เตรียมเผชิญ
ค ว า ม ต า ย
บทที่ 19 พระหรรษทานเป็นสิ่งมีค่าเพียงไร?
โดย นักบุญอัลฟอนโซ มารีย์ เดอ ลีโกวรี
แปลโดย ผู้หว่าน
พระหรรษทานเป็นสิ่งมีค่าเพียงไร?
และ
การเสียพระหรรษทานเป็นภัยร้ายแรง
เพียงใด?
1. พระหรรษทานเป็นทรัพย์มีค่าหาขอบเขตมิได้
พระสวามีเจ้าตรัสว่า “หากว่าท่านจะแยกของดีออกจากของเลว ท่านจะเป็นดังโอษฐ์ของเรา” (15, 19) ผู้ใดรู้จักแยกแยะของมีค่าออกจากของเลว ผู้นั้นก็ละม้ายคล้ายกับพระเป็นเจ้า ผู้ทรงสาปแช่งความชั่ว และทรงเลือกเอาความดี บัดนี้ชาวเราจงพิจารณาดูว่า พระหรรษทานเป็นของมีค่าเพียงไร และการเสียพระหรรษทานประเสริฐสักเท่าไร “มนุษย์ไม่รู้จักคุณค่าของพระหรรษทาน” (โยบ. 28, 13) ดังนั้นเอง เขาจึงนำเอาพระหรรษทานไปแลกกับความเปล่า กับควัน กับดินก้อนหนึ่ง กับความสนุกประสาสัตว์เดรัจฉาน แต่ที่แท้พระหรรษทานเป็นทรัพย์หาค่ามิได้ ซึ่งบันดาลให้ชาวเราสมเป็นมิตรของพระเป็นเจ้า (ปชญ. 7, 14) หมายความว่าวิญญาณใดประกอบด้วยพระหรรษทาน วิญญาณนั้นก็เป็นมิตรของพระเป็นเจ้า คนนอกพระศาสนาไม่มีแสงสว่างแห่งความเชื่อจึงถือว่า ที่สัตว์โลกจะเป็นมิตรกับพระเป็นเจ้านั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เขาพูดเช่นนี้ก็ถูกเหมือนกัน เพราะนักบุญฮีเอ โรนีโมกล่าวว่า: มิตรภาพบันดาลให้ผู้เป็นมิตรเท่าเสมอกัน (1) แต่พระเป็นเจ้าเองได้ทรงประกาศเป็นหลายครั้งหลายหนว่า หากชาวเราประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์โดยอาศัยพระหรรษทาน “หากท่านปฏิบัติตามที่เราบัญญัติสั่ง ท่านก็เป็นมิตรของเรา เราจะไม่เรียกท่านว่า เป็นทาสต่อไป แต่จะเรียกว่าเพื่อน” (ยน. 15, 14) ดังนั้นนักบุญเคร โครี่ จึงอุทานว่า “พระเป็นเจ้าช่างพระทัยดีจริงหนอ ! ชาวเราไม่สมจะได้ชื่อว่าเป็นทาสของพระองค์ด้วยซ้ำ พระองค์ทรงเรียกเราว่าเพื่อน!” (2)
ผู้เคราะห์ดีได้ในหลวงเป็นเพื่อนของตน ผู้นั้นก็จะถือว่า ตนมีบุญวาสนาเพียงไรหนอ! แต่ ที่ข้าแผ่นดินจะอ้างตัวว่าเป็นมิตรกับพระเจ้าแผ่นดินนั้น ดูเป็นการทะเยอทะยานเกินฐานะไป แต่ฝ่ายวิญญาณที่จะอ้างว่าตนเป็นมิตรของพระเป็นเจ้าไม่เป็นการทะเยอทะยานเกินไปหรอก นักบุญเอากุสตินเล่าว่า ทีมหาดเล็กสองนายไปเที่ยวที่อารามฤษีแห่งหนึ่ง คนหนึ่งไปหยิบหนังสือประวัติของนักบุญอันตนเจ้าอธิการมาอ่าน ขณะที่อ่านนั้น ใจของเขาได้เปลี่ยนแปลง หมดเยื่อใยในโลก (3) เขาหันมาหาเพื่อน พูดว่า: “เพื่อนรัก เราทั้งสองช่างโง่เหลือเกิน! เรากำลังแสวงหาอะไร? การที่เรารับใช้พระจักรพรรดิ เราหวังจะได้อะไรมากกว่าได้เป็นสหายของพระองค์ท่าน และแม้เราจะได้ตามความปรารถนาดั่งนี้ มันก็ยิ่งจะเป็นภัยมากขึ้นสำหรับความรอดตลอดนิรันดรของเรา (4) อนึ่ง การที่จะได้เป็นสหายของจักรพรรดิมันเป็นการยากนักหนา ถึงกระนั้น หากผมต้องการเป็นสหายของพระเป็นเจ้าผมก็เป็นได้ในบัดนี้เอง” (5)
จึงเห็นว่า ผู้ใดประกอบด้วยพระหรรษทาน ผู้นั้นก็กลายเป็นเพื่อนของพระเป็นเจ้า กว่านั้นอีกเขากลายเป็นลูกของพระองค์ “ท่านเป็นพระ เป็นบุตรของผู้ทรงศักดิ์สูงสุด” (สดด. 81, 6) นี่แหละคือวาสนาอันสูงส่ง ที่ความรักของพระเป็นเจ้านำมาให้แก่ชาวเรา โดยทางพระเยซูคริสต์ “ดูเถิด พระบิดาได้ทรงประทานความรักชนิดไหนแก่ชาวเรา จนเราได้ชื่อ ทั้งเป็นบุตรของพระเป็นเจ้า” (1 ยน. 3, 1) ยิ่งกว่านั้น วิญญาณที่ประกอบด้วยพระหรรษทานก็กลายเป็นภริยาของพระเป็นเจ้า “เราจะแต่งงานกับท่านโดยทางความเชื่อ” (ฮชย. 2, 20) เพราะฉะนั้น บิดาของลูกล้าผลาญ เมื่อลูกกลับมาแล้ว จึงสั่งให้นำแหวนอันเป็นเครื่องหมายของการแต่งงานมาสวมใส่ให้ลูก กล่าวว่า “จงใส่แหวนที่มือของเขา” (ลก. 15, 22) กว่านั้นอีกเขากลายเป็นวิหารของพระจิตเจ้า วันหนึ่ง ภคินี มารีอา ดอแญส (นักบุญอัวญี) ได้แลเห็นปีศาจตนหนึ่งออกจากทารกที่เพิ่งได้รับศีลล้างบาป และได้แลเห็นพระจิตเจ้าเสด็จเข้าไปในตัวเด็ก พร้อมกับบริวารของพระองค์ คือเทพนิกร
ข้อเตือนใจและคำภาวนา
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เมื่อวิญญาณของข้าพเจ้ามีบุญประกอบด้วยพระหรรษทานของพระองค์ก็เป็นมิตร เป็นธิดา เป็นภริยา และเป็นวิหาร แต่เมื่อไปทำบาปมันก็กลายเป็นศัตรูของพระองค์ เป็นขึ้ข้าของปีศาจ ข้าพเจ้าขอซร้องสาธุการพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงโปรดให้ข้าพเจ้ายังมีเวลาจะได้รับพระหรรษทานนั้นกลับคืนมา องค์คุณงามความดีที่ล้นพ้นเจ้าข้า ข้าพเจ้าเป็นทุกข์อย่างยิ่งที่ได้กระทำเคืองพระทัย ข้าพเจ้ารักพระองค์ยิ่งกว่าสิ่งใด ๆ แล้ว โปรดรับข้าพเจ้าไว้เป็นมิตรของพระองค์อีกครั้งหนึ่งเถิด พระเจ้าข้า โปรดอย่าทำเมินเฉยเลย ข้าพเจ้าทราบดีว่าข้าพเจ้าสมจะถูกขับไล่ไปให้พ้นพระพักตร์ของพระองค์ ถึงกระนั้น อาศัยพระบุญญาบารมีของพระเยซูคริสต์ หากข้าพเจ้าเป็นทุกข์กลับใจ ข้าพเจ้าก็สมให้พระองค์ทรงต้อนรับใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เป็นด้งบมหาบูชาที่พระองค์ได้ทรงพลีพระองค์เองเพื่อข้าพเจ้า “เมืองที่พระบิดาครอบครองนั้น ขอให้มาถึง” พระบิดาเจ้าข้า (ที่ข้าพเจ้ากล้าทูลพระองค์ว่า พระบิดา ทั้งนี้ก็เพราะพระบุตรของพระองค์เองได้ทรงสอนให้ข้าพเจ้ากราบทูลเช่นนี้) พระบิดาเจ้าข้า เชิญเสด็จมาพร้อมกับพระหรรษทานของพระองค์ เชิญเสด็จมาเสวยราชย์ในดวงใจของข้าพเจ้า โปรดบันดาลให้มันปรนนิบัติพระองค์ผู้เดียว ดำรงชีพเพื่อพระองค์ผู้เดียว รักพระองค์ผู้เดียวเถิด พระเจ้าข้า “ขอพระองค์อย่าปล่อยข้าพเจ้าในประจญล่อลวงประการใด” โปรดเถิด โปรดอย่าทรงปล่อยให้เหล่าศัตรูมาประจญ จนข้าพเจ้าต้องพ่ายแพ้มันเลย “แต่ว่าให้ข้าพเจ้าทั้งหลายพ้นจากอันตราย” โปรดให้ข้าพเจ้ารอดพ้นนรก หรือถูกกว่าโปรดให้ข้าพเจ้ารอดพ้นบาป ซึ่งเป็นสิ่งเดียวอันจะนำข้าพเจ้าไปสู่นรก พระเจ้าข้า
ข้าแต่พระนางมารีอา ภาวนาอุทิศแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด โปรดให้ข้าพเจ้าพ้นมหันตภัย คือการทำบาป และการไร้พระหรรษทานของพระเป็นเจ้าของท่านและของพระเป็นเจ้าของข้าพเจ้า
2. พระหรรษทานเป็นต้นธารแห่งทรัพย์ทั้งหลาย
นักบุญโทมัส อาไควนัส กล่าวว่า: พระหรรษทาน เป็นพระคุณอันเลอเลิศสูงกว่าพระคุณใด ๆ ที่เรามนุษย์อาจจะรับได้ ทั้งนี้เพราะได้รับพระหรรษานก็คือ ได้รับส่วนแบ่งปันในพระธรรมชาติของพระเป็นเจ้านั่นเอง (6) แท้จริงนักบุญเปโตร ก็ได้กล่าวไว้เช่นนี้ก่อนแล้ว ท่านว่า “โดยอาศัยพระหรรษทานท่านทั้งหลายกลายเป็นผู้มีส่วนอยู่ในพระธรรมชาติของพระเป็นเจ้า (ปต. 1, 4) พระเยซูคริสต์ได้ทรงโปรดให้เรามีบุญได้รับเกียรติศักดิ์อันสูงส่งนี้ ด้วยอาศัยพะรมหาทรมานของพระองค์ พระองค์ได้ทรงถ่ายเทรัศมีซึ่งทรงรับจากพระเป็นเจ้ามาให้แก่เรา: “เกียรติมงคล ซึ่งพระองค์ทรงประทานแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ให้แก่เขา” (ยน. 17, 2) สรุปความคือ ผู้ใดประกอบด้วยพระหรรษทาน ผู้นั้นก็เป็นอันเดียวกับพระเป็นเจ้า “ผู้ใดอยู่ร่วมกับพระสวามี ผู้นั้นก็เป็นอันเดียวกับพระองค์” (คร. 6, 17) พระมหาไถ่เอง ทรงยืนยันว่าวิญญาณได้รักพระเป็นเจ้า ทั้งพระตรีเอกานุภาพก็เสด็จมาประทับอยู่ในวิญญาณนั้น: “ผู้ใดรักเรา พระบิดาของเราก็ทรงรักเขา...และพวกเราจะมาหาเขาและสถิตอยู่กับเขา” (ยน. 14, 23)
วิญญาณใดประกอบด้วยพระหรรษทาน วิญญาณนั้นก็งดงามเฉพาะพระพักตร์ของพระเป็นเจ้า พระองค์เองทรงกล่าวชมเชยว่า “เพื่อนรัก เจ้าช่างงามนักหนา” (กันต์. 4, 1) วิญญาณที่รักพระสวามีเจ้า ดูเหมือนว่าพระองค์ไม่ทรงรู้จักเบือนพระเนตรไปทางอื่น ไม่ทรงรู้จักหันพระกรรณ ไม่ฟังคำวิงวอนของเขา: “พระเนตรของพระสวามี ปักอยู่ที่ผู้ใคร่ธรรมและพระกรรณของพระองค์สดับฟังคำวิงวอนของเขา” (สดด. 33, 16) นักบุญบริยิต กล่าวว่า: ผู้ใดได้เห็นความงามของวิญญาณที่มีพระหรรษทาน ผู้นั้นจะตายเพราะความยินดีทีเดียวส่วนนักบุญคัทเธอรีนแห่งซีเอบา ผู้ได้แลเห็นวิญญาณของผู้ประกอบด้วยพะรหรรษทาน เธอยืนยันว่า เธอสมัครพลีชีพของเธอเอง เพื่อจะไม่ให้วิญญาณดวงนั้นเสียความงามไป เพราะเหตุนี้เอง เธอเคยจูบพื้นดิน ที่พระสงฆ์เดินผ่านไป โดยที่คิดว่า อาศัยพะรสงฆ์ วิญญาณจึงกลับได้รับพระหรรษทาน
อนึ่ง วิญญาณผู้ประกอบด้วยพระหรรษทาน มีทางจะสะสมบุญกุศลได้มาก! ในทุกขณะ เขาอาจได้รับสิริมงคลชั่วนิรันดร นักบุญโทมัสกล่าวว่า: กิจการแสดงความรัก ที่วิญญาณสร้างขึ้น แต่ละอัน ๆ ทำให้เขาสมได้สวรรค์ (7) เช่นนั้น ทำไมเราจะต้องไปอิจฉาเจ้าใหญ่นายโตบนแผ่นดินนี้เล่า? หากเรามีพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า เราก็สามารถหาความเป็นเจ้าใหญ่นายโต ในชั้นสูงกว่าเขาเสียอีก และจะคงได้อยู่เสมอไปในสวรรค์ด้วย คุณพ่อปาตรีญานีเล่าในบทสนทนาเดียวของท่านว่า: ภราดาประเภทรับใช้คณะเยสุอิตองค์หนึ่งเมื่อถึงแก่มรณะภาพแล้ว ได้ประจักษ์มาบอกว่า ตัวท่านได้รอดแล้ว พร้อมกับพระเจ้าฟิลิปที่ 2 กษัตริย์ของประเทศสเปญ ท่านทั้งสองได้รับสิริมงคลในสวรรค์ด้วยกันแล้วด้วย แต่เมื่ออยู่ในโลก ท่านมีฐานะต่ำกว่าพระเจ้าฟิลิปเพียงไร ในสวรรค์ท่านก็อยู่สูงกว่าพระเจ้าผิสิปเพียงนั้น
ที่สุดวิญญาณผู้ประกอบด้วยพะรหรรษทานมีสันดิสุขเพียงไรบนแผ่นดินนี้ ไม่มีใครจะเข้าใจถึงได้ นอกจากตัวผู้ได้ลิ้มรสเอง “เชิญชิม ปละลองดูเถิดพระสวามรเจ้าทรงพระทัยดีเพียงไร!” (สดด. 33, 9) จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากเป็นไปตามที่พระสวามีเจ้ามีพระดำรัสไว้ “บรรดาผู้รักพระบัญญัติของพระองค์มีสันติสุขมาก” (สดด. 118, 165) สันติสุขอันผู้ร่วมสนิทกับพะรเป็นเจ้ามีนั้นเป็นสันติสุขยิ่งใหญ่กว่าความสนุกสุขสบายทั้งหลายที่เบญจประสาทและโลกจะอำนวยให้ได้ “สันติสุขของพระเป็นเจ้า...อยู่เหนือความรู้สึกทั้งหลาย” (ฟป. 4, 7)
ข้อเตือนใจและคำภาวนา
พระเยซูเจ้าข้า พระองค์คือชุมพาบาลผู้ใจดี ได้ทรงยอมมรณะเพื่อให้ข้าพเจ้าเหล่าลูกแกะได้รอด ครั้งเมื่อข้าพเจ้ากำลังถอยหนี พระองค์มิได้ทรงหยุดยั้งตามหาข้าพเจ้า บัดนี้ข้าพเจ้ากำลังกลับมาหาพระองค์และสำนึกรู้ตัวกราบอยู่แทบพระบาทแล้ว โปรดต้อนรับข้าพเจ้าด้วยเถิด โปรดประทานคืนพระหรรษทานที่ข้าพเจ้าได้ทำเสียไปเพราะความผิดของข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้าเสียใจจนแทบจะตรอมใจตาย เพราะที่ได้เคยหันหลังไห้พระองค์เป็นหลายครั้ง! โปรดเห็นแก่พระบารมีแห่งพระมรณธรรมอันฉกาจฉกรรจ์บนไม้กางเขน และทรงอภัยบาปแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด โปรดนำความรักอันอ่อนหวานของพระองค์ ผูกมัดล่ามข้าพเจ้าไว้อย่าให้หนีจากพระองค์ไปอีกเลย ขอประทานพละกำลังให้ข้าพเจ้าสามารถสู้ทนกางเขนทุกอันที่พระองค์จะทรงประทานให้ เพราะไหน ๆ ข้าพเจ้าก็สมจะต้องรับโทษทั้งชั่วนิรันดร แต่นานมาแล้ว โปรดเถิด โปรดให้ข้าพเจ้ามีกำลังใจสู้รับการสบประมาทต้าง ๆ จากมวลมนุษย์ เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าสมจะต้องไปอยู่ใต้อำนาจปีศาจทั้งชั่วนิรันดรในนรกแต่นานมาแล้ว สรุปแล้วขอพระองค์โปรดให้ข้าพเจ้านอบน้อมตามคำดลใจของพระองค์ในทุกสิ่งทุกอย่าง ให้ข้าพเจ้าทำทุกสิ่งเพราะความรักต่อพระองค์ และไม่ยอมเห็นแก่หน้ามนุษย์ แต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าตกลงใจจะรับใช้พระองค์แต่ผู้เดียว คนอื่นจะว่าอย่างไรข้าพเจ้าไม่กังวลถึง ข้าพเจ้าใคร่รักพระองค์ผู้เดียวเท่านั้น พระองค์คือผู้น่ารักหาที่สุดมิได้ข้าพเจ้าใคร่กระทำตามน้ำพระทัยของพระองค์ผู้เดียว โปรดประทานพละกำลังแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด มิฉะนั้นข้าพเจ้าจะทำอะไรไม่ได้ พระเยซูเจ้าข้า ข้าพเจ้ารักพระองค์ด้วยสิ้นสุดจิตใจ ข้าพเจ้าวางใจในพระโบหิตของพระองค์ พระเจ้าข้า
ข้าแต่พระแม่มารีอา ความหวังของข้าพเจ้า ช่วยสวดอุทิศแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าภูมิใจในการเป็นข้าบริการของท่าน และท่านเองก็ภูมิใจ เพราะได้ช่วยคนบาปที่มาขอพึ่งให้รอด โปรดช่วย และบันดาลให้ข้าพเจ้ารอดด้วยเถิด
3. ผู้ปราศจากพระหรรษทานไร้ความสุข
บัดนี้ ถึงเวลาที่ชาวเราจะต้องพิจารณาดูความอาภัพ ของผู้ปราศจากพระหรรษทาน เขาต้องพรากจากองค์คุณงามความดีที่ล้นที่พ้นของเขา กล่าวคือพระเป็นเจ้า “ความชั่วช้าของท่าน ทำให้ตัวท่านออกห่างจากพระเป็นเจ้าของท่าน” (อสย. 59, 2) จนกว่า เขาไม่เป็นของของพระต่อไป และพระเป็นเจ้าไม่ทรงเป็นของของเขาต่อไป “พวกเจ้าจะไม่ใช่ราษฎรของเราต่อไป และเราจะไม่ใช่พระเป็นเจ้าของพวกเจ้า” (ฮชย. 1, 9) มิใช่แต่ พระเป็นเจ้าไม่ทรงเป็นของของเขาต่อไปแต่พระองค์ทรงเกลียดชังเขา ทรงลงโษให้ไปสู่นรกด้วย แท้จริง พระสวามีเจ้าไม่ทรงเกลียดสัตว์โลกของพระองค์เลย แม้สัตว์ร้าย อสรพิษและคางคก พระองค์ก็ทรงเอ็นดู “พระองค์ทรงรักทุกสิ่งที่เป็นอยู่ และไม่ทรงเกลียดสิ่งใดเลยที่พระองค์ได้ทรงสร้างมา” (ปชญ. 11, 25) แต่พระเป็นเจ้าไม่ทรงสามารถที่จะไม่เกลียดไม่ทรงเกลียดเขานั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าเขาเป็นศัตรู ต่อสู้กับน้ำพระทัยของพระองค์ทีเดียว และเพราะที่ทรงเกลียดบาป จึงจำเป็นจะต้องทรงเกลียดผู้กระทำตนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับบาปด้วย “ทั้งคนอธรรม งความอธรรมของเขา เป็นที่พึงเกลียดของพระเป็นเจ้าดุจกัน” (ปชญ. 14, 9)
กรรมแท้! ผู้ใดมีพระเจ้าแผ่นดินของตนเป็นศัตรู เขาคงนานไม่หลับแน่เพราะจะต้องกลัวตายอยู่ทุกเมื่อ ก็คนที่เป็นศัตรูของพระเป็นเจ้าเล่า จะมีความสุขได้อย่างไร? จะหลบหนีพิโรธของพระเจ้าแผ่นดินนั้น พอทำได้ เช่นไปซ่อนตัวอยู่ในป่า หรือหลบไปอยู่ในประเทศอื่น แต่ใครหนอ จะหลบหนีพระหัตถ์ของพระเป็นเจ้าไปได้? ดาวิตอุทานว่า “ข้าพเจ้าจะขึ้นสวรรค์ พระองค์ก็ประทับอยู่เหมือนกัน” (สดด. 138, 8) ข้าพเจ้าจะไปแห่งหนตำบลใด ก็ไม่พ้นพระหัตถ์ของพะรองค์ทั้งนั้น
คนบาปอาภัพแท้ ๆ ! เขาถูกพระเป็นเจ้าสาปแช่ง ถูกนิกรเทวดาสาปแช่ง ถูกนักบุญสาปแช่ง แม้บนแผ่นดินนี้ ก็มีผู้สาปแช่งเขาทุก ๆ วัน คือ คณะสงฆ์และบรรดาฤษีออกคำสาปแช่ง เมื่อสวดตามหนังสือทำวัตรว่า “ผู้ที่ห่างเหินจากพระบัญญัติของพระองค์ จงถูกาปแช่ง” (สดด. 118, 21)
อนึ่ง การเสียพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า ยังทำร้ายบุญกุศลของตนทั้งหมด แม้จะได้สร้างบุญกุศล เท่าเสมอนักบุญฟรันซิสเซวียร์ผู้ทำให้คนกลับใจถึงสิบล้านเท่าเสมอนักบุญเปาโลอัครสาวก ซึ่งนักบุญฮีเอโรนีโม กล่าวว่า ได้สร้างบุญกุศลมากกว่าคณะอัครสาวกทั้งหลาย หากไปทำบาปหนักประการเดียว บุญกุศลเหล่านั้นก็ศูนย์เสียไปทั้งหมด “หากผู้ใคร่ธรรมห่างเหินจากความยุติธรรมของตน...ความยุติธรรมทั้งหลายที่เขาได้สร้างไว้ จะถูกลืมหมดสิ้น” (อสค. 18, 24)
หายนะอันเนื่องมาจากการสูญเสียพระหรรษทาน มีดังต่อไปนี้: สมมุติว่า เทวดาร้องไห้ได้เมื่อท่านมาแลเห็นเคราะห์ร้าย ของวิญญาณที่ทำบาปหนัก และเสียพระหรรษทานไป ท่านจะสงสารจนน้ำตาไปล เป็นแน่แท้
แต่ที่น่าสลดใจยิ่งนัก คือ หากเทวดาร้องไห้ได้ ท่านจะร้องไห้แน่ ส่วนคนบาปเล่ากลับไม่ร้องไห้ นักบุญเอากุสติน กล่าวว่า: คนเรา เมื่อเสียสัตว์เลี้ยงไปตัวหนึ่ง เช่นแกะตัวหนึ่ง ไม่กิน ไม่นอน และร้องไห้ แต่แล้ว เมื่อเสียพะรหรรษทานของพระเป็นเจ้า เขากินเขานอน เขาไม่ร้องไห้!
ข้อเตือนใจและคำภาวนา
พระมหาไถ่เจ้าข้า ข้าพเจ้านี้แหละได้นำตนไปสู่ฐานะอันน่าทุเรศดั่งกล่าว! พระองค์ได้ทรงอาบเหงื่อ และได้ทรงรับทุกข์ยากเป็นเวลาถึง 33 พระพรรษาทั้งนี้โดยมีพระประสงค์จะให้ข้าพเจ้ามีบุญได้รับพระหรรษทาน ส่านข้าพเจ้ากลับไปเห็นความสนุกอึดใจหนึ่งโดยดูหมิ่น ยอมเสียพระหรรษทานนั้นไปเปล่า ๆ ขอสมาพระคุณที่ยังทรงโปรดให้ข้าพเจ้ามีเวลา จะได้พระหรรษทานนั้นกลับคืนมา ในเมื่อข้าพเจ้าปรารถนาอยากได้ด้วยจริงใจ แน่นอน พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าตั้งใจจะทำทุกสิ่งทุกอย่าง จนสุดกำลังความสามารถเพื่อจะได้คืนมาซึ่งพระหรรษทานอันนั้นให้ได้แล้ว โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบเถิดว่า ข้าพเจ้าต้องทำอะไรบ้าง จึงจะได้รับอภัยบาป พระองค์ทรงปรารถนาให้ข้าพเจ้าเป็นทุกข์ถึงบาปหรือ? ข้าพเจ้าก็เป็นทุกข์ถึงบาปด้วยสิ้นสุดจิตใจ เพราะได้ทำเคืองพระทัยนั้นแล้ว พระองค์ทรงใคร่ให้ข้าพเจ้ารักพระองค์หรือ? ข้าพเจ้าก็รักปฏิพัทธ์พระองค์มากกว่าอะไร ๆ ทั้งหมด ครั้งก่อนข้าพเจ้าได้ใช้ดวงใจของข้าพเจ้าในทางที่ผิด คือ ใช้เพื่อรักสัตว์โลก และความฟุ้งเฟ้อโอ่อ่า แต่นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าใคร่จะดำรงชีพเพื่อพระองค์ผู้เดียว ข้าพเจ้าใคร่รักพระองค์ผู้เพียว พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า ขุมทรัพย์ของข้าพเจ้า ความหวังของข้าพเจ้า และพละกำลังของข้าพเจ้า (8) พระบุญญาบารมีของพระองค์, บาดแผลของพระองค์ เป็นสรณะที่พึ่งที่วางใจและเป็นพละกำลังของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า พระองค์จะทรงประทานพละกำลังให้ข้าพเจ้ารักษาความสัตย์ซื่อต่อพระองค์ พระเจ้าข้า ข้าแต่พระมหาไถ่โปรดรับข้าพเจ้าไว้ในพระหรรษทานของพระองค์เถิด ขออย่าทรงปล่อยให้ข้าพเจ้าละทิ้งพระองค์ไปอีกเลย โปรดพรากข้าพเจ้าออกหากจากความรักต่อโลก และโปรดเผาดวงใจของข้าพเจ้าให้ร้อนระอุอยู่ด้วยความรักต่อพระองค์เถิด พระเจ้าข้า (9)
ข้าแต่ พระนางมารีอา โปรดช่วยให้ข้าพเจ้าระอุร้อนอยู่ด้วยความรักต่อพระเป็นเจ้าเป็นนิจกาล ให้ละม้ายคล้ายกับท่านด้วยเถิด
(1) Amicitia pares aut accipit, aut6 facit,
(2) O mira divinae bonitatis dignatio ! Servi non sumus digne nominari et amici vocamur!
(3) Legebat et exuebatur mundo core jus.
(4) Quid quaerimus? majorne esse potest spes nostra, quam quod amici imperatoris simus, et per quot
pericula ad majus periculum pervenitur? et quamdru hoc erit?
(5) Amicus autem Dei, si voluero, ecce nunc fio.
(6) Donum gratiae excedit omnem facultatem naturae creatae, cum sit participation divinae naturae.
(7) Quilibet actus caritatis meretur vitam aeternam.
(8) Diligam te, Deus, fortitude mea.
(9) Tui amoris in eo ignem accende.
- บทที่ 01 "ภาพของคนเพิ่งตาย"
- บทที่ 02 "เมื่อตาย ทุกสิ่งจบสิ้น"
- บทที่ 03 "ชีวิตมนุษย์ไม่ยืนนาน"
- บทที่ 04 "ความตายเป็นของแน่"
- บทที่ 05 "เวลาตายไม่แน่"
- บทที่ 06 "ความตายของคนบาป"
- บทที่ 07 "ความรู้สึกต่าง ๆ ของคนใกล้จะตาย"
- บทที่ 08 "ความตายของผู้ใคร่ธรรม"
- บทที่ 09 "สันติสุขของผู้ใคร่ธรรมเมื่อเวลาจะตาย"
- บทที่ 10 "วิธีการสำหรับ เตรียมรับความตาย"
- บทที่ 11 "ค่าของเวลา"
- บทที่ 12 "ความสำคัญของความรอด"
- บทที่ 13 "ความฟุ้งเฟ้อของโลก"
- บทที่ 14 "ชีวิตปัจจุบัน คือการเดินทางไปสู่นิรันดรภาพ"
- บทที่ 15 "ความอุกฉกรรจ์ของบาปหนัก"
- บทที่ 16 ความเมตตากรุณาของพระเป็นเจ้า
- บทที่ 17 การล่วงเกินความเมตตากรุณาของพระเป็นเจ้า
- บทที่ 18 จำนวนบาป
- บทที่ 19 พระหรรษทานเป็นสิ่งมีค่าเพียงไร?
- บทที่ 20 ความบ้าของคนบาป
- บทที่ 21 ชีวิตอันไม่เป็นสุขของคนบาป และชีวิตอันผาสุกของคนที่รักพระเป็นเจ้า
- บทที่ 22 ความเคยชินในความชั่ว
- บทที่ 23 กลอุบายที่ปีศาจนำมาใช้ล่อลวงคนบาป
- บทที่ 24 การพิพากษาทีละคน
- บทที่ 25 การพิพากษาประมวลพร้อม
- บทที่ 26 โทษานุโทษในนรก
- บทที่ 27 นิรันดรภาพของนรก