไม่มีทุกข์ร้อนต่อไป จะมีแต่ความสุขตลอดทั้งชั่วนิรันดร แต่หากท่านเสียที หากท่านต้องโทษ ก็ในนรก จะมีประโยชน์อะไร ที่ท่านเคยมีความสนุกสุขสบายทุกอย่างในโลก เคยได้มั่งมี เคยมีหน้ามีตา? เมื่อท่านเสียวิญญาณไปความสนุกสุขสบาย เกียรติยศ ทรัพย์สมบัติ และทุกสิ่งก็เสียไปหมดด้วย

        ในวันพิพากษา ท่านจะเอาอะไรมาตอบแด่พระเยซูคริส์? สมมุติว่าพระราชาทรงใช้ทูตไปทำธุรกิจในนครแห่งหนึ่ง ทูตผู้นี้แทนที่จะเอาใจใส่ต่อกิจธุระที่ตนได้รับมอบหมาย กลับเอาใจใส่ถึงแก่การกินเลี้ยง การละเล่นงานรื่นเริงและเป็นเหตุให้ธุรกิจนั้นไม่บรรลุผลสำเร็จ เมื่อเขากลับมา จะต้องให้การต่อพระราชาอย่างไร? แต่พี่น้อง เราจะต้องให้การต่อพระสวามีเจ้า น่ากลัวยิ่งกว่านี้เป็นไหน ๆ เพราะที่พระองค์ได้ทรงตั้งให้เราอยู่ในโลกมิใช่เพื่อให้หาความสนุกรื่นเริง มิใช่เพื่อให้ทำมาค้าขายให้ตนร่ำรวย มิใช่เพื่อให้ตะเกียกตะกายหายศศักดิ์ แต่เพื่อทำให้วิญญณของเรารอด แล้วตัวเรากลับเอาใจใส่ถึงทุกสิ่งยกเว้นเพียงเรื่องวิญญาณเท่านั้น! คนใจโลกคิดถึงแต่เวลาปัจจุบัน และไม่คิดถึงเวลาอนาคตเสียเลย ณ ที่กรุงโรม วันหนึ่งขณะที่นักบุญฟีลิป เนรี กำลังสนทนากับหนุ่มผู้หนึ่ง ชื่อ ฟรังซีสโก ซัดเซรา เป็นคนมีปัญญาเฉลียวฉลาด แต่ใจหันไปทางโลก ตอนหนึ่งท่านกล่าวแก่เขาว่า “ลูกรัก ลูกจะมีบุญร่ำรวยมาก จะได้เป็นทนายความมีชื่อเสียง แล้วจะได้เป็นพระสงฆ์ผู้ใหญ่ แล้วบางทีจะได้เป็นพระคาร์ดินัล แล้วใครจะไปรู้ บางทีจะได้ขึ้นเป็นพระสันตะปาปาด้วย แล้วก็ แล้วก็...?” ที่สุด นักบุญก็กล่าวกับเขาว่า “แล้วก็? แล้วก็?” เขาจึงได้สละละธุรกิจฝ่ายโลกและได้สละลาโลกเลยทีเดียวมาสมัครเข้าคณะของนักบุญฟีลิป เริ่มลงมือทำงานเฉพาะเพื่อพระเป็นเจ้า

        ความรอดเฉพาะธุรกิจอันเดียว เพราะว่าเรามีวิญญาณอยู่ดวงเดียว พระราชาองค์หนึ่ง ได้วิงวอนขออนุมัติอย่างหนึ่งต่อพระสันตะปาปา เบเนดิกที่ 12 อนุมัตินั้นจะประทานให้ได้ ก็ดดยไม่พ้นบาป พระสันตะปาปาจึงมีพระดำรัสตอบแก่ทูตว่า: เชิญกลับไปจ้าแก่เจ้านายของท่านว่า หากเรามีวิญญาณสองดวง เราก็พอจะยอมเสียสละดวงหนึ่ง เพื่อพระองค์ท่าน และเก็บอีกดวงหนึ่งไว้สำหรับตัวเองแต่เพราะว่า เรามีวิญญาณอยู่ดวงเดียว จึงจะสละให้ไม่ได้ ทั้งไม่ยอมจะสละให้ด้วยนักบุญ ฟรังซีสโก ซาเวรี เคยกล่าวว่าในโลกเรานี้มีคุณแต่อันเดียว และโทษก็มีแต่อันเดียว คุณอันเดียวนั้น คือ การทำตัวของตัวให้รอด และโทษอันเดียวนั้นคือการตกนรก นักบุญเทเรซา ก็ย้ำความข้านี้ แก่บรรดาภคินีของเธอเช่นเดียวกันว่า “พี่น้อง วิญญาณดวงเดียว และนิรันดรภาพอันเดียว” ที่ว่า “วิญญาณดวงเดียว” เธอใคร่จะหมายความว่า หากเสียวิญญาณไป ก็เสียหมดทุกสิ่ง และที่ว่า “นิรันดรภาพอันเดียว” หมายความว่าหากเสียวิญญาณไปครั้งหนึ่ง ก็เป็นอันว่า เสียเรื่อยไปทีเดียว...ความคิดเช่นเดียวกันนี้เอง ได้ทำให้ ดาวิด ทูลวิงวอนว่า “พระสวามีเจ้าข้า ข้าพเจ้าวอนขอสิ่งเดียว คือ ขอดปรดให้ข้าพเจ้ารอดอย่างเดียวเท่านั้น (9)

        “จงทำตัวของท่านให้รอดด้วยความกลัว และกลัวจนตัวสั่นเถิด” (ฟป. 2, 12) ผู้ใดไม่กลัว ผู้ใดไม่ตัวสั่น ในการที่ตนจะพินาศ ผู้นั้นจะไม่รอด ฉะนั้นสำหรับการเอาตัวรอดจำเป็นต้องเหนื่อยยาก และต้องออกแรง (มธ. 11, 12) สำหรับจะบรรลุถึงความรอด จำเป็นที่เมื่อตายชีวิตของเราต้องละม้ายคล้ายคลึงกับพระชนม์ชีพของพระเยซูคริสต์ (รม. 8, 29) ฉะนั้น ข้อแรกเราต้องออกแรงและหนีท่าทางบาป ข้อสอง เราต้องใช้เครื่องมืออันจำเป็นสำหรับการเอาตัวรอดนักบุญเบอร์นาร์ด กล่าวว่า “คนเกียจคร้านจะไม่ได้พระราชัยแห่งสวรรค์ คนที่ออกแรงปรนนิบัติพระเป็นเจ้าเท่านั้นจะได้รับ” (10)  มนุษย์ทุกคนอย่าจะเอาตัวรอดอย่างสยายโดยไม่ต้องลำบาก นักบุญเอากุสติน อุทานว่า : แปลกแท้! ปีศาจยอมเหนื่อยยากเป็นอันมาก มันไม่หลับไม่นอน ทั้งนี้เพื่อจะทำให้เราพินาศ ส่วนท่านเล่าท่านทำเฉยเมยในเรื่องที่เกี่ยวกับความสุขหรือความทุกข์ชั่วนิรันดร กระนั้นหรือ? (11)

        ข้าเตือนใจและคำภาวนา

       อา! พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า ขอขอบพระคุณที่ทรงโปรดให้ข้าพเจ้ากราบอยู่แทบพระบาทในเวลานี้ แทนที่จะอยู่ในนรก ซึ่งข้าพเจ้าควรจะอยู่แต่หลายครั้งมาแล้ว ก็ชีวิตที่พระองค์ทรงสงวนรักษาไว้นี้ จะเป็นประโยชน์อันใด หากข้าพเจ้ายังดำรงชีพไร้พระหรรษทานของพระองค์อยู่ต่อไป? อา! ขออย่าให้เป็นเช่นนั้นเลย พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้หันหลังให้พระองค์ ข้าพเจ้าได้เสียพระองค์ องค์คุณงามความดีที่ล้นพ้นของข้าพเจ้า บัดนี้ ข้าพเจ้าเสียใจเป็นที่สุดขอให้ข้าพเจ้าตายเสียสักพันครั้งเถิด! ข้าพเจ้าได้เสียพระองค์ไปแต่ผู้ทำนายก็ยืนยันแก่ข้าพเจ้าว่าพระองค์ทรงพระทัยดี ทรงใคร่ให้วิญญาณที่ตามหาพระองค์ ได้พบพระองค์ หากในกาลก่อน ข้าพเจ้าได้หนีห่างจากพระองค์ พระราชาแห่งดวงใจของข้าพเจ้า แต่บัดนี้ข้าพเจ้าตามหาพระองค์แล้ว และไม่ตามหาผู้ใดอื่นนอกจากพระองค์เท่านั้น ข้าพเจ้ารักพระองค์ด้วยสิ้นสุดกำลัง โปรดอนุญาตและอย่าทรงถือเลยที่ดวงใจของข้าพเจ้า ที่ได้ดูหมิ่นพระองค์มาครั้งหนึ่งนั้น บัดนี้กลับมารักพระองค์ พระเจ้าข้า โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบเถิดว่า ข้าพเจ้าต้องทำสิ่งใดจึงจะเป็นที่ชอบพระทัย และข้าพเจ้ายินดีจะปฏิบัติตามทุกอย่างทุกประการโปรดเถิด พระเยซูเจ้าข้า โปรดให้วิญญาณของข้าพเจ้ารอด มันเป็นวิญญาณที่พระองค์ได้ทรงไถ่ด้วยพระโลหิต แล้ะวยพระชนม์ชีพของพระองค์แท้ ๆ ขอโปรดให้ข้าพเจ้ารอด โดยประทานพระหรรษทานให้ข้าพเจ้ารักพระองค์เสมอเป็นนิตย์ทั้งในชีวิตนี้และชีวิตหน้า ข้าพเจ้าหวังจะได้ดังกราบทูลมานี้ ด้วยเดชะพระบารมีของพระองค์ พระเจ้าข้า

        ข้าแต่พระแม่มารีอา ข้าพเจ้าหวังจะได้ดังขอนี้ ด้วยเดชะคำเสนอวิงวอนของท่านด้วย


3. ธุรกิจอันหมดทางแก้ไข

        ธุรกิจอันสำคัญ ธุรกิจเฉพาะอันเดียว และธุรกิจอันหมดทางแก้ไข นักบุญเอวเซบีโอ กล่าวว่า “ไม่มีความผิดพลาดอันใด ใหญ่เท่าความผิดพลาดในการเลินเล่อต่อความรอดตลอดนิรันดร” (12) ความผิดพลาดอย่างอื่นทั้งหลายยังพอจะแก้ไขได้ เสียของสิ่งใด ยังอาจหาใหม่ในทางใดทางหนึ่งได้ เช่น เสียตำแหน่งหน้าที่ ก็อาจแก้ไขหาที่ให้ม่ได้ แม้จะเสียชีวิต หากวิญญาณรอดก็แก้ไขได้หมดแล้ว แต่หากตกนรก ก็เป็นอันหมดหนทางแก็ไขต่อไป คนเราตายครั้งเดียว หากเสียวิญญาณไปหนหนึ่ง ก็เป็นอันว่า เสียเรื่อยไป (13) เหลือแต่จะต้องร้องไห้ทั้งชั่วนิรันดรในนรก พร้อมกับพวกคนบ้าน่าทุเรศอื่นทั้งหลาย ความทุกข์ทรมานอันร้ายกาจกว่าหมดในนรกนั้น ก็คือ การแลเห็นว่าตนหมดเวลาจะแก้ไขความทุกข์ทรมานอันนั้นเสียแล้ว (14)ท่านจงถามคนฉลาด ๆ ทางโลก ซึ่งบัดนี้อยู่ในขุมไฟแล้วว่า: ขณะนี้เขามีความคิดเห็นเป็นอย่างไร เขารู้สึกยินดีหรือไม่ ที่ในครั้งก่อนโน้นได้สะสมทรัพย์สมบัติไว้เป็นอันมากในโลกและบัดนี้ เขากำลังถูกขังอยู่ในคุกตลอดชั่วนิรันดร จงฟังคำร้องไห้คร่ำครวญของเขาเถิด “แล้วกัน” พวกเราหลงไปเสียแล้ว! (ปชญ. 5, 6) มันประโยชน์อะไรเล่า ที่จะมารู้จักความผิดพลาดของตนในเมื่อไม่มีทางจะแก้ไขให้พ้นโทษชั่วนิรันดรได้แล้ว? ในโลกเรานี้ เมื่อตึกรามชำรุดเราก็อาจจะซ่อมแซมด้วยค่าใช้จ่ายไม่เท่าไร แต่ถ้าปล่อยไว้จนพังลงมา เราจะรู้สึกเสียใจในความสะเพร่าเลินเล่อของเราเพียงไร ในเมื่อมันหมดหนทางจะแก้ไขต่อไปแล้ว!

        โทษอันสาหัสยิ่งของนักโทษนรก ก็คือ การที่คิดว่า ตนได้เสียวิญญาณและต้องโทษ ก็เพระความผิดของตนเอง (15) นักบุญเทเรซา กล่าวว่าคนที่ทำเสื้อแหวน หรือแม้ของเล็กน้อย หายไป เพราะความผิดของตนเอง เขาย่อมไม่มีความสุขไม่เป็นอันกินอันนอน ก็นักโทษจะเสียใจเพียงไรหนอ เมื่อย่างเข้าไปสู่นรก ขณะที่มองเห็นตนกำลังถูกขังอยู่ในคุกแห่งความทุกข์ทรมาน และมามองดูความพินาศของตน เห็นว่าหมดหนทางจะแก้ไขต่อไปแล้ว ตลอดทั้งนิรันดรภาพ เขาจึงจะพูดกับตนเองว่า “ฉันได้เสียวิญญาณ เสียสวรรค์เสียพระเป็นเจ้า เสียหมดทุกสิ่ง และเสียเรื่อยไปทีเดียว ก็ทำไมฉันจึงเสียไปเล่า? - เพราะความผิดของฉันเอง!”

        บางคนอาจพูดว่า: แม้ฉันทำบาปประการนี้ ฉันจำเป็นจะต้องไปนรกทีเดียวหรือ? ฉันจะเอาตัวรอด ก็อาจเป็นได้เหมือนกัน- ขอตอบว่า: ท่านอาจไปนรก ก็เป็นได้เหมือนกัน! ยิ่งกว่านั้น ขอบอกท่านว่า: เป็นการง่ายขึ้นอีก ที่ท่านจะไปนรก เพราะพระคัมภีร์พูดว่า: คนทรยศที่ใจกระด้างอย่างเช่นท่านนี้แหละ จะไปสู่นรก “พระสวามีตรัสว่า กรรมของเจ้า ลูกทรยศ” (อสย. 30, 1) “กรรมของพวกที่ห่างเหินจากเรา” (ฮชย. 7, 13) –อย่างน้อย เพราะการทำบาปประการนี้ ท่านก็วางตัวท่านไว้ในภัย ไว้ในความไม่แน่นอน สำหรับความรอดตลอดนิรันดร มิใช่หรือ? ก็ธุรกิจการเอาตัวรอด เป็นสิ่งที่น่าจะปล่อยให้อยู่ในภัยดังนี้หรือ? มันไม่ใช่หรือ? ก็ธุรกิจการเอาตัวรอด เป็นสิ่งที่น่าจะปล่อยให้อยู่ในภัยดังนี้หรือ? มันไม่ใช่เรื่องบ้านช่อง เรื่องที่ดิน เรื่องตำแหน่งหน้าที่ดอกนะแต่นักบุญยวงคริสซอสโตม บอกว่า มันเป็นเรื่องความทุกข์ทรมานตลอดทั้งชั่วนิรันดร มันเป็นเรื่องการเสียสวรรค์ตลอดทั้งชั่วนิรันดร” (16) ธุรกิจ การเอาตัวรอดเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าหมดสำหรับท่าน ท่านยังกล้าปล่อยไว้บนคำว่า “อาจจะเป็นได้”อย่างนั้นหรือ?

        ท่านจะว่า: ใครจะไปรู้ บางทีฉันจะไม่ตกนรก ฉันไว้ใจว่าพระเป็นเจ้าจะทรงยกโทษแก่ฉันทันที -แต่ ตามที่เป็นจริง ในขณะนี้ ในขณะนี้เองท่านลงโทษตัวท่านให้ไปสู่นรกแล้ว ขอบอกไว้ก่อนท่านจะกระโดดลงไปในบ่อ แล้วจะร้องว่าบางทีฉันจะไม่ตาย กระนั้นหรือ?- มันไม่เป็นเช่นนั้นแน่ แต่แล้วเหตุไรท่านจึงงางความรอดของท่านไว้ในความหวังอันง่อนแว่น บนคำว่า “ใครจะไปรู้” เล่า? อนิจจา! กี่คนมาแล้ว ได้ตกนรกเพราะความหวังอันจัญไรพรรค์นี้! ท่านไม่รู้ดอกหรือว่า ความไว้ใจของคนกระด้าง ที่ตั้งใจจะทำบาป มันหาใช่ความไว้ใจไม่ แต่เป็นการหลอกลวงตัวเอง เป็นการลามปาม ซึ่งแทนจะกระตุ้นเตือนพระทัยเมตตากรุณาของพระเป็นเจ้า กลับเป็นเครื่องยั่วเย้าพระพิโรธของพระองค์ให้หนักขึ้นอีก! หากว่า ในขณะที่ ท่านไม่มีหวังจะต่อสู้กับการประจญล่อลวง กับตัณหาอันกำลังครอบงำท่าน ก็ท่านจะต่อสู้กับศัตรูเหล่านี้ได้อย่างไร ในขณะที่นอกจากท่านไม่ได้รับกำลังมากขึ้น ท่านยังกลับมีกำลังลดถอยลง เพราะการทำบาป? ทั้งนี้เนื่องจากสถานหนึ่ง วิญญาณของท่านจะมืดมัว และแข็งกระด้างอยู่ในความชั่วยิ่งขึ้น อีกสถานหนึ่ง วิญญาณของท่านจะมืดมัว และแข็งกระด้างอยู่ในความชั่วยิ่งขึ้น อีกสถานหนึ่ง ท่านขาดความช่วยเหลือของพระเป็นเจ้า หรือบางทีท่านจะหวังว่า ยิ่งทำบาปมากขึ้นเท่าไร พระเป็นเจ้าก็จงจะทรงประทานแสงสว่าง และพระหรรษทานของพระองค์แก่ท่านมากขึ้น ตามส่วนกระมัง?

               ข้อเตือนใจและคำภาวนา

        อา! พระเยซูเจ้าข้า โปรดให้ข้าพเจ้าระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระองค์เพื่อข้าพเจ้าอยู่เสมอๆ เถิด และข้าพเจ้าจะได้มีความวางใจ ข้าพเจ้าหวั่น ๆ อยู่ว่า เมื่อเวลาจะตาย ปีศาจจะมาทำให้ข้าพเจ้าเสียใจ โดยให้มองเห็นความทรยศจำนวนมากมายที่ข้าพเจ้าได้ประกอบไว้แต่หนหลัง กี่ครั้งกี่หนแล้ว ด้วยเดชะแสงสว่างและพระหรรษทานของพระองค์ ข้าพเจ้าได้สัญญาว่า จะไม่ยอมทำเคืองพระทัยต่อไป  แต่แล้วข้าพเจ้าก็ได้หันหลังให้พระองค์อีก ทั้งนี้โดยที่ไว้ใจว่าพระองค์จะทรงพระกรูณายกโทษให้! เป็นอันว่า เพราะเหตุที่พระองค์มิได้ทรงลงพระอาชญา ข้าพเจ้าจึงได้ดูหมิ่นพระองค์ถึงเพียงนี้! เป็นอันว่า ยิ่งพระองค์ทรงพระกรุณา ข้าพเจ้ายิ่งล่วงเกินพระองค์มากขึ้น! พระหาไถ่เจ้าข้าขอโปรดให้ข้าพเจ้าเป็นทุกข์เพราะได้ทำเคืองพระทัย ขอสัญญาว่า แต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะยอมตายเสียสักพันครั้ง ดีกว่าจะละทิ้งพระองค์ไปอีก แต่พระเจ้าข้า ณ บัดนี้ ขอโปรดให้ข้าพเจ้าได้ยินพระวาจาอย่างที่พระองค์ได้ตรัสแก่คนง่อยว่า “บาปของเจ้า ต้องยกเสียแล้ว” (มธ. 9, 2) โดยโปรดให้ข้าพเจ้าเป็นทุกข์เพราะความผิดมากๆ ก่อนที่ข้าพเจ้าจะตายไปเถิด มิฉะนั้นแล้วข้าพเจ้ากลัวว่า จะต้องตายอย่างกระวนกระวายและปราศจากความสุข พระเยซูผู้ถูกตรึงกางเขนเจ้าข้า ในเวลาช่วงสุดท่ายนั้น ขออย่าให้พระองค์เป็นเครื่องนำความหวาดกลัวมาสู่ข้าพเจ้าเลย (ยรม. 17, 17) โอ! หากข้าพเจ้าจะต้องตายไปก่อนจะได้เป็นทุกข์ถึงบาป ก่อนจะได้รักพระองค์ เมื่อนั้นบาดแผลและพระโลหิตของพระองค์จะนำความหวาดกลัวมาสู่ข้าพเจ้ามากกว่าจะทำให้ข้าพเจ้ามีความไว้วางใจ! เพราะฉะนั้นในชีวิตที่ข้าพเจ้ายังมีอยู่นี้ ข้าพเจ้าไม่ขอความบรรเทาใจ ไม่ขอทรัพย์สมบัติฝ่ายแผ่นดิน ข้าพเจ้าวิงวอนขอแต่ความทุกข์ และความรักเท่านั้นพระมหาไถ่ที่สุดเหน่หาเจ้าข้า เดชะความรัก ซึ่งได้บันดาลให้พระองค์ทรงพลีพระชนม์ชีพเพื่อข้าพเจ้า ณ เนินกัลวารีโอนั้น โปรดอนุญาตตามคำวิงวอนของข้าพเจ้านี้ด้วยเถิด พระเจ้าข้า

        พระแม่มารีอา เจ้าข้า โปรดให้ข้าพเจ้าได้รับพระหรรษทานเหล่านี้พร้อมทั้งความคงเจริญในความดีจนถึงเวลาตาย ด้วยเถิด

(1) Rogamus vos…ut vestrum negotium agates. (1 Thess. 4, 11).

(2) Anima est toto mundo pretiosior. (S. Jh. Chrys.).

(3) Sic Deus dilexit mundum, ut filium suum unigenitum daret (Jh. 3, 6).

(4) Empti enim estis pretio mango (1 Cor. 6, 20).

(5) Tam pretioso munere humana redemption agitur, ut homo Deum valere videatur. (S. Augustinus).

(6) Quid causae est, quod christianus, si future credit, future non timeat? (Salvianus).

(7) Porro unum est necessarium (Lc. 10, 42).

(8) nugae puerorum nugae vocantur; nugae majorum negotia vocantur. (S. Bern.).

(9) Unam petii a Domino, hanc requiram, ut inhabitem in domo Domini (Ps. 26, 4).

(10) Regnum non datur vacantibus, sed pro xervitio Dei digne laboranti bus (S. Bern.).

(11) Vigilat hostis, dormis tu? (S. Aug.)

(12) Sane supra omnem errorem est dissinulare negotium salutis. (S. Euseb).

(13) Periisse semel, aeternum est.

(14) Finita est aetas, et nos salvati non sumus (Jer. 8, 20).

(15) Perditio tua, lsrael, tantummodo in me auxilium est (Hos. 13, 9).

(16) De immortalibus suppliciis, de coelestis regni amissiohe res agitur.

กฎหมายอย่างเป็นทางการของพระศาสนจักรคาทอลิกได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการในปี 1917 นี้เอง โดยเริ่มจากการรวบรวมประมวลกฎหมายต่างๆในฉบับที่ 1 ในรัชสมัยพระสันตะปาปาปีอุสที่ 10 ในปี 1904 และสำเร็จในรัชสมัยของพระสันตะปาปาเบเนดิกที่ 15 ในปี 1917 โดยมีผู้ดำเนินงานคือพระคาร์ดินัลกัลปารี (Cardinal Gasparri) แหล่งข้อมูลของประมวลกฎหมายมีดังนี้ จาก คอร์ปุส ยูริส แคนนัลนิซิ (corpus iuris canonici) เอกสารจากสังคายนาเมืองเตรนท์ (the decrees of Trent) ประมวลกฎหมายข้อแนะนำต่างๆ คำประกาศต่างๆ และคำตัดสินจากทางโรมในเรื่องข้อกฎหมายต่างๆ ฯลฯ แหล่งข้อมูลเหล่านี้ได้รับการรวบรวม จัดระบบเป็นหมวดหมู่ เขียนให้เป็นแบบแผนใหม่ ให้เป็นนามธรรมเพื่อประยุกต์กับกรณีอื่นๆได้ จนเป็นหลักการทางกฎหมายได้ในที่สุด

ด้วยสถานการณ์ เหตุการณ์ หรือคำสอนและหลักการเรื่องการศึกษาคาทอลิกที่เราได้กล่าวมาขั้นต้น กฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก ปี 1917 ได้อธิบายถึงหลักการของโรงเรียนคาทอลิก ในบรรพที่ 1372-1383 ด้วยการยืนยันถึงสิทธิของเด็กๆที่จะได้รับการอบรมด้านความเชื่อ และเป็นหน้าที่ของบรรดาพ่อแม่ที่จะดูแลพวกเขาในด้านการศึกษาอบรม ดังที่เราจะได้เห็นในกฎหมายด้านล่างนี้ว่า เด็กๆควรได้รับการเรียนคำสอนตั้งแต่ปฐมวัย เป็นพระสังฆราชท้องถิ่นที่ค่อยสอดส่องดูแลร่วมกับพระสงฆ์ของวัด

บรรพที่ 1374 ได้กล่าวถึงการหลักการของการปกปักษ์รักษาความเชื่อ

“บรรดาเด็กๆคาทอลิกไม่ควรที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนที่ไม่เป็นคาทอลิก เป็นกลางๆ หรือเรียนร่วมกับคนต่างศาสนา หรือโรงเรียนที่อนุญาตให้เด็กต่างศาสนาเข้ามาเรียนร่วมได้ มีพวกผู้ปกครองท้องถิ่น (พระสังฆราช) เป็นผู้ตัดสินใจ ให้เป็นไปตามกฎหมายของสันตะสำนัก ให้เป็นห่วงใยตามสถาณการณ์ของความคิด และจำเป็นต้องปกป้องคุ้มกันอันตรายจากความเชื่อ ว่าโรงเรียนเหล่านั้นยังคงทนฝืนได้หรือไม่”

ในบรรพที่ 1376 ว่ากล่าวถึงสิทธิของพระศาสนจักรในการจัดตั้งโรงเรียนในรู้แบบต่างๆ

ในบรรพที่ 1379 ให้คำแนะนำให้บรรดาพระสังฆราชท้องถิ่นจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กๆคาทอลิก และผู้ปกครองท้องถิ่นต้องใส่ใจต่อการศึกษาคำสอนศาสนาและศีลธรรมในโรงเรียน ท่านมีสิทธิ์ที่จะอนุมัติบรรดาครูและตำหรับตำราในโรงเรียน อีกทั้งพระสังฆราชต้องหมั่นเยี่ยมวัดต่างๆ ของสังฆมณฑลและของนักบวช

ในส่วนบรรพอื่นๆ ได้กล่าวถึงมหาวิทยาลัยคาทอลิก ดีกรีทางพระศาสนจักร และเรื่องบ้านอบรมต่างๆ

อ้างอิง

J. E. Lynch, "History of Canon Law," in New Catholic Encyclopedia, Second Edition, vol. 3  (Detroit: Thomson Gale, 2002), 55.

1917 CIC Can. 1372. Cf. The 1917 Pio-Benedictine Code of Canon Law: In English Translation with Extensive Scholarly Apparatus, ed. Edward N. Peters (San Francisco: Ignatius Press, 2001).

เท่าที่พูดมาจนถึงเวลานี้ อาจทําให้หลายคนคิดว่า อาณาจักรที่พระเยซูพูดถึงก็เป็นเหมือนอุดมการณ์ในสังคมที่ไม่มีพระเจ้า (secular) เข้าใจได้โดยไม่ต้องมีพระเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง พระเยซูใช้ภาษาศาสนาตามธรรมเนียมในสมัยก่อนเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงพระเยซูเชื่อว่า อาณาจักรจะมาถึงและมนุษย์จะได้รับการปลดปล่อยอย่างสิ้นเชิงไม่ได้หากปราศจากความเชื่อในพระเจ้า

1. อาณาจักรพระเจ้าจะมาถึง

เนื่องจากค่านิยมและมาตรฐานในอาณาจักรที่พระเยซูพูดถึงนี้สูงส่งมาก เราอาจพูดได้ว่าเป็นไปไม่ได้ มันเป็นอุดมคติในอนาคตที่ไม่มีวันจะเป็นจริง อาณาจักรดังกล่าวจะมาถึงได้ก็ต้องเป็นเรื่องของ "อัศจรรย์" เท่านั้น แต่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้สําหรับมนุษย์ พระเจ้าทําได้ พระเยซูเชื่อและหวังว่า "อัศจรรย์" จะเกิดขึ้น

แม้ว่าบางครั้งพระเยซูจะพูดถึงอาณาจักรในทํานองเปรียบเหมือนบ้านหรือเมือง แต่พระเยซูก็ไม่เคยพูดว่า จะต้องสร้างอาณาจักรนี้ขึ้นมา มีแต่อาณาจักรจะมาถึงเท่านั้น นอกนั้นอาณาจักรดังกล่าวก็ไม่ใช่วิวัฒนาการหรือพัฒนาขึ้นมาจากอาณาจักรหรือสังคมอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมีผู้นําที่เก่งกาจ มีอิทธิพลหรือมีคุณธรรมมากสักปานใด ก็ไม่สามารถสร้างอาณาจักรนี้ขึ้นมาได้ พลังต่างๆ ในโลกอาจจะช่วยมนุษย์ได้บ้าง แต่จะไม่สามารถนําการปลดปล่อยอย่างสิ้นเชิงมาให้ และไม่สามารถนําอิสรภาพอย่างแท้จริงมาให้ดังที่พระเยซูตั้งเป้าหมายไว้

อย่างไรก็ตาม มีพลังอย่างหนึ่งที่สามารถทําให้เกิด "อัศจรรย์" นี้เกิดขึ้นได้ แม้ว่าไม่ใช่พลังของตัวเรา แต่มันเป็นพลังในตัวเราที่ตัวเราเองเท่านั้นสามารถปล่อยออกมาได้ มันเป็นพลังสูงสุดที่อยู่เบื้องหลังพลังทั้งหลายในมนุษย์และในธรรมชาติ คนส่วนมากจะเรียกพลังนี้ว่า พระเจ้า แต่เราจะเรียกอย่างไรก็ได้ ในบางโอกาส พระเยซูก็เรียกพลังนี้ว่าพระเจ้าเหมือนกัน แต่บ่อยครั้งทีเดียวที่พระเยซูเรียกอย่างอื่น ประกาศกทั้งหลายพูดถึงพระเจ้าเท่านั้น (พระวาจาของพระเจ้า, พระสัญญาของพระเจ้า ฯลฯ) แต่คําพูดและนิทานเปรียบเทียบของพระเยซู มักจะเกี่ยวกับชีวิต และพลังที่แฝงอยู่ในชีวิตมนุษย์และในธรรมชาติ มีน้อยครั้งที่พระเยซูรู้สึกว่าจําเป็นต้องเอ่ยชื่อพระเจ้า พระเยซูเข้าใจเกี่ยวกับพลังสูงสุดนี้อย่างลึกซึ้ง

เราได้พบมาแล้วว่า สําหรับพระเยซู พลังมหาศาลที่สามารถทําให้เกิดสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เรียกว่า ความเชื่อ ความเชื่อปล่อยพลังเหนือมนุษย์ที่อยู่ในตัวเราออกมา ความเชื่อของคนป่วยทําให้พวกเขาหาย ความเชื่อของคนบาปทําให้พวกเขาหลุดพ้นจากบาป เช่นเดียวกัน ความเชื่อของมนุษย์จะทําให้อาณาจักรมาถึง

พระเยซูพยายามที่จะปลุกความเชื่อเกี่ยวกับอาณาจักรให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน (มก.๑,๑๕) โดยตระเวนไปทั่วเพื่อประกาศข่าวดี (มก.๑, ๓๘; ลก.๔,๔๓) และพระเยซูส่งพวกสาวกออกไปช่วยป่าวประกาศ เพื่อให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น (มก.๓,๑๔; ๖,๗; มธ.๑๐,๗; ลก.๙,๒; ๑๐,๙-๑๑) คริสตชนสมัยแรกเชื่อว่า เมื่อประกาศข่าวดีไปทั่วโลกเมื่อใด อาณาจักรพระเจ้าก็จะมาถึงเมื่อนั้น (มก.๑๓,๑๐) ถ้าไม่มีการป่าวประกาศ ความเชื่อก็จะไม่เกิดขึ้น (โรม.๑๐,๑๗) เมื่อความเชื่อในโลกมีความเข้มแข็งเพียงพอ อัศจรรย์จึงจะเกิดขึ้นได้ (อาณาจักรพระเจ้าจึงจะมาถึง)

2. ความเชื่อ

เมื่อพูดถึงความเชื่อเช่นนี้ อาจทําให้บางคนเทิดเทินความเชื่อจนเกินความจริง ความเชื่อไม่ใช่พลังทางไสยศาสตร์ ความเชื่อเป็นการตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่จะเลือกเอาอาณาจักรพระเจ้า การกลับใจ (metanoia) ที่ พระเยซูเทศน์สอนนั้น เป็นการเปลี่ยนใจ เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนความจงรักภักดี จากสิ่งอื่นๆ จากอาณาจักรอื่นๆ มาสู่อาณาจักรพระเจ้า จงแสวงหาอาณาจักรพระเจ้าก่อนสิ่งอื่นใด และปักใจมั่นอยู่กับอาณาจักรนี้ (มธ.๖, ๓๓) จงสะสมทรัพย์สมบัติไว้กับพระเจ้าและอาณาจักรของพระองค์ เพราะสมบัติอยู่ที่ไหน หัวใจก็จะอยู่ที่นั่น (มธ.๖,๑๙-๒๑) จงทําให้อาณาจักรพระเจ้าเป็นสิ่งที่สําคัญอันดับหนึ่งในชีวิต และตั้งความหวังทั้งหมดไว้กับอาณาจักรนี้ มันเป็นเหมือนขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ หรือเป็นเหมือนไข่มุกลํ้าค่า จงทุ่มเททุกอย่างเพื่อให้ได้อาณาจักรนี้มา

ความเชื่อเป็นการตั้งทิศทางใหม่แห่งชีวิต มันเป็นเรื่องถอนรากถอนโคน ไม่มีการประนีประนอมหรือเอาเพียงครึ่งๆ จะรับใช้ทีเดียวสองนายไม่ได้ คุณจะรับเอาค่านิยมของอาณาจักรพระเจ้ามาเป็นแนวทางชีวิต หรือไม่ก็ไม่ต้องมาเกี่ยวข้องกันเลย ความเชื่อเป็นการตัดสินใจ ความลังเลใจหมายถึงการขาดความเชื่อหรือมีความเชื่อน้อยซึ่งไร้ค่า

แต่เราต้องตระหนักว่า พลังของความเชื่อไม่ใช่มาจากการตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยว หรือมาจากความมั่นใจที่แข็งแกร่ง แต่พลังของความเชื่อเนื่องมาจากความจริงของสิ่งที่เราเชื่อและหวัง ถ้าอาณาจักรพระเจ้าเป็นเพียงภาพหลอน ความเชื่อของเราก็จะไม่มีพลัง และจะทําอะไรไม่ได้ ในโลกเรานี้มีความเชื่อที่เข้มแข็งหลาย ประการที่เป็นความเชื่อในสิ่งที่หลอกหลอน และความเชื่อประเภทนี้แหละที่เกือบทําให้โลกต้องพินาศ ถ้าอาณาจักรพระเจ้าที่พระเยซูเทศน์สอน เป็นเรื่องจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ เกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ เป็นสิ่งเดียวที่สามารถนํามนุษย์ไปสู่เป้าหมายและความพึงพอใจ ถ้าเป็นเช่นนี้จริง ความเชื่อในอาณาจักรพระเจ้าสามารถเปลี่ยนแปลงโลกและทําให้เกิดในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ พลังของความเชื่อคือพลังของความจริง

เราไม่อาจจะมีความเชื่อที่แท้จริงได้ ถ้าเราไม่มีความเมตตาสงสาร อาณาจักรที่พระเยซูประกาศสอนเป็น อาณาจักรแห่งความรักและการรับใช้ เป็นอาณาจักรแห่งความเป็นพี่เป็นน้องกัน และในอาณาจักรนี้ทุกคนได้รับความรักและเคารพเพราะความเป็นคน ไม่มีใครสามารถเชื่อและหวังในอาณาจักรแบบนี้ หากว่าไม่เคยมีความรู้สึกเมตตาสงสารเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พระเจ้าแสดงองค์เป็นพระเจ้าแห่งความเมตตา และพลังของพระเจ้าคือพลังแห่งความเมตตา ความเมตตาที่มนุษย์มีต่อกัน ปล่อยพลังของพระเจ้าออกมาในโลก และพลังนี้แหละเป็นพลังเดียวที่สามารถทําให้เกิดอัศจรรย์ คือทําให้อาณาจักรพระเจ้ามาถึง

สิ่งที่จะทําให้อาณาจักรพระเจ้ามาถึงก็คือความเมตตาสงสารที่มาจากใจ และความเชื่อที่เต็มไปด้วยความหวัง ความเชื่อ ความหวัง และความรักเมตตาของวันนี้ เป็นเมล็ดที่จะทําให้เกิดอาณาจักรในวันพรุ่งนี้ ความเชื่อดูเหมือนเป็นสิ่งเล็กน้อยไร้ความหมาย เหมือนกับเมล็ดซีนาปีส (มธ.๑๗,๒๐) แต่ถ้าไม่มีเมล็ดแห่งความเชื่อก็จะไม่มีต้นไม้แห่งอาณาจักร (มก.๔,๓๐-๓๒) เชื้อแป้งดูเหมือนไร้ค่า แต่มันทําให้แป้งทั้งถังฟูขึ้น (มธ. ๑๓,๓๓) ความเชื่อที่ไม่ถูกครอบงําโดยค่านิยมของมารและความกังวลต่างๆ จะเกิดผลร้อยเท่า (มก.๔,๓-๙)

3.เชื่อว่าอาณาจักรพระเจ้าจะมาถึง

อาณาจักรพระเจ้าจะมาถึงหรือไม่ สุดแล้วแต่ความเชื่อของมนุษย์ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามนุษย์จะมีความเชื่อพอเพียงที่จะให้อาณาจักรมาถึง? จะมีเวลาพอที่จะช่วยกันปลุกความเชื่อทั่วไปในโลกไหม? ภัยพิบัติอาจมาถึงก่อนก็เป็นได้ และหากเกิดภัยพิบัติแล้ว คนที่อยู่รอดหลังจากนั้นส่วนมากจะมีความเชื่อเกี่ยวกับอาณาจักรที่พระเยซูประกาศสอนไหม?

แต่พระเยซูไม่เคยสงสัยเลย แม้ความไม่เชื่อของมนุษย์จะทําให้ล่าช้าไปบ้าง แต่ในที่สุดอาณาจักรพระเจ้าจะต้องมาถึง (ลก.๑๓,๖-๙) ภัยพิบัติอาจเกิดขึ้นก่อน แต่อาณาจักรพระเจ้าจะมีชัยในบั้นปลาย (มก.๑๓,๗-๘) อาณาจักรจะมาถึงแน่เพราะในที่สุดมนุษย์จะเชื่อ

ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น? ก็เพราะว่ามีพระเจ้า เชื่อในพระเจ้าก็คือ เชื่อว่าความดีมีพลังมากกว่าความชั่ว และความจริงแข็งแกร่งกว่าความเท็จ เชื่อในพระเจ้าก็คือ เชื่อว่าในที่สุด ความดีและความจริงจะมีชัยชนะเหนือความชั่วและความผิดหลง พระเจ้าจะสยบมาร คนที่คิดว่าความชั่วจะชนะ หรือคิดว่าความดีกับความชั่วมีโอกาส ๕๐-๕๐ เราเรียกคนประเภทนี้ว่า อเทวนิยม เราเชื่อว่ามีพลังอย่างหนึ่งที่มุ่งสู่ความดีสิงสถิตอยู่ในโลก มันแสดงตัวออกมาในพลังส่วนลึกของมนุษย์ และแสดงตัวออกมาในธรรมชาติ เป็นพลังที่ไม่มีอะไรจะมาต้านไว้ได้ ถ้าพระเยซูไม่เชื่อเช่นนี้ ก็ไม่มีอะไรจะพูดอีกต่อไป

ฉะนั้น เชื่อในอาณาจักรพระเจ้า จึงไม่เป็นเพียงแต่ยอมรับค่านิยมของอาณาจักรนี้ และหวังอย่างลอย ๆ ว่า สักวันหนึ่งอาณาจักรคงจะมาถึง แต่เชื่อในอาณาจักรพระเจ้า คือมั่นใจว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น อาณาจักร พระเจ้าจะต้องมาถึงอย่างแน่นอน ความมั่นใจนี้แหละที่จะทําให้อาณาจักรมาถึง เพราะความมั่นใจนี้เป็นความจริง "ความจริงจะทําให้ท่านเป็นอิสระ" (ยน.๘,๓๒)

อย่างไรก็ตาม ไม่มีอะไรที่จะรับรองได้ว่า อาณาจักรจะมาถึงในเร็ว ๆ นี้ ความเชื่ออาจแพร่หลายอย่างรวดเร็วและทําให้อาณาจักรมาถึงทันทีทันใด หรืออาจจะแพร่หลายอย่างเชื่องช้าและอาณาจักรก็ไม่มาถึงสักที แต่พระเยซูเองคาดว่าจะมาถึงเร็ว "อาณาจักรพระเจ้าใกล้เข้ามาแล้ว" (มก.๑,๑๕;มธ.๔,๑๗;ลก.๑๐,๙-๑๑) พระเยซูถึงกับคาดว่าจะมาถึงในชั่วอายุคนสมัยนั้นเอง "...ก่อนที่คนยุคนี้จะตายจากไป" (มก.๑๓,๓๐) และดูเหมือนเป็นพระเยซูเองที่พูดว่า พวกสาวกจะตระเวนไปยังไม่ทั่วทุกเมืองในอิสราเอล "บุตรแห่งมนุษย์" ก็จะมาถึงแล้ว (มธ.๑๐,๒๓)

ถ้าเราพิจารณาหลายๆ อย่างรวมกัน รวมทั้งนิทานเปรียบเทียบที่พระเยซูเล่า ตลอดจนถึงความรีบเร่งในการเทศน์สอน เราจะต้องสรุปได้อย่างแน่นอนว่า พระเยซูคาดว่าในไม่ช้าจะมีอะไรบางอย่างที่สำคัญมากเกิดขึ้น แต่พระเยซูยืนยันว่าตัวเองก็ไม่รู้วันและเวลาที่อาณาจักรพระเจ้าจะมาถึง (มก.๑๓,๓๒) พระเยซูคิดว่ามันจะต้องมาถึงอย่างกะทันหันและไม่มีใครรู้ตัว เปรียบเหมือนโจรในยามกลางคืน หรือสายฟ้าแลบ (มก.๑๓, ๓๓-๓๗; มธ.๒๔,๔๒-๔๔; ๒๕,๑๓; ลก.๑๒,๓๕-๔๐; ๑๗,๒๔) เนื่องจากไม่มีใครรู้ล่วงหน้าจึงต้องคอยเฝ้าดูด้วยใจจดจ่อ แต่พระเยซูไม่เห็นด้วยกับการคาดคะเนจากเครื่องหมายหรือปรากฏการณ์ต่างๆ (ลก.๑๗,๒๐-๒๔)

4. อาณาจักรพระเจ้าจะมาถึงเร็ว

ทำไมพระเยซูจึงคาดว่าอาณาจักรพระเจ้าจะมาถึงในไม่ช้า?

. ความรู้สึกทั่ว ๆ ไป

เป็นความรู้สึกทั่วไปในสมัยของพระเยซูว่า พระเจ้ากําลังจะทําอะไรบางอย่างลงไปเพื่อช่วยชาติยิว ความคิดนี้ได้ผลักดันให้พวกเอสซีน

ออกไปตั้งชุมชนในที่เปลี่ยวเพื่อเตรียมตัว ความคิดนี้ช่วยให้กลุ่มนักเขียน วรรณกรรมวิวรณ์สร้างจินตนาการและคาดคะเนเหตุการณ์ต่าง ๆ ความคิดนี้ทําให้พวกซีลอทมั่นใจว่า พระเจ้ากําลังจะมาช่วยพวกยิวให้เอาชนะพวกโรมัน และจะได้ตั้งอาณาจักรพระเจ้าในชาติอิสราเอล เช่นเดียวกัน ยอห์นแบปติสต์เร่งเร้าให้ประชาชนกลับใจมารับพิธีล้าง ก็เพราะเชื่อว่าพระเจ้ากําลังจะทําสิ่งสําคัญ นั่นคือการชําระความกับชาติยิว ในสังคมชาวยิวขณะนั้น ความหวังและการรอคอยมีความเข้มข้นในระดับสูงสุด สถานการณ์กําลังเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและไม่แน่นอน สงครามกับโรมันกําลังก่อตัว ชาว

ยิวจะชนะทหารโรมันได้หรือไม่? พระผู้ไถ่ที่ประชาชนรอคอยอยู่จะมาช่วยหรือไม่? โลกกําลังจะถึงจุดอวสานหรือไม่?

พระเยซูเชื่อเช่นเดียวกับยอห์นแบปติสต์ว่า ชาติยิวกําลังเดินหน้าสู่ความหายนะในอนาคตอันใกล้ เหตุการณ์ที่กําลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้าคือภัยพิบัติ

แต่ปฏิกิริยาของยอห์นเป็นไปในแง่ลบ ยอห์นพยายามทําให้ชาติยิวเบนเข็มทิศเพื่อไม่ต้องประสบหายนะ หรืออย่างน้อยก็ช่วยกู้อะไรไว้บ้าง แต่ปฏิกิริยาของพระเยซูเป็นไปในแง่บวก สําหรับพระเยซู มันเป็นโอกาสที่จะเผชิญหน้ากับความจริง โอกาสที่ภัยพิบัติกําลังคุกคามอยู่นี้ เป็นโอกาสเหมาะมากที่อาณาจักรพระเจ้าจะมาถึง ในขณะที่เผชิญหน้ากับความพินาศอันกําลังจะเกิดขึ้นนี้ พระเยซูเห็นโอกาสที่จะเชิญชวนให้ทุกคนกลับใจอย่างสิ้นเชิง "หากพวกท่านไม่เปลี่ยนใจ พวกท่านจะพินาศ” (ลก.๑๓,๓-๕) แต่หากท่านเปลี่ยนใจ และมีความเชื่ออาณาจักรพระเจ้าจะมาถึง แทนที่จะมีภัยพิบัติ

. ต้องตัดสินใจ

ในภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ จะต้องเลือกเอาระหว่างภัยพิบัติ หรืออาณาจักรพระเจ้า คําสอนข้อนี้วนเวียนอยู่ใน นิทานเปรียบเทียบหลายเรื่องและในคําพูดหลายโอกาส ในเรื่องของผู้จัดการที่ฉ้อโกง เมื่อเขาต้องเผชิญหน้ากับการสูญเสียตําแหน่งและอนาคต เขาดําเนินการแก้ไขอย่างเฉียบขาดทันที และสามารถทําให้อนาคตของ ตนมีความมั่นคงได้ (ลก. ๑๖,๑-๘) ฝ่ายเศรษฐีเบาปัญญา มัวแต่คิดสร้างยุ้งฉางที่ใหญ่กว่าเดิม ในที่สุดต้องสูญเสียทุกอย่าง (ลก.๑๒,๑๖-๒๐) "จะมีประโยชน์อะไรถ้าคนหนึ่งจะได้ครอบครองโลกทั้งโลก แต่ต้องเสียชีวิตไป?" (มก.๘,๓๖) ถ้าประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกผู้นํา ไม่คํานึงถึงภัยพิบัติ แล้วรีบดําเนินการ ก็จะต้องพบกับความพินาศอย่างไม่รู้ตัว เหมือนกับเจ้าของบ้านที่นอนหลับขณะที่โจรบุกเข้ามาปล้น (มธ.๒๔,๔๓) หรือเหมือนกับคนที่บ้านถูกพายุฝนพัดถล่ม เพราะไม่ได้เตรียมตัวให้ดี พอใจเพียงแค่ปลูกบ้านอย่างง่าย ๆ บนดินทราย (มธ.๗,๒๔-๒๗) บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่จะต้องตัดสินใจและทําอะไรลงไปทันที ไม่ใช่เพียงเพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติเท่านั้น แต่โอกาสทองกําลังเปิดอยู่ต่อหน้าต่อตา นั่นคือ ขุมทรัพย์มหาศาล ไข่มุกลํ้าค่า งานเลี้ยงมโหฬาร (มธ.๑๓,๔๔-๔๖;ลก.๑๔,๑๕-๒๔) ถ้ารอช้าอาจพลาดโอกาสทองนี้ไปได้ พรุ่งนี้อาจจะสายเกินไปแล้ว

ที่ว่าอาณาจักรพระเจ้าอยู่ใกล้ ไม่ใช่เป็นเรื่องกําหนดแน่นอน แต่เป็นโอกาสที่เป็นไปได้ สิ่งที่แน่นอนสําหรับพระเยซูคือ ภัยพิบัติหรือ อาณาจักรพระเจ้า อย่างใดอย่างหนึ่งจะมาถึงในอนาคตอันใกล้ ฉะนั้นยุคของพระเยซูเป็นยุคที่จะต้องตัดสินใจและดําเนินการ เป็นโอกาสพิเศษที่ไม่เคยมีมาก่อน

. ต้องรีบให้อาณาจักรพระเจ้ามาถึงก่อนภัยพิบัติ

เมื่อพระเยซูปลอบใจคนจน พระเยซูไม่ได้บอกว่าอาณาจักรพระเจ้าใกล้จะมาถึงแล้ว แต่บอกว่าเมื่อมาถึง ไม่ว่าจะเป็นเมื่อไร อาณาจักรจะเป็นของคนจน ไม่มีใครรับรองได้ว่าใกล้จะมาถึง สิ่งที่จะมาถึงแน่ๆ ก่อนที่คนยุคนี้จะผ่านพ้นไปโดยไม่ได้กลับใจ ก็คือภัยพิบัติ (มก.๑๓,๒-๔; ๑๓,๓๐; ลก.๑๓,๓-๕) มีอยู่ไม่กี่ครั้งที่พระเยซูพูดว่าอาณาจักรใกล้เข้ามาแล้ว (มก.๑, ๑๕; ๙,๑; มธ.๔,๑๗; ลก.๑๐,๑๑) เมื่อพูดเช่นนั้น เป็นการเตือนภัย เตือนว่าภัยพิบัติหรืออาณาจักร อย่างใดอย่างหนึ่งกําลังจะมาถึง ฉะนั้นพระเยซูไม่ได้พูดว่า "จงยินดีเถิด อาณาจักรพระเจ้าใกล้เข้ามาแล้ว" แต่พูดว่า "จงกลับใจเถิด..."

อีกสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงความไม่แน่นอน (ภัยพิบัติหรืออาณาจักรจะมาถึงก่อน) คือความรีบเร่งที่มีพูดถึงในพระวรสาร การประกาศสอนเรื่องอาณาจักรพระเจ้า ต้องทําอย่างรีบเร่ง จนถึงกับว่า ผู้ประกาศไม่มีเวลาแม้แต่จะหันไปมองข้างหลังเมื่อเริ่มงานแล้ว (ลก.๙,๖๒) ไม่มีเวลากลับไปฝังศพบิดา คือไปดูแลจนกว่าบิดาจะตาย (ลก.๙,๕๙-๖๐) ไม่มีเวลาที่จะแวะเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูง (ลก.๙,๖๑;๑๐,๔) ผู้ประกาศจะต้องเดินทางรวดเร็วและไม่ต้องมีสัมภาระมาถ่วงให้เสียเวลา (ลก.๙,๓) ผู้ประกาศต้องรีบปฏิบัติหน้าที่ โดยทิ้งทุกอย่างทันทีและรีบตามพระเยซูไปเทศน์สอนเกี่ยวกับอาณาจักร (มก.๑,๒๐;๑๐,๒๘)

ทําไมจึงต้องเป็นเช่นนั้น? ก็เพราะว่าชาติยิวกําลังมุ่งสู่ความหายนะ ถ้าหากมีใครรับรองได้ว่าอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองกําลังจะมาถึงอยู่แล้วอย่างแน่นอน ก็คงจะไม่ต้องมีการรีบเร่งเทศน์สอนให้คนกลับใจเปลี่ยนชีวิต แต่ในความเป็นจริง ไม่มีเวลาที่จะเสียต่อไปอีกแล้ว เพราะในสถานการณ์เช่นนั้น วิธีเดียวที่จะป้องกันไม่ให้ชาติยิวพุ่งถลําลงสู่ความพินาศ ก็คือการเปลี่ยนใจ เปลี่ยนชีวิตอย่างสิ้นเชิง จนถึงกับว่าสามารถทําให้ อาณาจักรพระเจ้ามาถึงแทนภัยพิบัติ

5. นรกคือภัยพิบัติส่วนตัว

หากอาณาจักรพระเจ้ามาถึง แทนที่จะเกิดภัยพิบัติจริง คนที่ไม่ยอมรับอาณาจักรนี้ก็จะต้องประสบภัยพิบัติในระดับส่วนตัว พวกเขาจะพบว่าตัวเองตกค้างอยู่ในความมืดข้างนอก (มธ.๘,๑๒; ๒๒,๑๓; ๒๕,๓๐) ถูกปลดจากทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนหวงแหน ทั้งเงินทอง เกียรติยศชื่อเสียง พรรคพวกและอํานาจ เพราะไม่มีที่สําหรับสิ่งเหล่านี้ในอาณาจักรพระเจ้า พวกเขาจะพบว่า ตนเองสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยทําให้ชีวิตมีความหมาย พวกเขาจะพบว่า ชีวิตของตนถูกทําลายจนหมดสิ้น พวกเขาไม่ได้ถูกไล่ออกไป แต่พวกเขาแยกตัวเองออกไปต่างหาก

ภัยพิบัติเฉพาะคนดังกล่าว บางทีก็มีบรรยายในพระวรสารว่า เป็นเหมือนการอยู่ในความมืดภายนอก หรือเหมือนถูกโยนลงไปในกองไฟในเกเฮนนา (Gehenna) เกเฮนนาเป็นชื่อของหุบเขานอกเมืองเยรูซาเลม หลายศตวรรษก่อนสมัยพระเยซู หุบเขาเกเฮนนาเป็นที่ที่มีการฆ่าเด็กถวายบูชาเทพเจ้า จึงถือกันว่าเป็นสถานที่ชั่วช้ามีมลทินที่สุด และกลายเป็นกองขยะสาธารณะของเมืองเยรูซาเลม ของเน่าเสียทุกชนิดที่ถูกทิ้งลงไปก็ถูกหนอนรุมกิน และมีไฟลุกกรุ่นอยู่ตลอดเวลาเหมือนกับกองขยะทั่วไป หนอนและไฟเป็นตัวทําลายจนถึงสุดท้าย สิ่งที่น่ากลัวที่สุดก็คงจะเป็นการถูกโยนลงไปในเกเฮนนาให้หนอนและไฟช่วยกันรุมทําลายให้สิ้นซาก ทั้งคนและซากสิ่งของในเกเฮนนาตายหรือสลายไป คงมีแต่หนอนและไฟที่ทําหน้าที่ต่อไปเรื่อยอย่างไม่มีจบสิ้น และนี่คือจุดกําเนิดภาพพจน์ "นรก" ตามธรรมเนียมของศาสนายิวและศาสนาคริสต์ (เนื่องจากอิทธิพลของปรัชญากรีก ซึ่งถือว่าจิตหรือวิญญาณมนุษย์ไม่รู้ตาย คริสต์ศาสนิกชนส่วนหนึ่งจึงเข้าใจว่าเกเฮนนาหรือ "นรก" เป็นที่ทรมานตลอดไปสําหรับวิญญาณที่ไร้ร่างกาย)

เกเฮนนาเป็นภาพพจน์ของความตายและความพินาศ ตรงข้ามกับชีวิต หากพระเยซูเคยใช้ภาพพจน์นี้ ก็คงใช้ในทํานองนี้คือ "อย่ากลัวผู้ที่ฆ่าได้แต่กาย แต่ไม่อาจฆ่าจิตของท่านได้ แต่จงกลัวผู้ที่ทําลายทั้งกายและจิต

ของท่านในเกเฮนนา" (มธ.๑๐,๒๘) การทําลายจิตของคนก็คือทําลายความเป็นคน หรือสิ่งที่หนังสือวิวรณ์เรียกว่าความตายครั้งที่สอง (วิวรณ์ ๒,๑๑; ๒๐,๖; ๒๐,๑๔; ๒๑,๘) ในความหมายเช่นนี้ หลายคนก็ต้องถือว่าตายไปแล้ว "ปล่อยให้คนตายฝังคนตายเองเถิด" (มธ.๘,๒๒) อันได้แก่คนที่ไม่ยอมรับข่าวดีของพระเยซู แต่เกาะยึดอยู่กับวิถีชีวิตและค่านิยมเดิมของตน จนในที่สุดถูกมันทำลายทั้งกายและจิตมีน้อยคนที่มองเห็นทางที่พระเยซูสอน ซึ่งเป็นทางที่นำไปสู่ชีวิต ทางสายนี้มองเห็นได้ยาก เปรียบเสมือนประตูแคบ หรือทางรก (ดู มธ.๗,๑๓-๑๔) คนส่วนมากเลือกวิธีต่าง ๆ ที่เห็นชัดเจน หรือเห็นว่าง่ายในอันที่จะแก้ไขสถานการณ์ เช่นวิธีของพวกต่างๆ ในสมัยนั้น (ซัดดูสี ซีลอท ฯลฯ) แต่แล้ววิธีเหล่านั้นกลับเป็นทางที่นำไปสู่ความพ่ายแพ้และหายนะของชาติยิว

การที่พระเยซูเร่งงานประกาศอาณาจักรพระเจ้า ไม่ใช่เพราะเห็นแก่คนที่ทําตัวสมกับภัยพิบัติเฉพาะตัวเท่านั้น พระเยซูเป็นห่วงประชาชนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านธรรมดาที่ไม่รู้เรื่องอะไร ในสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมในขณะนั้น ถ้าภัยพิบัติเกิดขึ้น ทุกคนจะต้องทนทุกข์ ทั้งคนดีและคนผิด พระเยซูแนะนําว่าถ้าเกิดเรื่องก็ให้วิ่งหนีขึ้นเขาเพื่อเอาชีวิตรอด (มก.๑๓,๑๔-๒๐) ความรีบด่วนสูงสุดในขณะนั้นก็คือ ป้องกันไม่ให้เกิดหายนะ โดยเร่งเร้าให้ทุกคนเปลี่ยนชีวิตหันไปสู่อาณาจักรพระเจ้า

ดังที่เรารู้จากประวัติศาสตร์ว่า ในความเป็นจริง ภัยพิบัติได้เกิดขึ้น ก่อนที่อาณาจักรพระเจ้าจะมาถึง ในปี ค.ศ.๗๐ กองทัพโรมันทําลายเมืองเยรูซาเลมและพระวิหารของชาวยิว ในปี ค.ศ.๑๓๕ ชาติยิวถูกทําลายอย่างสิ้นซาก ชาวยิวจํานวนมากถูกฆ่าตายอย่างทารุณนองเลือด ส่วนที่เหลือก็ถูกไล่ออกจากดินแดนปาเลสไตน์จนหมด

6. ภารกิจของพระเยซูล้มเหลว?

พระเยซูคาดไว้ไม่มีผิด ภารกิจของพระองค์ล้มเหลว หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องกว่านั้น ต้องพูดว่าประชาชนชาวยิวล้มเหลว ที่ได้ปล่อยให้โอกาสอันสําคัญยิ่งผ่านพ้นไป โดยไม่ได้ทําอะไรเพื่อแก้สถานการณ์ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม มันก็ยังไม่ใช่จุดจบ ยังจะมีโอกาสอีก เพราะว่า ในที่สุดแล้วอาณาจักรพระเจ้าจะต้องมาถึง พระเจ้าต้องมีชัยชนะ คริสตชนรุ่นหลังพยายามเอาการประกาศและคําสอนของพระเยซู ไปดัดแปลงเข้ากับสถานการณ์ใหม่ของตน

สารของพระเยซูก็เป็นเหมือนสารของประกาศกสมัยก่อนๆ คือเป็นสารที่เจาะจงสําหรับสมัยของตนหรือสถานการณ์ในเวลานั้น แต่อย่างไรก็ตาม สารนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพระกับมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานและเป็นความจริง สารนั้นจึงสามารถถ่ายทอดและแปลความหมายให้เข้ากับสมัยอื่น หรือสถานการณ์อื่นได้ หลังจากที่ภัยพิบัติได้เกิดแก่ชาติยิวแล้ว สารของพระเยซูก็ถูกนําไปปรับเข้ากับสังคมอื่นๆ และนี่ก็คือจุดประสงค์ของผู้เขียนพระวรสาร แต่เพื่อจะเข้าใจว่าพระเยซูพูดอะไร ทําอะไร มีความหมายอะไรสําหรับคนที่อยู่รอบข้าง (ก่อนที่จะมีศาสนาคริสต์เกิดขึ้น) เราจําเป็นต้องแยกแยะว่าในพระวรสาร อะไรเป็นเรื่องของสถานการณ์สมัยพระเยซู อะไรเป็นสิ่งที่ถูกปรับแปลงให้เข้ากับสถานการณ์สมัยหลัง

คำถาม
1.อาณาจักรพระเจ้าจะมาถึงได้อย่างไร?
2.ทำไมพระเยซูจึงรีบเร่งในการประกาศอาณาจักรพระเจ้า?
3.ท่านเข้าใจเรื่องนรกอย่างไร?
4.ภารกิจของพระเยซูล้มเหลวหรือไม่?

 

1. โลกคือสิ่งฟุ้งเฟ้อ

        ในสมัยโบราณ มีนักตรรกวิทยาผู้หนึ่ง นามว่า อารีสติปป์ คราวหนึ่งขณะกำลังโดยสารอยู่ในทะเล เรือเกิดอับปางลง เขาเอาตัวรอดขึ้นฝั่งได้ แต่เสียข้าวของจนสิ้นเนื้อประดาตัว เมื่อชาวบ้านแถบนั้น ทราบว่าเขามีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง จึงช่วยกันจัดหาข้าวของต่างๆ มาทดแทนให้เขาจนครบถ้วนจากที่นี้ เขาเขียนจดหมายถึงพวกเพื่อน ๆ ที่บ้านเกิดของเขาว่า: ขอให้ท่านทั้งหลายเอาอย่างข้าพเจ้า คือ ให้ใฝ่ใจหาเฉพาะทรัพย์อันที่ แม้เรืออับปาง ก็ไม่เสียหาย คำสอนอันเดียวกันนี้เอง พ่อแม่ญาติพี่น้อง และมิตรสหายของเรา ผู้ที่ขณะนี้บรรลุถึงนิรันดรภาพแล้ว นำมาเตือนใจเรา ท่านบอกให้เราใฝ่ใจแสวงหาในชีวิตปัจจุบันนี้ เฉพาะแต่ทรัพย์สมบัติชนิดที่เมื่อตายไปแล้วจะไม่สูญหาย วันตายเรียกว่า วันเสียหาย (ฉธบ.  32, 35) เพราะว่าในวันนั้น สมบัติแห่งโลกนี้ยศฐาบรรดาศักดิ์ โภคทรัพย์ ความสนุกสุขสบาย ทุกสิ่งเหล่านี้จะสูญสิ้นไป ฉะนั้นนักบุญอัมโบรส จึงว่า “สมบัติเหล่านั้น จะเรียกว่าเป็นสมบัติของเราไม่ได้ในเมื่อมันเป็นสิ่งที่เราจะนำติดตัวไปยังโลกหน้าไม่ได้ มีแต่ฤทธิ์กุศลเท่านั้น ที่จะตามเราไปยังชีวิตหน้า” (1)

        พระเยซูคริสต์ทรงสอนว่า “จะประโยชน์อะไร แม้จะได้ทั้งโลกจักรวาล” (มจ. 16, 26) หากเมื่อตาย เราเสียวิญญาณ เราก็เสียหมดทุกสิ่ง? อา! คติพจน์อันสำคัญนี้ได้บันดาลให้หนุ่มสาวกี่คนแล้ว ไปขังตัวอยู่ในพระอาราม! ได้ดลบันดาลให้ฤษีกี่องค์แล้ว ไปตั้งอาศรมอยู่ในป่า? ได้เร้าให้มาร์ตีร์กี่องค์แล้วพลีชีพเพื่อพระเยซูคริสต์! คติพจน์อันนี้เอง ที่นักบุญอิกญาซีโอแห่งโลโยลา ได้นำมาใช้ชักจูงวิญญาณมากหลายไป้เข้ามาหาพระเป็นเจ้า เฉพาะอย่างยิ่งวิญญาณอันงามของนักบุญฟรันซีส เซเวีย์ ผู้ที่ขณะนั้นอยู่ที่กรุงปารีสกำลังฝักใฝ่อยู่ทางโลก “ฟรันซีสเอ๋ย นักบุญเอ่ยขึ้นในวันหนึ่ง โลกน่ะ มันทรยศนะ สัญญาแล้วไม่ถือตามเอาเถอะ แม้ว่าโลกจะถือตามสัญญาที่ให้ไว้แก่ท่าน มันก็ไม่อาจทำความอิ่มใจท่านได้ เอ้า! สมมุติว่าดลกทำความอิ่มใจแก่ท่านได้ ก็ความสุขที่มันจะให้ จะคงอยู่ช้านานแค่ไหน? จะยืนยงเกินกว่าชีวิตของท่านไปได้หรือ? และที่สุดเมื่อไปสู่นิรันดรภาพ ท่านจะนำอะไรติดตัวไปเล่า? มีเศรษฐีคนไดบ้าง ที่นำเงินติดตัวไปสักบาทหนึ่ง หรือคนไช้สักคนหนึ่งไปด้วยเพื่อความสะดวกสบายของตน? มีกษัตริย์องค์ไหนบ้าง ได้นำกำมะหยี่แม้เพียงเส้นหนึ่งติดตัวไป เพื่อแสดงราชศักดิ์ของตน?” เพราะได้ฟังคำตักเตือนดังนี้ ฟรันซีสจึงได้สละละโลก เข้าคณะของนักบุญอิกญาซีโอ แล้วจึงได้กลายเป็นนักบุญ

        “ความฟุ้งเฟ้อแห่งความฟุ้งเฟ้อ” (ปญจ. 12, 8) กษัตริย์ ซาโลมอนตรัสเรียกสมบัติพัสถานของโลกไว้ดังนี้ หลังแต่ท่านได้ปล่อยตัวหาความสนุกสุขสบายทุกอย่างทุกประการอันมีอยู่บนพื้นแผ่นดิน ดั่งที่ท่านเองได้สารภาพไว้ (ปญจ. 2, 10) ธิดาแห่งจักรพรรดโรดอลโฟ ที่ 2 ภคินี มาร์คารีตาแห่งนักบุญอันนา คณะการ์เมไลต์ไม่สวมรองเท้า ได้กล่าวว่า “เมื่อถึงเวลาตาย การได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน จะเป็นประโยชน์อะไร” แปลกแท้! เมื่อคิดถึงเรี่องความรอดตลอดนิรันดร แม้พวกนักบุญก็ตัวสั่น ตัวอย่างคุณพ่อเปาโล เซเญรี ตัวสั่น ถามพระสงฆ์ผู้ฟังแก้บาป อย่างตกอกตกใจว่า “ว่าอย่างไร คุณพ่อ ฉันจะเอาตัวรอดไหม?” นักบุญอันเดรอา อาแวลลีโน ก็ตัวสั่น ร้องไห้ฟูมฟาย พูดว่า “ใครจะไปรู้ ฉันจะเอาตัวรอดได้หรือไม่?” ความคิดอย่างเดียวนี้ ทรมารนนักบุญหลุยส์ แบร์ตรันโดจนเวลากลางคืน ท่านตกใจ กระโดดลุกขึ้นจากเตียง ร้องว่า “ใครจะไปรู้ บางทีฉันจะตกนรก!” ก็ไฉนคนบาป ซึ่งดำรงชีพอยู่ในฐานะที่ควรจะต้องไปนรกแท้ ๆ เขาจึงนอนตาหลับ จึงคุยสนุก จึงหัวเราะเล่นได้หนอ?

        ข้อเตือนใจและคำภาวนา

        อา! พระเยซู พระมหาไถ่ของข้าพเจ้า ขอขอบพระคุณที่ได้ทรงโปรดให้ข้าพเจ้ารู้จักความบ้า และความผิดที่ข้าพเจ้าได้หันหลังให้แก่พระองค์ พระเป็นเจ้าผู้ได้ทรงพลีพระโลหิตและพระชนม์ชีพเพื่อข้าพเจ้า เป็นความจริงไม่ควรเลยที่ข้าพเจ้าจะกระทำกับพระองค์ดังนี้! โอ้! หากความตายจะมาหาข้าพเจ้าในเวลานี้ ข้าพเจ้าจะมีอะไรติดตัว นอกจากบาป และความร้อนใจ ซึ่งมีแต่จะทำให้ข้าพเจ้าตายด้วยความกระวนกระวายเป็นที่สุดเท่านั้น พระมหาไถ่เจ้าข้า ข้าพเจ้าขอสารภาพว่าได้กระทำผิด ได้พลาดพลั้ง ได้สละละพระองค์ องค์คุณงามความดีที่ล้นพ้น เพราะเห็นแก่ความสนุกสารเลวของโลก ข้าพเจ้าเป็นทุกข์เสียใจจริง ๆ แล้ว! ทรงพระกรุณาเห็นแก่ความปวดร้าว ซึ่งได้ปลิดพระชนม์ชีพของพระองค์บนไม้กางเขนและโปรดให้ดวงใจของข้าพเจ้าปวดร้าวไป เพราะได้กระทำบาปจนข้าพเจ้าต้องร้องไห้ตลอดทั้งชีวิตที่ยังเหลืออยู่นี้เถิด พระเจ้าข้า พระเยซูเจ้าข้าอภัยโทษแก่ข้าพเจ้าเถิด พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าสัญญาว่า จะไม่กระทำเคืองพระทัยต่อไป แต่จะรักพระองค์เสมอเป็นนิตย์ ข้าพเจ้าไม่สมควรให้พระองค์ทรงรักข้าพเจ้าเพราะในครั้งก่อนข้าพเจ้าได้ประมาทความรักของพระองค์ ถึงกระนั้น พระองค์ตรัสว่า พระองค์ทรงรักผู้ที่รักพระองค์ (สภษ. 8, 17) บัดนี้ข้าพเจ้ารักพระองค์ฉะนั้นโปรดรักข้าพเจ้าด้วยเถิด พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าไม่ยอมปล่อยตนให้อยู่ในฐานะเป็นศัตรูของพระองค์ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าสบะละยศศักดิ์ และความสนุกสบายทั้งสิ้น ของโลก ต้องการแต่ให้พระองค์ทรงรักข้าพเจ้าอย่างเดียวเท่านั้น ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เดชะความรักของพระองค์ต่อพระเยซูคริสต์ โปรดสดังฟังคำวิงวอนของข้าพเจ้าเถิด พระเยซูเจ้าเองก็กำลังทรงวิงวอนขอพระองค์อย่าทรงขับไล่ข้าพเจ้าออกจากดวงพระหฤทัยของพระองค์ ข้าพเจ้าขอถวายตัวข้าพเจ้าทั้งหมดแด่พระองค์ ขอถวายชีวิต ความยินดี ความรู้สึกต่าง ๆ วิญญาณ ร่างกาย เจตนา และอิสระภาพของข้าพเจ้าแด่พระองค์ ทรงพระกรุณา โปรดรับไว้เถิด พระเจ้าข้า โปรดอย่าทรงผลักไสข้าพเจ้า ดังที่สมจะได้รับเลย เพราะข้าพเจ้าได้เคยผลักไสมิตรภาพของพระองค์มาเป็นหลายครั้งหลายหนนั้น พระเจ้าข้า (2)

        พระนางพรหมจาริณีผู้ศักดิ์สิทธิ์ พระแม่มารีอา เจ้าข้า โปรดวิงวอนพระเยซูเพื่อข้าพเจ้า ข้าพเจ้าวางใจในคำเสนอวิงวอนของท่านเสมอ


2. โลกหลอกลวง

        อยากรู้ว่า อะไรเป็นทรัพย์แท้ เราต้องชั่งดูตามตาชั่งของพระเป็นเจ้า และไม่ใช่ตามตาชั่งของโลก ซึ่งหลอกลวง คดโกง (3) ทรัพย์ของโลกเป็นของเลวเหลือเกิน มันไม่อิ่มใจเรา ทั้งหมดสิ้นไปรวดเร็ว “วันของข้าพเจ้าล่วงไปเร็วกว่านักวิ่ง มันผ่านไปเหมือนกับเรือ” (โยบ. 9, 25) วันเวลาแห่งชีวิตของเรา พร้อมทั้งความสนุกสุขสบายทั้งสิ้นของโลก ล่วงไป วิ่งหนีไปและที่สุดก็เหลืออะไร? มันผ่านไปเช่นเดียวกับเรือ เมื่อเรือผ่านไป มันไม่ทิ้งอะไรไว้เลย แม้แต่ร่องรอย (ปชญ. 5, 10) โปรดภามดูพวกเศรษฐี พวกนักปราชญ์ พวกเจ้านาย ซึ่งขณะนี้อยู่ในนิรันดรภาพแล้วว่า: บัดนี้ เข้ามีความหรูหรา ความสนุกสบาย ความสง่าราศีอย่างที่เคยมีในโลกหรือไม่? เขาทุกคนจะตอบว่า: ไม่มี ไม่มีเลย นักบุญเอากูสติน อุทานว่า “มนุษย์เอ๋ย เจ้ามัวมองดูเจ้านายผู้นั้น ในแง่ที่ว่า เขามีข้าวของอะไรบ้างในโลก ขอให้เจ้ามองดูในแง่ที่ว่า เขาจะนำอะไรติดตัวเข้าไปบ้างซิ” (4) ในเมื่อเขาจะตายไป นอกจากศพอันเน่าเหม็น และเสื้อชิ้นหนึ่ง ซึ่งจะพลอยผุเปื่อยไปพร้อมกับศพ

        เมื่อเจ้านายในโลกนี้ตายไป ชั้นแรกในชั่วเวลาไม่นานนัก จะมีการโจษจันถึงเขาบ้าง แต่แล้วแม้ความทรงจำถึงเขาก็จะหมดสิ้นไป (5) อนิจจา! เมื่อคนเหล่านี้ไปนรกเขาจะทำอะไร? จะพูดว่าอะไร? เขาจะร้องไห้ จะพูดว่า “ความหรูหราโอ่อ่า ความมั่งมีของเรานั้น เป็นประโยชน์อะไร ในเมื่อในบัดนี้มันผ่านพ้นไปเหมือนกับเงา” (ปชญ. 5, 8) เหลืออยู่แต่ เราจะต้องโทษ ต้องร้องไห้ และต้องเสียใจตลอดทั้งนิรันดรภาพ”

        พวกลูกแห่งโลกนี้ ฉลาดกว่าพวกลูกแห่งความสว่า (ลก. 16, 8) ไม่น่าแปลกใจหรือ! ชาวโลกช่างเฉลียวฉลาดในเรื่องของโลกนี้จริงหนอ? ความเหน็ดเหนื่อยชนิดไหนเขาจะไม่สู้ ในเมื่อต้องการจะได้รับตำแหน่งหน้าที่อันนั้นข้าวของสิ่งนั้น? ความลำบากชนิดใหน เขาจะไม่ยอมทน เพื่อจะรักษาสุขภาพในร่างกายของเขา? เขาเลือกเฟ้นเอาวิธีที่แน่ที่สุด หมอที่เยี่ยมกว่าหมด ยาขนานวิเศษกว่าหมด อากาศที่บริสุทธิ์ที่สุด แต่สำหรับวิญญาณเล่า เขาไม่เอาใจใส่เสียเลย! แต่ถึงกระนั้น มันก็เป็นการแน่ว่า สุขภาพ ตำแหน่งหน้าที่ ข้าวของจะต้องหมดสิ้นไปในวันหนึ่ง แต่ว่า วิญญาณ นิรันดรภาพ ไม่มีวันจบสิ้น นักบุญเอากุสตินบอกว่า “ขอให้สังเกตดูเถิด คนเรายอมสู้ทรความยากลำบากเพียงไรสำหรับจะได้ของที่เขารัก ในทางไม่ถูกต้อง” (6) มีอะไรหรือ ที่คนจองเวร คนขโมยคนชั่ว จะไม่ยอมรับทน เพื่อสำเร็จผลตามความตั้งใจชั่วของเขา? แล้วสำหรับวิญญาณเล่าเขาไม่ทนอะไรสักนิด! อนิจจา! เมื่อเทียบในคราวตาย จะสาดแสงเมื่อความจริงจะปรากฏเด่นชัด เมื่อนั้นแหละ คนใจโลกจะรู้ จะรับว่า ตนเป็นคนบ้าเมื่อนั้นแหละ เขาต่างจะร้องว่า “โอ! หากฉันจะได้สละละทุกสิ่ง และจะได้บำเพ็ญตนเป็นนักบุญ ละก็...”

        พระสันตะปาปา เลโอที่ 11 เมื่อจวนจะสิ้นพระชนม์มีพระดำรัสว่า “หากว่าเราจะได้เป็นตนเฝ้าประตูพระอารามของเรา ก็คงจะดีเสียกว่าได้เป็นพระสันตะปาปาเป็นไหน ๆ พระสันตะปาปา โฮนอรีโอที่ 3 ก็เหมือนกัน ก่อนจะเสด็จดับขันธ์มีพระวาจาว่า “หากเรานี้ได้คงอยู่ในครัวอารามของเรา เป็นคนล้างถ้วยล้างชามก็ยังจะดีกว่าที่เป็นอยู่ในบัดนี้” ฟีลิปที่ 2 พระเจ้ากรุงเสปญ เมื่อจะสิ้นพระชนม์ได้ทรงเรียกโอรสเข้ามา ถอดฉลองพระองค์ออก ชี้ทรวงอกที่มีหนอนกำลังไชตรัสว่า “เจ้าชาย เห็นไหม? คนเราตายกันอย่างไร? ความยิ่งใหญ่ของโลกนี้จบสิ้นลงอย่างไร?” และทรงอุทานว่า “เสียดายแท้ ๆ ที่ข้ามิได้เป็นภราดาในคณะใดคณะหนึ่ง แทนจะเป็นในหลวง!” อันดับนั้น ทรงรับสั่งให้เอาเชือกและกางเขนมาผูกไว้ที่พระศอ ครั้นได้ทรงเตรียมทุกสิ่งพร้อมสรรพสำหรับจะตายแล้ว ก็มีพระราชดำรัสเสริมว่า “ลูกเอ๋ย พ่อใคร่ให้เจ้าอยู่ในขณะนี้ เจ้าจะได้เห็นว่าโลกในวาระสุดท้ายนั้น มันเป็นอย่างไร แม้สำหรับตัวพระราชาความตายของพระราชานั้น มันก็เหมือนกับความตายของคนที่จนที่สุดในโลกนั่นเอง พูดสั้นๆ ใครได้ดำรงชีพดีกว่ากัน คนนั้นแหละจะได้อยู่ใกล้ชิดพระเป็นเจ้ามากกว่ากัน” พระโอรสผู้นี้ ภายหลังได้เสวยราชย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าฟีลิปที่ 3 ทรงสิ้นพระชนม์ขณะยังทรงหนุ่มแน่น มีพระสิริพรรษาเพียง 43 คราวนั้นพระองค์ตรัสว่า “ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งหลาย ในสุนทรพจน์งานศพของข้าพเจ้า ท่านทั้งหลายอย่ากลัวถึงสิ่งใดนอกจากสิ่งที่ท่านกำลังแลเห็นอยู่นี้ ขอให้ท่านพูดว่าเมื่อถึงคราวตาย การเป็นในหลวง ไม่มีประโยชน์อะไร มีแต่จะทำให้รู้สึกลำบากมากขึ้น เพราะที่ได้เป็นในหลวงเท่านั้น” แล้วพระองค์อุทานต่อว่า “โอ้! หากข้าพเจ้ามิได้เป็นในหลวงหากข้าพเจ้าได้ดำรงชีพอยู่ในป่า ปรนนิบัติพระเป็นเจ้าแล้วปานนี้ข้าพเจ้าจะไปอยู่เฉพาะพระที่นั่งของพระเป็นเจ้า ด้วยมีความหวังมากกว่านี้ และจะไม่อยู่ในภัยจะตกนรกดังเช่นเป็นอยู่ในบัดนี้!”

        ก็เมื่อถึงคราวจะตาย ความปรารถนาดีดังเช่นที่กล่าวมานี้ จะเป็นประโยชน์อะไรนอกจากจะเพิ่มโทษ เพิ่มความเสียใจแก่บุคคลที่มิได้รักพระเป็นเจ้าขณะมีชีวิตอยู่ในโลก? ฉะนั้นนักบุญเทเรซา จึงกล่าวว่า : จงอย่านับถือข้าวของที่จะสิ้นสุดลงพร้อมกับชีวิตเลย ความสุขแท้อยูที่การครองชีพขนิดที่จะไม่ต้องกลัวความตาย นั่นเอง เพราะฉะนั้น หากชาวเราประสงค์จะรู้จักราคาแท้แห่งทรัพย์สมบัติในโลกนี้ก็จงพิจารณาดูมันบนที่นอนเวลาจะตายเถิดและให้พูดว่า: ยศศักดิ์ ความสนุกสุขสบาย ทรัพย์สมบัติจะจบสิ้นในวันหนึ่ง ชาวเราจึงต้องเอาใจใส่ในการบำเพ็ญตนเป็นนักบุญ ในการเป็นผู้มั่งมีด้วยเฉพาะทรัพย์สมบัติชนิดที่จะตามเราไปและจะทำให้เราเป็นสุขใจตลอดทั้งนิรันดรภาพนั้นแล

        ข้อเตือนใจและคำภาวนา

        อา! พระมหาไถ่เจ้าข้า พระองค์ได้ทรงรับทนทุกข์ทรมาน และความอับอายเหลือประมาณ เพราะทรงรักข้าพเจ้า ส่วนข้าพเจ้ากลับไปรักความสนุกสุขสบาย และควันของแผ่นดิน จนได้บังอาจเหยียบย่ำพระหรรษทานของพระองค์ก็หลายครั้ง แม้ในขณะที่ข้าพเจ้ากำลังหมิ่นประมาทพระองค์ดังนั้น พระองค์ก็มิได้ทรงยับยั้งการเสด็จมาหาข้าพเจ้า แต่ในบัดนี้ พระเยซูเจ้าข้า ข้าพเจ้ากำลังตามหาและกำลังรักพระองค์ด้วยสิ้นสุดจิตใจ ข้าพเจ้าจึงมิต้องกลัวพระองค์จะทรงขับไล่ข้าพเจ้าเสียใจ เพราะการที่ได้ทำเคืองพระทัย ยิ่งกว่าเพราะความเสียหายอย่างอื่นใดทั้งสิ้น โอ้ พระผู้เป็นเจ้าแห่งวิญญาณของข้าพเจ้า แต่บัดนี้สืบไป ข้าพเจ้าจะไม่ยอมกระทำความเจ็บช้ำน้ำใจของพระองค์อีกเบย แม้ในข้าเล็กน้อย โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบเถิดว่า พระองค์ไม่ทรงพอพระทัยสิ่งใด และข้าพเจ้าจะไม่ทำสิ่งนั้นเป็นอันขาด แม้จะได้ผลประโยชน์ฝ่ายโลกนี้เพียงไรก็ตาม และโปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบเถิดว่าพระองค์ทรงพอพระทัยสิ่งใด ข้าพเจ้ายินดีรับทำทุกประการ พระเจ้าข้า ข้าแต่พระสวามี ข้าพเจ้าตั้งใจรักพระองค์จริง ๆ ข้าพเจ้ายินดีรับความเจ็บปวดและกางเขนทุกชนิดจากพระหัตถ์ของพระองค์ ขอทรงโปรดแต่ให้ข้าพเจ้ามีความเสียสละเท่าที่ต้องการนั้นด้วยเถิด พระเจ้าข้า ณ โลกนี้ ขอพระองค์โปรดเผาข้าพเจ้า โปรดเฉือนข้าพเจ้าเถิด โปรดลงโทษข้าพเจ้าในชีวิตนี้ เพื่อข้าเจ้าจะได้รักพระองค์ตลอดนิรันดรภาพ ในชีวิตหน้า พระเจ้าข้า

        พระแม่มารีอาเจ้าข้า ขอมอบตัวข้าพเจ้าไว้กับท่าน โปรดอย่าหยุด วิงวอนพระเยซู เพื่อข้าพเจ้าเลย


3. มาคิดถึงสวรรค์กันเถิด!

        “วันเวลามันสั้น... ผู้ที่ใช้ของของโลกนี้ จงทำตนเหมือนไม่ใช่มัน เพราะว่าภาพแห่งโลกนี้ผ่านพ้นไป” (1 คร. 7, 29-31) ชีวิตของเราในโลกนี้เป็นอะไรถ้ามิใช่เป็นละครที่ล่วงไปและจบสิ้นโดยรวดเร็ว “ภาพของโลกนี้ผ่านพ้นไป” ภาพคือละคร การเล่นละคร คุณพ่อ กอร์เนลีโอ อา ลาปีเด อธิบายว่า: โลกเรานี้เป็นเหมือนโรงละคร คนยุคหนึ่งล่วงไป คนอีกยุคหนึ่งเข้ามาแทน ผู้ที่ได้เป็นในหลวง จะไม่นำราชกุธภัณฑ์ (เคื่องหมายแสดงความเป็นพระราชา) ติดตัวไปด้วยหรอก ช่วยบอกข้าทีซิ ที่ดินเอ๋ย บ้านเรือนเอ๋ย เจ้าทีเจ้าของกี่คนแล้ว?” (7) เมื่อจบบทละครคนที่เล่นเป็นในหลวง จะไม่เป็นในหลวงต่อไป คนที่เล่นเป็นนายจะไม่เป็นนายต่อไปในขณะนี้ ท่านมีที่ดิน ท่านมีตึกรามงาม ๆ แต่เมื่อความตายจะมาถึง มันจะตกเป็นของคนอื่น

        ครั้นวาระแห่งความตายจะมาถึง ก็จะทำให้ลืมความเป็นเจ้าใหญ่นายโตยศศักดิ์และความโอ่อ่าหรูหราของโลกทั้งสิ้น หนังสือปัญญาจารย์กล่าวว่า “ความร้ายในหนึ่งชั่วโมง จะทำให้ลืมความสนุกอันมหึมา” (บสร. 11, 29) วันหนึ่งกาซีมีร์พระเจ้ากรุงโปแลนด์ ทรงนั่งโต๊ะเสวยพระกระยาหารพร้อมกับบรรดาขุนนางขณะทรงหยิบจอกขึ้นจะดื่ม ก็มีอันเป็น ทรงวายปราณไป เป็นอันว่าละครของกาซีมีร์ลาโรงไปแล้วดังนี้ จักรพรรดิแชลโซ เพิ่งได้รับเลือกตั้งได้เจ็ดวัน แล้วก็ได้ฆ่าตัวตาย ละครของแชลโซจบลงดังนี้ ลาดีสเลาส์ พระเจ้ากรุงโบเฮเมีย หนุ่ม 18 พรรษา กำลังคอยเจ้าสาวธิดาของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสและกำลังจัดงานอภิเษกสมรสอย่างมโหฬาร เช้าวันหนึ่งทรงรู้สึกเจ็บปวดเหลือทน แล้วก็เสด็จดับขันธ์ไปเขาเร่งใช้ม้าไปแจ้งข่าวให้เจ้าสาวเสด็จกลับประเทศฝรั่งเศสเสีย เพราะละครของพระเจ้าลาดีสเลาส์ ลาโรงเสียแล้ว ความคิดถึงความฟ้งแห่งโลกนี้นั้นเองได้ทำให้นักบุญฟรันซีส บอร์ซีอา กลายเป็นนักบุญดังที่เล่าได้เล่ามาแล้ว ทั้งนี้เพราะท่านได้แลเห็นพระนางเจ้า อีซาแบลลา สิ้นพระชนม์ ขณะกำลังรุ่งโรจน์และสาวสด ท่านจึงได้ตัดใจถวายตัวแด่พระเป็นเจ้าอย่างเด็ดขาด พูดกับตนเองว่า “ความมโหฬาร และมงกุฎของโลก มันลงเอยด้วยอาการเช่นนี้เอง! ฉะนั้นแต่วันนี้ไป ฉันตกลงใจจะปรนนิบัติแต่เฉพาะนายผู้ที่จะไม่ตายจากฉันไปได้”

        ชาวเราทั้งหลาย  จงอุตส่าห์ครองชีพอย่างที่เมื่อถึงคราวจะตาย  จะไม่ถูกพระวรสารตำหนิว่า “เจ้าคนบ้า คืนนี้เอง เขาจะมาทวงวิญญาณของเจ้า และข้าวของที่เจ้าจัดหาไว้นั้นจะเป็นของใคร” (ลก. 12, 20) นักบุญลูกาลงท้ายว่า “จะเป็นดังนี้แหละ คนที่สะสมทรัพย์สมบัติไว้เพื่อตน และไม่ทำให้ตนมั่งมีเฉพาะพระพักตร์ของพระเป็นเจ้า” ท่านยังเสริมอีกว่า “จงทำตนให้เป็นผู้มั่งมี ไม่ใช่ด้วยทรัพย์สมบัติฝ่ายโลกนี้ แต่ด้วยพระเป็นเจ้า ด้วยฤทธิ์กุศล ด้วยบุญกุศลอันเป็นสมบัติ ซึ่งจะดำรงอยู่กับตัวท่านตลอดนิรันดรในสวรรค์นั้นเถิด” (ลก. 12, 33) ฉะนั้น ชาวเราจงพยายามหาแต่ทรัพย์อันแท้ คือ ความรักต่อพระเป็นเจ้าเถิด นักบุญเอากุสตินสอนว่า “เศรษฐีจะมีอะไร หากไม่มีความรัก? ส่วนคนจน หากมีความรัก เขาขัดสนอะไรเล่า?” (8) คนมั่งมี ผู้มีทรัพย์มากมาย แต่ไม่มีพระเป็นเจ้า ก็เป็นผู้มั่งมีด้วยทุกสิ่ง ก็ใครเล่าเป็นผู้มีพระเป็นเจ้า? ผู้ที่รักพระองค์นั้นแหละ “ผู้ใดดำรงอยู่ในความรัก ผู้นั้นดำรงอยู่ในพระเป็นเจ้า และพระเป็นเจ้าทรงดำรงอยู่ในผู้นั้น”     (1 ยน. 4, 16)

        ข้อเตือนใจและคำภาวนา

        อา! พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่ยอมให้ปีศาจเป็นเจ้าของวิญญาณข้าพเจ้าต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าต้องการให้พระองค์ผู้เดียวเท่านั้นเป็นเจ้าและผู้ปกครอง พระเจ้าข้า ข้าพเจ้ายอมสละทุกสิ่งเพื่อจะได้มาเฉพาะพระหรรษทานและถือว่า พระหรรษทานของพระองค์ มีค่ามากกว่า มงกุฎพันอัน หรืออาณาจักรพันอาณาจักร ข้าพเจ้าจะต้องไปรักใคร นอกจากรักพระองค์ องค์ความน่ารักหาที่เปรียบมิได้ องค์ความดีอันปราศจากขอบเขต องค์ความงามวิไล องค์ความใจดี และองค์ความรักอันหาขอบเขตมิได้? ครั้งก่อน ข้าพเจ้าได้ละทิ้งพระองค์ เพราะเห็นแก่สัตว์โลก การกระทำอันนี้ทิ่มแทงและจะทิ่มแทงดวงใจของข้าพเจ้าเสมอ เพราะได้ทำขัดเคืองพระทัยดีของพระองค์ซึ่งได้ทรงรักข้าพเจ้าถึงปานฉะนี้!

        พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า พระเดชพระคุณของพระองค์ที่มีต่อข้าพเจ้าเป็นล้นพ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมไม่รักพระองค์ต่อไปแล้ว! องค์ความรักเจ้าข้า โปรดเข้ายึดเจตนาของข้าพเจ้ารวมทั้งข้าวของของข้าพเจ้าจนหมดสิ้น แล้วพระองค์จะทรงทำอย่างไรแก่ข้าพเจ้า ก็สุดแล้วแต่จะทรงเห็นชอบเถิดพระเจ้าข้า ในครั้งก่อน เมื่อถูกความยากลำบาก ข้าพเจ้ารู้สึกไม่ชอบใจบ้าง ขอพระองค์ทรงพระกรุณาอภัยโทษ แต่นับแต่บัดนี้ไป พระสวามีเจ้าข้า ข้าพเจ้าไม่ยอมบ่น ไม่ว่าพระองค์จะทรงโปรดให้เป็นมาอย่างไร เพราะข้าพเจ้าทราบว่าน้ำพระทัยของพระองค์ที่ทรงจัดนั้น เป็นน้ำพระทัยอันศักดิ์สิทธิ์และมุ่งหวังแต่คุณประโยชน์ของข้าพเจ้า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า โปรดทำแก่ข้าพเจ้า ตามแต่จะทรงเห็นดีเห็นควรเถิด ข้าพเจ้าสัญญาว่าจะยินดีเสมอ จะฉลองพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์สิ่งไดอีกแล้ว ทรัพย์สมบัติ! ยศฐาบรรดาศักดิ์! โลก ฯลฯ! ข้าพเจ้าก็ไม่เอาทั้งนั้นข้าพเจ้าต้องการแต่พระเป็นเจ้าเท่านั้น

        พระแม่มารีอาเจ้าข้า ท่านเป็นผู้มีบุญ เพราะท่านมิได้ทรงรักอะไรในโลกนี้นอกจากพระเป็นเจ้า! โปรดเสนอให้ข้าพเจ้าทำตามอย่างท่านด้วยเถิดอย่างน้อยในชีวิตที่ข้าพเจ้ายังมีเหลืออยู่นี้ข้าพเจ้าวางใจใจท่าน

(1) Non nostra sunt. quae non possumus auferre nobiscum, sola virtus nos comitatur, (S. Ambr.)

(2) Ne projicias me a facie tua (Ps. 50, 13). 13).

(3) In manu ejus stetera dolosa (Os. 12, 7).

(4) Quid hic habebit, attendis, quid secum fert attende (Serm. 13 Dom. de Adv.

(5) Periit memoria eorum cum soritu (Ps. 9, 7)

(6) Intueamur quanta homines sustineant pro rebus, quas vitiose diligunt.

(7) Mundus est instar scenae, generation praeterit, generation advenit. Qui regem agit non auferet secum purpuram. Dic mihi, o domus, o villa, quot dominos habuisti. (Cor. a Lap.).

(8) Quid habet dives, si caritatem non gabet? Pauper, si caritatem habet, quid non habet?

ข้อมูลที่มีหลักฐานชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับพระเยซูชาวนาซาเร็ทก็คือ พระเยซูถูกพอนทิอัส ปิลาต ผู้ว่าราชการชาวโรมันพิพากษาและตัดสินประหารชีวิต โทษฐานเป็นกบฏ แต่เหตุการณ์นี้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือโดดเด่นอะไร เพราะในช่วงนั้นชาวยิวที่คิดกบฏหลายพันคนก็ถูกทหารโรมันประหารชีวิตด้วยการตรึงกางเขนเช่นเดียวกัน ชาวยิวเกือบทั้งหมดต่อต้านการยึดครองโดยรัฐบาลโรม และหลายคนพยายามหาทางที่จะล้มล้างการยึดครองนี้และตั้งอาณาจักรอิสราเอลขึ้นมาใหม่ ฝ่ายโรมันตัดสินว่าพระเยซูมีความผิดฐานร่วมคิดกบฏ และประกาศตนเป็นกษัตริย์ที่ถูกต้องของชาวยิว หรือที่ชาวยิวเรียกกันว่า "พระผู้ไถ่" (เมสสิยาห์) "เราพบว่าชายคนนี้ปลุกปั่นประชาชนให้คิดกบฏ ต่อต้านการเสียภาษีให้จักรพรรดิ์ซีซาร์ และอ้างตนเป็นพระเมสสิยาห์ผู้เป็นกษัตริย์" (ลก.๒๓,๒) แผ่นป้ายระบุโทษที่ติดอยู่บนไม้กางเขน "กษัตริย์ของชาวยิว" ทําให้เราไม่ต้องสงสัยเลยว่าพระเยซูถูกกล่าวหาอะไร แต่พระเยซูผิดจริงตามที่กล่าวหาหรือไม่ ?

1. ปัญหาทางการเมือง

          คำถามที่ว่าพระเยซูผิดจริงตามที่กล่าวหาหรือไม่ ? ก็มีความเห็นแตกต่างกันไปคือ

          ฝ่ายหนึ่งบอกว่าผิดแน่(โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายโรมันผู้ยึดครอง) เพราะพระเยซูได้ประกาศตัวเป็นพระผู้ไถ่และต้องการผลักดันให้มีการลุกฮือขึ้นขับไล่กองทัพโรมัน ฝ่ายนี้จะอ้างว่าพระเยซูคลุกคลีกับการเมืองในสมัยนั้น และได้ริเริ่มขบวนการที่เกี่ยวพันกับศาสนาและการเมือง คล้ายกันกับพวกซีลอทมาก ในบรรดาสาวกผู้ใกล้ชิดพระเยซู ๑๒ คน คนหนึ่งมีชื่อว่า"ซีมอน แห่งกลุ่มซีลอท"(ลก.๖,๑๕) และบางครั้งก็ถือกันว่าเปโตร ยูดาส และลูกชายของเซบีดีก็เป็นพวกซีลอทเหมือนกัน

          ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งบอกว่าพระเยซูเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีความผิดทางการเมืองตามข้อกล่าวหาเลย พระเยซูไม่ได้คิดปลุกปั่นประชาชน พระเยซูบอกให้ประชาชนยอมเสียภาษี พระเยซูเป็นคนรักสงบ และพูดถึงตนเองว่าเป็น กษัตริย์"ทางใจ"ของชาวยิว ฝ่ายนี้อ้างว่าพระเยซูไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น  มีแต่เทศน์สอนทางศาสนา และข้อกล่าวหาเกี่ยวกับความผิดทางการเมืองเป็นเรื่องที่พวกผู้นําชาวยิวปั้นแต่งขึ้นเพื่อหาทางกําจัดพระเยซูเท่านั้น

          ความจริงไม่ใช่อยู่ตรงกลางระหว่าง ๒ ฝ่ายนี้  ความจริงก็คือทั้ง ๒ ฝ่ายผิดหมด เพราะว่าใช้วิธีคิดแบบปัจจุบันไปพิจารณาเรื่องของอดีต ซึ่ง ในกรณีนี้ทําให้เข้าใจไขว้เขว

          สําหรับชาวยิว ไม่มีการแยกว่าอะไรคือการเมือง อะไรคือศาสนา ปัจจุบันเราแยกออกเป็นเรื่องทางการเมือง ทางสังคม ทางเศรษฐกิจ หรือทางศาสนา ทุกทางที่ว่ามานี้ชาวยิวคิดเป็นอย่างเดียว คือเป็นเรื่องของพระเจ้าและบัญญัติของพระองค์ ไม่มีอะไรที่ไม่เกี่ยวกับพระเจ้า

          อย่างไรก็ตาม ปัญหาบางอย่างในสมัยนั้นเราอาจเรียกด้วยภาษาสมัยใหม่ว่า”การเมือง” เพียงแต่ว่าเราต้องจําไว้เสมอว่าชาวยิวเห็นปัญหาทุกอย่างเกี่ยวข้องกับศาสนา เราอาจเรียกปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างชาติยิวกับอํานาจยึดครองของโรมว่าเป็นปัญหาทางการเมือง เกี่ยวกับปัญหานี้พระเยซูมีความเห็นแตกต่างจากพวกซีลอท ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะว่าพระเยซูไม่อยากเข้าไปเกี่ยวกับการเมือง พระเยซูมีความคิดเห็นและจุดยืนในเรื่องการเมือง เช่นเดียวกับที่มีความคิดเห็นและจุดยืนในเรื่องวันพระ เรื่องการจําศีล ฯลฯ (มก.๑๒,๑๓-๑๗)

2. แนวทางสู่การหลุดพ้นจากศัตรู

          พระเยซูอยากเห็นชาติยิวหลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของโรมมากพอ ๆ กับพวกซีลอท พวกฟาริสี พวกเอสซีน และทุกๆคนที่อยากให้เป็นเช่นนั้น แต่ผู้เขียนพระวรสารทั้ง ๔ ไม่สนใจปัญหานี้เท่าไรนัก เพราะว่าผู้เขียน พระวรสารมีจุดหมายจะสอนคนรุ่นหลัง ที่อยู่นอกดินแดนอิสราเอลหลังจากปี ค.ศ. ๗๐ คือหลังจากที่เมืองเยรูซาเลมถูกทําลายหมดแล้ว ฉะนั้นปัญหานี้จึงไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป แต่ในการเขียนพระวรสาร ลูกาค้นคว้าถอยหลังไปถึงแหล่งข้อมูลดั่งเดิม และใช้เอกสารฉบับหนึ่ง(Proto-Luke)  ซึ่งคงจะถูกเขียนขึ้นในเขตปาเลสไตน์ก่อนที่เยรูซาเลมถูกทําลาย และข้อความหลายตอนในพระวารสารโดยลูกา และในหนังสือกิจการอัครสาวก มาจากเอกสารดังกล่าว สิ่งที่น่าสนใจคือ ในเอกสารฉบับนี้มีพูดบ่อย ๆ ถึงการปลดปล่อยทางการเมืองของชาติอิสราเอล

          เมื่อพูดถึงการเกิดและวัยทารกของพระเยซู ประชาชนที่ถูกเอ่ยถึงคือ "ทุกคนที่รอคอยเวลาที่เยรูซาเลมจะถูกปลดปล่อย" (ลก.๒,๓๘) หรือรอคอย "ความบรรเทาสําหรับชาติอิสราเอล" (ลก.๒,๒๕) คําอธิษฐานของสัคคาริยาห์(Benedictus) ก็พูดถึงการที่พระเจ้าแห่งอิสราเอลจะนํา "การปลดปล่อยมาสู่ประชากรของพระองค์" (ลก.๑,๖๘) พูดถึง "ความรอดพ้นจากศัตรูของเรา และจากเงื้อมมือของพวกที่เกลียดชังเรา" (ลก.๑,๗๑) "ทําให้เราพ้นจากความหวาดกลัว ได้รับการช่วยให้รอดจากเงื้อมมือศัตรูของเรา" (ลก.๑,๗๔) และไม่ต้องสงสัยเลยว่า ศัตรูนั้นก็คือชาวโรมัน ความหวังของชาวยิวในขณะนั้นก็คือพระเยซู "จะเป็นผู้ทําให้อิสราเอลได้รับการปลดปล่อย" (ลก.๒๔,๒๑)

          เมื่อพระเยซูเริ่มงาน พระเยซูก็มุ่งสนองความปรารถนาของประชาชน แต่ไม่ใช่ด้วยวิธีที่ประชาชนคาดหวัง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ใช่ด้วยวิธีที่พวกซีลอทใช้ พระเยซูเริ่มปลดปล่อยชาติยิวจากอํานาจโรมโดยการชักชวนให้ชาวยิวเปลี่ยนแปลงตนเอง หากไม่มีการเปลี่ยนจิตใจภายในชาติยิวก่อน การปลดปล่อยจากอํานาจยึดครองใดๆ ก็จะเป็นไปไม่ได้ ประกาศกก่อนหน้าพระเยซูก็เคยพูดทํานองนี้ และยอห์นแบปติสต์ก็พูดเช่นเดียวกันด้วย พระเยซูก็เป็นประกาศกและเกี่ยวข้องกับการเมืองด้วยวิธีเดียวกันกับประกาศกทั้งหลาย

          การเปลี่ยนแปลงที่พูดถึงนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไหน ที่จะสามารถปลดปล่อยชาติยิวได้ ? เอกสารแหล่งข้อมูลของลูกาชี้แจงได้มากในเรื่องนี้ พระเยซูพยายามแล้วพยายามเล่า ที่จะชักจูงให้เพื่อนร่วมชาติตระหนักว่า การมีปฏิกิริยาไม่พอใจและเคียดแค้นต่อชาวโรมันเป็นการฆ่าตัวตาย พระเยซูบอกให้ประชาชนอ่านสัญญาณแห่งกาลเวลา และให้ตัดสินด้วยตัวเอง (ลก.๑๒,๕๔-๕๗) อย่าฟังแต่พวกซีลอทหรือพวกใดพวกหนึ่ง ในกรณีนี้ สัญญาณดังกล่าวก็คือ ภัยพิบัติที่กําลังใกล้เข้ามาทุกเมื่อ "เมฆกําลังก่อตัวทางตะวันตก" (ลก.๑๒,๕๔) แหล่งข้อมูลของลูกาบรรยายเกี่ยวกับภัยพิบัติอย่างชัดเจนว่าเป็นผลของการแพ้สงคราม เยรูซาเลมจะถูกศัตรูล้อม (ลก.๑๙,๔๓) ศัตรูก็คือกองทัพ (ลก.๒๑,๒๐)

          การประเมินสถานการณ์และวิธีดําเนินการแบบพระเยซูนี้ ต่างกับพวกซีลอทเป็นอันมาก เพราะวิธีการของพวกซีลอท คือซ่องสุมกําลังและต่อสู้ด้วยอาวุธ "หากพวกท่านไม่เปลี่ยน พวกท่านจะถูกทําลาย" (ลก.๑๓,๓-๕)  เนื่องจากชาวยิวไม่มีทางที่จะใช้อาวุธเอาชนะกองทัพโรมันได้ วิธีเดียวที่สมเหตุสมผลก็คือเข้าดีกัน (ลก.๑๒,๕๘) พระเยซูเห็นว่าวิธีเดียวที่จะหลุดพ้นจากอํานาจของศัตรูก็คือ รักศัตรู ทําดีต่อผู้ที่เกลียดชังท่าน ภาวนาให้ผู้ที่เบียดเบียนท่าน (ลก.๖,๒๗-๒๘)

          นี่ไม่ใช่เป็นการยอมจํานนต่อชาวโรมันผู้กดขี่ข่มเหง แต่เป็นการแก้ปัญหาโดยเจาะลึกลงไปหารากแห่งการกดขี่ข่มเหง นั่นคือ ใจมนุษย์ขาดความเมตตาสงสาร ถ้าชาวยิวยังเป็นเหมือนเดิม คือยังไม่มีความเมตตาสงสารอยู่ในตัว การโค่นล้มอํานาจรัฐบาลโรมจะทําให้ชาติยิวเป็นอิสระมากขึ้นกว่าเดิมหรือ? ถ้าชาวยิวยังเกาะยึดอยู่กับค่านิยมเก่า คือ อํานาจ เงินทอง เกียรติยศชื่อเสียง การแบ่งแยกเป็นพรรคเป็นพวก การใช้อํานาจกดขี่ผู้อื่น ฯลฯ จะเอาแอกโรมันออกไป แล้วเอาแอกยิวเข้ามาแทนที่ มันจะมีประโยชน์อะไร?

          พระเยซูสนใจ และจริงจังกับการปลดปล่อยมากกว่าพวกซีลอท พวกซีลอทต้องการให้เปลี่ยนผู้มีอํานาจ คือเปลี่ยนจากรัฐบาลโรมมาเป็นรัฐบาลยิว แต่พระเยซูต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ลึกลงไปถึงใจมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นยิวหรือโรมัน พระเยซูอยากให้มีโลกใหม่ที่คุณภาพต่างกับโลกเก่า นั่นคืออาณาจักรพระเจ้า พระเยซูไม่พอใจที่จะให้มีแค่การเปลี่ยนเอาอาณาจักรหนึ่งออกไป แล้วให้อีกอาณาจักรหนึ่งเข้ามาแทนที่ นั่นไม่ใช่การปลดปล่อย  อาณาจักรที่เข้ามาแทนต้องเป็นอาณาจักรพระเจ้าเท่านั้น

3. พระเยซูเห็นปัญหาที่คนอื่นไม่เห็น

          พระเยซูเห็นสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น นั่นคือมีการกดขี่ข่มเหงและเอารัดเอาเปรียบกันภายในสังคมยิว มากกว่าที่มาจากภายนอก  ชนชั้นกลางชาวยิวพยายามดิ้นรนต่อต้านอํานาจโรมัน แต่ตัวเองนั่นแหละที่กดขี่คนจนและคนไร้การศึกษา พวกคัมภีราจารย์ พวกฟาริสี พวกซัดดูสี และพวกซีลอท กดขี่ข่มเหง เอารัดเอาเปรียบประชาชนชาวยิวด้วยกัน มากกว่าที่ชาวโรมันทําเสียอีก การประท้วงต่อต้านอํานาจโรมันจึงเป็นเรื่องหน้าซื่อใจคด

          จริง ๆ แล้วการเข้ายึดครองก็หมายถึงการเข้าไปเก็บผลประโยชน์ในรูปภาษี ชาวยิวส่วนมากถือว่า การเสียภาษีให้รัฐบาลโรมเป็นการเอาทรัพย์สินของชาติยิวซึ่งเป็นทรัพย์สินของพระเจ้า ไปให้แก่จักรพรรดิ์ซีซาร์ แต่สําหรับพระเยซู นี่เป็นการอ้างเหตุผลเพื่อสนับสนุนความโลภของตนเท่านั้น เป็นความหน้าซื่อใจคด "การเสียภาษีให้ซีซาร์เป็นสิ่งที่ทําได้ไหม ? เราควรเสียภาษีหรือไม่ ? พระเยซูเห็นความหน้าซื่อใจคดของพวกเขา จึงตอบว่า ทําไมพวกท่านจึงพยายามหลอกจับผิดเรา ? จงเอาเหรียญเงินให้เราดูสักอันหนึ่งซิ พวกเขาจึงยื่นเหรียญเงินอันหนึ่งให้ พระเยซูถามว่า นี่หัวของใคร? นี่ชื่อของใคร? พวกเขาตอบว่า ของซีซาร์ พระเยซูจึงพูดกับพวกเขาว่า จงคืนของซีซาร์ให้แก่ซีซาร์ และจงคืนของพระเจ้าให้แก่พระเจ้า  คําตอบนี้ทําให้พวกเขาตะลึง" (มก.๑๒,๑๔-๑๗)

          คําตอบของพระเยซูจี้ใจคดของผู้ถาม ในเวลาเดียวกัน เจาะลึกถึงรากของปัญหาการเสียภาษี เรื่องของเรื่องก็คือความโลภ พวกที่ตั้งคําถามก็มีเหรียญของรัฐบาลโรม สมัยโบราณถือว่าเหรียญเงินเป็นทรัพย์สินของผู้ปกครองที่ผลิตเหรียญนั้นขึ้นมาใช้ ถ้าเหรียญนั้นมีรูปและชื่อของซีซาร์ ก็แปลว่ามันเป็นของซีซาร์ ไม่ใช่ของพระเจ้า  ท่านไม่ยอมจ่ายคืนให้แก่ซีซาร์ ก็เพราะท่านผูกพันอยู่กับเงินทอง ไม่ใช่เพราะอยากคืนให้พระเจ้า  ถ้าท่านอยากคืนของพระเจ้าให้แก่พระเจ้าจริง ก็จงขายสมบัติของท่านแล้วแจกจ่ายให้แก่คนจน

4. รากเง่าของการ  กดขี่  ข่มเหง

          ปัญหาที่แท้จริงก็คือการกดขี่ข่มเหง(ไม่ว่าใครจะกดขี่ข่มเหงใครก็    เหมือนกัน) สาเหตุของการกดขี่ข่มเหงก็คือ มนุษย์ไม่มีใจเมตตาสงสาร ชาวยิวที่ประท้วงการกดขี่ของชาวโรมัน ในเวลาเดียวกันลืมว่าตัวเองก็กําลังกดขี่เพื่อนร่วมชาติที่จนๆอยู่เหมือนกัน ชาวยิวเหล่านั้นขาดความเมตตาสงสารเช่นเดียวกับที่ชาวโรมันขาดความเมตตาสงสาร บางทีขาดมากกว่าชาวโรมันเสียอีก การเสียภาษีให้รัฐบาลโรมันเป็นความทุกข์อย่างหนึ่ง แต่มาเสียภาษีให้รัฐบาลยิวแทน ก็เป็นความทุกข์เหมือนกัน การที่ชาวโรมันมายึดครองประเทศยิว ก่อให้เกิดความทุกข์ทางใจอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการลบหลู่ต่อศาสนาและอํานาจสูงสุดของพระเจ้า  แต่การที่พวก คัมภีราจารย์ พวกฟาริสี และพวกผู้นําชาวยิว นํากฎระเบียบทางศาสนามาบีบบังคับชาวบ้านและเบียดเบียนในรูปแบบต่างๆ นานา ก่อให้เกิดความทุกข์ทางใจและทางกายมากกว่าที่ชาวโรมันทําหลายเท่า

          พระเยซูอยากปลดปล่อยประชาชนจากความทุกข์ทั้งหมดดังกล่าว ไม่ว่าความทุกข์เกิดจากนํ้ามือของใครก็ตาม อย่างไรก็ดี พระเยซูมุ่งแก้ปัญหาอันเกิดจากการกระทําของพวกฟาริสี พวกซัดดูสี(รวมทั้งพวกซีลอทและพวกเอสซีน) มากกว่าที่จะแก้ปัญหาอันเกิดจากพวกโรมัน เพราะว่าปัญหาภายในมันรุนแรงกว่า ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะพระเยซูเลี่ยงปัญหาทางการเมือง การต่อต้านพฤติกรรมของพวกคัมภีราจารย์ พวกฟาริสีและพวกซัดดูสี เป็นเรื่องของการเมืองมากกว่าการต่อต้านอํานาจโรมันเสียด้วยซํ้า

          นอกนั้น การที่พวกซีลอทดิ้นรนเพื่อการปลดแอก ไม่ใช่เป็นการมุ่งสู่อิสรภาพที่แท้จริง พวกซีลอทต่อสู้เพื่อชาติยิว เพื่อเชื้อสายยิว เพื่อศาสนายิว การปลดแอกที่แท้จริงคือการต่อสู้เพื่อคนในฐานะที่เป็นคนด้วยกัน ต่อสู้เพื่อความรักและความเป็นหนึ่งเดียวกันในมนุษยชาติ

          การปฏิวัติที่พระเยซูอยากให้เกิดขึ้นนั้นเ ป็นเรื่องจริงจังมาก อย่างที่ว่าแม้พวกซีลอทหรือพวกใดๆ ก็ตามก็ยังคิดไม่ถึง ทุกแง่ทุกมุมของชีวิตไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมหรือศาสนา พระเยซูขุดคุ้ยขึ้นมาพิจารณาทั้งหมด หลายสิ่งที่ถือกันว่าถูกต้องและยุติธรรมในสังคมขณะนั้น พระเยซูชี้ให้เห็นว่าขัดกับความรัก เพราะฉะนั้นขัดกับความประสงค์ของพระเจ้า

          พระเยซูเล่านิทานเปรียบเทียบเรื่องคนงานสวนองุ่น (มธ.๒๐,๑-๑๕) คนงานที่ทํางานหนักและตากแดดทั้งวัน ไม่พอใจที่เห็นว่าคนที่ทํางานเพียงชั่วโมงเดียวได้รับค่าจ้างเท่ากับตัวเอง พวกเขาคิดว่าไม่ยุติธรรมเลย แต่คิดผิด เงิน ๑ เหรียญเป็นค่าจ้างสําหรับงาน ๑ วัน และได้ตกลงกันไว้อย่างนั้น แต่เจ้าของสวนทําเหมือนพระเจ้า คือมีความเมตตาสงสารอย่างแท้จริงต่อคนงานและครอบครัวของพวกเขา จึงได้จ้างไปทํางานแม้เหลือเวลาทํางานเพียงเล็กน้อยก็ตาม แล้วจ่ายค่าจ้างให้เต็มวัน แม้ค่าจ้างจะไม่สมดุลย์กับจํานวนชั่วโมงที่ทํางานก็ตาม แต่สมดุลย์กับความต้องการของคนงานและครอบครัว พวกคนงานที่ทํางานเต็มวันไม่มีความเมตตาสงสารเหมือนกับเจ้าของสวน จึงเกิดความไม่พอใจ ความยุติธรรมของพวกนี้เป็นเหมือนความยุติธรรม ของพวกซีลอทและพวกฟาริสี คือเป็นความยุติธรรมที่ปราศจากความรัก พวกเขาอิจฉาโชคดีของผู้อื่น และเป็นเหมือนโยนาห์ที่เสียใจเมื่อเห็นพระเจ้าเมตตาสงสารและใจดี

          เช่นเดียวกัน ในนิทานเปรียบเทียบเรื่องลูกล้างผลาญ (ลก.๑๕,๑๑-๓๒) ลูกชายคนโตทํางานให้พ่ออย่างสัตย์ซื่อเป็นเวลาหลายปี และไม่เคยขัดคําสั่งพ่อเลยแม้แต่ครั้งเดียว (เหมือนพวกซีลอทและพวกฟาริสี) ลูกชาย

คนโตนี้ รู้สึกโกรธที่เห็นว่าพ่อสั่งให้คนใช้ฆ่าลูกวัวเพื่อเลี้ยงฉลองลูกชายคนเล็ก ที่เพิ่งกลับมาจากการล้างผลาญสมบัติพ่อ ลูกชายคนโตไม่มีความเมตตาสงสาร เหมือนที่พ่อเมตตาสงสารลูกชายที่หลงผิด   จึงคิดว่าพ่อไม่ยุติธรรม

          พวกซีลอทจะฆ่าชาวยิวด้วยกัน ถ้าจับได้ว่าชาวยิวนั้นทรยศชาติและศาสนายิว และพวกซีลอทจับอาวุธต่อสู้ชาวโรมันผู้ยึดครองที่เป็นพวกต่างศาสนา ทั้งนี้เพราะพวกซีลอทมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อกฎบัญญัติของพระเจ้า ถึงขั้นที่เราเรียกว่าคลั่งศาสนา ส่วนพวกฟาริสีเบียดเบียนและกดขี่ข่มเหงคนจนและคนบาปเพราะความคลั่งศาสนาเช่นเดียวกัน แต่ความศรัทธาของทั้งสองพวกนี้ เป็นความศรัทธาที่ปราศจากความรัก

          นิทานเปรียบเทียบเรื่องฟาริสีกับคนเก็บภาษี คงจะได้สร้างความงุนงงให้กับผู้ฟังเป็นอย่างมาก (ลก.๑๘,๙-๑๔) ฟาริสีในเรื่องนี้เป็นคนที่ถือเป็นเยี่ยงอย่างได้ในศาสนายิว เขาทํามากกว่าที่ศาสนาเรียกร้องเสียอีก เขาจําศีลถึงอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง ไม่มีอะไรที่ชี้ว่าเขาเป็นคนหน้าซื่อใจคด เขาไม่ได้อวดเก่ง แต่ได้ขอบคุณพระเจ้าที่ช่วยให้เขามีคุณธรรม ส่วนคนเก็บภาษี แม้จะได้วิงวอนขอพระเมตตาจากพระเจ้า แต่ก็ไม่ได้แสดงความพร้อมที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิต และไม่ได้สัญญาว่าจะชดใช้สิ่งที่ได้โกงเขามา  แต่คําตัดสินของพระเยซูคือ พระเจ้าพอใจคนเก็บภาษี แต่ไม่พอใจฟาริสีคนนั้น ทั้งนี้เพราะฟาริสีถือตัวว่าดีกว่าผู้อื่น(ยกตนข่มท่าน) "ข้าพเจ้าไม่เป็นเหมือนคนอื่นๆ และไม่เป็นเหมือนคนเก็บภาษีคนนี้" ปัญหาไม่ได้อยู่ที่จองหองมากนัก แต่อยู่ที่ไม่มีความเมตตาสงสาร หากไม่มีความเมตตาสงสารแล้ว การปฏิบัติและความเชื่อทางศาสนาก็ไม่มีค่าอะไรทั้งสิ้น(๑โคริน ๑๓,๑-๓) หากไม่มีความเมตตาสงสารแล้ว การเมืองก็จะกลายเป็นการกดขี่ แม้แต่การปลดแอกก็จะกลายเป็นการกดขี่เช่นกัน

          สาเหตุสําคัญประการหนึ่งที่ทําให้เกิดการกดขี่ การเอาเปรียบ และเกิดความทุกข์ทรมานในสังคม คือศาสนาของพวกฟาริสี พวกซัดดูสี พวกเอสซีนและพวกซีลอท เป็นศาสนาที่ไร้ความรัก  ไม่มีอะไรจะเปลี่ยนแปลงได้ยากเท่ากับความศรัทธาในศาสนาของตน คนที่มีความศรัทธาและทําหน้าที่ทางศาสนาทําให้ตนรู้สึกว่าอยู่ฝ่ายพระเจ้า ไม่มีความรู้สึกต้องการความเมตตาหรือการอภัย คนอื่นต่างหากที่ต้องการ ฝ่ายคนบาปรู้ตัวว่าต้องการความเมตตาสงสารจากพระเจ้า ต้องการให้พระเจ้าอภัยบาปของตน และรู้ตัวว่าต้องกลับใจเสียใหม่ เมื่อคนเช่นนี้ได้รับอภัย เขาย่อมจะรู้สึกซาบซึ้งในพระคุณเป็นอันมาก (ลก.๗,๔๑-๔๗)

          พระเยซูพบว่าอุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้อาณาจักรพระเจ้ามาถึง ไม่ใช่พวกคนบาปหรือพวกโรมันผู้นับถือสารพัดเทพเจ้า แต่อุปสรรคคือคนเคร่งครัดในศาสนายิวนั่นเอง พระเยซูคงจะเห็นตั้งแต่แรกเมื่อประชาชนเข้าไปหายอห์นแบปติสต์ บรรดาผู้นําทางศาสนาไม่ยอมรับว่าชาติยิวกําลังจะประสบหายนะ ทําไมพระเจ้าจะต้องลงโทษชาติยิว ? ต้องลงโทษพวกคนบาปและคนต่างศาสนาจึงจะถูก แต่พวกคนบาปแห่กันไปหายอห์นเพราะรู้ตัวว่าเป็นคนบาป และไม่สงสัยเลยว่าความหายนะใกล้เข้ามาแล้ว

          พวกคนที่ศรัทธาในศาสนาแต่ไร้ความรักนี้ พระเยซูเปรียบว่าเป็นเหมือนคนที่ตอบรับคําขานของพระเจ้าและสัญญาว่าจะทําตามคําสั่ง(มธ. ๒๑,๒๘-๓๑) แต่เมื่อถึงเวลาพวกเขาก็ไม่ยอมเข้าร่วมในอาณาจักรแห่งความรักเมตตา ไม่ยอมร่วมฉลองด้วย(เหมือนลูกชายคนโตในเรื่องลูกล้างผลาญ) แต่หาข้อแก้ตัวต่าง ๆ นานา (เหมือนแขกผู้ได้รับคําเชิญให้ไปร่วมงานเลี้ยง ลูกา ๑๔,๑๖-๒๔) ส่วนพวกโสเภณีและคนบาปอื่น ๆ ทีแรกก็ตอบปฏิเสธพระเจ้า แต่เมื่อถึงเวลาที่พระเยซูเผยแสดงความเมตตาของพระเจ้า พวกนี้ก็รีบตอบรับทันที

          พวกที่เคร่งครัดในศาสนา อันได้แก่พวกซีลอท พวกฟาริสี พวกเอสซีนและพวกซัดดูสี ปฏิเสธไม่ยอมเข้าอาณาจักรพระเจ้าอันเป็นอาณาจักรแห่งความรัก พระเยซูบอกพวกเขาว่า "คนเก็บภาษีและโสเภณีเดินนําหน้าพวกท่านเข้าสู่อาณาจักรพระเจ้า" (มธ.๒๑,๓๑) มันดูเหมือนจะผิดยุติธรรมที่บุตรแห่งอาณาจักรต้องถูกทิ้งอยู่ข้างนอก(มธ.๘,๑๒) ในขณะที่ศัตรูของพระเจ้า หรือคนบาปและคนต่างศาสนาวิ่งกรูกันเข้ามา "กฎบัญญัติและคําสอนของประกาศก ใช้เป็นเกณฑ์จนถึงยอห์นแบปติสต์ และตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นมา มีการประกาศอาณาจักรพระเจ้า  และทุกคนกำลัง

เข้าไปด้วยความรุนแรง" (ลก.๑๖,๑๖ เทียบกับ มธ.๑๑,๑๒) ข้อความนี้มีความหมายค่อนข้างลึกลับ แต่ในที่นี้เราเข้าใจได้ว่า หลักเกณฑ์หรือหนทางปกตินั้นคือกฎบัญญัติและคําสอนของประกาศก ซึ่งใช้ได้จนถึงสมัยของยอห์น แต่จากนั้นมาทุกคน(ใครก็ได้ที่อยาก) ก็แห่บุกเข้ามาในอาณาจักรพระเจ้า (ไม่ใช่ใช้ความรุนแรง แต่หมายความว่าเบียดเสียดแย่งกันเข้า) จนทําให้คนที่คิดว่าตนเป็นผู้มีสิทธิโดยชอบตามกฎหมาย(พวกฟาริสี) เห็นว่าการแห่เข้ามาแบบนี้ผิดกฎหมายและไม่ยุติธรรม

5. พระเยซูเจ้าเผชิญหน้ากับปัญหา

          เป็นไปไม่ได้ที่คนสมัยพระเยซูจะเห็นพระเยซูเป็นคนเคร่งศาสนา

ผู้หลีกเลี่ยงเรื่องการเมืองและการปฏิวัติ(ดังที่คริสตชนส่วนมากทุกวันนี้คิด) ตรงกันข้าม พวกเขาต้องเห็นว่า พระเยซูเป็นคนไร้ศาสนา พูดจาลบหลู่ดูหมิ่นพระเจ้า และอาศัยศาสนาเพื่อทําลายค่านิยมทางศาสนา ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจและทางสังคมของชาติยิว  พระเยซูเป็นบุคคลที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคง

          ทางฝ่ายชาวโรมันผู้ยึดครองคิดเช่นนั้นด้วยหรือไม่ ? เป็นไปได้ไหมที่พวกโรมันจะคิดว่า คนพื้นเมืองในเขตยึดครองนี้มีความเห็นแตกต่างกันและทะเลาะกันเอง ? พวกโรมันสังเกตเห็นความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เหล่านี้หรือไม่ ?

          เช่นเดียวกับชาวยิวทุกคน พระเยซูไม่เห็นด้วยกับการที่ชาวโรมันเข้ามากดขี่ประชาชน แม้ว่าเหตุผลของพระเยซูอาจต่างกับเหตุผลของคนอื่น พระเยซูไม่เห็นด้วยกับวิธีใช้อํานาจของพวกโรมันในการบีบบังคับ(มก. ๑๐,๔๒) แต่พระเยซูเชื่อว่าจะเปลี่ยนพวกโรมันได้ ก็โดยเริ่มเปลี่ยนชาวยิวก่อน  แล้วชาวยิวจะได้แสดงให้ชาวโรมันเห็นค่านิยมและอุดมคติของอาณา จักรพระเจ้าในภายหลัง   พระเยซูคิดว่าจะเผชิญหน้าโดยตรงกับชาวโรมัน ทันที ก็คงจะเปลี่ยนใจพวกเขาให้มีความเมตตาสงสารและความเชื่อไม่ได้

          อย่างไรก็ตาม ในไม่ช้าพระเยซูเริ่มรู้สึกว่า จําเป็นต้องเผชิญหน้ากับชาวยิวที่ร่วมมือกับรัฐบาลโรมัน นั่นคือพวกหัวหน้าคณะสงฆ์     พวกผู้

หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง และพวกผู้นําประชาชน ซึ่งเป็นสมาชิกพวกซัดดูสีจนถึงเวลานี้ พระเยซูได้เผชิญหน้ากับ "ฝ่ายศาสนา" โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพวกคัมภีราจารย์และพวกฟาริสี  บัดนี้พระเยซูต้องเผชิญหน้ากับ "ฝ่ายบ้านเมือง" คืออํานาจปกครองของชาวยิวในเมืองเยรูซาเลม เหตุผลที่ต้องเผชิญหน้ากับฝ่ายบ้านเมืองนี้ ไม่ใช่เพราะพวกนี้ร่วมมือกับรัฐบาลโรมัน แต่เพราะว่าพวกนี้ก็กดขี่ข่มเหงเอารัดเอาเปรียบคนจนด้วยเหมือนกัน ต่อไปนี้เราจะศึกษาเหตุการณ์การประจัญหน้า ซึ่งในที่สุดจะทําให้พระเยซูต้องตายอย่างน่าอนาถ

 

คำถาม
1. พระเยซูมีแนวคิดในการแกัปัญหาการเมืองอย่างไร ?
2. ปัญหาจริง ๆ ของชาวยิวคืออะไร ?
3. รากเง่าของการกดขี่คืออะไร ?

 

ในช่วงเวลานี้ของประวัติศาสตร์การศึกษาคาทอลิก มีความตึงเครียดระหว่างอำนาจของพระศาสนจักรและของรัฐไม่ใช่เพียงเรื่องเสรีภาพของพระศาสนจักรเท่านั้น แต่รวมไปถึงสิทธิของผู้ปกครองที่จะเลือกโรงเรียนสำหรับบุตรของตนให้เป็นไปตามความเชื่อและมโนธรรมด้านศีลธรรมของครอบครัว ด้วยหลักการนี้ทางภาครัฐก็ควรที่จะสนับสนุนโรงเรียนของพระศาสนจักรด้วยเช่นกัน แต่นโยบายของภาครัฐกลับไม่เป็นเช่นนั้น นับแต่ปี 1880 ที่ได้มีโรงเรียนคาทอลิกเกิดขึ้นอยู่ทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ปลายศตวรรษที่ 19 ทางภาครัฐเริ่มตัดงบประการการสนับสนุนโรงเรียนคาทอลิก เหตุการณ์การตัดงบประมาณโรงเรียนคาทอลิกก็กับกับหลายๆประเทศ เช่นในออสเตเลียแม้จะมีกฎหมายบังคับให้ทุกคนได้เรียนในระดับปฐมศึกษา ได้มีการตัดงบประมาณในช่วงระยะหนึ่ง จนถึงปี 1964 รัฐกลับมาสนับสนุนโรงเรียนคาทอลิกอีกครั้ง ที่นิวซีแลนด์ได้มีการออกพระราชบัญญัติการศึกษาในปี 1877 ให้หยุดการสนับสนุนงบประมาณโรงเรียน แต่ก็กับมาสนับสนุนงบประมาณบางส่วนอีกครั้งในปี 1975 ในอังกฤษและเวลส์ งบประมาณถูกจำกับในศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 แต่กลับได้รับการสนับสนุนอีกครั้งในช่วงปี 1950 เป็นต้นไป พระราชบัญญัติการศึกษาของประเทศสก๊อตแลนด์ในปี 1872 งบประมาณถูกตัด แต่ในปี 1918 โรงเรียนคาทอลิกได้รับการสนับสนุนอีกครั้งหนึ่ง

 สมณลิขิตเรื่อง “ครูผู้ศักดิ์สิทธิ์” (Divini Illius Maagistri 1929) ถือกำเนิดในช่วงเวลาแห่งความตึงเครียดนี้  พระสันตะปาปาปีอุสที่ 9 ได้เขียนสมณลิขิตเรื่อง ดิวินิ อิลิอุส มาจิสทริ หรือ “ครูผู้ศักดิ์สิทธิ์” (Divini Illius Magistri) เพื่อเป็นการรื้อฟื้นจิตารมณ์ของคริสตชนในด้านสังคมและชีวิตสาธารณะ สมณลิขิตครูผู้ศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้มีเจตจำนงต่อต้านการที่รัฐเข้ามาแทรกแซงการดำเนินงานของโรงเรียนคาทอลิกแต่อย่างใด หากแต่เป็นการประการจุดยืนของบรรดาผู้ปกครองและพระศาสนจักรในด้านการศึกษา ในทางเทวศาสตร์และคำสอนทางศาสนา พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 โต้แย้งต่อหลักการแบ่งแยกระหว่างภาครัฐและพระศาสนจักร ซึ่งเป็นค่านิยมสมัยใหม่ในสมัยนั้น ท่านโต้แย้งว่า “การศึกษาทุกภาคส่วน (ของชีวิต) อยู่ใต้การดูแลของพระศาสนจักร และด้วยเหตุนี้ พระศาสนจักรจึงมีตำแหน่งสองประการด้วยกัน คือ หนึ่งทางเหนือธรรมชาติ เป็นพระเจ้าทรงโปรดประทานตำแหน่งนี้ และอีกตำแหน่งคือ ตามธรรมชาติ” คำอธิบายนี้เป็นพื้นฐานให้พระศาสนจักรมีหน้าที่ทำภาระกิจของพระคริสต์ต่อโลกใบนี้ และโดยชอบธรรมทางกฎหมาย “เพื่อนำการศึกษาสู่ทุกๆประเทศ” และพระศาสนจักรมีจุดมุ่งหมายคือการเรียกมนุษย์ทุกผู้คนเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้า เพื่อเขาจะได้มีชีวิตนิรันดร

เหตุผลในขั้นต้นของสมณลิขิตเป็นเรื่องของเทวศาสตร์คำสอน ส่วนในแง่ของปรัชญาและการเมือง พระสันตะปาปาได้ทรงอ้างถึงหลักสิทธิอันเป็นสากล (universal right) ของส่วนบุคคลและของพระศาสนจักร “...นับว่าเป็นความถูกต้องแท้จริง เพราะสิทธิของครอบครัวและของบ้านเมือง รวมถึงสิทธิส่วนบุคคลที่มีเสรีภาพในการศึกษาศาสตร์ต่างๆ... หากทางภาครัฐขัดต่อสิทธินี้แล้ว ไม่เพียงเป็นการต่อต้านการมีอยู่ของพระศาสนจักร แต่เป็นการต่อต้านความเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยเช่นกัน” พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 เปิดกว้างสำหรับใครก็ตามที่มีข้อกังขาต่อหลักการนี้ที่ว่า “บรรดาเด็กๆเป็นของภาครัฐ ไม่ใช่เป็นของบรรดาผู้ปกครองและครอบครัว ด้วยเหตุนี้ภาครัฐจึงมีอำนาจเหนือการศึกษาทั้งหมด” และด้วยเหตุผลนี้ ภาครัฐจึงมีหน้าที่ในการออกกฏหมายใดๆที่จำต้องปกป้องสิทธิอันนี้ พระสันตะปาปากล่าวว่า “นับเป็นความอยุติธรรมที่จะควบรวม ไม่ว่าเป็นด้านการศึกษา วิชาการ การพัฒนาร่างกาย หรือด้านศีลธรรม หรือจะบังคับครอบครัวใดๆ ให้ส่งลูกๆเรียนเฉพาะโรงเรียนของรัฐ โดยเฉพาะโรงเรียนที่สอนสิ่งตรองข้ามกับคริสตศาสนตร์ หรือออกกฎหมายใดๆเพื่อเอื้อประโยชน์แก่การนี้”

หลักการในขั้นต้นจึงเป็นการประกาศเจตจำนงคือสิทธิของพระศาสนจักรและศาสนิกต่อการศึกษาคาทอลิก พระสันตะปาปายังพูดเสริมในเรื่อง “สิ่งแวดลอมที่เอื้อต่อการศึกษา” (educational environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่สิ่งเสริมชีวิตคริสตชน พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ และโดยทางศิลปะต่างๆ เด็กๆที่ได้รับการศึกษาในโรงเรียนหรือสถาบันคาทอลิก พวกเขาจะได้รับฝึกฝนไม่ใช่แค่เรื่องของกิจศรัทธา แต่ในเรื่องของวรรณกรรมและศาสตร์ต่างๆ รวมไปถึงกิจรรมที่ผ่อนคลายทั้งทางกายและใจ หลักการดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นการบูรณาการด้านการศึกษาคาทอลิก

“เพื่อเหตุนี้ การศึกษาคาทอลิกคือการรวบรวมทุกด้านของชีวิตมนุษย์ ทางร่างกายและจิตวิญญาณ ทางความฉลาดและศีลธรรม ส่วนบุคคล ชุมชนและสังคม ไม่ควรที่จะขาดตกบกพร่องในทางด้านใดด้านหนึ่ง แต่เพื่อยกระดับให้ดีขึ้น ทำให้เป็นเรื่องพื้นฐาน และทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ให้เป็นดังเสมือนแบบอย่างและตามคำสอนของพระคริสตเจ้า” (Divini Illius Magistri, § 95.)

สำหรับพระศาสนจักรคาทอลิก เป้าหมายของการศึกษาคือการผลิต “คริสตชนที่แท้จริง” (true Christian) เป็นมนุษย์ที่อยู่ด้วยพระหรรษานเหนือธรรมชาติ (supernatural man) มีความสามารถที่จะคิด ตัดสิน และลงมือกระทำ ด้วยเหตุผลอันชอบธรรม ในแสงสว่างของคำสอนขององค์พระคริสต์

 

อ้างอิง

Stephen J. McKinney, "Catholic Education," in Education in a Catholic Perspective, ed. Stephen J. McKinney (United Kingdom: Ashgate Publishing, 2013), 22-3.

Pius XI, "Divini Illius Magistri, Encyclical on Christian Education, 1929," in At the Heart of the Church: Selected Documents of Catholic Education, ed. Ronald J. Nuzzi and Thomas C. Hunt (United States: Alliance for Catholic Education Press, 2012).

1. เรากำลังเดินทาง

       เมื่อมองเห็นว่า ในโลกเรานี้ผู้ประพฤติชั่วจำนวนมาก มีความสุข ส่วนคนดีจำนวนมากกลับต้องรับทุกข์ แม้คนนอกพระศาสนา อาศัยเพียงแสงสว่างแห่งธรรมชาติ ก็รู้ถึงความจริงว่า: มีพระเป็นเจ้า และพระเป็นเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องมีชีวิตหน้า และในชีวิตหน้านั้น คนอธรรมจะต้องรับโทษคนสุจริตธรรมจะได้รับรางวัล ก็ทีคนนอกพระศาสนารู้ โดยอาศัยแสงสว่างแห่งสติปัญญานี้ เราคริสตังเชื่อถือมั่นคงว่าเป็นความจริง โดยอาศัยความเชื่อ “ในโลกนี้ ไม่มีนครอันยืนคง แต่เราแสวงหานครเบื้องหน้า” (ฮบ. 13, 14) แผ่นดินนี้มิใช่เป็นบ้านแท้ของเรา เป็นแต่ทางผ่านซึ่งในไม่ช้าเราจะต้องผ่านไปสู่สำนักนิรันดรภาพ (ปญจ. 12, 5) ฉะนั้น ผู้อ่านที่รัก เรือนที่ท่านอยู่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่เรือนของท่าน เป็นแต่ที่พักชั่วคราว ซึ่งในไม่ช้า และเป็นต้นขณะที่ท่านไม่สู้จะคิดถึง ท่านจะต้องจากไป โปรดทราบไว้เถิดว่า เมื่อถึงคราวตาย พวกที่ท่านรักมากกว่าผู้อื่นนั่นแหละ จะเป็นพวกแรกที่จะขับไล่ท่านออกจากบ้าน เช่นนั้นอะไรเล่าเป็นเรือนแท้ของท่าน?- หลุมนั่นแหละ จะเป็นเรือนพักร่างกายของท่านจวบถึงวันพิพากษาส่วนวิญญาณของท่านจะต้องเข้าไปสู่สำนักนิรันดรภาพในสวรรค์หรือนรกนักบุญเอากุสติน จึงเตือนใจท่านว่า “ท่านเป็นแต่ผู้อาศัย ที่ผ่านไปและมองเห็น” (1) ต้องนับว่าเป็นคนบ้ามิใช่หรือ คนเดินทางที่ขณะกำลังผ่านประเทศหนึ่งล้างผลาญทรัพย์ของตนจนหมดสิ้น ในการซื้อที่ดิน บ้านเรือน ซึ่งในไม่กี่วันตนก็จะต้องจากไป? ฉะนั้น ท่านนักบุญกล่าวต่อ จงคิดเถิดว่า ท่านเป็นแต่คนเดินทางในโลกนี้ อย่าเอาใจไปจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ท่านแลเห็นเลย ให้มองมัน แล้วก็ผ่านไปท่านพึงจัดหาเรือนดี ๆ ที่ท่านจะได้อยู่เสมอเป็นนิตย์เถิด

         ถ้าท่านเอาตัวรอด ท่านก็เป็นผู้มีบุญแท้! โอ้! สวรรค์ ช่างเป็นที่อยู่งามวิไลจริงหนอ! หากจะนำเอาพระราชฐานแห่งจักรพรรดิทั้งหลายมาเปรียบเทียบกับสวรรค์แล้ว ก็จะกลายเป็นคอกสัตว์เราดี ๆ นี่เอง สวรรค์เท่านั้น อาจจะเรียกได้ว่า “นครอันงามแท้” ที่นั้น ท่านจะไม่ต้องการสิ่งใดอีกแล้วท่านจะได้ร่วมวงกับพวกนักบุญ กับพระมารดาของพระเยซูคริสต์ ไม่ต้องวิตกกลัวภัยอะไร พูดโดยสรุป ท่านจะดำรงอยู่ในมหาสมุทรแห่งความอิ่มเอิบ อยู่ในความยินดีอันปราศจากความทุกข์เจือปน และความยินดีอันคงอยู่เป็นนิจศีล (อสย. 35, 10) ทั้งความยินดีนั้นจะยิ่งใหญ่ จนจะเห็นว่าเป็นของใหม่อยู่เสมอ ตลอดทั้งนิรันดรภาพ และในทุก ๆ เวลา!

         ตรงกันข้าม หากท่านตกนรก ท่านก็น่าทุเรศเหลือเกิน! ท่านจะจมอยู่ในทะเลไฟ ในทะเลแห่งความระทมทุกข์ ท่านจะต้องเสียใจ จะต้องถูกทุกคนทอดทิ้งและจะปราศจากพระเป็นเจ้าด้วย ท่านจะต้องทนทุกข์เช่นนี้เป็นเวลาช้านานเท่าไรเล่า? สักแสนปี แล้วโทษของท่านก็จะจบลงใช่ไหม? จะอะไร! ต่อให้อีกร้อยล้านปี พันล้านปี และพันล้านศตวรรษด้วย นรกของท่านก็ยังจะอยู่เหมือนเพิ่งเริ่มต้นเสมะ เพราะว่า พันปีเปรียบกับนิรันดรภาพเป็นอะไร? ยังไม่เท่าหนึ่งวันที่ล่วงไป (สดด. 89, 4) บัดนี้ท่านอยากทราบหรือไม่ว่า ที่อยู่อันใดจะตกเป็นของท่านตลอดทั้งนิรันดรภาพ? - ก็ที่อยู่อันนั้นเองที่ท่านจะทำให้ตัวของท่านสมจะไป ที่อยู่อันนั้นเอง ที่ท่านจะเลือกเอา โดยการกระทำของท่าน

         ข้อเตือนใจและคำภาวนา

        พระสวามีเจ้าข้า ความประพฤติของข้าพเจ้า ทำให้ข้าพเจ้าสมจะไปอยู่ในที่นั้น! อนิจจา! คือนรกนั่นเอง! จริงแล้ว! ข้าพเจ้าควรจะไปอยู่ที่นั้น นับแต่ได้ทำบาปประการแรก ควรจะถูกพระองค์ทรงทอดทิ้ง ทั้งไม่มีหวังจะได้รักพระองค์ต่อไปแล้ว! ขอซร้องสาธุการพระทัยเมตตากรุณาของพระองค์เป็นนิจกาล เพราะได้ทรงคอยข้าพเจ้าและโปรดให้ข้าพเจ้ามีเวลาจะแก้ไขความผิด ขอถวายพระพรแด่พระโลหิตของพระเยซูคริสต์ ซึ่งได้ทรงโปรดประทานพระคุณอันนี้แก่ข้าพเจ้า! ไม่เอาแล้ว พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าไม่ยอมดูหมิ่นความเพียรของพระองค์ต่อไป ข้าพเจ้าเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำเคืองพระทัย มิใช่เพราะมันทำให้ข้าพเจ้าสมจะไปนรกแต่เฉพาะอย่างยิ่ง เพราะเป็นการดูหมิ่นพระทัยดีอันหาขอบเขตมิได้ของพระองค์ไม่เอาแล้ว พระเจ้าข้า ไม่เอาแล้ว! ให้ข้าพเจ้าตายเสีย ดีกว่าจะทำเคืองพระทัยต่อไป โอ้! องค์คุณงามความดีที่ล้นพ้นเจ้าข้า หากในขณะนี้ข้าพเจ้าอยู่ในนรกข้าพเจ้าก็จะรักพระองค์ต่อไปไม่ได้แล้ว ทั้งพระองค์ก็จะทรงรักข้าพเจ้าต่อไปไม่ได้ด้วย! แต่ ณ บัดนี้ ข้าพเจ้ารักพระองค์และพอใจให้พระองค์ทรงรักข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเองไม่สมควรเลยก็จริงแล้ว แต่พระเยซูคริสต์ได้ทรงบันดาลให้ข้าพเจ้าเป็นผู้เหมาะสม เพราะพระองค์ได้ทรงบูชาพระชนม์ชีพเพื่อข้าพเจ้าบนไม้กางเขนทรงกระทำดังนี้ก็เพื่อให้พระองค์ พระบิดา ทรงอภัยโทษและทรงรักข้าพเจ้าข้าแต่พระบิดาผู้สถิตสถาพรตลอดนิรันดร โปรดเห็นแก่ความรักของพระองค์ต่อพระบุตรเจ้า ประทานให้ข้าพเจ้ารักพระองค์เสมอ และรักพระองค์มาก ๆ เถิดพระเจ้าข้า พระบิดาเจ้า ข้าพเจ้ารักพระองค์ ผู้ทรงประทานพระบุตรแก่ข้าพเจ้า! พระบุตรแห่งพระเป็นเจ้าเจ้าข้า ข้าพเจ้ารักพระองค์ ผู้ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อข้าพเจ้า!

         พระมารดาของพระเยซูเจ้าข้า ข้าพเจ้ารักท่าน ผู้ช่วยเสนอวิงวอนให้ข้าพเจ้ามีเวลากลับใจ พระสวามีเจ้าข้า โปรดช่วยให้ข้าพเจ้าเป็นทุกข์ถึงบาปมีความรักต่อพระเป็นเจ้า และคงเจริญในความดีจนถึงที่สุด ณ กาลบัดนี้เถิด


 

2. นิรันดรภาพอยู่ในกำมือของเรา

         “ต้นไม้ล้มทางทิศใต้หรือทิศตะวันตก ล้มทางไหนก็คงอยู่ทางนั้น” (ปญจ. 11, 3) ต้นไม้วิญญาณของท่าน เมื่อตายจะล้มลงข้างไหน ก็จะต้องอยู่ข้างนั้นตลอดไปทั้งนิรันดรภาพ ไม่มีสายกลาง: จะเป็นในหลวงเสมอไปในสวรรค์ หรือจะเป็นขี้ข้าเสมอไปในนรก! จะเป็นสุขเสมอไปในสมุทรแห่งความปลาบปลื้ม หรือจะเป็นทุกข์เสมอไปในขุมแห่งความทรมาน! นักบุญยวง คริสซอสโตม เมื่อพิเคราะห์ดู เรื่องเศรษฐีผู้ที่เมื่ออยู่ในโลกนี้ถือกันว่ามีสุข เพราะเป็นคนมั่งมี แต่แล้วต้องไปสู่นรก ตรงกันข้าม ลาซาลัส ซึ่งถือกันว่าเป็นคนอาภัพเพราะยากจนแต่แล้วได้เป็นเสวยสุขในสวรรค์ ท่านจึงอุทานว่า “โอ้! ความสุขอันไม่เป็นความสุข ซึ่งได้พาเศรษฐีผู้นั้นไปสู่ความไม่เป็นสุขตลอดนิรันดร! โอ้! ความทุกข์อันเป็นความสุข ซึ่งได้นำคนยากจนผู้นั้นไปสู่ความสุขตลอดนิรันดร!” (2)

         จะเป็นประโยชน์อะไร ที่จะวุ่นวายอย่างบางคน พูดกับตนเองว่า: ตัวฉันนี้จะต้องโทษ หรือถูกเลือกสรรหนอ? เมื่อตัดต้นไม้มันล้มไปข้างไหน? มันเอนไปข้างไหนมันก็ล้มไปข้างนั้น พี่น้อง ท่านเล่าเอนไปข้างไหน? ท่านครองชีพอย่างไร? จงพยายามทำให้ตัวของท่านเอนไปทางทิศใต้เสมอเถิด กล่าวคือจงสงวนรักษาพระหรรษทานของพระเป็นเจ้าไว้ จงหลีกบาป และดังนี้ท่านจะเอาตัวรอด และจะเป็นผู้ต้องเลือกสรรไว้อย่างแน่แท้ สำหรับการหลีกเลี่ยงบาปนั้นให้ท่านตั้งความคิดอันยิ่งใหญ่ เรื่องนิรันดรภาพไว้ต่อหน้าต่อตาของท่านเสมอถูกแล้ว ที่นักบุญเอากุสตินเรียกว่า เป็นความคิดอันยิ่งใหญ่ (3) ความคิดอันนี้เองได้นำให้หนุ่มหลายคนสละละโลก และไปดำรงชีพอยู่ในป่า สำหรับเอาใจใส่ต่อเฉพาะวิญญาณของตน และเขาก็ได้ทำให้วิญญาณของเขาอยู่ในที่ปลอดภัย บัดนี้เขารอดแล้ว แน่นอน เขากำลังรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจ และจะรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจเรื่อยไปตลอดทั้งชั่วนิรันดร

         หญิงคนหนึ่ง ดำรงชีพเหินห่างจากพระเป็นเจ้า คุณพ่อ ม. อาวีลา จึงเตือนสติด้วยถ้อยคำเพียงเท่านี้ว่า “คุณผู้หญิง โปรดคิดถึงคำสองคำนี้เสมอไปและไม่รู้จบสิ้น!”  วันหนึ่งคุณพ่อเปาโล เซเญรี คำนึงถึงนิรันดรภาพ เลยทำให้ท่านนอนไม่หลับเป็นหลายคืน และแต่นั้นมา ท่านได้ครองชีพเคร่งครัดยิ่งขึ้นอีกแดรสแซลลีโอ เล่าว่า พระสังฆราชองค์หนึ่ง เพราะคิดที่คิดถึงนิรันดรภาพนี้เองจึงได้ครองชีพอย่างศักดิ์สิทธิ์ พูดกับตนเองอยู่บ่อย ๆ ว่า “ฉันอยู่ที่ประตูนิรันดรภาพในทุก ๆ ขณะ!” ฤษีอีกองค์หนึ่ง ไปขังตัวอยู่ในหลุมและมีแต่ร้อง ณ ที่นั้นว่า “โอ้นิรันดรภาพ! โอ้ นิรันดรภาพ!” คุณพ่ออาวีลากล่าวว่า “ผู้ใดเชื่อถึงนิรันดรภาพ แล้วไม่บำเพ็ญตนเป็นนักบุญ ควรแล้วจะนำผู้นั้นไปโรงพยาบาลคนบ้า!”

       ข้อเตือนใจและคำภาวนา

        อา! พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า ทรงพระเมตตาต่อข้าพเจ้าเถิด! ข้าพเจ้าทราบอยู่แล้วว่า เมื่อทำบาป ก็เป็นการลงโทษตนเองไปสู่ความทุกข์ทรมาน ตลอดชั่วนิรันดร แม้กระนั้น ข้าพเจ้าก็ยังได้ยอมทำเคืองพระทัย เพื่ออะไร?- เพื่อจะได้ตามความพึงพอใจอันเลวทราม! อา! พระสวามีเจ้าข้า อภัยโทษด้วยเถิด ข้าพเจ้าเป็นทุกข์ด้วยจริงใจแล้ว ข้าพเจ้าไม่ยอมขัดน้ำพระทัยอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ต่อไปแล้ว หากพระองค์จะได้ทรงให้ข้าพเจ้าตายไป ขณะประพฤติชั่ว ข้าพเจ้าก็จะเป็นคนอาภัพที่สุดแล้ว ป่านนี้จะต้องอยู่นรก ถูกโทษให้เกลียดชังน้ำพระทัยของพระองค์เรื่อยไป แต่บัดนี้ ข้าพเจ้ารัก และพอใจรักน้ำพระทัยของพระองค์อยู่เสมอ โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบความปรารถนาของพระองค์ และประทานกำลังให้ข้าพเจ้าปฏิบัติตามเถิด “โปรดสอนข้าพเจ้าให้กระทำตามน้ำพระทัยของพระองค์” (สดด. 124, 10) องค์ความดีอันปราศจากขอบเขตเจ้าข้า ข้าพเจ้าไม่ยอมขัดขืนพระองค์ต่อไปแล้ว! ข้าพเจ้าวิงวอนขอพระหรรษทานประการเดียวคือ “ให้สำเร็จแล้วตามน้ำพระทัย ณ แผ่นดินเสมอเท่าในสวรรค์” ขอโปรดให้ข้าพเจ้าปฏิบัติตามน้ำพระทัยของพระองค์อย่างดีและอย่างเดียวเท่านั้น ข้าพเจ้าไม่ขออะไรอีกแล้ว และที่จริง พระองค์ พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า ทรงปรารถนาสิ่งใดเล่า นอกจากความดี และความรอดของข้าพเจ้า? ข้าแต่พระบิดาผู้สถิตสถาพรตลอดนิรันดร โปรดสดับผังคำภาวนาของข้าพเจ้าโดยเห็นแก่ความรักต่อพระเยซูคริสต์ ผู้ทรงสอนให้ข้าพเจ้าสวด ให้ข้าพเจ้าวิงวอนในนามของพระองค์ว่า “ขอให้สำเร็จแล้วตามน้ำพระทัย! ขอให้สำเร็จแล้วตามน้ำพระทัย!” โอ! ข้าพเจ้ามีความสุขเพียงไรหนอ หากได้ใช้เวลาและจบชีวิตที่ยังเหลืออยู่นี้ ในการบำเพ็ญตามน้ำพระทัยของพระองค์ เสมอเป็นนิตย์!

         พระแม่มารีอา เจ้าข้า ท่านมีบุญ ได้ประพฤติตามน้ำพระอัยของพระเป็นเจ้าอย่างดียิ่งเสมอเป็นนิตย์ ขอเดชะบุญบารมีของท่าน โปรดให้ข้าพเจ้าประพฤติตามอย่างของท่าน อย่างน้อยในชีวิตที่ยังเหลืออยู่นี้ด้วยเถิด


 

3. เลือกเอาให้ดีเถิด

         “มนุษย์จะไปสู่บ้านนิรันดรภาพของตน” (ปญจ. 12, 5) ประกาศกกล่าวว่า “จะไป” เพื่อแสดงว่า: ต่างคน่างจะไปยังที่ที่ตนปรารถนา ไม่ใช่ถูกบังคับให้ไป แต่ไปโดยน้ำใจของตนเอง จริงอยู่ พระเป็นเจ้าทรงปราถนาให้ทุกคนเอาตัวรอด แต่ไม่ทรงปรารถนาที่จะบังคับทุกคนให้เอาตัวรอด พระเป็นเจ้าทรงนำเอาชีวิตและความตาย มาตั้งไว้ต่อหน้าเราแต่ละคน เราเลือกเอาอันใดก็จะได้อันนั้น (บสร. 15, 18) ประกาศกเยเรมีย์ กล่าวไว้อย่างเดียวกันว่า “พระสวามีเจ้าได้ทรงประทานทางสองทางไว้ให้เราเดิน ทางสวรรค์ และทางนรก” (ยรม. 21, 8)

         เป็นหน้าที่ของเราจะต้องเลือกเอา แต่ผู้ที่อยากเดินตามทางนรก จะบรรลุถึงสวรรค์ได้อย่างไร? แปลกแท้! คนบาปทุกคนก็อยากเอาตัวรอด แต่เขาก็ลงโทษตัวเองให้ไปสู่นรก พร้อมกับพูดว่า: ฉันไว้ใจจะเอาตัวรอด-นักบุญเอากุสตินอุทานว่า ใครหนอช่างโง่ที่ตั้งใจกินยาพิษ โดยไว้ใจว่าจะไม่เป็นอันตราย? อย่างไรก็ดี คริสตังจำนานมาก ครบ้าจำนวนมาก ทำให้ตัวของตัวตายไปโดยการกระทำบาป พลางก็พูดว่า: อีกประเดี๋ยวค่อยแก้ไข! โอ! ความลุ่มหลงที่ได้นำมนุษย์มากต่อมากแล้ว ไปสู่นรก!

         ส่วนเราก็อย่างเป็นบ้าอย่างเขาเหล่านั้นเลย จงคิดว่า มันเป็นเรื่องนิรันดรภาพ นักบุญเอวเกรีโอ เขียนไว้ว่า: ธรรมดาคนเรายอมเหนื่อยยากทุกอย่างเมื่อยากได้บ้านเรือนที่อยู่สบาย มีอากาศปลอดโปร่ง ตั้งอยู่ในทำเลที่ดี เพราะคิดว่า จะได้อยู่ไปทั้งชั่วชีวิต แล้วไฉนเราจึงทำไม่รู้ไม่ชี้ในเรื่องเรือนที่จะต้องอยู่ตลอดไปทั้งชั่วนิรันดรเล่า?- ที่พูดถึงนี้มิใช่เรื่องอยู่เรือนอันสบาย หรือไม่สู้สบายมีอากาศปลอดโปร่ง หรือไม่สู้ปลอดโปร่งหรอกนะ แต่เป็นเรื่องของการอยู่อันเปี่ยมเต็มไปด้วยความสนุกยินดีท่ามกลางมิตรสหายของพระเป็นเจ้า หรือว่าอยู่ในขุมแห่งความทุกข์เวทนาทุกชนิด คละกับฝูงคนสารเลว: ผู้ร้าย เฮเรติกและคนนอกพระศาสนา และอยู่ที่นั้น ชั่วเวลานานเท่าไร?- มันไม่ใช่ชั่วเวลายี่สิบสี่สิบปี แต่ตลอดทั้งนิรันดรภาพ จึงว่าเป็นเรื่องใหญ่!  ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แต่เป็นธุรกิจอันสำคัญกว่าอะไร ๆ ทั้งหมด คราวเมื่อโทมาส มัวร์ (*) ถูกพระเจ้าเฮนรีสั่งประหารชีวิต นางหลุยซา ภริยาของท่านมาอ้อนวอนท่านให้ปฏิบัติตามความประสงค์ของพระราชา ท่านจึงพูดว่า “ช่วยบอกฉันทีซิ แม่หลุยซา เธอก็เห็นว่าฉันแก่แล้วนะ ฉันนี้จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกกี่ปี?” ภริยาตอบว่า “เธอน่ะ เธอจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกตั้งยี่สิบปีทีเดียว”- โธมาสมัวร์พูดต่อไปว่า “เธอเป็นแม้ค้าโง่อะไรเช่นนั้น! เธออยากจะให้ฉันมีชีวิตอยู่ในโลกต่อไป 20 ปี แล้วเธอต้องการให้ฉันเสียความสุขตลอดนิรันดร และให้ฉันต้องโทษตลอดนิรันดร ดังนั้นหรือ?”

         ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดประทานความสว่างแก่ชาวเราด้วยเถิด! สมมุติว่า นิรันดรภาพ ยังเป็นเรื่องที่น่าสงสัย เป็นเพียงความเห็นอันน่าจะเป็นไปได้เท่านั้น แม้กระนั้น ชาวเราก็จำต้องพยายามครองชีพให้ดี เพื่อจะไม่เสี่ยงภัยต้องไปทนทุกข์ทรมานตลอดนิรันดร แต่ความคิดเห็นอันนั้นเป็นความจริง มิใช่หรือ? นิรันดรภาพไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่าสงสัย แต่เป็นสิ่งแน่นอน ไม่ใช่เป็นความเห็นแต่เป็นความจริงแห่งข้อความเชื่อ: “มนุษย์จะไปสู่สำนักนิรันดรภาพของตน” (ปญจ. 12, 5) นักบุญเทเรซากล่าวว่า “อนิจจา! การขาดความเชื่ออันนี้แหละเป็นเหตุให้คนจำนวนมาก คริสตังจำนวนมาก ต้องโทษในนรกแล้ว!”

         ฉะนั้น ชาวเราจงปลูกความเชื่อของเราเสมอ ๆ ว่า “ข้าพเจ้าเชื่อถึงชีวิตอันคงอยู่เป็นิจนิรันดร” ข้าพเจ้าเชื่อว่า หลังชีวิตนี้ มีอีกชีวิตหนึ่ง เป็นชีวิตไม่รู้จบสิ้น ครั้นตั้งความคิดอันนี้ไว้ต่อตาเราเสมอแล้ว ก็ให้ใช้วิธีการอันจะประกันความรอดตอลดนิรันดรของเราเถิด: จงแก้บาปรับศีลบ่อย ๆ จงรำพึงทุก ๆ วันและจงคิดถึงความรอดชั่วนิรันดร: จงหลีกเลี่ยงท่าทางอันเป็นภัย และแม้ถึงกับจะต้องสละโลก ก็จงสละละมันเสียเถิด เพราะว่าไม่มีความปลอดภัยอันใดเลยเพียงพอสำหรับจะประกันความรอดตลอดนิรันดรของเรา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งนักบุญเบอร์นาร์ดกล่าวว่า “จะเอาให้แน่เท่าไร ก็ไม่เกินไปในเมื่อนิรันดรภาพอยู่ในภัย” (4)

        

         ข้อเตือนใจและคำภาวนา

         จริงแล้ว พระเจ้าข้า ไม่มีทางสายกลาง ข้าพเจ้าจะได้เป็นสุขเสมอหรือว่าจะต้องรับทุกข์เสมอ จะได้อยู่ในมหาสมุทรแห่งความชื่นชมยินดี หรือว่า ในมหาสมุทรแห่งความทุกข์เวทนา จะได้อยู่กับพระองค์ในสรวงสวรรค์เสมอไปหรือว่า จะต้องห่างจากพระองค์ไปอยู่ในนรกเสมอไป และข้าพเจ้าทราบว่า ตัวข้าพเจ้าสมไปอยู่ในนรกเสมอไป และข้าพเจ้าทราบว่า ตัวข้าพเจ้าสมไปอยู่ในนรก หลายครั้งมาแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็แน่ใจว่า พระองค์ทรงอภัยโทษแก่ผู้ที่กลับใจ ฉะนั้น โปรดช่วยผู้วางใจในพระองค์ให้รอดพ้นนรกด้วยเถิดพระเจ้าข้า พระองค์ทรงยืนยันประกันแก่ข้าพเจ้าว่า “(เมื่อคนบาป) จะร้องหาเรา....เราก็จะช่วยเขา และให้เขามีมงคล” (สดด. 9, 15) โปรดเร่งหน่อยเถิดพระสวามีเจ้าข้า เร่งอภัยบาป และช่วยให้ข้าพเจ้าพ้นจากนรก องค์คุณงามความดีที่ล้นพ้นเจ้าข้า ข้าพเจ้าเป็นทุกข์เสียใจเป็นอย่างิ่ง เพราะได้กระทำเคืองพระทัย กรุณาเร่งโปรดให้ข้าพเจ้ากลับคืนสู่พระหรรษทานของพระองค์ และให้ข้าพเจ้ารักพระเงค์เถิด พระเจ้าข้า หากในขณะนี้ข้าพเจ้าอยู่ในนรกแล้ว ก็จะรักพระองค์ไม่ได้ต่อไปแล้ว มีแต่จะเกลียดชังพระองค์เรื่อยไป อา! พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า พระองค์ได้ทรงกระทำอะไรแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงจะต้องเกลียดพระองค์? พระองค์คือผู้ที่ได้ทรงรักข้าพเจ้าจนถึงยอมสิ้นพระชนม์ สมควรนักหนาแล้วที่ข้าพเจ้าจะรักตอบพระองค์ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด พระสวามีเจ้าข้าอย่าทรงปล่อยให้ช้าพเจ้าพรากจากพระองค์อีกเลย (5) ข้าพเจ้ารักพระองค์ ข้าพเจ้าต้องการรักพระองค์เสมอ “ใครหนอจะมาพรากข้าพเจ้าจากความรักของพระคริสต์ได้” (รม. 8, 35) อา! พระเยซูเจ้าข้า บาปอย่างเดียวเท่านั้น อาจจะพรากข้าพเจ้าออกหากจากพระองค์ได้ โปรดเถิด โปรดเห็นแก่พระโลหิตที่พระองค์ได้ทรงหลั่งเพื่อข้าพเจ้า และอย่าทรงปล่อยให้เป็นเข่นนั้นเลย ขอให้ข้าพเจ้าตายเสียดีกว่า พระเจ้าข้า!

         พระบรมราชินี และพระแม่เจ้า เจ้าข้า โปรดภาวนาอุทิศแก่ข้าพเจ้าโปรดให้ข้าพเจ้าตายเสีย ตายเสียสักพันครั้งเถิด ดีกว่าจะต้องพรากจากความรักต่อพระบุตรของท่านต่อไป


 

(1) Hospes es: transis et vides.

(2) O infelix felicitas, quae divitem ad aeternam infelicitatem traxit O felix infelicitas, quae pauperem ad

    aeternitatis felicitatem perduxit

(3) Magna cohitatio

(*) โทมาส มัวร์ ถูกสถาปนาเป็นนักบุญ สมัยพระสันตะปาปา ปีโอที่ 11.

(4) Nulla nimia securitas, ubi periclitatur aeternitas.

(5) Ne permittas me seqarari a te.

 

พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 (1876-1958) ทรงดำรงตำแหน่งสันตะปิดรในช่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นยุคสมัยแห่งความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม ท่านจึงพยายามอย่างยิ่งยวดในการสร้างสันติและความปรองดองในสังคม และด้วยความปรีชาฉลาดและความเป็นผู้นำของพระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 ท่านเตรียมพระศาสนจักรคาทอลิกเข้าสู่ยุคหลังสงครามโลก ท่านมีความเป็นครูอาจารย์ที่แท้จริง ยิ่งกว่าพระสันตะปาปาองค์ก่อนๆ เพราะมีการบันทึกคำสอนและคำปราศรัยของท่านกว่าพันครั้ง ท่านช่วยระดมทุนเพื่อการศึกษาของเด็กที่ยากจนในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นความพยายามของท่านที่จะสนับสนุนการศึกษาคำสอนทางศาสนาให้เข้ากับยุคสมัยและวัฒนธรรม สำหรับท่านแล้วจุดยืนของพันธกิจของพระศาสนจักรคือ การเปิดโรงเรียนและด้านการศึกษา เราสามารถศึกษาแนวความคิดด้านการศึกษาของพระสันตะปาปาปีอูสที่ 12 ได้ในหนังสือ Pope Pius XII and Catholic Education (1957) เขียนโดย Vincent A. Yzermans

ศตวรรษที่ 20 ได้ชื่อว่าเป็นโลกยุคใหม่ที่ศาสตร์ทางมนุษยนิยมและวิทยาการทางสังคมเป็นหัวข้อสุดฮิตในบรรดานักวิชาการและนักปรัชญาเพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นระเบียบของโลก ในทางตรงข้าม พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 ได้เตือนใจนักปรัชญาและนักเทวศาสตร์คาทอลิกว่า หลักการธรรมชาติ (natural law) ต้องดำรงอยู่ในพื้นฐานของ หลักมานุษยนิยมที่แท้จริง (true humanism) เพราะไม่ว่าเราจะมีมุมมองต่อมนุษย์หรือเรื่องทางโลกในด้านใด เราก็ควรจะมีมุมมองตามคำสอนของชาวคริสต์ ด้วยเหตุนี้เราควรจะต่อยอดการศึกษาด้านคำสอนของพระศาสนจักร โดยเฉพาะเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยการอ้างอิงกับหลักของกฎธรรมชาติ

พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 ได้กล่าวถึงสิทธิขั้นพื้นฐานนี้ว่า

“ในยามที่พระศาสนจักรพยายามที่จะเอาชนะและปกป้องเสรีภาพของตน เพื่อธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพอย่างแท้จริง และเพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคล พระศาสนจักรรำลึกอยู่เสมอว่าสิ่งนี้เป็นแก่นของเรื่องสิทธิ์ ที่จะล่วงละเมิดโดยภาพรัฐเสียมิได้ แม้จะมีการอ้างถึงผลประโยชน์ส่วนรวม (common good) ก็ตาม... ทางภาครัฐสามารถออกกฎหมายใดๆเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมนี้ได้ตามต้องการ แต่ห้ามข้ามกำแพงนี้ นั้นก็คือสิทธิที่แตะต้องมิได้ของพระศาสนจักร เพราะสิทธินี้เองเป็นสมบัติอันล้ำค่าของประโยชน์ส่วนรวม”

พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 ไม่เห็นด้วยที่จะแยกการศาสนาออกจากโรงเรียน ท่านโต้แย้งว่า เป้าหมายของการศึกษา (goal of education) ประกอบไปด้วย ความร่วมมือกันกระหว่างพระหรรษทานอันศักดิ์สิทธิ์และการอบรมบ่มเพาะ (formation) เพื่อให้เป็นคริสตชนที่สมบูรณ์และแท้จริง และเพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์นี้ ศาสนาจึงมีความจำเป็นสำหรับทุกๆโรงเรียน

ในหลักการ “พัฒนาทางด้านร่างกาย” พระสันตะปาปากล่าวในระหว่างสมัชชาที่ประเทศอิตาลีว่า

“ในการเผยแสดงของพระเจ้าได้สอนพวกเราข้อความจริงอันสูงส่งเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ ที่แม้แต่วิทยาศาสต์ธรรชาติและศิลปะใดๆก็มิอาจค้นพบได้เลย ความจริงที่ว่านี้คือ ร่างกายนี้มีคุณค่าและมีศักดิ์ศรีที่ได้รับการยกขึ้นมา มีแรงผลักดันอันยิ่งใหญ่ขึ้นได้ ควรค่าการได้รับความเคารพ โดยแน่แท้ ในการกีฬาและยิมนาสติกจึงไม่มีอะไรที่เราต้องกลัวว่าจะผิดหลักของศาสนาหรือศีลธรรมอันใด ถ้าเราประยุกต์ใช้อย่างถูกต้อง... โดยพื้นฐานของร่างกายมนุษย์ เราไม่ได้มาจากโคลนตม แต่ร่างกายของมนุษย์มากจากจิตและวิญญาณ” (Pope Pius XII on Italian Congress on the Pedagogic and Hygienic Problems of Sports and Gymnastics,1952)

สำหรับชาวคริสต์ตราบใดที่คุณค่าทางศาสนายังคงอยู่ การพัฒนาทางร่างกายเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุน และเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อพัฒนาด้านการศึกษาและอบรมบ่มเพาะ

ในหลักการ “พัฒนาด้านสติปัญญา” พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 เรียกร้องให้มีการเสวนาระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์ (dialogue between science and religion) พร้อมไปกับการรวมกันระหว่างความเชื่อและเหตุผล ท่านได้ตื่นใจพวกเราไม่ให้มีองค์ความรู้อันตื้นเขิน ดังที่ท่านได้กล่าวแก่บรรดาคณาจารย์และนักศึกษาที่ฝรั่งเศสว่า

“ความหลงผิดที่คิดว่าตนรอบรู้ในทุกเรื่องนั้นทำให้เกิดความอวดดี พวกเขาขอบการยกยอปอปั้น มีความยินดีในความโง่เขลาของตนด้วยความทะเยอทะยาน ซึ่งให้ผลดีกับตนเองอันน้อยนิด กลับเป็นโทษยิ่งกว่า สำหรับผู้ที่ฟังและอ่านงานเขียนของคนพวกนี้... ผู้คนมักจะอ้างว่า ตนมีองค์ความรู้สำหรับสรรพสิ่ง เพราะในความเป็นจริงแล้ว พวกเขารู้เพียงงูๆปลาๆในหัวข้อต่างๆ และคิดว่าพวกเขาเป็นสัพพัญญูแล้ว”

พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 แนะนำว่า ผู้คนมักจะคิดว่ากฎศีลธรรมเป็นเรื่องของบุคคล หรือตามหัวข้อต่างๆ แต่ในความจริง กฎศีลธรรมควรที่จะครอบคลุมในทุกๆเรื่องที่เป็นสาธารณะ ในวิทยาศาสตร์ การเมือง และศิลปะ โดยมีพื้นฐานทางปรัชญา ด้วยเหตุนี้ กฎศีลธรรมจึงอยู่ในชีวิตที่เป็นสาธารณะของทุกคน สำหรับนักการศึกษาแล้ว พวกเขาให้พยายามสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เยาว์ ให้ห่างไกลจากโอกาสทำบาป ให้กำลังใจในยามที่พวกเขายากลำบาก สอนให้เขารู้จักการอุทิศตนในยามที่คุณธรรมนั้นเรียกร้อง และอย่าได้ตกในความประพฤติอันชั่วร้าย

สำหรับ “ความรู้สึกรับผิดชอบ” (sense of responsibility) ท่านได้อธิบายว่า อิสรภาพและเสรีภาพไม่ใช่สุดโต่ง หากแต่มีข้อจำกัดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ประการแรก เป็นสิ่งที่อยู่ภายใน เป็นข้อกำหนดอันเหมาะสมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ประการที่สองเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอก ที่จะเคารพสิทธิของผู้อื่นและของสังคมโดยทั่วไป และเพื่อจะเชื่อมโยงกับความรู้สึกผิดชอบนี้ ท่านเห็นว่าการสั่งสอนเรื่อง “มโนธรรมตามหลักคริสตศาสตร์” ควรเป็นหัวข้อในเรื่องนี้

“มโนธรรมเป็นเสมือนสิ่งที่อยู่ภายใน เป็นแก่นอันซ่อนอยู่ของมนุษย์ ในยามที่เขาปลีกวิเวกโดยใช้จิตวิญญาณและอยู่ในความสันโดษอย่างลึกซึ้ง เขาอยู่กับตนเอง อยู่อย่างสงบนิ่งกับพระเจ้า (ผู้ที่ทรงตรัสกับเขาผ่านทางมโนธรรม) และฟังเสียงของเขาเอง”

พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 ยังกล่าวถึงการศึกษาโดยทั่วไปว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กและเยาวชน หรือแม้แต่ผู้ใหญ่สามารถติดสินใจตามมโนธรรมได้ตามหลักคริสตชน และเพื่อที่จะบ่มเพาะมโนธรรมอันดีนี้ พวกเขาต้องทำตามน้ำพระทัยขององค์พระคริสต์ ทำตามกฎและวิธีชีวิตของพระองค์ เพราะพระองค์เป็นบ่อเกิดของกฏแห่งศีลธรรมทั้งปวง ท่านอ้างถึงการสอนแบบดั้งเดิมของคริสตชนว่า กฎได้รับการเขียนไว้แล้วในหัวใจของมนุษย์ทุกผู้คน เป็นกฎธรรมชาติ เป็นการเผยแสดงที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นกฎขององค์พระคริสตเจ้า แต่อย่างไรก็ตาม เป็นหน้าที่ของพระศาสนจักรที่ต้องสอนกฎที่ว่านี้ให้กับทุกคน การบ่มเพาะมโนธรรมจึงไม่ใช่การบังคับให้ถือตามกฏของพระศาสนจักรเพียงอย่างเดียว การบ่มเพาะมโนธรรมของมนุษย์ต้องควบคู่กับการศึกษานั้นเอง

ถึงจุดนี้เราเห็นว่าแนวคิด หลักการ ภาษาที่พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 ใช้นั้นมีความละม้ายคล้ายกับหลักการศึกษาคาทอลิกในกฏหมายพระศาสนจักรที่เราใช้ในปัจจุบัน (Code of Canon Law 1983) โดยเฉพาะบรรพที่ 793-795 ดังนี้

“บรรพที่ 793 วรรค 1 บิดามารดา รวมทั้งผู้ทำหน้าที่แทนพวกเขาด้วย มีพันธะและมีสิทธิให้การศึกษาอบรมแก่บุตรหลานของตน  บิดามารดาคาทอลิกยังมีหน้าที่และสิทธิที่จะเลือกวิธีและสถาบันที่จะช่วยพวกเขาสามารถจัดให้บุตรหลานของตนได้รับการศึกษาแบบคาทอลิก  ตามสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นได้อย่างดียิ่งขึ้น

วรรค 2 บิดามารดายังมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากความช่วยเหลือที่รัฐต้องจัดให้ ซึ่งพวกเขามีความต้องการเพื่อจัดให้บุตรหลานได้รับการศึกษาแบบคาทอลิกด้วย

บรรพที่ 794 วรรค 1 พระศาสนจักรมีหน้าที่และสิทธิให้การศึกษาด้วยเหตุผลพิเศษ เพราะพระศาสนจักรได้รับมอบพันธกิจช่วยเหลือมนุษย์จากพระเป็นเจ้า ให้สามารถบรรลุถึงความสมบูรณ์แห่งชีวิตคริสตชน

วรรค 2 ผู้อภิบาลวิญญาณมีหน้าที่จัดการทุกอย่าง เพื่อให้คริสตชนทุกคนได้รับการศึกษาแบบคาทอลิก

บรรพที่ 795 เนื่องจากการศึกษาที่แท้จริงต้องมุ่งให้การอบรมทั้งครบแก่บุคคลมนุษย์    กล่าวคือการอบรมที่มุ่งสู่จุดหมายสุดท้ายของบุคคล และขณะเดียวกันก็มุ่งสู่ความดีส่วนรวมของสังคม  ดังนั้น เด็ก และเยาวชนจะต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างที่ว่า เขาสามารถพัฒนาสมรรถนะทางกาย ใจ และสติปัญญาของเขาได้อย่างกลมกลืนกัน มีจิตสำนึกในความรับผิดชอบที่ดีสมบูรณ์มากขึ้นและรู้จักใช้เสรีภาพอย่างถูกต้อง  รวมทั้งได้รับการอบรมให้มีส่วนในชีวิตสังคมอย่างมีบทบาท”

ในความเป็นจริงแล้ว ก่อนเข้ารับสมณะสันตะปิดร พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 ได้รับเคยร่วมงานกับพระคาร์ดินัลกัสเปอรีในการร่างกฏหมายพระศาสนจักรฉบับปี 1917 จึงไม่น่าแปลกใจที่หลักการศึกษาคาทอลิกต่างๆที่อยู่ในเอกสารและงานเขียนของท่าน และจากสมณลิขิต “ครูผู้ศักดิ์สิทธิ์” (Divini Illius Magistri) ซึ่งมีอิทธิพลต่อกระบวนการร่างกฏหมายพระศาสนจักรฉบับปัจจุบันในปี 1983 เฉกเช่นที่เยอร์แมนส์ (Yzermans, 1957) ได้ให้ขอสังเกตุว่า พระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 ไม่ได้เขียนหรือสร้างหลักการศึกษาคาทอลิกอะไรใหม่ขึ้นมา แต่ท่านเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างรากฐานและรวมองค์ความรู้ที่สำคัญต่อเอกสารของพระศาสนจักรในเรื่องการศึกษาคาทอลิกในทศวรรษต่อๆมา เป็นการร่วมรวมคำสอน หลักการ หลักปรัชญาและธรรมเนียมประเพณีของสันตะสำนักที่สืบเนื่องมากว่าหลายศตวรรษ

 

อ้างอิง

R. Leiber and R. Mcinerny, "Pope Pius XII," in New Catholic Encyclopedia, Second Edition, vol. 11  (Detroit: Thomson Gale, 2002), 398-9.

Vicent A. Yzermans, Pope Pius XII and Catholic Education (St. Meinrad, Indiana: Grail Publications, 1957)

มีข้อมูลหลายอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า มีจุดหนึ่งในชีวิตพระเยซูที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ หนังสือพระวรสารทั้ง ๔ พูดถึงการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ครั้งสําคัญนี้    แม้ว่าจะเน้นที่ความหมายทางศาสนศาสตร์    มากกว่าทางประวัติศาสตร์ พระวรสารแต่ละฉบับต่างก็พยายามจะทําให้เราเข้าใจว่า เมื่อมาถึงจุดหนึ่ง การต่อต้านที่พวกผู้นําชาวยิวมีต่อพระเยซูมาถึงจุดสูงสุด ในเวลาเดียวกัน ความหวังของประชาชนจํานวนมากในเรื่องพระผู้ไถ่หันมาบรรจบที่พระเยซูอย่างชัดแจ้ง แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อมาถึงจุดนี้ พระเยซูถอยหลบออกไปในที่ห่างไกลฝูงชน และมุ่งสั่งสอนกลุ่มสาวกผู้ใกล้ชิดเป็นพิเศษ พร้อมกับเตรียมตัวเดินทางไปเยรูซาเลมเพื่อเผชิญกับความตาย

1. คำถามทางประวัติศาสตร์

          ในทางประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ดูไม่ต่อเนื่องและไม่สามารถอธิบายได้ว่า เรื่องของพระเยซูกลับดังและอื้อฉาวขึ้นมาอย่างกระทันหันได้อย่างไร จริงอยู่ กิจกรรมและคําสอนของพระเยซูมีลักษณะ "ไวไฟ" อยู่มาก แต่เราไม่เห็นว่ามีอะไรที่ทําให้พระเยซูกลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับชาติ จนถึงขั้นที่ฝ่ายผู้มีอํานาจในบ้านเมืองต้องการจะจับกุม และฝ่ายประชาชนต้องการจะตั้งเป็นกษัตริย์ ทําไมพระเยซูจึงต้องเก็บตัวและลี้ภัยไปประเทศใกล้เคียง ? มีอะไรที่ทําให้พระเยซูแน่ใจว่าตนเองและพวกสาวกจะต้องตายอย่างน่าอนาถ ?

          เราได้คําตอบมาจากนักพระคัมภีร์ผู้มีชื่อเสียง ชื่อเอเจียน ทรอกเม ท่านผู้นี้ได้ศึกษาค้นคว้าและยืนยันว่า เหตุการณ์ในพระวิหารไม่ได้เกิดขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายของชีวิตพระเยซู แต่เกิดขึ้นเมื่อพระเยซูไปเมืองเยรูซาเลมครั้งก่อนหน้านั้น มาร์โกผู้เขียนพระวรสารคนแรกได้จัดเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ และได้พูดถึงทุกอย่างที่เกิดขึ้นในแคว้นกาลิลีให้หมด ก่อนที่จะพูดถึงเหตุการณ์ในเมืองเยรูซาเลม   การจัดแบบนี้ทําให้ผู้เขียนพระวรสารต่อมา คือลูกาและมัทธิว รวมทั้งนักศึกษาพระคัมภีร์ยุคหลังๆ ต่างก็ไขว้เขวไปหมด  ส่วนยอห์นผู้เขียนพระวรสารเป็นคนสุดท้าย มีวิธีจัดเนื้อหาแบบรวมเหตุการณ์มาไว้ในแคว้นยูเดียและเมืองเยรูซาเลม ยอห์นพูดถึงเหตุการณ์ในพระวิหารในตอนต้นๆ (ยน.๒,๑๓-๒๒) การจัดเนื้อหาต่างกันสองแบบเช่นนี้ ทําให้เห็นว่า จริงๆ แล้วเหตุการณ์นี้ไม่จําเป็นจะต้องเกิดขึ้นในบั้นปลาย เมื่อพระเยซูไปเยรูซาเลมครั้งสุดท้าย

2.  เหตุการณ์ในพระวิหาร

          เป็นที่ยอมรับในวงการศึกษาพระคัมภีร์มานานแล้วว่า พระเยซูเคยเดินทางไปมาระหว่างกาลิลีและเยรูซาเลมบ่อยครั้ง (ไม่ใช่ไปเยรูซาเลมครั้งเดียวเมื่อตอนจบ ดังที่ปรากฏในพระวรสารโดยมาร์โก ลูกา และมัทธิว) และพระเยซูมีศิษย์หลายคนในเยรูซาเลม ในแคว้นยูเดีย เช่นเดียวกับที่มีศิษย์ในแคว้นกาลิลี และเมื่อศาสตราจารย์ทรอกเมชี้ให้เห็นว่า เหตุการณ์ในพระวิหารเกิดขึ้นเมื่อพระเยซูไปเยรูซาเลมครั้งใดครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย ก็ทําให้เราเห็นได้ว่าเหตุการณ์มันต่อเนื่อง และทําให้เห็นชัดว่าทําไมพระเยซูจึงกลายเป็นคนเด่นดังขึ้นมา เป็นที่รู้จักและกล่าวขวัญถึงทั่วประเทศ

          มีอะไรเกิดขึ้นที่พระวิหาร ? นักเขียนบางคนคิดว่า เหตุการณ์นี้เป็นการยึดอํานาจครอบครองพระวิหาร และเป็นขั้นแรกในแผนยึดเมืองเยรูซาเลม แต่ความเห็นนี้ไม่ถูกต้อง มันไม่เกี่ยวกับพิธีกรรมถวายบูชาที่ทํากันอยู่ในพระวิหาร และไม่เกี่ยวกับเรื่องที่ว่า พระผู้ไถ่จะมาชําระการนมัสการพระเจ้าให้บริสุทธิ์ ตามความเชื่อของชาวยิวหลายคน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในลานพระวิหารส่วนที่เรียกว่า "ลานของคนต่างศาสนา" ไม่ใช่เกิดขึ้นในส่วนที่ถวายบูชาที่เรียกว่า"สถานศักดิ์สิทธิ์" พระเยซูไม่สนใจเรื่องยึดอํานาจ หรือการชําระพิธีกรรม แต่เหตุเกิดจากปัญหาพวกพ่อค้าและพวกแลกเปลี่ยนเงินตรา

          ในลานพระวิหารมีการค้าขายสัตว์เพื่อการถวายบูชาอย่างคึกคัก เนื่องจากมีกฎทางศาสนาว่าสัตว์ที่จะใช้ ถวายบูชาต้องเป็นสัตว์ที่ "บริสุทธิ์" พวกพ่อค้าจึงฉวยโอกาสตั้งราคาสูงมาก ฝ่ายพวกแลกเงินตราก็ฉวยโอกาสเอากําไรเต็มที่ เพราะมีกําหนดว่าชาวยิวแต่ละคนต้องใช้จ่ายเงินในพระวิหารเป็นสัดส่วนกับรายได้ของตน และชาวยิวส่วนมากที่มานมัสการพระเจ้าที่พระวิหารนําเงินติดตัวมาเป็นเงินต่างประเทศ และตามกฎจําเป็นต้องแลกเป็นเงินตราที่ใช้ในพระวิหารเสียก่อน

          นี่คือภาพที่พระเยซูเห็นเมื่อเข้าไปในลานพระวิหาร และมันทําให้พระเยซูไม่พอใจเป็นอย่างมาก พระเยซูไม่รู้สึกประทับใจในความสวยงามของอาคารสถานที่ (มก.๑๓,๑-๒) พระเยซูไม่สนใจจารีตพิธีกรรมที่ทํากันอย่างพิถีพิถัน  แต่พระเยซูสังเกตเห็นหญิงม่ายที่ทําบุญด้วยเงินเหรียญสุดท้าย (มก.๑๒,๔๑-๔๔) พระเยซูสังเกตเห็นการฉวยโอกาสเอารัดเอาเปรียบชาวบ้านที่มานมัสการพระเจ้าด้วยความศรัทธา พวกพ่อค้าและพวกแลกเงินตรานมัสการมัมมอน(เทพเจ้าแห่งเงินตรา) แทนที่จะนมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้ และทําเช่นนี้โดยได้รับอนุญาตจากพวกหัวหน้าคณะสงฆ์ผู้จัดการพระวิหาร และคงจะมีการสมรู้ร่วมคิดแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างแน่นอน

          พระเยซูทนดูภาพอย่างนี้ไม่ได้ ความรักเมตตาสงสารที่มีต่อคนจนและคนถูกกดขี่ ผลักดันให้พระเยซูต้องเดือดดาล และต้องทําอะไรลงไปสักอย่างเพื่อแก้ไข

          ตามคําเล่าของมาร์โก ตอนที่พระเยซูเห็นสภาพของลานพระวิหารนี้ เป็นเวลาบ่าย และจะทําอะไรลงไปไม่ทันแล้ว (มก.๑๑,๑๑) ดังนั้นวันรุ่งขึ้นพระเยซูกลับไปที่ลานพระวิหารใหม่ และคงจะได้รวบรวมสมัครพรรคพวกพอสมควรไปช่วยด้วย พระเยซูคนเดียวจะไล่พวกพ่อค้าและพวกแลกเงินตราไม่ไหวแน่ นี่แสดงว่าการกระทําของพระเยซูไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะความโกรธชั่ววูบ แต่พระเยซูได้มีเวลาคิดและพิจารณาเป็นอย่างดีแล้วว่าสมควรทํา พระเยซูและพรรคพวก ไล่พวกพ่อค้าและพวกแลกเงินตรา ออกไปนอกบริเวณลานพระวิหารพร้อมกับสินค้าและเงินตราทุกอย่าง ยอห์นเล่าว่าพระเยซูใช้แส้ด้วย(ยน.๒,๑๕) ส่วนพรรคพวกใช้แส้หรือจะใช้มีดดาบกวัดแกว่งไปด้วยหรือไม่เราไม่ทราบ พระเยซูคงจะได้วางยามเฝ้าประตูไว้เพื่อไม่ให้พวกนั้นกลับเข้ามา   และเพื่อบังคับให้คนถือตามคําสั่งห้ามขนของผ่านลานพระวิหาร(มก.๑๑,๑๖) ลานพระวิหารนั้นคงเคยใช้เป็นทางลัด เพื่อขนส่งสินค้าจากมุมเมืองหนึ่งไปยังอีกมุมเมืองหนึ่ง

          การกวาดล้างดังกล่าวคงได้ก่อให้เกิดความอลหม่านเป็นอย่างมาก หลายคนเคยตั้งคําถามว่าทําไมพวกเจ้าหน้าที่รักษาความสงบในพระวิหาร จึงไม่เข้าไปควบคุมสถานการณ์ ทั้งๆที่มีเจ้าหน้าที่ตระเวนอยู่ทั่วไป หรือทําไมพวกทหารโรมันซึ่งอยู่ในป้อมติดกับบริเวณพระวิหารเฝ้าดูจากป้อมเฉยๆ อาจเป็นได้ที่ทั้งสองพวกนี้กลัวว่าถ้าถืออาวุธเข้าควบคุมสถานการณ์ อาจเป็นชนวนก่อให้เกิดการจราจลได้ หรืออาจเป็นได้ที่มีการเข้าควบคุมสถานการณ์ มีนักเขียนที่กล้าแสดงความเห็นว่า พวกของพระเยซูคงจะได้เข้าปะทะกับเจ้าหน้าที่หรือพวกทหารโรมัน และยึดครองพื้นที่พระวิหารอยู่ขณะหนึ่ง แต่ความคิดนี้ไม่เป็นความจริง เพราะถ้าทําดังที่ว่านี้จริง การกระทําของพระเยซูก็จะไม่สอดคล้องกับสิ่งที่พระเยซูเคยพูดและเคยทํามาตลอดจนถึงเวลานี้ และไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่ตามมาในภายหลังด้วย นอกนั้นถ้ามีการปะทะกับเจ้าหน้าที่หรือทหารโรมันจริง นักประวัติศาสตร์ชาวยิวที่ชื่อโยเซฟัสคงจะได้บันทึกไว้แล้ว เพราะคงจะเป็นเรื่องที่มีความสําคัญทางการเมืองและการทหารเป็นอันมาก

          ผู้เขียนมีความเห็นว่า เจ้าหน้าที่รักษาความสงบในพระวิหารคงจะได้เข้าควบคุมสถานการณ์ แต่เพียงเพื่อจะรักษาความสงบ จนกว่าพวกหัวหน้าคณะสงฆ์เข้ามาเจรจาหาทางยุติปัญหาอย่างสันติ พระเยซูไม่ได้ต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าหน้าที่ และพวกเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้บังคับให้ปล่อยพวกพ่อค้ากลับเข้ามาใหม่ ปัญหาที่ต้องเจรจากับพวกหัวหน้าคณะสงฆ์ก็คือสิทธิหรืออํานาจของพระเยซู "ท่านมีอํานาจอะไรที่จะมาทําเช่นนี้ ใครมอบอํานาจนี้ให้ท่าน ?" (มก.๑๑,๒๘) "ท่านจะแสดงเครื่องหมายอะไรให้เราเห็นว่าท่านมีสิทธิทําเช่นนี้ ?" (ยน.๒,๑๘)

          พระเยซูไม่มีอํานาจอะไรเป็นทางการ และไม่อ้างอํานาจของพระเจ้า ดังที่พวกประกาศกเคยอ้าง เนื่องจากพวกหัวหน้าคณะสงฆ์ไม่ยอมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาอํานาจของยอห์นแบปติสต์ พระเยซูจึงไม่ยอมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาอํานาจของตน  พระเยซูถือว่าสิ่งที่ตนทํานั้น จะตัดสินว่าถูกหรือผิดโดยอ้างอํานาจใดๆไม่ได้ ต้องตัดสินโดยพิจารณาสิ่งนั้นเองว่าดีหรือไม่ดี ไม่จําเป็นต้องมีเครื่องหมายอะไรมายืนยัน เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (พระวิหารใหม่หรืออาณาจักรใหม่) จะยืนยันเองว่าพระเยซูทําถูกต้องแล้ว

          เมื่อพระเยซูสอนอยู่ในบริเวณพระวิหาร(จะเป็นโอกาสเดียวกันนี้หรือไม่ก็ตาม) พระเยซูพูดว่าเมื่อภัยพิบัติจะเกิดขึ้น เมืองเยรูซาเลมและพระวิหารจะถูกทําลาย และพูดถึงอาณาจักรพระเจ้าว่าเป็นพระวิหารแบบใหม่ สรุปแล้วพระเยซูก็สอนตามที่เคยพูดมาตลอดคือ มีความจําเป็นรีบด่วนที่จะต้องเปลี่ยนหัวใจใหม่ จะมีภัยพิบัติเกิดขึ้นในไม่ช้าหากไม่รีบกลับใจ ถ้าทุกคนยอมเปลี่ยนทันทีก็จะมีพระวิหารใหม่เกิดขึ้น(นั่นคือชุมชนใหม่หรืออาณาจักรใหม่) แต่ผู้ฟังก็เข้าใจผิดคิดว่าพระเยซูพูดดูหมิ่นพระวิหาร ดูหมิ่นประเทศชาติบ้านเมือง

          สิ่งที่ทําให้พวกผู้นําเป็นห่วงมากก็คือ ดูเหมือนว่าพระเยซูมีอิทธิพลต่อประชาชนจํานวนมาก ทั้งๆ ที่ส่วนหนึ่งไม่เคยได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับพระเยซูก่อนที่จะมีเหตุการณ์ในพระวิหารเลย พระเยซูกลายเป็นคนสําคัญระดับชาติอย่างทันทีทันใด จะเมินเฉยต่อไปไม่ได้ พวกผู้นําจึงต้องตัดสินใจดําเนินการอะไรบางอย่าง

          บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ตั้งแต่จุดนี้ไปจนถึงการประหารชีวิตพระเยซู มีความสับสนอยู่มาก เราบอกได้เพียงแต่ว่า ในช่วงเวลาระหว่างเหตุการณ์ที่พระวิหารกับการจับกุมพระเยซู พวกผู้มีอํานาจในเมืองเยรูซาเลมได้รวมหัวกันและตัดสินใจที่จะกําจัดพระเยซู ยอห์นบรรยายถึงการประชุมวางแผนของคณะสงฆ์และฟาริสี (ยน.๑๑,๔๗-๕๒) และในตอนหนึ่ง ไกฟาสผู้เป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ชี้แจงว่า "ให้คนหนึ่งตายดีกว่าที่จะปล่อยให้ทั้งชาติถูกทําลาย" แม้จะไม่มีรายละเอียดในแง่ของประวัติศาสตร์มากนัก แต่การประชุมในลักษณะนี้มีพูดถึงในพระวรสารอีกทั้ง ๓ ฉบับ (มก.๑๔,๑-๒;มธ.๒๖,๓-๕; ลก.๒๒,๒)

3. วิถีชีวิตของพระเยซูเปลี่ยนไป

          พระเยซูรู้ตัวว่าพวกที่ตั้งตนเป็นศัตรูพยายามหาทางจับกุม พระเยซูจึงหลบหนี (ยน.๘, ๕๙; ๑๐,๓๙; ๑๒,๓๖) ไม่ไปไหนมาไหนอย่างเปิดเผย (ยน.๑๑,๕๔) ต้องออกจากเยรูซาเลมและแคว้นยูเดีย (ยน.๗,๑) แต่อยู่ในแคว้นกาลิลีก็ไม่ปลอดภัยเช่นกัน เพราะกษัตริย์เฮรอดก็ต้องการ กําจัดพระเยซูเหมือนกัน (ลก.๑๓,๓๑; มก.๖,๑๔-๑๖) พระเยซูจึงต้องหลบไปอยู่นอกแคว้นกาลิลี เช่น ฟากตะวันออกของทะเลสาบ เขตเมืองไทระและไซดอน เขตที่เรียกว่าทศนคร และเขตเมืองซีซาริยา-ฟิลิปปี (มก.๗,๒๔;๗, ๓๑; ๘,๒๒; ๘,๒๗) แม้ว่าในทางภูมิศาสตร์ข้อมูลอาจจะไม่ค่อยถี่ถ้วน แต่เป็นเรื่องชัดเจนที่พระเยซูต้องลี้ภัยในต่างแดน

          ในที่สุดเมื่อพระเยซูต้องกลับสู่เมืองเยรูซาเลม พระเยซูก็หาทางหลบซ่อนและทําอะไรอย่างลับๆ  เมื่อพวกศิษย์ต้องจัดเตรียมพิธีเลี้ยงปัสกา พวกเขาต้องไปพบชายคนหนึ่งที่หิ้วถังนํ้า และตามชายคนนั้นไปถึงบ้านหลังหนึ่ง เจ้าของบ้านจะพาขึ้นไป...(มก.๑๔,๑๒-๑๖) เมื่อไปเยรูซาเลม พระเยซูต้องออกไปหาที่พักนอกเมือง เช่นที่หมู่บ้านเบธานี (มก. ๑๔,๓) หรือเอฟราอิม (ยน.๑๑,๕๔) หรือไม่ก็สวนเกทเซมานี (มก.๑๔,๓๒) กลางวันพระเยซูจะใช้ฝูงชนเป็นกําบังในลานพระวิหาร (ลก.๒๑,๓๗-๓๘) พระเยซูรู้ว่าพวกที่ปองร้ายไม่กล้าเข้าจับกุม เพราะอาจเกิดการจราจลได้ (มก.๑๔,๒;ลก.๒๐,๑๙)

4. พระเยซูสั่งเตรียมพร้อม

          เหตุการณ์ในพระวิหารได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของพระเยซูและพวกสาวก หลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่จําเป็นก็กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ "พระเยซูพูดกับพวกสาวกว่า เมื่อเราส่งพวกท่านออกไป (เพื่อประกาศข่าวดี) โดยไม่ได้มีถุงย่ามหรือรองเท้าไปด้วย พวกท่านขาดแคลนสิ่งใดหรือไม่ พวกเขาตอบว่า “ ไม่” พระเยซูพูดต่อไปว่า แต่บัดนี้ ถ้าท่านมีถุงก็เอาไปด้วย ถ้ามีย่ามก็เช่นกัน ถ้าไม่มีมีดดาบ ก็จงขายเสื้อคลุมแล้วซื้อมีดดาบไว้สักอัน"(ลก.๒๒,๓๕-๓๖) ทีแรกพระเยซูและสาวกอยู่ได้โดยอาศัยไมตรีจิตของ ชาวบ้านทั่วไป แต่มาถึงตอนนี้ มีอันตรายอยู่รอบข้าง และไม่รู้ว่าไว้ใจใครได้หรือไม่ อาจจะถูกจับได้ทุกเมื่อ จึงจําเป็นต้องเตรียมพร้อม มีดาบไว้เพื่อป้องกันตนเอง

5. พระเยซูสั่งสอนสาวกต่อเนื่อง

          เราไม่รู้ว่าพระเยซูต้องหลบซ่อนอยู่เช่นนี้เป็นเวลานานเท่าไร  เรารู้เพียงแต่ว่าในช่วงเวลานี้ พระเยซูพยายามอบรมสั่งสอนพวกสาวกอย่างถี่ถ้วนเกี่ยวกับความเร้นลับแห่งอาณาจักรพระเจ้า(มก.๔,๑๑;๙,๓๑) พระเยซูอาจจะได้พูดถึงแผนโครงสร้างของอาณาจักรที่จะมาถึงด้วย พระเจ้าจะเป็นกษัตริย์ พระเยซูจะมีตําแหน่งผู้นําแบบใดแบบหนึ่ง สาวกผู้ใกล้ชิด ๑๒ คนจะมีหน้าที่รับผิดชอบแผนกต่างๆ ในชุมชนอิสราเอล ตรงกับจํานวน ๑๒ ตระกูลตั้งแต่ดั้งเดิม "พวกท่านจะนั่งบน ๑๒ บัลลังก์ ปกครองตระกูลทั้ง ๑๒ ของชาติอิสราเอล" (มธ.๑๙,๒๘=ลก.๒๒,๓๐) (คําว่า judge ตามภาษาพระคัมภีร์แปลว่า ปกครอง)

          คงจะเป็นโอกาสนี้ที่พวกสาวกถกเถียงกันว่า ใครจะเป็นใหญ่ที่สุด และใครจะได้นั่งข้างซ้ายและข้างขวาของพระเยซู (มก.๙,๓๓-๓๗;๑๐,๓๕-๔๐) เรารู้ว่าพระเยซูตอบอย่างไร ใครที่มีตําแหน่งหรืออํานาจในอาณาจักรจะต้องใช้อํานาจนั้นเพื่อรับใช้ผู้อื่น (มก.๙,๓๕; ๑๐,๔๑-๔๕) และจะต้องทําตัวเป็นผู้น้อยเหมือนเด็ก (มธ.๑๘,๑-๔)

          เราไม่รู้แน่ว่าพระเยซูพูดเกี่ยวกับโครงสร้างของอาณาจักร ในระหว่างที่หลบภัยอยู่หรือในช่วงอื่น แต่มาร์โกรวบรวมเรื่องประเภทนี้ไว้ในช่วงที่พระเยซูเร่ร่อนหลบภัยไปนอกแคว้นกาลิลี หรือเมื่อหลบซ่อนอยู่ในแคว้นกาลิลี (มก.๗,๒๔; ๗,๓๑; ๘,๒๗; ๙,๓๐-๓๕; ๑๐,๓๕-๔๕) แต่เราแน่ใจได้ว่า ในช่วงเวลาที่หลบภัยอยู่นั้น พระเยซูถูกชักจูงให้คิดยึดอํานาจและประกาศตนเป็นพระผู้ไถ่หรือกษัตริย์ของชาวยิว 

 

คำถาม

          1. พระวรสารเป็นหนังสือประเภทใด ?
          2. ท่านคิดอย่างไรเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พระวิหาร ?
          3. ท่านคิดอย่างไรเมื่อพระเยซูสั่งให้สาวกเตรียมพร้อม ?