Skip to main content

เตรียมเผชิญ

ค ว า ม ต า ย

บทที่ 08 "ความตายของผู้ใคร่ธรรม"

book

1. ความตายของผู้ใครธรรมปิดฉาก ความทุกข์ยากทั้งหลาย

      ความตาย เมื่อพิเคราะห์ดูในด้านเบญจประสาท มันทำให้สดุ้ง และให้ตกใจกลัว ถ้าพิเคราห์ดูในด้านความเชื่อ ก็เป็นสิ่งที่เย็นใจ และน่าพึงปรารถนามันปรากฏเป็นสิ่งที่นาหวาดกลัวสำหรับคนบาป แต่มันแสดงตัวน่ารัก และเป็นสิ่งมีค่า สำหรับบรรดานักบุญ นักบุญเบอร์นาร์ด กล่าวว่า “ความตายเป็นสิ่งประเสริฐ เพราะเป็นการจบความทุกข์ยาก เป็นการมีชัยอย่างเด็ดขาด และเป็นประตูนำไปสู่ชีวิต” (1)

      ถูกแล้ว ความตายเป็นการจบความเหน็ดเหนื่อยและความยากลำบาก “คนเราเกิดมาแต่หญิง ดำรงชีพในช่วงเวลาสั้น ๆ และเปี่ยมไปด้วยความทุเรศต่าง ๆ” (โยบ. 14, 1) ชีวิตของเราเป็นดังนี้ มันสั้น มันเต็มไปด้วยความทุเรศความเจ็บไข้ ความวุ่นวายหวาดกลัว และความยากลำบาก คนใจโลกซึ่งปรารถนาอยากมีอายุยืนนาน ท่านเซเนกา กล่าวว่า: เจ้าคนพวกนี้ อยากจะได้อะไรถ้ามิใช่การยืดเวลารับทุกข์ทรทาน? (2) นักบุญเอากุสตินกล่าวว่า “การตำรงชีพต่อไปเป็นอะไร ถ้าไม่ใช่เป็นการทนทุกข์นานออกไปอีก?” (3) เป็นจริงดังนั้นเพราะนักบุญอัมโบรส สอนเราว่า : คนเราได้รับชีวิตในปัจจุบันนี้ไม่ใช่เพื่อพักผ่อน แต่เพื่อออกแรงทำงาน และเมื่อได้ออกแรงทำงานแล้ว จึงจะสมได้ชีวิตชั่วนิรันดร (4) ฉะนั้นจึงถูกต้อง ตามที่ท่านแตร์ตูเลี่ยน    กล่าวว่า: เมื่อพระเป็นเจ้าทรงย่นชีวิตของผู้ใด พระองค์ก็ทรงย่นความทุกข์ทรมานของผู้นั้นเด้วย (5) เป็นอันว่าแม้ความตายจะเป็นอาชญาโทษสำหรับบาป แต่เนื่องจากที่ในชีวิตนี้ มีความยากลำบากมาก เพียง (ตามความเห็นของนักบุญอัมโบรส) แต่ดูเหมือนว่า ความตายเป็นความบรรเทา หาใช่อาชญาโทษไม่ (6) พระเป็นเจ้าตรัสเรียก บุคคลที่ตายในพระหรรษทานของพระองค์ว่า ผู้มีบุญ เพราะเขาเหล่านี้จบการงานของตนและได้ไปพักผ่อน: “เป็นบุญลาภของผู้ตายที่ตายในพระสวามีเจ้า แต่บัดนี้ไปพระจิตเจ้าตรัสว่า เขาจงไปพักผ่อนจากความเหนื่อยยากของเขา” (วว. 14, 13)

      ความทุกข์ทรมานต่าง ๆ ซึ่งเคี่ยวเข็ญคนใจบาป เมื่อเขาจะตาย หาเคี่ยวเข็ญคนใจบุญไม่ “วิญญาณของผู้ใคร่ธรรม อยู่ในพระหัตถ์ของพระเป็นเจ้าความทุกข์ทรมานแห่งความตาย จึงไม่มีกำลังจะแตะต้องท่านได้” (ปชญ. 3, 1) นักบุญไม่กลัวการจากโลก ซึ่งคนใจโลกกลัวนักกลัวหนา นักบุญไม่เสียใจ ที่จะต้องพรากจากสมบัติพัสถานแห่งโลกนี้ เพราะว่าใจของท่านออกหากจากมันอยู่ก่อนแล้วท่านเคยพูดกับตนเองเสมอ ๆ ว่า “พระองค์คือ พระเป็นเจ้าแห่งดวงใจของข้าพเจ้าพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นส่วนมรดกของข้าพเจ้าเสมอไป” (สดด. 72, 26) นักบุญเปาโลได้เขียนจดหมายถึงสานุศิษย์ของท่าน ซึ่งถูกริบทรัพย์เพราะพระคริสต์เจ้าว่า “พวกท่านมีบุญ ที่ได้ยินดี ปล่อยให้เขาริบทรัพย์สมบัติของท่านไป ทั้งนี้โดยที่น่าทราบว่า ท่านมีขุมทรัพย์ที่ดีกว่านั้น และที่คงอยู่เป็นนิตย์” (ฮบ. 10, 34) นักบุญไม่เสียใจ เมื่อจะต้องสละละเกียรติยศท่านมิใช่แต่นิยมชมชอบ แต่ท่านกลับเกลียดมันเสียอีก ถือว่า มันเป็นเพียงควัน เป็นความเปล่า (และมันก็เป็นจริงดังนั้น) สิ่งที่ท่านถือเป็นเกียรติยศ มีอย่างเดียวคือ การที่ตนรักพระ และการที่พระรักตน ท่านไม่เสียใจ เมื่อจะต้องละพ่อแม่ เพราะท่านรักเขา เพราะรักพระเป็นเจ้า เมื่อท่านตายไป ท่านก็ฝากเขาไว้กับพระบิดาเจ้าสวรรค์ผู้ซึ่งทรงรักเขามากกว่าท่านเสียอีก และโอยที่ท่านมั่นใจว่าตนจะเอาตัวรอด ท่านก็คิดว่า ท่านอาจจะช่วยเขาจากสรวงสวรรค์ ดีเสียกว่าเมื่อยังอยู่บนแผ่นดินนี้ สรุปความ คือ สิ่งที่ท่านเคยพูดเสมอ ๆ ขณะมีชีวิตอยู่ในโลกว่า “พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า พระองค์คือสารพัดของข้าพเจ้า” (7) เมื่อคราวจะตาย ท่านก็จะย้ำกล่าวเหมือนกัน และด้วยความชื่นใจ และความเสน่หามากขึ้น

      ผู้ใดตายขณะกำลังรักพระเป็นเจ้า ผู้นั้นไม่วุ่นวายกับความเจ็บปวด ซึ่งย่อมตามความตายมาเป็นของธรรมดา ตรงข้ามเขากับรู้สึกยินดี โดยที่คิดว่าไหน ๆ จะสิ้นชีวิตอยู่แล้ว จะไม่มีเวลาทุกข์ถวายพระเป็นเจ้าต่อไปแล้ว เหลือแต่จะต้องทนความเจ็บปวดเหล่านี้ ด้วยความเสน่หาและด้วยใจราบคาบ ทั้งรู้สึกชื่นชมในการจะถวายชีวิตตอนปลายนั้น ด้วยความเสน่หาและด้วยใจราบคาบ ทั้งรู้สึกชื่นชมในการจะถวายชีวิตของเขา ร่วมกับมหาบูชา ซึ่งครั้งก่อนโน้น พระเยซูคริสต์ได้ทรงถวายแด่พระบิดาเพื่อตัวข้าฉะนั้นเขาจึงจะหลับตาด้วยความสุข พลางกล่าวว่า “ฉันจะหลับในพระเป็นเจ้า ฉันจะพักผ่อนอยู่ในความผาสุก” (สดด. 4, 9) โอ้! ช่างเป็นความสุขกระไรหนอ ที่จะตายโดยปรศจากความห่วงใย และกำลังอบอุ่นอยู่ในอ้อมแขนของพระเยซูคริสต์ พระผู้ซึ่งทรงรักเราจนยอมพลีพระชนม์ชีพและพลีอย่างขื่นขม เพื่อจะให้เราได้ตายอย่างหวานฉ่ำ และยินดี

      ข้อเตือนใจและคำภาวนา

      ข้าแต่พระเยซูที่สุดเสน่หา พระองค์ทรงหวังจะให้ข้าพเจ้าตายอย่างนิ่มนวลจึงได้ทรงพระกรุณายอมสิ้นพระชนม์อย่างทารุณบนเนินกัลป์วาริโอ  ข้าพเจ้าจะได้เห็นพระองค์เมื่อไร?- ครั้งแรกที่จะได้แลเห็นพระองค์ คือ ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระตุลาการ ณ สถานที่ที่ข้าพเจ้าจะสิ้นใจนั้นเอง เมื่อนั้นข้าพเจ้าจะกราบทูลพระองค์ว่าอย่างไร? และพระองค์จะตรัสแก่ข้าพเจ้าอย่างไร? ข้าพเจ้าไม่คอยจนถึงเวลานั้น แล้วค่อยคิดหาคำกราบทูล แต่ขอคิดเตรียมไว้แต่ในบัดนี้ คือเมื่อนั้นข้าพเจ้าจะกราบทูลพระองค์ว่า :

      ข้าแต่พระมหาไถ่ที่สุดเสน่หา พระองค์คือ ผู้ได้ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อข้าพเจ้า! ครั้งก่อนโน้น ข้าพเจ้าได้เคยทำชอกช้ำน้ำพระทัย ได้ทำตนเป็นคนใจดำ และไม่สมจะได้รับอภัยโทษแต่เดชะพระหรรษทานช่วย ข้าพเจ้าได้สำนึกรู้ตัว และในชีวิตต่อมาได้ร้องไห้เป็นทุกข์ถึงบาป และพระองค์ได้ทรงพระกรุณายกบาปให้แล้ว ขอทรงพระมหากรุณาอีกครั้งหนึ่งเถิด โปรดอภัยบาปของข้าพเจ้าผู้กำลังกราบอยู่แทบพระบาท โปรดอภัยบาปทั้งหมดแก่ข้าพเจ้าให้สะอาดหมดจดเถิด พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าไม่สมจะรักพระองค์ เพราะได้ดูหมิ่นความรักของพระองค์ที่ได้ทรงเมตตา ดึงดูดดวงใจของข้าพเจ้าให้เข้ามาหาพระองค์แม้ว่าดวงใจของข้าพเจ้านี้ ไม่ได้รักพระองค์เท่าที่พระองค์ทรงน่ารัก อย่างน้อยมันก็ได้รักพระองค์ยิ่งกว่าอะไร ๆ ทั้งหมด ได้ยอมสละทุกสิ่ง เพื่อให้เป็นที่ชอบพระทัยของพระองค์ พระเจ้าข้า บัดนี้ถึงคราวพระองค์จะตรัส ก็พระองค์จะตรัสแก่ข้าพเจ้าว่าอย่างไร? ข้าพเจ้ามองเห็นว่า สวรรค์ และการได้พบพระองค์ในสวรรค์เป็นสมบัติเกินค่า ที่ข้าพเจ้าควรได้รับ แต่ข้าพเจ้าก็ไม่อาจดำรงชีพห่างเหินจากพระองค์ เป็นต้น ในขณะนี้ที่พระองค์ทรงแสดงให้ข้าพเจ้าแลเห็นพระพักตร์อันน่ารัก และอันงามวิจิตรของพระองค์แล้ว ฉะนั้น ขอโปรดให้ข้าพเจ้าได้ไปสวรรค์เถิด ไม่ใช่เพื่อจะได้ความสุข แต่เพื่อจะได้รักพระองค์มากขึ้น พระเจ้าข้า พระองค์จะทรงให้ข้าพเจ้าไปไฟชำระก่อนนานเท่าไรก็สุดแล้วแต่พระกรุณา เป็นความจริงข้าพเจ้าไม่ปรารถนาไปสู่ถิ่นฐานแห่งความสะอาดหมดจด ไม่ปรารถนาจะให้ตัวข้าพเจ้า ผู้ยังแปดเปื้อนด้วยมลทินเช่นในบัดนี้ เข้าไปร่วมกับบรรดาวิญญาณผู้บริสุทธิ์ ฉะนั้นให้ข้าพเจ้าไปไฟชำระเพื่อล้างตนก่อนเถิด ขออย่างเดียวอย่าให้ข้าพเจ้าต้องพลาดจากพระพักตร์ตลอดนิรัดรเลย ขอให้ในวันหนึ่ง วันที่พระองค์จะทรงพอพระทัย โปรดตรัสเรียกข้าพเจ้าเข้าสู่สวรรค์ สำหรับสรรเสริญพระเมตตากรุณาของพระองค์ทั้งชั่วนิรันดรด้วยเถิด พระเจ้าข้า พระตุลาการที่เคารพรักเจ้าข้า ณ บัดนี้ โปรดยกพระหัตถ์อำนวยพระพร และโปรดตรัสแก่ข้าพเจ้าว่า: เจ้าเป็นของของเรา และเราเป็นของของเจ้า เสมอ ไปแล้ว เจ้ารักเรา และเรารักเจ้าอยู่เป็นนิตย์แล้ว! บัดนี้ถึงเวลาที่ข้าพเจ้าจำจากพระองค์ไปสู่ไฟชำระ ข้าพเจ้ายินดีไป เพราะจะไปที่นั้นก็เพื่อรักพระองค์ พระมหาไถ่ของข้าพเจ้า พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า และสารพัดของข้าพเจ้า ที่จริงข้าพเจ้ายินดีไปแต่โปรดทราบเถิดพระเจ้าข้า ตราบใดข้าพเจ้ายังอย่างจากพระองค์ จะเป็นเครื่องทรมานข้าพเจ้าอย่างแสนสาหัสอยู่ตราบนั้น พระสวามีเจ้าข้า ข้าพเจ้าขอกราบลาพระองค์ไป ไปนับวันเวลาทุก ๆ วินาทีจนกว่าจะได้ยินพระวจนะตรัสเรียกให้ข้าพเจ้ากลับมาหาพระองค์ทรงพระกรุณาด้วย ทรงพระกรุณาต่อวิญญาณ ซึ่งรักพระองค์ด้วยสิ้นสุดกำลังและซึ่งปรารถนาอย่างแรงกล้าจะได้เห็นพระองค์ สำหรับจะได้รักพระองค์ให้มากขึ้นด้วยเถิด พระเจ้าข้า

      พระเยซูเจ้าข้า ข้าพเจ้าหวังว่าในขณะนั้น ข้าพเจ้าจะได้กราบทูลพระองค์เช่นนี้  ในเวลานี้ ขอพระองค์ทรงประทานพระหรรษทานให้ข้าพเจ้าครองชีพให้สมควร ที่จะสามารถกราบทูลพระองค์ได้ อย่างที่ข้าพเจ้าเพิ่งกล่าวมา โปรดประทานความคงเจริญในความดี และความรักต่อพระองค์เถิด พระเจ้าข้า

      พระแม่ก็เช่นกัน โปรดช่วยข้าพเจ้าด้วย โอ้ พระชนนีแห่งพระเป็นเจ้าโปรดช่วยวิงวอนพระเยซู เพื่อข้าพเจ้าด้วยเถิด


     

2. ความตายของผู้ใคร่ธรรมเป็นรางวัลสนองบุญกุศล

      “พระสวามีเจ้าจะทรงเช็ดน้ำตาทั้งหมด จากตาของเรา และความตายจะไม่มีต่อไป” (วว. 21, 4) เป็นอันว่าในเวลาตายพระเป็นเจ้าจะทรงเช็ดน้ำตาแห่งข้าปรนนิบัติทั้งหลายของพระองค์ ที่ท่านเคยหลั่งเมื่ออยู่บนแผ่นดินนี้ ในคราวได้รับความยากลำเค็ญ ความหวาดกลัวภัย และการสู้รบกับนรก-ผู้รักพระเป็นเจ้าจะรู้สึกโล่งใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อจะทราบว่าตนใกล้จะตายแล้ว เพราะเขาจะคิดว่าในไม่ช้า ตนจะพ้นจากภัยที่จะทำเคืองพระทัยของพระเป็นเจ้า ซึ่งมีอยู่มากมายในชีวิตนี้ จะพ้นจากความวุ่นวายมโนธรรมนานาประการ จะพ้นจากการประจญล่อลวงของปีศาจ ชีวิตในปัจจุบันนี้คือ สงครามกับปีศาจ ซึ่งมีการรบติดต่อกันอยู่เรื่อยไป ตราบใดที่คนเรายังอยู่ในชีวิต ก็ยังมีภัยจะเสียวิญญาณ เสียพระเป็นเจ้าไปได้ตราบนั้น นักบุญอัมโบรส จึงกล่าวว่า “บนแผ่นดิน เราย่อมเดินอยู่ในระหว่างบ่วงบาศของศัตรู” (8) ชึ่งต้องการปลิดชีวิตพระหรรษทานของเรา ภัยอันนี้เองเป็นเหตุให้นักบุญเปโตร แห่งอัลคันตารากล่าว เมื่อท่านใกล้าจะตายว่า “ภราดาโปรดถอยออกไป (ท่านพูดกับฤาษีผู้เฝ้าพยาบาล และมาแตะต้องตัวของท่าน) โปรดถอยไป เพราะฉันยังไม่ตาย ฉันยังอาจทำบาป และไปนรกก็ได้” ภัยอันนี้เอง เป็นเหตุให้นักบุญเทเรซา (แห่งอาวิลลา) เบาใจ ทุก ๆ ครั้งเมื่อท่านได้ยินเสียงนาฬิกาตีบอกเวลา เพราะท่านรู้สึกว่า การสู้รบได้ผ่านไปอีกชั่วโมงหนึ่งแล้ว ตามที่ท่านเคยพูดว่า “ทุก ๆ วินาทีในชีวิตนี้ฉันอาจจะทำบาป และเสียพระเป็นเจ้าไปก็ได้” ฉะนั้นนักบุญทั้งหลายจึงต่างรู้สึกปิติยินดี เมื่อท่านใกล้จะตายเพราะต่างคิดว่า : ในไม่ช้าจะจบการสู้รบ จะหมดภัย และท่านจะมีบุญ : จะเสียพระเป็นเจ้าไม่ได้ต่อไป

      ในประวัติของบรรดาปิตาจารย์มีเรื่องเล่าว่า ในแคว้นชีธีอา พระสงฆ์อาวุโสองค์หนึ่ง เมื่อใกล้จะตาย ใคร ๆ ต่างร้องไห้ ท่านกลับหัวเราะ มีผู้ถามว่าเหตุไรท่านจึงหัวเราะ ท่านก็ตอบว่า “แล้วไฉนพวกท่านจึงร้องไห้เล่า? ในเมื่อเห็นข้าพเจ้ากำลังจะได้ไปพักผ่อน” (9) นักบุญคัทเธอรีน แห่งซีเอนา ก็เหมือนกันเมื่อใกล้จะตาย พูดว่า “ขอจงร่วมยินดีด้วยกันกับฉันเถิด เพราะว่าดิฉันกำลังจะละแผ่นดินแห่งความทุกข์ร้อน ไปสู่สถานแห่งสันติสุข” นักบุญชีปรีอาโนกล่าวว่า: คนที่อาศัยอยู่ในเรือนที่ฝากำลังพัง พื้นและหลังคากำลังสั่นทำท่าจะทะลายลงมาแล้ว เขาจะไม่ยินดีออกจากเรือนนั้นดอกหรือ? ก็ในชีวิตนี้ ทุกสิ่งตั้งท่าจะทำลายวิญญาณของเรา โลก นรก ราคตัณหา ประสาทอันทรยศ ทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแต่ชักจูงเราให้ทำบาปให้ไปสู่ความตายชั่วนิรันดร นักบุญเปาโลอุทานว่า “ใครหนอจะช่วยข้าพเจ้าให้แคล้วจากร่างกายแห่งความตายอันนี้?” (รม. 7, 24) โอ้ ! วิญญาณจะรู้สึกตื่นเต้นยินดีเพียงไรหนอ เมื่อจะได้ยินคำว่า “มาเถอะ ภรรยาจงออกจากสถานที่ต้องกินน้ำตา จงออกจากถ้ำสิงโต” ซึ่งตั้งท่าคอยแต่จะขบท่านและทำให้ท่านเสียพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า (กันต์. 4, 8) ฉะนั้น นักบุญเปาโลจึงปรารถนาอยากจะตาย ท่านกล่าวว่า: พระเยซูคริสต์เท่านั้น คือชีวิตของท่านและท่านถือว่าความตายเป็นกำไรอันใหญ่หลวง เพราะว่ามันจะทำให้ท่านได้รับชีวิตอันไม่รู้จบสิ้น (10)

        ต้องถือเป็นพระคุณอันใหญ่หลวงของพระเป็นเจ้า เมื่อพระองค์ทรงยกวิญญาณที่กำลังประกอบอยู่ด้วยพระหรรษทานออกจากแผ่นดินนี้ เพราะว่าวิญญาณเมื่อยังอยู่ในแผ่นดินนี้ ก็อาจจะเปลี่ยนแปลง และอาจจะทำให้สูญเสียมิตรภาพต่อพระได้ ตราบนั้น (11) จริงอยู่ แม้ในชีวิตนี้ ผู้ใดมีชีวิตร่วมสนิทกับพระผู้นั้นย่อมมีความสุข แต่ผู้ที่กำลังเดินทางในมหาสมุทรจะเรียกว่า ปลอดภัยยังไม่ได้ นอกจากเขาจะไปถึงท่าเรือ และพ้นพายุร้ายทั้งหลายแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้นจะเรียกวิญญาณว่ามีความสุขเต็มที่ยังไม่ได้ นอกแต่เมื่อเขาได้ออกจากชีวิตนี้พร้อมกับพระหรรษทานของพระเป็นเจ้าแล้วเท่านั้น นักบุญอัมโบรสกล่าวว่า “จงชมเชยความสุขของคนเดินทะเลก็เฉพาะเมื่อเขาถึงท่าแล้วเถิด” (12) ผู้โดยสารในสมุทร เมื่อได้ผ่านพ้นภยันตรายเป็นอันมาก และเมื่อเรือเกือบจะไปจอดเทียบท่าแล้ว เขาย่อมมีความยินดี ทำนองเดียวกันก็ผู้ใกล้จะได้พบความรอดก็ย่อมมีความยินดียิ่งกว่านั้นอีก

      อีกประการหนึ่ง เมื่อยังอยู่ในชีวิตนี้ จะไม่ทำความผิดแม้ในเรื่องเล็กเรื่องน้อยย่อมไม่ได้ “ผู้ใคร่ธรรมจะผิดพลาดถึงเจ็ดครั้ง” (สภษ. 24, 16) จะยุติความผิดต่อพระเป็นเจ้าก็ต่อเมื่อออกจากชีวิตนี้แล้ว นักบุญอัมโบรสกล่าวว่า “ความตายคืออะไร ถ้ามิใช่เป็นหลุมฝังพยศชั่ว?” (13) เพราะเหตุนี้ผู้รักพระจึงอยากตาย คุณพ่อวินเชนซิโอ การาฟฟาเมื่อใกล้จะตายได้บรรเทาใจท่านเองว่า “จบชีวิตนี้ ก็คือ จบการทำเคืองพระทัย พระเป็นเจ้า” และนักบุญอัมโบรส ยังพูดว่า “จะปรารถนาอยากได้ชีวิตนี้ไปทำไม? ยิ่งอยู่นานก็ยิ่งจะเต็มไปด้วยบาปเท่านั้น” (14) ผู้ใดตายในพระหรรษทาน ผู้นั้นก็เข้าไปสู่ฐานะทำบาปไม่ได้ และทำบาปไม่เป็นอีกแล้ว นักบุญองค์นี้ยังกล่าวอีกว่า “คนที่ตายแล้วทำบาปไม่เป็น” (15) ฉะนั้น พระสวามีเจ้าจึงทรงชมเชยผู้ตายยิ่งกว่าผู้เป็นทั้งหลาย แม้ผู้ที่เป็นนักบุญ (16) คนใจศรัทธาผู้หนึ่ง ได้สั่งเสียไว้ว่า เมื่อเขาจะตายนั้น ขอให้ผู้ที่จะแจ้งเหตุบอกแก่เขาว่าดังนี้ “จงยินดีเถิด เพราะถึงเวลาที่ท่านจะทำผิดต่อพระเป็นเจ้าไม่ได้ต่อไปแล้ว”

          ข้อเตือนใจและคำภาวนา

          “ขอมอบวิญญาณของข้าพเจ้าไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์ ผู้ทรงไถ่ข้าพเจ้า พระสวามี และพระเจ้าแห่งความจริง” (สดด. 30, 6) อา! พระมหาไถ่ผู้ทรงพระทัยอ่อนโยน ปานนี้ข้าพเจ้าจะเป็นอย่างไรถ้าข้าพเจ้าตายไป ขณะอยู่ห่างเหินจากพระองค์? แน่นอน คงอยู่ในนรกแล้วและจะรักพระองค์ไม่ได้อีกต่อไปขอขอบพระคุณ ที่มิได้ทรงทอดทิ้งข้าพเจ้า ทั้งได้ทรงประทานพระหรรษทานเป็นอันมาก เพื่อเอาชนะดวงใจของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นทุกข์ถึงบาป และรักพระองค์ยิ่งกว่าสิ่งใด ๆ โปรดทรงพระกรุณาให้ข้าพเจ้าซาบซึ้งในความผิดที่ได้ดูหมิ่นพระองค์ และยิ่งทียิ่งซาบซึ้งในความรักของพระองค์ ซึ่งทำให้พระองค์ทรงเมตตากรุณาต่อข้าพเจ้า อย่างหาขอบเขตมิได้ ข้าพเจ้ารักพระองค์ และปรารถนาจะตายเร็ว ๆ ถ้าพระองค์ทรงพอพระทัยดังนี้ ทั้งนี้เพื่อจะได้พ้นจากภัยที่จะสูญเสียพระหรรษทานของพระองค์ และเพื่อจะได้รักพระองค์ให้มากขึ้นตลอดนิรันดรข้าแต่พระเยซูที่สุดเสน่หา ในชีวิตของข้าพเจ้าต่อไปนี้ ขอทรงประทานกำลังให้ข้าพเจ้าสามารถทำอะไรเพื่อพระองค์บ้าง ก่อนที่จะตายเถิด พระเจ้าข้า โปรดให้ข้าพเจ้ามีกำลังเข้มแข็งในการต่อสู้กับการประจญล่อลวง กับตัณหาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตัณหาที่ในกาลก่อน เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าทำเคืองพระทัยโปรดให้ข้าพเจ้ารู้จักเพียรทนเมื่อป่วยไข้ และเมื่อถูกผู้อื่นหมิ่นประมาท ณ ที่นี้เพื่อเป็นการแสดงความรักของข้าพเจ้าต่อพระองค์ ข้าพเจ้ายินดียกโทษแก่ทุก ๆ คนที่ได้ทำผิดต่อข้าพเจ้าไม่ว่าสถานใด ขอพระองค์โปรดประทานพระหรรษทานแก่เขา ตามความปรารถนาของเขาเถิด พระเจ้าข้า สำหรับข้าพเจ้าขอโปรดประทานให้ข้าพเจ้าพยายามหลีกเลี่ยงบาป แม้บาปเบาซึ่งข้าพเจ้าไม่สู้ได้เอาใจใส่พระเจ้าข้า พระมหาไถ่ข้า โปรดช่วยด้วย ข้าพเจ้าหวังจะได้ดั่งขอทุกประการ ทั้งนี้ด้วยเดชะพระบารมีของพระองค์

      ข้าแต่พระแม่มารีอา สรณะที่พึ่งของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าวางใจในคำภาวนาของท่านทุกประการ


 

3. ความตายของผู้ใคร่ธรรม คือ ประตูสวรรค์

       นักบุญเบอร์นาร์ด กล่าวว่า “ความตายมิใช่แต่เป็นเพียงการจบความทุกข์ยาก แต่ยังเป็นประตูชีวิตอีกด้วย” (17) ผู้ใดอยากจะเข้าไปเห็นพระเป็นเจ้าก็จำเป็นจะต้องผ่านทางประตูนี้ (8) นักบุญ ฮีเอโรนีโม วิงวอนต่อความตายว่า “เจ้าความตายน้องรัก ถ้าเจ้าไม่เปิดประตูให้ข้า ข้าก็จะเข้าไปพบพระพักตร์พระสวามีเจ้าไม่ได้” (19) นักบุญการ์โร บอร์โรเมโอ มองดูภาพความตายที่บ้านของท่านเขาวาดเป็นโครงกระดูก มือถือเคียว ท่านไม่ชอบใจ จึงเรียกนายช่างมา แล้วสั่งให้ลบเคียวออก ให้วาดกุญแจทองแทน ที่ท่านทำดังนี้ก็เพื่อเตือนใจตนเอง ให้ปรารถนาจะตายอยู่เสมอ เพราะว่า ความตายเป็นผู้เปิดประตูสวรรค์ ให้เราแลเห็นพระเป็นเจ้านั่นเอง

      นักบุญยวง คริสซอสโตม กล่าวว่า “หากบุรุษผู้ผนึ่งซึ่งเดี๋ยวนี้ อาศัยอยู่ในคอกสัตว์ทราบว่า พระราชาทรงเตรียมห้องสำหรับเขาไว้ในพระราชวังเขาผู้นั้นอยากจะออกจากคอกสัตว์ ไปอยู่พระราชวังเพียงไรหนอ?” ก็ในชีวิตนี้วิญญาณของเราอยู่ในร่างกายคล้ายกับอยู่ในคุก ก่อนจะได้ไปอยู่ในพระราชวังแห่งวิมานสวรรค์ ในวันหนึ่งนั่นเอง ฉะนั้นดาวิดจึงทูลวิงวอนว่า “ขอโปรดนำวิญญาณของข้าพเจ้าออกจากที่คุมขัง เพื่อจะได้สรรเสริญพระองค์” (สดด. 141, 8) นักบุญผู้เฒ่า ซีเมออน ครั้นเมื่อได้อุ้มพระเยซูกุมารแล้ว ไม่รู้จะวิงวอนขอพระคุณอะไร จึงได้ขอความตายเพื่อจะได้พ้นจากคุกแห่งชีวิตปัจจุบันนี้ว่า “บัดนี้ โปรดปล่อยทาสของพระองค์ไปเถิด พระเจ้าข้า” (ลก. 2, 29) ณ ที่นี้นักบุญอัมโบรส บอกให้สังเกตคำว่า “โปรดปล่อยข้าพเจ้า” คล้ายกับว่าท่านกำลังถูกคุมขังอยู่ (20) นักบุญเปาโลก็เหมือนกัน ใคร่จะได้รับพระคุณอันนี้ จึงได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาจะแตกสลาย และไปอยู่กับพระคริสต์” (ฟป. 1, 23)

      มหาดเล็กผู้ถวายเครื่องดื่มของพระเจ้าฟาโร ได้มีความยินดีตื่นเต้นเพียงไร เมื่อทราบจากยอแซฟว่า ในไม่ช้าตนจะได้ออกจากคุก และจะได้เข้ารับตำแหน่งเดิม? ก็วิญญาณที่รักพระเป็นเจ้า จะไม่รู้สึกชื่นชมบ้างหรือเมื่อรู้สึกว่าในไม่ช้าตนจะรอดพ้นจากคุกแห่งแผ่นดินนี้ แล้วจะได้ชมเชยพระพักตร์ของพระเป็นเจ้า! “ขณะที่เราอยู่ในร่างกาย เราก็อยู่ห่างจากพระเป็นเจ้า คล้ายกับอยู่ในดินแดนต่างด้าว อยู่นอกปิตุภูมิของเรา” (2 คร. 5, 6) ดังนั้นนักบุญบรูโนจึงกล่าวว่า “ความตายของเรา ไม่ควรเรียกว่าความตาย ควรเรียกว่าการเริ่มชีวิต” (21) เพราะเหตุนี้เอง จึงมีการเรียกความตายของบรรดานักบุญว่า “วันเกิด” นั่นเองทั้งนี้เพราะว่า อาศัยความตายดังกล่าว ท่านจึงเกิดอยู่ในชีวิตอันบรมสุขไม่รู้สิ้นสุดนักบุญอาธานาซีโอ กล้าวว่า “สำหรับผู้ใคร่ธรรมไม่มีความตาย มีแต่การย้ายสถานที่” (22) สำหรับผู้ใคร่ธรรม ความตายมิใช่อะไรอื่น เป็นการข้ามไปสู่ชีวิตชั่วนิรันดรเท่านั้น นักบุญเอากุสติน อุทานว่า “ความตายเอ๋ย เจ้าน่ารักจริง ใครหนอจะไม่อยากได้เจ้า? เจ้าคือการจบความยากลำบาก การสิ้นความเหน็ดเหนื่อยและการเริ่มพักผ่อนตลอดนิรันดร” (23) ฉะนั้นท่านจึงวิงวอนด้วยใจเร่าร้อนว่า “โปรดเถิด พระสวามีเจ้าข้า โปรดให้ข้าพเจ้าตาย เพื่อจะได้แลเห็นพระองค์” (24)

      นักบุญชีปรีอาโน กล่าวว่า “คนบาปนั่นแหละ ต้องกลัวความตาย เพราะหลังจากความตายในขณะนี้ เขาจะต้องข้ามไปสู่ความตายชั่วนิรันดร” (25) แต่มันไม่เป็นดังนั้นสำหรับผู้ประกอบด้วยพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า เพราะหลังจากความตายเขาก็หวังจะข้ามไปสู่ชีวิต ในประวัติของนักบุญยวงผู้มีสมญาว่า “ผู้ใจบุญสุนทาน” มีเรื่องเล่าว่าเศรษฐีผู้หนึ่ง ได้นำลูกชายคนเดียวของตนมาฝากไว้กับนักบุญ บุรุษผู้นั้นชอบทำบุญทำทานมาก เพื่อขอพระเป็นเจ้าโปรดให้ลูกชายของเขาอายุยืนนาน แต่ต่อมาไม่ช้าลูกตายไปเขาก็เสียใจบ่นพิรี้พิไร พระเป็นเจ้าจึงทรงใช้เทวทูตมาแจ้งแก่เขาว่า: “ท่านได้ขอเราให้ลูกชายของท่านอายุยืนนานมิใช่หรือ? ก็จงทราบเถิดบัดนี้เขากำลังเสวยชีวิตตลอดนิรันดรในสวรรค์แล้ว”

      นี้แหละ คือ พระหรรษทาน ที่พระเยซูคริสต์ทรงนำมาประทานให้แก่เราดังที่พระองค์ได้ทรงสัญญา โดยทางประกาศกโฮเซยาไว้ว่า “ความตายเจ้าเอ๋ยเราจะเป็นความตายของเจ้า” (ฮซย. 13, 44) พรเยซูคริสต์ได้ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อเราพระองค์จึงได้ทรงทำให้ความตายของเรากลายเป็นชีวิต เมื่อท่านมาร์ตีร์ ปีโอนีโอถูกนำไปยังที่ประหาร ขณเดินทาง พวกที่นำท่านไปถามท่านว่า: อะไรกัน! ทำไมท่านจึงเดินไปสู่ความตายด้วยหน้าชื่นตาบานดังนี้เล่า? นักบุญตอบว่า “พวกท่านเข้าใจผิด ข้าพเจ้าไม่ได้เดินไปสู่ความตายหรอก เดินไปสู่ชีวิตต่างหาก” (26) และเมื่อหนุ่มนักบุญซิมฟอรีอาโน จะถูกประหารเป็นมาร์ตีร์มารดาของท่านก็เตือนใจลูกว่า “ลูกเอ๋ย เขาไม่ปลิดชีวิตของลูกหรอก เขาเปลี่ยนให้ดีขึ้นต่างหาก” (27)

        ข้อเตือนใจและคำภาวนา

        ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าแห่งวิญญาณของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสื่อมเสียพระเกียรติ โดยหันหลังให้พระองค์ในชีวิตที่ล่วงมาแล้ว แต่พระบุตรได้ทรงเทิดทูลพระเกียรติของพระองค์ โดยทรงพลีพระชนม์ชีพบนไม้กางเขน ด้วยเดชะพระหรรษทานที่พระบุตรสุดสวาทได้ทรงก่อให้เกิดแด่พระองค์นั้น ขอทรงพระกรุณาอภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด พระเจ้าข้า ข้าแต่องค์คุณงามความดีล้นพ้น ข้าพเจ้าเสียใจที่ได้ทำเคืองพระทัย ขอสัญญาว่า แต่บัดนี้ไปจะไม่รักสิ่งใด นอกจากพระองค์ข้าพเจ้าไว้ใจว่า พระองค์จะทรงช่วยให้ข้าพเจ้าเอาตัวรอด ณ บัดนี้ หากข้าพเจ้ามีอะไรดีบ้าง ก็ล้วนเป็นพระคุณของพระองค์ ข้าพเจ้าขอน้อมรับว่า ได้มาจากพระองค์ทั้งสิ้น “ข้าพเจ้าเป็นอยู่ดังที่เป็นในบัดนี้ ก็โดยพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า” (1 คร. 15, 10) แม้ในเวลาที่ล่วงแล้ว ข้าพเจ้าได้กระทำเสื่อมเสียพระเกียรติแต่ข้าพเจ้าก็หวังจะถวายพระเกียรติแด่พระองค์ทั้งชั่วนิรันดร ด้วยการสรรเสริญพระเมตตากรุณาของพระองค์ พระเจ้าข้า ข้าพเจ้ามีความปรารถนาจะรักพระองค์และเป็นพระองค์เอง ที่ได้ทรงดลบันดาลให้เป็นดังนี้ โอ้องค์ความรักของข้าพเจ้าขอทรงพระกรุณาโปรดช่วยข้าพเจ้าต่อ ๆ ไป ดังที่พระองค์ทรงช่วยแล้วเถิดข้าพเจ้าหวังว่า แต่นี้เป็นตไป ข้าพเจ้าเป็นของของพระองค์แล้ว และเป็นของพระองค์ ข้าพเจ้ารอสละความสนุกเพลิดเพลินทั้งหลายของโลก ข้าพเจ้าไม่สามารถจะหาความยินดีอะไร ให้ยิ่งไปกว่าการทำชอบพระทัยของพระองค์พระสวามีของข้าพเจ้าพระผู้น่ารักอย่างยิ่ง และผู้ทรงรักข้าพเจ้าถึงปานฉะนี้! ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าวิงวอนขอแต่ความรัก ข้าพเจ้าขอความรักขอความรัก พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าตั้งใจขอความรักจากพระองค์ ขอความรักเสมอ ๆ จนกว่าจะตายในความรัก และบรรลุถึงวิมานแห่งความรัก ณ ที่นั้น แม้จะไม่วิงวอนขอต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าก็จะเปี่ยมเต็มด้วยความรัก และจะไม่หยุดรักพระองค์ตลอดทั้งชั่วนิรันดร ทั้งจะรักพระองค์ด้วยสุดกำลังความสามารถด้วย พระเจ้าข้า

      ข้าแต่พระแม่มารีย์ ท่านคือผู้รักพระเป็นเจ้าอย่างยิ่ง ทั้งปรารถนาจะให้คนทั้งหลายรักพระองค์ด้วย ขอโปรดให้ข้าพเจ้ารักพระองค์มาก ๆ ในชีวิตนี้เพื่อจะได้รักพระองค์ ตลอดนิรันดร

(1) Pretiosa tampuam finis laborum, victoreae consummation, vitae janua (Trans.Malac.).
(2) Tampuam vita petitur supplicii mora (Ep. 101.).
(3) Quid est diu vinere, nisi diu torpueri?
(4) Haec vuta homini non ad quietem data est, sed ad laborem. (Serm. 45).
(5) Longum Deus adimit tormentum, cum vitam concedit brevem.
(6) Ut mors remedium videatur esse, non poenam.
(7) Deus meus et omnia.
(8) Inter Laqueos ambulamuss.
(9) Ex labore ad requiem vado, et vos ploratis?
(10) Mihi vivere Christus, est, et mori lucrum (Phil. 1, 21).
(11) Raptus est ne militia mutaret intellectum ejus. (Sap. 4, 7).
(12) Lauda navigantis felicitatem, sed cum pervenit ad portum.
(13) Quid est mors, nisi sepulture vitiorum? (De bono mort. c. 4).
(14) Quid vitam istam desideramus, in qua quanto diutius quis fuerit, tanto majori sarcina peccatorum?
(15) Mortuus nescit peccare.-
(16) Laudavi magis mortuos, quam viventes (Eccl. 4, 2).
(17) Finis laborum, vitae janua.
(18) Ecce porta Domini, justi intrabunt in eam (Ps. 117, 20).
(19) Aperi mihi, soror mea.
(20) Quasi necessitate tenetur dimitti petit.
(21) Mors dicenda non est, sed vitae principium.
(22) Non est justis mors, sed translation.
(23) O mors desiderailis, malorum finis, laboris clausula, quietis prince pium.
(24) Eia moriar, Domine, ut videam.
(25) Mori timeat, qui ad secundam mortem de hac morte transibit.
(26) Erratis, non ad mortem, sed ad vitam contendo (Ab Euseb. lib. 2 c. 14).
(27) Nate, tibi vita non eripitur, sed mutatur in melius.

book

บทที่ 08 "ความตายของผู้ใคร่ธรรม"